บุศรินทร์ ภักดีกุล
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล นายทหารและนักการเมืองชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ที่บ้านบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 4 คนของพลตรีพระยาภักดีภูธร (ชื่น ภักดีกุล) กับ เอลีซาเบท (จอนสัน) ภักดีกุล (Elisabeth Johnson Bhakdikul) ชาวรัสเซีย พี่ชายคนโตคือ ร้อยเอก หลวงชิตวีร์วสุนทรา (ชิตวีร์ ภักดีกุล) ด.ช. เมรุสวัง (ถึงแก่กรรม) และ น้องชาย ร้อยโท เอกรินทร์ ภักดีกุล
บุศรินทร์ ภักดีกุล | |
---|---|
เจ้ากรมแผนที่ทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ – 13 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ | |
ก่อนหน้า | ฉลอง อุชุโกมล |
ถัดไป | สมบูรณ์ วิจิตรานุช |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ประเทศไทย |
เสียชีวิต | ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ |
พรรค | พรรคประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | ผูกพันธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
พลโท บุศรินทร์ สมรสกับ ผูกพันธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ธิดาของ พลเอก พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) กับ ไปล่ ดีมาณพ และน้องชายคนสุดท้อง ร้อยโท เอกรินทร์ สมรสกับ ผัสพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา ธิดาของพระยาเทพหัสดิน โดยมี บุตรธิดาคือ บุศรพันธุ์ ผ.ศ. ศศันทร์พิญ ศรินทรเทพ พลตรี เกตุเสพสวัสดิ์ ภักดีกุล ผ.ศ. ไทพีศรีนิวัติ และ ทัศน์พาชื่น
พลโท บุศรินทร์ สำเร็จวิชาทหารปืนใหญ่จากโรงเรียนโปลีเทคนิคของเบลเยียมผู้บุกเบิก ปตอ. พ.ศ. ๒๔๗๖ ผู้อำนวยการวิทยาการโรงเรียนเทฆนิคทหารบก กรมยุทธศึกษาทหารบก อาจารย์รุ่นก่อตั้ง พ.ศ. ๒๔๗๗ (ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)
ในระหว่างที่พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล ได้รับราชการเป็นราชองครักษ์เวรและราชองค์รักษ์พิเศษของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเวลาร่วม ๒๐ ปีนั้น ได้มีการรับรองราชอาคันตุกะของพระองค์ท่านหลายครั้งหลายหน
ครั้งที่ ๑ ประจำพระองค์พระเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชา
ครั้งที่ ๒ ประจำองค์มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรลาว
ครั้งที่ ๓ ประจำตัวประธานาธิบดีโงดิ่ญเสี่ยมแห่งประเทศญวณ
ครั้งที่ ๔ ประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พระเจ้ามหาชีวิตแห่งประเทศลาว ในการเสด็จผ่านประเทศไทยไปยังเรือไปรักษาพระองค์ที่ประเทศฝรั่งเศส
ครั้งที่ ๕ ราชองค์รักษ์ประจำพระองค์เจ้ามหาชีวิตแห่งประเทศลาว รับเสด็จจากเมืองสิงคโปร์กลับเวียงจันทน์
ครั้งที่ ๖ ประจำองค์พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านในการเสด็จผ่านประเทศไทย เป็นเวลา ๕ - ๖ ชั่วโมง ในระหว่างที่ล้นเกล้า ฯ ทั้ง ๒ พระองค์ประทับอยู่หัวหิน
ครั้งที่ ๗ ประจำพระองค์พระเจ้าโบดวง และพระราชินีฟาบิโอล่า แห่งประเทศเบลเยี่ยม
เป็นคณะผู้แทนฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ณ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร เอกอัครราชทูตประจำประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นตัวแทน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เนติบัณฑิต เป็นหัวหน้าทีมทนายความ พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล เจ้ากรมแผนที่กระทรวงกลาโหม เป็นที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ชุดที่ 10 พ.ศ. 2512 พรรคประชาธิปัตย์
ตำแหน่งแก้ไข
หน้าที่ราชการพิเศษแก้ไข
- 7 มีนาคม พ.ศ. 2495 - ราชองครักษ์เวร [3]
ยศแก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. ๒๕๐๖ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) [12]
- พ.ศ. ๒๕๐๔ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[13]
- พ.ศ. ๒๕๐๒ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข
พ.ศ. 2498 - เหรียญมงกุฎ [15]
- ลาว:
พ.ศ. 2500 - เหรียญพระบรมรูปทอง [16]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๔๔๘)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร (หน้า ๖๘๘)
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ ประกาศ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๓๙๕)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๙๗)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๑๙๘)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า ๑๐๒๐)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๒๑)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๒๑)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๑๔๐๒)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 72 ตอนที่ 74 หน้า 2279, 20 กันยายน 2498
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 74 ตอนที่ 16 หน้า 520, 19 กุมภาพันธ์ 2500
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล
- http://malai.tarad.com/product.detail_926562_th_6757389 เก็บถาวร 2019-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บันทึกพิเศษของราชองครักษ์พระราชอาคันตุกะ ผู้แต่ง : บุศรินทร์ ภักดีกุล
- http://library.vajiravudh.ac.th/index.php?r=bookCms/getDetail&id=4728
- นิตยสาร เสนาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนเทคนิคทหารบก
- http://www2.crma.ac.th/wp_sena/wp-content/uploads/2016/11/BookSena82-2-1.pdf