หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร

หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร (19 เมษายน พ.ศ. 2452 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมถม

หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ19 เมษายน พ.ศ. 2452
สิ้นชีพตักษัย19 สิงหาคม พ.ศ. 2530 (78 ปี)
หม่อมหม่อมแมรี ชยางกูร ณ อยุธยา
หม่อมละไม ชยางกูร ณ อยุธยา
พระบุตร2 คน
ราชสกุลชยางกูร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
พระมารดาหม่อมถม ชยางกูร ณ อยุธยา

พระประวัติ

แก้

หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร คนส่วนมากมักจะเรียกท่านว่า "ท่านวงษ์" เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมถม เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2452 ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีโสทรภราดาและโสทรภคินี 4 องค์ ดังนี้

  • ประไพพงศ์ ศิริเวทิน
  • หม่อมเจ้าทิพย์ลักษณ์สุดา ชยางกูร
  • หม่อมเจ้าโสภาเพียงจันทร์ จันทรทัต
  • หม่อมเจ้าสรรพไชยา ชยางกูร

หม่อมเจ้าวงษ์มหิปเสกสมรสกับหม่อมแมรี่ ชยางกูร ณ อยุธยา มีโอรส 2 คน คือ

  1. หม่อมราชวงศ์อรรควงษ์ เอกเซล ชยางกูร
  2. หม่อมราชวงศ์พงษ์ชัย แพทริก ชยางกูร

และเสกสมรสอีกครั้งกับหม่อมละไม ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม จันทร์งาม) โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานน้ำสังข์ และเงินทำขวัญเนื่องในการเสกสมรส เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493[1]

หม่อมเจ้าวงษ์มหิปมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวแทนฝ่ายไทยในการขึ้นศาลโลกในคดีเขาพระวิหาร

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้กล่าวถึงหม่อมเจ้าวงษ์มหิป ในจดหมายการลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ที่ยื่นแก่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2487 ดังนี้

ตามที่ได้มาเรียนปติบัติข้อราชการนะโรงเรียนลูกกำพร้าสงครามเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ศกนี้ และพนะท่านได้แสดความเห็นใจว่า ในตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญสึกสา ย่อมมีงานที่จะต้องปติบัติอยู่มากแล้ว ให้หาคนแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสานั้น นับว่าเป็นความกรุณาของพนะท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเชื่อและปติบัติตามคำแนะนำของพนะท่านด้วยความเคารพอย่างสูงสุด

ในโอกาสนี้ขอประทานกราบเรียนว่า นับตั้งแต่ พนะท่านได้เรียกไปกะซวงกลาโหม เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๘๐ เพื่อชี้แจงนโยบาย และมอบหมายให้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาเป็นต้นมา ก็ได้ตั้งใจ ปติบัติงานอย่างเต็มสติกำลัง และพยายามรักสานโยบายของพนะท่านไว้เป็นนิจ จำนวนนักเรียนทวีขึ้นจาก ๓๕๐ คน ในปีแรก จนถึง ๓,๕๐๐ คนในปัจจุบัน การงานมิได้มีติดขัดประการได จนกระทั่งประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม ซึ่งย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา แต่ก็แก้ไขให้ลุล่วงไปได้ ภายใต้การบังคับบัญชาสูงสุดของพนะท่าน และพนะท่านรองอธิการบดี

การเปลี่ยนแปลงตัวผู้อำนวยการนั้น ขอประทานกราบเรียนว่ารู้สึกเป็นห่วงหยู่ไม่น้อย แต่หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร ก็เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสั่งสอนอบรมนักเรียนเป็นอย่างดี และเป็นอาจารย์ที่ได้หยู่ช่วยเหลือผู้อำนวยการมาเป็นอันมาก ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งโรงเรียน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะตั้งเป็นผู้อำนวยการต่อไป ดีกว่าเลือกบุคคลซึ่งยังไม่เคยร่วมงานนี้มาแต่ก่อน

ส่วนไนทางไจนั้น รู้สึกมีความอาลัยเป็นอย่างมากในการที่จะไปจากโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสา เมื่อมาคำนึงว่า ตลอดเวลา ๖ ปีครึ่ง ที่ทำมานี้ มีตำแหน่งประจำอยู่ทางแผนกฝึกหัดครูคณะอักสรศาสตร์และวิทยาสาสตร์ในชั้นต้น และทางกรมสามัญสึกสาในเวลาต่อมา งานไนโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาเป็นงาน พิเสส ซึ่งมิได้มีตำแหน่งเงินเดือนหรือเงินเพิ่มพิเสสแต่อย่างใด แต่ก็ได้ทำมาด้วยความรักและการเสียสละไนทุกทาง เพราะเป็นงานชิ้นแรกที่พนะท่านมอบหมายให้ทำด้วยความไว้วางไจ และได้มีโอกาสสร้างครูอาจารย์ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นเป็นจำนวนร้อย และอบรมกล่อมเกลานักเรียนจำนวนพัน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นกำลังแก่ประเทศชาติไนภายหน้าได้ ก็บังเกิดความพากพูมไจและความสุขไจ ซึ่งเป็นรางวัลที่พนะท่านได้ให้มาในทางอ้อม… จึงค่อยปลดเปลื้องความอาลัยให้บรรเทาลงได้บ้าง

หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530 สิริชันษา 78 ปี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ปีเดียวกัน[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้
 
หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร (ประทับนั่งแถวหน้าซ้ายสุด) ขณะทรงปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนฝ่ายไทยในคดีปราสาทเขาพระวิหาร ในฐานะเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเนเธอร์แลนด์

หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ เล่ม 67 ตอนที่ 63 หน้า 5999 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2493
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันเสาร์ที่ ๒๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ เล่ม 104 ตอนที่ 176 หน้า 6279 วันที่ 3 กันยายน 2530
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๓ พฤษภาคม ๒๖๑๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๔๕, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๕๑, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๑๔๑๖, ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๙
  9. 9.0 9.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๖๙๑, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๐๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๕๖ ง หน้า ๑๕๗๒, ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๓๙๓, ๑๕ กันยายน ๒๕๐๗

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้