พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป)

ขุนนางสยาม
(เปลี่ยนทางจาก นาคะประทีป)

พระสารประเสริฐ นามเดิม ตรี นาคะประทีป (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2488) เป็นขุนนางชาวไทย ดำรงตำแหน่งในกรมพระอาลักษณ์ มีชื่อเสียงด้านอักษรศาสตร์ ใช้นามปากกว่า นาคะประทีป และยังมีผลงานร่วมกับพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ใช้นามปากการ่วมกันว่า เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

พระสารประเสริฐ
(ตรี นาคะประทีป)
พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ถ่ายขณะดำรงตำแหน่งปลัดกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2474
พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ถ่ายขณะดำรงตำแหน่งปลัดกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2474
เกิด25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต4 มิถุนายน พ.ศ. 2488 (55 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
นามปากกานาคะประทีป
อาชีพอาจารย์ นักเขียน นักภาษาศาสตร์
คู่สมรสสิริพันธ์ สารประเสริฐ
บุตร5 คน

ประวัติ

แก้

พระสารประเสริฐเกิดที่ตำบลถนนตรีเพชร อำเภอพาหุรัด จังหวัดพระนคร (เขตการปกครองสมัยนั้น) เป็นบุตรของหลวงพิพิธวิรัชการ (เทียน นาคะประทีป) และนางสวน เมื่อเป็นเด็กเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สอบไล่ได้ประโยค 2 อย่างเก่าและชอบภาษาบาลีเป็นอย่างมาก จึงขออนุญาตผู้ปกครองบวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 17-18 ปีก็ได้เปรียญธรรม 7 ประโยคมีหน้าที่สอนภาษาบาลีในสำนักวัดที่บวชคือวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระมหาตรี” พระมหาตรีมีความเชี่ยวชาญภาษาเป็นอย่างดีและแม้ไม่ชำนาญในภาษาสันสกฤตแต่ก็ยังอ่านอักษรเทวนาครีได้ เพราะเคยติดตามพระอาจารย์คือพระราชาคณะคือพระธรรมนิเทศทวยหาญไปเกาะลังกา เมื่อขุนโสภิตอักษรการเจ้าของ “โรงพิมพ์ไท” ที่จัดพิมพ์หนังสือดีมีคุณภาพในสมัยนั้นต้องการพิมพ์หนังสือหิโตปเทศ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ได้แนะนำให้พระยาอนุมานราชธนรู้จักกับพระมหาตรีให้เป็นผู้ช่วยตรวจ เนื่องจากเกรงว่าอาจเพี้ยนไปจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตด้วย

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทั้งสองท่านก็ได้มีความสัมพันธ์ทั้งในด้านการงานและการส่วนตัวร่วมกันสร้างสรรค์งานด้านอักษรศาสตร์เป็นมรดกแก่ประเทศมาจนตลอดชีวิต

พระมหาตรีสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์เมื่อ พ.ศ. 2462 เมื่ออายุได้ 30 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์ประจำกระทรวงกลาโหมซึ่งมีพระธรรมนิเทศทวยหาญเป็นหัวหน้า ได้เป็นรองอำมาตย์โทเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2463[1]

ครั้งนั้นเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการขณะนั้นได้ขอตัวมาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยแผนกอภิธานสยามในกรมตำราเมื่อ พ.ศ. 2465

ในปี พ.ศ. 2466 ก็ได้บรรดาศักดิ์เป็น หลวงธุรกิจภิธาน ประจวบขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กำลังทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง มัทนะพาธา อยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการใกล้ชิดพระองค์ชั่วคราว โดยมีหน้าที่ถวายความเห็นเกี่ยวกับเรื่องศัพท์และตามเสด็จไปอยู่ที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวันบ่อยครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จสวรรคต หลวงธุรกิจภิธานได้กลับไปรับราชการที่เดิม

ในปี พ.ศ. 2469 กรมราชเลขาธิการขอย้ายหลวงธุรกิจภิธานไปรับราชการในกรมในตำแหน่งปลัดกรมพระอาลักษณ์

ในปี พ.ศ. 2471 ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระสารประเสริฐ รับราชการอยู่จนถึง พ.ศ. 2475 จึงย้ายกลับไปรับราชการในกระทรวงศึกษาธิการ เป็นข้าราชการชั้นเอกประจำกรมวิชาการ ภายหลังได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองศาสนศึกษาระยะหนึ่งจึงออกจากราชการเพื่อรับพระราชทานเบี้ยบำนาญและได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์พิเศษประจำแผนกวิชาภาษาบาลี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2485 จึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากบรรดาศักดิ์[2]

ชีวิตครอบครัว

แก้

พระสารประเสริฐ สมรสกับนางสิริพันธ์ สารประเสริฐ มีบุตร-ธิดารวม 5 คน ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อตามลำดับคือ

  • นางศรีวรรณ ศยามานนท์
  • นางศรีกุน รัชตะรัตนะ
  • นายศรีฉันท์ นาคะประทีป
  • นายศรีสิทธิ์ นาคะประทีป
  • นายศรีกมล นาคะประทีป

ชีวิตงานและผลงาน

แก้

พระสารประเสริฐร่วมงานด้านอักษรศาสตร์และวรรณกรรมอย่างใกล้ชิดกับพระยาอนุมานราชธนมายาวนานเกือบ 40 ปี พระยาอนุมานฯ เล่าว่าหนังสือหิโตปเทศเป็นปัจจัยอันสำคัญที่เปลี่ยนวิถีทางเดินแห่งชีวิตของ "พระมหาตรี" ทั้งสองท่านมีผลงานร่วมกันโดยเรียงตามลำดับการตีพิมพ์ที่ทราบ ดังนี้[3]

 
อักษรนาม พ.ค. ของพระสารประเสริฐคู่กับพระยาพณิชยศาสตร์วิธาน (อู๋ พรรธนะแพทย์)

พระยาอนุมานราชธนเล่าไว้ในหนังสือประวัติครูของคุรุสภาว่า ก่อนที่ท่านทั้งสองจะร่วมงานกัน มีงานที่พระสารประเสริฐแต่งเอง 2 เรื่องคือ

  • พระธรรมบทหมวดพาลแทรกชาดก แปลเมื่อ พ.ศ. 2458 และเรื่อง
  • คัมภีร์อภิธารัปปทีปิกา

เมื่อพระสารประเสริฐรับราชการในตำแหน่งปลัดกรมอาลักษณ์ ได้มีหน้าที่ร่างประกาศพระราชกระแสพระบรมราชโองการ คิดตั้งชื่อและยังทำหน้าที่อ่านประกาศในงานพระราชพิธีต่าง ๆ พระยาอนุมานฯ เล่าว่า มีผู้สงสัยว่าพระสารประเสริฐพูดมีติดอ่างจะอ่านประกาศในงานพิธีให้ดีได้อย่างไร แต่ตรงกันข้าม พระสารประเสริฐอ่านได้ดีเป็นที่สุด เพราะได้ฝึกซ้อมใส่ขีดทำเครื่องหมายแบ่งจังหวะสำหรับอ่านและอ่านซ้อมหลายครั้งอ่านดี จนเจ้านายชั้นผู้ใหญ่เสด็จมาจับไหล่แสดงความยินดี

งานที่พระสารประเสริฐชอมมากเป็นพิเศษคืองานชำระปทานุกรม ซึ่งท่านได้เป็นกรรมการชำระปทานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน โดยบางวันแม้รถประจำทางสาธารณะขัดข้องท่านก็ยังยอมเดินจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาที่ราชบัณฑิตยสถาน และแม้แต่ที่หอสมุดแห่งชาติก็ยังยอมเดินมาจนได้ เวลาประชุมท่านจะเอาใจใส่พิถีพิถันและมักเอา "หัวชนกำแพง" ถ้าไม่เห็นด้วย "ลางทีชำระคำ ๆ เดียวกินเวลา 2 ประชุมก็เคยมี" แม้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรงเป็นประธาน พระสารประเสริฐก็ไม่ยอม "พบกันครึ่งทาง" พระยาอนุมานฯ เล่าว่า ประธานเคยตรัสว่า "ผมไม่ถือ เพราะพระสารประเสริฐเป็นคน "ขลังวิชา" แต่พระสารประเสริฐจะยอมเห็นด้วยโดยง่ายถ้าเห็นว่าถูกต้อง"

นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นผู้ร่างคำปรารภในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ฉบับแรก เมื่อ พ.ศ. 2475 ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 อีกด้วย[4]

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 เป็นวันสุดท้ายที่พระสารประเสริฐมาประชุมชำระปทานุกรม ขณะกำลังจดคำที่พระยาอนุมานราชธนบอก แต่กลับถามว่า "คำอะไรนะ" ซ้ำ ๆ อยู่ ประมาณ 10 ครั้ง ก่อนหน้านั้นเวลาประชุมก็เงียบผิดปกติ จนพระวรเวทย์พิสิฐ (เซ็ง ศิวะศริยานนท์) ทักขึ้นว่า "วันนี้นักบาลีทำไมเงียบ เห็นจะเป็นเพราะตัว ฝ กระมัง" ท่านไม่ตอบ เลิกประชุมรีบเดินออกจากห้องก่อนใคร พระยาอนุมานฯ เล่าว่าได้ทราบภายหลังว่าเดินไปขึ้นรถประจำทางที่หน้าวังบูรพาล้มลงแต่ก็มีคนพยุงขึ้นรถไปจนถึงบ้าน ไปหมดสติอยู่ที่หน้าบ้านตอนลงจากรถนั้นเอง พระสารประเสริฐสิ้นลมที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลอีก 7 วันต่อมา รวมสิริอายุได้ 56 ปี

  • 24 เมษายน 2463 – รองอำมาตย์โท[5]
  • – รองเสวกโท
  • 7 พฤศจิกายน 2470 – รองเสวกเอก[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระราชทานยศ
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคับลาออกจากบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (3 ง): 64. 13 มกราคม 2485. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. คลังปัญญาชนสยาม
  4. สภาผู้แทนราษฎร (2475). รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 43/2475. พระนคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, กองการพิมพ์. p. 586–587.
  5. "พระราชทานยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 พฤษภาคม 1920.
  6. พระราชทานยศ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 58 ตอนที่ 0 ง หน้า 3309, 18 กันยายน 2484
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 57 ตอนที่ 0 ง หน้า 2160, 7 ตุลาคม 2483
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 47 ตอนที่ 0 ง หน้า 3117, 16 พฤศจิกายน 2473
  10. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า 3300)

บรรณานุกรม

  • พระยาอนุมานราชธน. พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป). ประวัติครู, คุรุสภาจัดพิมพ์ในวันครู 16 มกราคม 2502
  • นรนิติ เศรษฐบุตร. พระสารประเสริฐ : ผู้ร่างคำปรารภฯคนแรก. ส่วนร่วมสังคมไทย, เดลินิวส์ หน้า 10 บทความ-การ์ตูน, ฉบับที่ 24,529: วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 1 ปีวอก

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้