อนุศาสนาจารย์
อนุศาสนาจารย์ [อะนุสาสะนาจาน, อะนุสาดสะนาจาน] (อังกฤษ: Chaplain) หมายถึง อาจารย์ผู้อบรมศีลธรรมของหน่วยราชการ[1]
กองทัพไทย
แก้ในกองทัพไทย อนุศาสนาจารย์[2]มีความหมายถึงข้าราชการทหารที่ทำหน้าที่ดูแลด้านกิจการศาสนาในกองทัพ (แต่เป็นคฤหัสถ์ มิใช่นักบวช) ขอบข่ายงานของอนุศาสนาจารย์นั้น มีดังต่อไปนี้
- เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณทางศาสนาของตน
- ผู้นำประกอบพิธีทางศาสนาของตน
- ให้คำแนะนำและคำปรึกษาพื้นฐานตามจริยธรรมและศาสนศาสตร์ของตน
- สอนศาสนธรรมให้แก่ศาสนิกชนของศาสนาตน
- ให้คำปรึกษาแก่ทุกคนที่ต้องการคำปรึกษาไม่จำกัดเฉพาะศาสนิกของตนเท่านั้น
- จัดหาทรัพยากรทางด้านศาสนาให้กับผู้ที่ต้องการ
บทบาทของอนุศาสนจารย์ในความหมายเดิมคือ Chaplain ในภาษาอังกฤษนั้น ทำงานทั้งในสถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และกองทัพด้วย แต่ในภาษาไทย คำว่า อนุศาสนาจารย์ ใช้ค่อนข้างเป็นการเฉพาะจำกัดในกองทัพเท่านั้นก่อนเป็นหลัก มิได้ใช้ทั่วไปนอกกองทัพมากนัก (เว้นแต่ในราชการของกรมราชทัณฑ์) และมีความหมายต่างจากศาสนาจารย์ (Minister) ในศาสนาคริสต์บางนิกาย ซึ่งไม่ได้หมายถึงข้าราชการทหาร
ในยุคแรกเริ่มก่อตั้งกองอนุศาสนาจารย์ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกุรณาโปรดเกล้าฯ ให้รองอำมาตย์ตรี อยู่ อุดมศิลป์ เป็นอนุศาสนาจารย์ออกไปประจำในกองทัพสยามที่ออกไปร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อเสร็จสิ้นสงครามจึงโปรดให้ตั้งกองอนุศาสนาจารย์โดยเลือกจากข้าราชการพลเรือนที่มีความรู้ทางพุทธศาสนาดีในระดับเปรียญ ต่อมาสมัยหลังจึงมีอนุศาสนาจารย์ที่เป็นนายทหาร มีอนุศาสนาจารย์ในกรมตำรวจ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) และขยายไปทางราชการพลเรือน คือตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ในกรมราชทัณฑ์ ซึ่งทำงานดูแลนักโทษ เพิ่มขึ้นมาด้วย
ในชั้นนี้ ในกองทัพไทยทั้งสามเหล่าและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังไม่ปรากฏว่ามีตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ศาสนาอื่น ๆ นอกจากพุทธศาสนาเท่านั้น (ในกองทัพประเทศอื่นๆ บางประเทศ เช่น กองทัพสหรัฐฯ มีตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ชาวคริสต์ อิสลาม ยิว ฮินดู และพุทธด้วย)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1371
- ↑ "ประวัติความเป็นมากองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-03. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.