ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย
ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (อังกฤษ: Asian Infrastructure Investment Bank; ย่อ: AIIB) เป็นสถาบันการเงินระหว่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ความสนับสนุนแก่การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
สํานักงานใหญ่ในปักกิ่ง | |
ผู้ที่คาดหวังเป็นสมาชิก (ในภูมิภาค) สมาชิก (ในภูมิภาค) ผู้ที่คาดหวังเป็นสมาชิก (นอกภูมิภาค) สมาชิก (นอกภูมิภาค) | |
ชื่อย่อ | AIIB |
---|---|
ก่อตั้ง | 16 มกราคม 2016 |
ประเภท | สถาบันการเงินระหว่างประเทศ |
สถานะตามกฎหมาย | สนธิสัญญา |
วัตถุประสงค์ | ให้สินเชื่อ |
สํานักงานใหญ่ | ปักกิ่ง ประเทศจีน |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | ทั่วโลก, โดยเน้นไปที่เอเชีย, แอฟริกา และโอเชียเนีย |
สมาชิก | 109 ประเทศสมาชิก[1] |
ภาษาทางการ | อังกฤษ[2] (ภาษากลาง) |
บุคลากรหลัก | Jin Liqun[3] (ประธาน) |
องค์กรแม่ |
|
เว็บไซต์ | www |
การก่อตั้งธนาคารนี้มาจากดำริของรัฐบาลจีนเมื่อปี 2013[4][5] และริเริ่มอย่างเป็นทางการในงานแถลง ณ กรุงปักกิ่งเมื่อเดือนตุลาคม 2014[6] แนวคิดก่อตั้งธนาคารได้รับเสียงสนับสนุนจากองค์การทั้งหลายซึ่งต่อมาขนานนามว่า "สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งตามแผน" (Prospective Founding Member) เป็นองค์การระดับภูมิภาค 37 ราย และระดับอื่นอีก 20 ราย รวมเป็น 57 ราย สมาชิกเหล่านี้ ยกเว้นฟิลิปปินส์ ได้ลงนามใน "ข้อบทความตกลง" (Articles of Agreement) ชุดหนึ่งเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2015 เพื่อสร้างพื้นฐานทางกฎหมายในการก่อตั้งธนาคาร กำหนดกันว่า เมื่อความตกลงดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ธนาคารเป็นอันสถาปนาขึ้น และความตกลงจะมีผลใช้บังคับต่อเมื่อได้รับสัตยาบันจากรัฐสมาชิกอย่างน้อย 10 รัฐที่ถือหุ้นริเริ่ม (initial subscription) รวมแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดในตลาดหุ้นจดทะเบียน (Authorized Capital Stock)[7][8] ครั้นวันที่ 25 ธันวาคม 2015 รัฐซึ่งเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งตามแผนจำนวน 17 รัฐ คือ จอร์เจีย จอร์แดน จีน นิวซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ บรูไน พม่า มองโกเลีย เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ออสเตรีย และออสเตรเลีย มอบสัตยาบันสารให้แก่ผู้รับมอบ เป็นเหตุให้ความตกลงเริ่มใช้บังคับ และรัฐทั้ง 17 นี้จึงชื่อว่าเป็น "สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง" (founding member)[9] ทั้งนี้ รัฐที่มีเศรษฐกิจรายใหญ่ในโลกและไม่ได้เป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งตามแผนนั้น ได้แก่ แคนาดา ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
บางคนมองว่า ธนาคารแห่งนี้มีขึ้นเพื่อเป็นคู่แข่งทางอำนาจการเงินและการเมืองกับสถาบันการเงินทั้งหลายที่อยู่ในความครอบงำของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารพัฒนาเอเชีย และธนาคารโลก[10] ส่วนสหประชาชาติเห็นว่า การก่อตั้งธนาคารแห่งนี้เป็น "การไต่เต้าทางการเงินเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน"[11][12] อย่างไรก็ดี ธนาคารที่ตั้งขึ้นใหม่นี้มีขนาดเล็กเกินกว่าจะต่อกรกับสถาบันแห่งอื่น ๆ เล็กถึงขั้นมีเงินทุนเทียบได้เพียงหนึ่งในสามแห่งเงินทุนของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือไม่ถึงหนึ่งในสี่แห่งเงินทุนของธนาคารโลก[13] ทั้งยังเล็กกว่าธนาคารเอกชนรายใหญ่จำนวน 18 แห่งในสหรัฐอเมริกา
หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Members and Prospective Members of the Bank". AIIB.
- ↑ "Articles of Agreement – AIIB" (PDF). Asian Infrastructure Investment Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 December 2015. สืบค้นเมื่อ 21 July 2015.
- ↑ "Jin Liqun Selected President-designate of the Asian Infrastructure Investment Bank". Multilateral Interim Secretariat of AIIB. 24 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2016. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
- ↑ "21 Asian countries sign MOU on establishing Asian Infrastructure Investment Bank". Xinhuanet. 24 October 2014.
- ↑ "China says new bank to complement existing institutions". The Washington Post. 21 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-21. สืบค้นเมื่อ 2015-12-28.
- ↑ "Three major nations absent as China launches World Bank rival in Asia". Reuters. 5 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-11. สืบค้นเมื่อ 2015-12-28.
- ↑ "Asian Infrastructure Investment Bank – Articles of Agreement" (PDF). Asian Infrastructure Investment Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-14. สืบค้นเมื่อ 21 July 2015.
- ↑ "China to have 30 per cent stake, veto power under AIIB deal". South China Morning Post. 29 June 2015.
- ↑ "Articles of Agreement of the Asian Infrastructure Investment Bank". Government of the Netherlands. สืบค้นเมื่อ 30 September 2015.
- ↑ Branigan, Tania (13 March 2015). "Support for China-led development bank grows despite US opposition". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
- ↑ "World Economic Situation and Prospects 2015" (PDF). United Nations. สืบค้นเมื่อ 21 July 2015.
- ↑ United Nations Financing for Development Office. "Global Economic Governance". สืบค้นเมื่อ 29 March 2015.
- ↑ http://www.economist.com/blogs/economist-explains/2014/11/economist-explains-6