ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ (อังกฤษ: London Heathrow Airport) หรือมักเรียกโดยย่อว่า ฮีทโธรว์ เป็นท่าอากาศยานที่มีการจราจรทางอากาศหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของสหราชอาณาจักร และทวีปยุโรป ในด้านจำนวนผู้โดยสาร และเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของโลก ในด้านของจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ดำเนินการโดย บริษัท ท่าอากาศยานอังกฤษ จำกัด (เดิมคือ องค์การท่าอากาศยานแห่งประเทศอังกฤษ)
ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ London Heathrow Airport | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||||||
เจ้าของ-ผู้ดำเนินงาน | บริษัท ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ จำกัด | ||||||||||||||
พื้นที่บริการ | เกรเทอร์ลอนดอน, บาร์กเชอร์, บักกิงแฮมเชอร์, เซอร์รีย์ และฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ | ||||||||||||||
ที่ตั้ง | ลอนดอนโบโรออฟฮิลลิงดัน, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร | ||||||||||||||
เปิดใช้งาน | 25 มีนาคม 1946 | ||||||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 83 ฟุต / 25 เมตร | ||||||||||||||
พิกัด | 51°28′39″N 000°27′41″W / 51.47750°N 0.46139°W | ||||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||||
แผนที่ | |||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
สถิติ (2022) | |||||||||||||||
| |||||||||||||||
ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฮิลลิงดอน ห่างจากตัวเมืองของกรุงลอนดอนประมาณ 24 กิโลเมตร (15 ไมล์) เป็นหนึ่งในหกของท่าอากาศยานที่อยู่ในเขตเกรเทอร์ลอนดอน อีก 5 แห่งก็คือท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิก, ท่าอากาศยานลอนดอนสแตนสเต็ด, ท่าอากาศยานลอนดอนลูตัน, ท่าอากาศยานลอนดอนเซาท์เอ็นด์, และท่าอากาศยานลอนดอนซิตี
ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์มีทางวิ่งขนานกัน 2 ทางวิ่ง ตามแนวทิศตัวออกและทิศตะวันตก และ มีอาคารผู้โดยสาร 4 อาคาร และยังมีแผนปรับปรุงอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออกใหม่ รวมทั้งเพิ่มทางวิ่งอีกด้วย
ประวัติ
แก้ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ เริ่มให้บริการช่วงทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2473) ดำเนินการโดย Fairey Aviation ใช้สำหรับการผลิตและทดสอบการบินเป็นหลัก ชื่อของท่าอากศยานตั้งตามชื่อของหมู่บ้าน Heath row ที่ถูกทำลายไปจากการสร้างสนามบิน ซึ่งประมาณการว่าอยู่บริเวณที่อาคารผู้โดยสาร 3 ตั้งอยู่ในปัจจุบัน โดยในช่วงแรกยังไม่เปิดบริการแก่เที่ยวบินพาณิชย์ ซึ่งในขณะนั้นมีท่าอากาศยานยานโครยดอน เป็นท่าอากศยานหลัก
ฮีทโธรว์เปิดให้บริการการบินพาณิชย์ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 โดยมีทางวิ่ง 3 ทางวิ่ง พร้อมกับอีก 3 ทางวิ่งที่กำลังก่อสร้างตามแผนแม่บทดั้งเดิม ซึ่งใช้รองรับเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์พิสตัน ที่ต้องการระยะทางวิ่งสั้นในการขึ้น-ลงจอด และสามารถขึ้น-ลงจอดในทุกสภาพของทิศทางลม ทางวิ่งผิวคอนกรีตอย่างรูปแบบในปัจจุบันเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2496 โดยสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ ที่ 2 และพระองค์ยังเสด็จมาเปิดอาคารผู้โดยสารหลังแรก อาคารยูโรปา (หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า อาคารผู้โดยสาร 2) ในปี พ.ศ. 2498 และหลังจากนั้นไม่นานนัก อาคารโอเชียนิก (อาคารผู้โดยสาร 3) ก็เปิดให้บริการ ส่วนอาคารผู้โดยสาร 1 เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2511 ทำให้เกิดเป็นกลุ่มอาคารเต็มพื้นที่จุดศูนย์ของท่าอากาศยาน และเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวในอนาคต
ที่ตั้งของท่าอากาศยานซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงลอนดอนเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนัก เนื่องจากทิศทางของกระแสลม ทำให้หลายๆสายการบินจะต้องบินเลียดต่ำผ่านตัวเมืองเป็นช่วงเวลาทั้ง ร้อยละ 80 ของปี ในขณะที่ท่าอากาศยานสำคัญของประเทศอื่นๆในภูมิภาคยุโรป มักจะตั้งอยู่ทางเหนือหรือใต้ของตัวเมือง ทำให้ประสบปัญหาน้อยกว่า ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ท่าอากาศยานอยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 25 เมตร (83 ฟุต) ทำให้เกิดปัญหาเรื่องหมอกอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2520 รถไฟใต้ดินเมืองลอนดอนให้ขยายเส้นทางมาถึงฮีทโธรว์ เชื่อมต่อการเดินทางจากใจกลางกรุงลอนดอนกับท่าอากาศยาน
อาคารผู้โดยสาร 4 สร้างห่างออกจาก 3 อาคารผู้โดยสารแรกลงมาทางใต้ และเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นอาคารให้บริการหลักของสายการบินบริติชแอร์เวย์
ในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ การท่าอากาศยานอังกฤษ (British Airports Authority) มาเป็นบริษัทเอกชน BAA ซึ่งบริหารงานท่าอากาศยานฮีทโธรว์และท่าอากาศยานอื่นๆในสหราชอาณาจักรอีก 6 แห่ง
การก่อวินาศกรรม
แก้- 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 กลุ่ม IRA ให้วางระเบิดบริเวณลานจอดรถอาคารผู้โดยสาร 1 มีผู้บาดเจ็บ 2 ราย
- 17 เมษายน พ.ศ. 2529 พบระเบิด semtex ในถุงของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ชาวไอริช กำลังพยายามจะนำขึ้นเครื่องของสายการบินเอลอัล โดยระเบิดถูกส่งมอบมาจากแฟนหนุ่มชาวจอร์แดน ผู้ซึ่งเป็นพ่อของเด็กในท้อง
- พ.ศ. 2537 ฮีทโธรว์ตกเป็นเป้าหมาย 3 ครั้ง ในช่วงเวลา 6 วัน (8 มีนาคม, 10 มีนาคม และ 13 มีนาคม) โดยกลุ่ม IRA เนื่องจากท่าอากาศยานฮีทโธรว์เป็นเป้าหมายสำคัญในการทำลายเศรษฐกิจของอังกฤษ ทำให้ต้องหยุดทำการท่าอากาศยานไปหลายวัน และการคุ้มกันมีความเข้มงวดมากขึ้นเพราะว่าสมเด็จพระราชินีนาถจะเดินทางกลับในวันที่ 10 มีนาคม พอดี
- เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 กองทัพบกอังกฤษ 1000 นาย เข้าตึงกำลังภายในฮีทโธรว์ เนื่องหน่ยวข่าวกรองรายงานว่า กลุ่มอัลกออิดะ อาจจะส่งจรวดระบิดโจมตีเครื่องบินของสายการบินสัญชาติอังกฤษหรืออเมริกัน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน จึงได้ประกาศใช้มาตรการความปลอดภัยใหม่ มีผลบัลคับใช้กับผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางออกจากท่าอากาศยานประเทศสหราชอาณาจักร
- 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ประกาศปรับแผนการรักษาความปลอดภัยให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เพื่อป็องกันการโจมตีเที่ยวบินที่บินข้ามมหาสมุทรของกลุ่มอัลกออิดะ โดยกฎใหม่มีผลบังคับใช้ทันที และทำให้เกิดความล่าช้าและความไม่สะดวกสบายต่อผู้โดยสาร ซึ่งมาตรการเหล่านี้รวมถึงข้อห้ามการนำกระเป๋าขึ้นเครื่องโดยสาร ยกเว้นสิ่งของสำคัญเช่น เอกสารเดินทาง และอุปกรณ์หรือยารักษาโรค โดยของที่เป็นของเหลวทุกชนิดจะต้องทดสอบโดยผู้โดยสารคนนั้นที่จุดตรวจ ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้มีการข้อผ่อนปรนสำหรับกรณียารักษาโรค และนมเด็ก
- 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้ออกมาตรการใหม่ ให้บังคับใช้กับผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางออกจากท่าอากาศยานของประเทศสหราชอาณาจักร [1] โดยอนุญาตให้ของเหลวบางชนิดที่กำหนดไว้สามารถผ่านจุดตรวจเข้าไปได้ ส่วนของเหลวชนิดอื่นๆมีการกำหนดปริมาณที่สามารถนำขึ้นเครื่องโดยสารได้
อุบัติเหตุ
แก้- 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 Sabena Douglas DC3 Dakota ตกจากเพราะสภาพอากาศที่เป็นหมอก ลูกเรือ 3 คน และผู้โดยสารอีก 19 จาก 22 คน เสียชีวิต
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 เครื่องบินทิ้งระเบิด XA897 Avro Vulcan ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ตกที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ หลังจากพยายามจะนำเครื่องขึ้นในสภาพทัศนวิสัยไม่ดี เดิมทีเครื่องบินลำนี้จะส่งมอบให้กับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร และกำลังกลับจากการบินสาธิตจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ทั้งนักบินและผู้ช่วยนักบินดีดตัวออกมาได้ทัน แต่นักบินอีก 4 คน เสียชีวิต
- 27 ตุลาคม พ.ศ. 2508 Vickers Vanguard G-APEE ของ British European Airway (BEA) บินมาจากอดินเบิร์ก ขณะที่กำลังลงจอดโดยสภาพทัศนวิสัยไม่ดี พุ่งชนกับทางวิ่ง 28R ลูกเรือ 6 คน และผู้โดยสารทั้งหมด 30 คน เสียชีวิต
- 8 เมษายน 2511เครื่องบินโบอิง 707 G-ARWE ของ BOAC เดินทางไปออสเตรเลีย โดยแวะผ่านสิงคโปร์ เครื่อยนต์เกิดลุกไหม้หลังจากนำเครื่องขึ้น เครื่องยนต์หลุดออกจากตัวเครื่องบริเวณใกล้กับอ่างเก็บน้ำ Queen Mother ที่ Datchet แต่นักบินสามารถนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินได้ ตัวเครื่องบินลุกไหม้ทั้งลำ มีลูกเรือ 1 คน และผู้โดยสาร 4 คน เสียชีวิต ที่เหลืออีก 122 คน รอดชีวิต
- 3 กรกฎาคม 2511 Airspeed Ambassador G-AMAD ของ BKS Air Transport ปีกเครื่องบินกระแทกกับพื้นขณะลงจอด ทำให้เครื่องบินตกลงบนพื้นหญ้าและไถลไปทางอาคารผู้โดยสาร ชนเข้ากับเครื่องบิน Hawker Siddeley Trident 2 ลำ ของ BEA จนระเบิดลุกไหม้ ลูกเรือเสียชีวิต 6 คน และม้าที่บรรทุกมาอีก 8 ตัว
- 18 มิถุนายน พ.ศ. 2515 เครื่องบินHawker Siddeley Trident ของ BEA เที่ยวบิน 548 บินจากฮีทโธรว์ไปยังกรุงบลัสเซลส์ ตกลงใกล้กับ Staines ผู้โดยสาร 109 คน และ ลูกเรือ 9 คน ทั้งหมดเสียชีวิต
ฮีทโธรว์ในวันนี้
แก้ในปัจจุบันท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ มีอาคารผู้โดยสารทั้งหมด 4 อาคาร (โดยอาคารที่ 5 กำลังก่อสร้าง) อาคารคลังสินค้า 1 อาคาร เดิมทีนั้นฮีทโธรว์จะมีทางวิ่งทั้งหมด 6 เส้นทาง เป็นทางขนานกัน 3 คู่ วางตามแนวทิศทางที่ต่างกัน แต่เนื่องจากความต้องการระยะทางวิ่งที่เพิ่มมากขึ้น ฮีทโธรว์จึงเหลือทางวิ่งเพียงสองเส้น ตั้งตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ความยาว 3,901 และ 3,660 เมตร ทั้งนี้ได้มีการศึกษาให้สร้างทางวิ่งอีกหนึ่งเส้นขนานไปกับทางวิ่งเดิม เพื่อรองรับการจราจรที่หนาแน่นในอนาคต
ท่าอากาศยานฮีทโธรว์บริหารโดย BAA มาช้านาน ซึ่งในปัจจุบัน BAA เป็นของบริษัทสัญชาติสเปน Ferrovial Group (Grupo Ferrovial)
รัฐบาลได้ออกข้อบังคับสำหรับเที่ยวบินช่วงเวลากลางคืน ให้ใช้เครื่องบินที่มีเครื่องยนต์ที่มีเสียงเงียบตามข้อกำหนด แต่อาจจะถูกระงับการบินได้ตลอดช่วงเวลากลางคืน หากว่ารัฐบาลไม่รู้สึกพอใจคำตัดสินจาก European Court of Human Rights
เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร ค่าธรรมเนียมลงจอดของสายการบินที่ BAA จะได้รับ กำหนดโดยกรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักร (Inited Kingdom Civil Aviation Authority) จนเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 ต้นทุนการลงจอดต่อผู้โดยสารหนึ่งคน เพิ่มขึ้นในอัตราเงินเฟ้อลบ 3% ทำให้ต้นทุนในการลงจอดจะลดลงในเชิงราคาสัมบูรณ์ โดยในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ต้นทุนการลงจอดเฉลี่ยอยู่ที่ 6.13 ปอนด์ ซึ่งใกล้เคียงกับของท่าอากาศยานแก็ตริคและท่าอากาศยานสแตนสเต็ด แต่เพื่อสะท้อนภาพความเป็นศูนย์กลางการบินที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก กรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักรจึงอนุญาตให้ BAA เพิ่มค่าธรรมเนียมลงจอดที่อัตราเงินเฟ้อบวก 6.5% ต่อปี สำหรับช่วงห้าปีแรก และเมื่ออาคารผู้โดยสาร 5 แล้วเสร็จ ก็คาดว่าจะเพิ่มค่าธรรมเนียมลงจอดเป็น 8.63 ปอนด์ ต่อผู้โดยสารหนึ่งคน
ถึงแม้ว่าค่าธณรมเนียมลงจอดจะกำหนดโดย กรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักร และ BAA ก็ตาม แต่การเก็บค่าธรรมเนียมลงจอดที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์จะจัดเก็บโดย หน่วยงานเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร Airport Co-ordination Limited (ACL) ซึ่งกำกับโดยกฎหมายอังกฤษและสหภาพยุโรป รวมทั้งหน่วยงานของ IATA เงินทุนของ ACL มาจาก 10 สายการบินสัญชาติอังกฤษ บริษัทท่องเที่ยว และ BAA
นอกจากนี้ กาารจราจรทางอากาศระหว่างฮีทโธรว์และสหรัฐอมเริกาจะควบคุมอย่างเข้มงวดโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศตามกฎบัตรเบอร์มิวด้าที่ 2 ในแรกเริ่มนั้นจะอนุญาตให้เฉพาะสายการบินบริติชแอร์เวย์ แพนแอม และทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ ที่สามารถบินออกจากฮีทโธรว์เข้าสู่สหรัฐอเมริกาได้ จนในปี พ.ศ. 2534 สายการบินแพนแอม และทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ขายสิทธิ์การบินให้กับ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ กับ อเมริกันแอร์ไลน์ ตามลำดับ ส่วนสายการบินเวอร์จิ้นแอตแลนติกแอร์ไลน์ ได้รับสิทธิการบินภายหลัง กฎบัตรเบอร์มิวด้านี้ไปขัดกับข้อตกลงเรื่องสิทธิการแข่งขันของสหราชอาณาจักรที่ให้ไว้กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ดังนั้นสหราชอาณาจักรจึงถูกสั่งให้ระงับกฎบัตรนี้ในปี พ.ศ. 2547
ท่าอากาศยานฮีโธรว์จะสามารถรองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ได้ที่อาคารผู้โดยสาร 5 และที่ท่าจอด 6 ของอาคารผู้โดยสาร 3 โดยเครื่องบินแอร์บัส เอ380 จะให้บริการที่ฮีทโธรว์เป็นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตามได้มีการทดสอบเครื่องเอ380 ที่ฮีทโธรว์แล้วเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 [2][ลิงก์เสีย]
ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ถูกจัดอันดับให้เป็นท่าอากาศยานที่แย่ที่สุด ในการจัดการสำรวจของ TripAdvisor จากผู้ตอบในสอบถามกว่า 4,000 คน [3]
อนาคตของฮีทโธรว์
แก้อาคารผู้โดยสาร 5
แก้เมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม Stephen Byers ออกแถลงการว่ารัฐบาลอังกฤษลงมติอนุญาตให้สร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 5 ที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ได้ โดยอาคารผู้โดยสารหลังใหม่จะสร้างอยู่ภายในบริเวณที่ดินของท่าอากาศยาน ทางฝั่งตะวันตก ซึ่งมีกำหนดการว่าจะเริ่มเปิดใช้ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2551 เวลา 04:00 ตามเวลาท้องถิ่น และคาดว่าจะเปิดใช้เต็มประสิทธิภาพได้ในปี พ.ศ. 2558 เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ท่าอากาศยานฮีทโธรว์จะมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 90 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบันที่ 68 ล้านคนต่อปี
โดยอาคารหลังใหม่มีมูลค่ามากกว่า 4 พันล้านปอนด์ และจะมีพนักงานเพิ่นขึ้นอีกประมาณ 20,000 คน ทั้งนี้ยังจะมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระยะไกลอีกสองอาคาร ซึ่งจะเชื่อมต่อระบบระหว่างอาคารผู้โดยสาร 5 จากทางใต้ดิน และยังมีการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินให้เชื่อต่อจนถึงอาคารหลังใหม่ รวมถึงการต่อเส้นทางจากทางหลวง M25 เข้าเชื่อมกับอาคาร
อาคารผู้โดยสารหลังนี้ออกแบบโดย Richard Rogers Partnership โดยอาคารหลัก (คอนคอร์ด เอ) จะมี 4 ชั้น อยู่ภายใต้โครงสร้างหลังคาเดียวกัน ซึ่งจะรองรับจำนวนผู้โดยสารถึง 30 ล้านคนต่อปี และจะเป็นอาคารหลักที่บริติชแอร์เวย์ จะย้ายเที่ยวบินทั้งหมดมายังอาคารนี้ ยกเว้นเพียงเส้นทางที่ไป/มาจาก สเปน, ออสเตรเลีย และอิตาลี จากข้อมูลของ BAA นอกจากอาคารหลักแล้ว อาคารผู้โดยสาร 5 จะมีอาคารระยะไกลอีก 2 อาคาร (อาคารที่ 2 จะสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2554) จะมีหลุดจอดทั้งหมด 60 หลุดจอด รวมทั้งหอบังคับการบินหลังใหม่ อาคารจอดรถ ความจุ 4,000 คัน โรงแรมขนาด 600 เตียง และการขยายการคมนาคมให้เข้าถึงตัวอาคารผู้โดยสารหลังใหม่
อาคารผู้โดยสาร 5 จะเตรียมหลุดสำหรับ เครื่องบินแอบัส เอ380 ไว้ที่อาคารระยะไกลหลังแรก (คอนคอร์ส บี)
ทางวิ่งเส้นที่ 3
แก้สายการบินใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริติชแอร์เวย์ ได้เรียกร้องให้มีการสร้างทางวิ่งที่ 3 ขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานอาคารผู้โดยสาร 5 โดยในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 Transport Secretary Alistair Darling ได้ออกหนังสือปกขาว http://www.dft.gov.uk/aviation/whitepaper (อังกฤษ) รายงานการวิเคราะห์อนาคตการบินของสหราชอาณาจักร ประเด็นของรายงานชุดนี้คือควรจะมีการสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2563 และให้ข้อมูลทางด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสูญเสียโบสถ์เก่าแก่ด้วย
ทั้งนี้มีการเสนอให้สร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 6 เพื่อขยายขีดความสามารถจากการสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่งจะทำให้รองรับผู้โดยสารได้ 115 ล้านคนต่อปี งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 17,600 ล้านปอนด์ หรือ คิดเป็นเงินไทย 760,000 ล้านบาท คาดว่าหลังจากโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถเพิ่มเส้นทางบินตรงจากสนามบินฮีทโธรว์ไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกได้มากถึง 40 เมือง รวมทั้งเมืองอู่ฮั่นในจีน เมืองโอซากาในญี่ปุ่น และกรุงกีโตในเอกวาดอร์ ล่าสุดคณะรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรได้อนุมัติให้ก่อสร้างแล้ว โดยหลังจากนี้ โครงการต้องผ่านขั้นตอนการปรึกษาหารือ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ก่อนจะมีการลงมติในสภาในอีกราว 2 ปีข้างหน้า หากทุกอย่างดำเนินไปตามแผน คาดว่าการก่อสร้างจะเริ่มในปี 2561 หรือ 2562 และรันเวย์ใหม่จะเริ่มเปิดใช้งานได้หลังจากปี 2568
ปรับเปลี่ยนการขึ้น-ลง
แก้มีการเสนอให้จัดระบบแบบผสม ที่สามารถให้เครื่องบินขึ้นและลงจอดได้บนทางวิ่งเดียวกัน ซึ่งในทางทฤษฎีจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจาก 480,000 เที่ยวบินต่อปี ในปัจจุบัน เป็น 550,000 เที่ยวบินต่อปี ได้ [4]
อาคารผู้โดยสารตะวันออก
แก้BAA ได้ออกแถลงการเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่าอาคารผู้โดยสาร 2 จะปิดลงทันทีที่อาคารผู้โดยสาร 5 เปิดใช้งาน เพื่อดำเนินการตามแผนปรับปรุงกลุ่มอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออก (Heathrow East scheme) จากโครงการนี้จะทำให้ อาคารผู้โดยสาร 2 และ อาคาร Queen ถูกแทนที่ด้วยอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี โครงการนี้มีกำหนดการเริ่มในปี พ.ศ. 2551 และจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2555 ปีเดียวกันกับที่กรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ BAA ยังคงรอการอนุมัติที่จะเริ่มโครงการ แต่ก็มีการยืนยันแล้วว่า อาคารผู้โดยสาร 2 จะปิดตัวลงอย่างแน่นอนไม่ว่าโครงการนี้จะได้ดำเนินการหรือไม่ [5] (อังกฤษ)
ปรับเปลี่ยนการจัดการอาคารผู้โดยสาร
แก้เมื่ออาคารผู้โดยสาร 5 เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2551 อาคารผู้โดยสารจะเริ่มปรับเปลี่ยนระบบอาคารผู้โดยสารใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการกับการเคลื่อนย้ายผู้โดยสาร โดย:
- อาคารผู้โดยสาร 1 - กลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์
- อาคารผู้โดยสาร 3 - กลุ่มวันเวิลด์ ยกเว้นบริติชแอร์เวย์ (สเปน ออสเตรเลีย และอิตาลี) จะอยู่อาคารนี้จนกว่าอาคารระยะไกลที่ 2 จะแล้วเสร็จ
- อาคารผู้โดยสาร 4 - กลุ่มสกายทีม และสายการบินที่ไม่ได้เข้าร่วมพันธมิตรสายการบินใดๆ
- อาคารผู้โดยสาร 5 - บริติช แอร์เวย์
ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร 3
แก้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 BAA ได้ออกประกาศว่าจะปรับเปลี่ยนอาคารผู้โดยสาร 3 เพื่อลดความคับคั่ง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัย โดยจะแล้วเสร็จสิ้นปี พ.ศ. 2550
สายการบิน
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Facts and figures | Heathrow".
- ↑ "Aircraft and passenger traffic data from UK airports". UK Civil Aviation Authority. 3 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2017. สืบค้นเมื่อ 30 July 2019.
- ↑ "Traffic Statistics | Heathrow". Heathrow Airport. สืบค้นเมื่อ 22 January 2020.
- ↑ https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/292259/american-airlines-adds-seattle-london-service-from-late-march-2021/
- ↑ "British Airways – BRITISH AIRWAYS LAUNCHES NEWQUAY ROUTE FOR SUMMER 2020". Mediacentre.britishairways.com. 2020-02-12. สืบค้นเมื่อ 2020-02-16.
- ↑ "British Airways adds Charleston SC service in S19". Routesonline.
- ↑ https://abcnews4.com/news/local/british-airways-suspends-seasonal-service-to-Charleston
- ↑ https://www.britishairways.com/travel/schedules/public/en_gb
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "GET INTO THE 2020 HOLIDAY SPIRIT WITH SIX NEW BRITISH AIRWAYS ROUTES FROM HEATHROW". British Airways. 12 December 2019. สืบค้นเมื่อ 16 January 2020.
- ↑ https://www.britishairways.com/travel/booking/public/en_gr/#/flightList?origin=SKG&destination=LON&outboundDate=2020-07-18&adultCount=1&youngAdultCount=0&childCount=0&infantCount=0&cabin=M&ticketFlexibility=LOWEST&journeyType=OWFLT
- ↑ https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291705/china-airlines-to-resume-taipei-london-heathrow-service-in-july-2020/
- ↑ https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291720/china-southern-removes-beijing-daxing-london-heathrow-schedules-in-s20/
- ↑ "Smartwings Group obnovují další letecká spojení nejen do Středomoří, novinkou je pravidelná linka ČSA na Heathrow". smartwings.cz. 28 May 2020.
- ↑ https://www.flytap.com/en-gb/
- ↑ https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291945/virgin-atlantic-july-oct-2020-operations-as-of-20jun20/
- ↑ https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291945/virgin-atlantic-july-oct-2020-operations-as-of-20jun20/
- ↑ "Important information regarding our routes to the Caribbean". Virgin Atlantic Travel News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2019. สืบค้นเมื่อ 27 July 2019.
- ↑ https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291945/virgin-atlantic-july-oct-2020-operations-as-of-20jun20/
- ↑ https://corporate.virginatlantic.com/gb/en/media/press-releases/returnn-to-flying.html
- ↑ https://www.routesonline.com/news/38/airlineroute/291945/virgin-atlantic-july-oct-2020-operations-as-of-20jun20/
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ท่าอาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ เก็บถาวร 2011-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- Heathrow Airport Concultative Committee (อังกฤษ)