เอเชียนาแอร์ไลน์
เอเชียนาแอร์ไลน์ (เกาหลี: 아시아나항공; ฮันจา: 아시아나航空; อาร์อาร์: Asiana Hanggong; อังกฤษ: Asiana Airlines) เป็นสายการบินสัญชาติเกาหลีใต้ ที่มีสำนักงานอยู่ที่โซล[2] เอเชียนาเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ โดยครองส่วนแบ่งตลาดเที่ยวบินระหว่างประเทศ 25% และภายในประเทศ 20% ของเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 2019[3] สายการบินมีฐานการบินระหว่างประเทศในท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน และมีฐานการบินภายในประเทศในท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ และเป็นสมาชิกกลุ่มพันธมิตรทางการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
| |||||||
ก่อตั้ง | 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 (36 ปี) (ในชื่อ โซลแอร์ไลน์) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 23 ธันวาคม ค.ศ. 1988 (35 ปี) | ||||||
ท่าหลัก | |||||||
เมืองสำคัญ | |||||||
สะสมไมล์ | เอเชียนาคลับ | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
บริษัทลูก | |||||||
ขนาดฝูงบิน | 79 | ||||||
จุดหมาย | 78[1] | ||||||
บริษัทแม่ | คัมโฮเอเชียนากรุ๊ป ธนาคารเพื่อการพัฒนาเกาหลี | ||||||
สำนักงานใหญ่ | โซล, สาธารณรัฐเกาหลี | ||||||
บุคลากรหลัก | ฮัน ชาง ซู (ซีอีโอ) | ||||||
เว็บไซต์ | www |
เอเชียนาแอร์ไลน์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางระหว่างประเทศ 71 แห่งภายในประเทศ 7 แห่ง และจุดหมายขนส่งสินค้า 28 แห่งในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย[4] สายการบินเป็นผู้ถือหุ้นหลักในแอร์ปูซาน สายการบินราคาประหยัดระดับภูมิภาคซึ่งเป็นกิจการค้าร่วมที่ดำเนินร่วมกับมหานครพูซัน นอกจากนี้เอเชียนายังดำเนินการสายการบินราคาประหยัด แอร์โซล ในฐานะบริษัทในเครือที่ถือหุ้นทั้งหมด
ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ประกาศแผนการควบรวมกิจการมูลค่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐของสายการบินเข้ากับโคเรียนแอร์ สายการบินประจำชาติของประเทศ[5] โดยจะเป็นการเข้าควบคุมหุ้น 30% ในเอเชียนาของธนาคารเพื่อการพัฒนาเกาหลี[6] การควบรวมกิจการนี้จะนำมาสู่การเลิกดำเนินงานและการออกจากเครือข่ายสตาร์อัลไลแอนซ์ของเอเชียนา และการควบรวมกิจการของแอร์ปูซาน แอร์โซล และจินแอร์เป็นสายการบินราคาประหยัดหนึ่งเดียวที่จะเน้นการดำเนินงานสู่ท่าอากาศยานระดับภูมิภาคในเอเชียแปซิฟิก[7]
กิจการองค์กร
แก้เอเชียนาแอร์ไลน์มีสำนักงานใหญ่ในเอเชียนาทาว์น (아시아나타운) ในแขวงโอโซ เขตกังซอ กรุงโซล เดิมสายการบินมีสำนักงานใหญ่ในแขวงฮเวฮย็อน เขตชุง โดยเอเชียนาได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังสถานที่ปัจจุบันเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1998[8]
จุดหมายปลายทาง
แก้ข้อตกลงการบินร่วม
แก้เอเชียนาแอร์ไลน์ได้มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังต่อไปนี้:[9]
- แอร์อัสตานา
- แอร์ปูซาน (สายการบินลูก)
- แอร์แคนาดา
- แอร์ไชนา
- แอร์อินเดีย
- แอร์มาเก๊า
- แอร์นิวซีแลนด์
- แอร์โซล (สายการบินลูก)
- ออล นิปปอน แอร์เวย์
- ออสเตรียนแอร์ไลน์
- อาเบียงกา
- บรัสเซลส์แอร์ไลน์
- ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์
- โคปาแอร์ไลน์
- โครเอเชียแอร์ไลน์
- อียิปต์แอร์
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์
- สายการบินเอทิฮัด
- อีวีเอแอร์
- ฮ่องกงแอร์ไลน์
- ลอตโปลิชแอร์ไลน์
- ลุฟท์ฮันซ่า
- เมียนมาร์แอร์เวย์อินเตอร์แนชนัล
- ควอนตัส
- กาตาร์แอร์เวย์
- เอสเซเว่นแอร์ไลน์
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม
- ชานตงแอร์ไลน์
- เชินเจิ้นแอร์ไลน์
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- เซาท์แอฟริกันแอร์เวส์
- สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์
- ตัปปูร์ตูกัล
- การบินไทย
- เตอร์กิชแอร์ไลน์
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
ฝูงบิน
แก้ฝูงบินปัจจุบัน
แก้ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 เอเชียนาแอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[10][11][12]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
B+ | B | E+ | E | รวม | ||||
แอร์บัส เอ321-200 | 13 | — | — | 12 | — | 167 | 179 | |
— | 195 | 195 | ||||||
แอร์บัส เอ321นีโอ | 9[13] | 16 | — | 12 | — | 168 | 180 | |
8 | 180 | 188 | ||||||
แอร์บัส เอ330-300 | 15 | — | — | 30 | — | 260 | 290 | |
268 | 298 | |||||||
แอร์บัส เอ350-900 | 15 | 15 | — | 28 | 36 | 247 | 311 | ส่งมอบตั้งแต่ปี ค.ศ. 2025[14] |
แอร์บัส เอ380-800 | 6 | — | 12 | 66 | — | 417 | 495 | จะปลดประจำการในปี ค.ศ. 2026[15] |
โบอิง 767-300 | 1 | — | — | — | — | 290 | 290 | จะปลดประจำการภายในปี ค.ศ. 2024[16][17] |
โบอิง 777-200อีอาร์ | 9 | — | — | 22 | — | 278 | 300 | |
24 | 277 | 301 | ||||||
24 | 278 | 302 | ||||||
ฝูงบินของเอเชียนาคาร์โก | ||||||||
โบอิง 747-400BDSF | 6 | — | สินค้า
|
|||||
โบอิง 747-400F | 4 | — | สินค้า
|
|||||
โบอิง 767-300F | 1 | — | สินค้า
|
|||||
รวม | 79 | 31 |
เอเชียนาแอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 12.3 ปี
ฝูงบินในอดีต
แก้เอเชียนาแอร์ไลน์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:[10][18][19]
เครื่องบิน | จำนวน | เริ่มประจำการ | ปลดประจำการ | เครื่องบินทดแทน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ320-200 | 7 | 2005 | 2024 | แอร์บัส เอ321นีโอ | |
3 | 2006 | 2014 | โอนย้ายไปยังแอร์ปูซาน | ||
1 | 2007 | 2015 | ไม่มี | ตกในเที่ยวบินที่ 162 | |
แอร์บัส เอ321-100 | 4 | 1998 | 2021 | แอร์บัส เอ321-200 | |
แอร์บัส เอ321-200 | 4 | 2000 | 2020 | แอร์บัส เอ321นีโอ | |
11 | 2017 | โอนย้ายไปยังแอร์ปูซาน | |||
6 | 2018 | โอนย้ายไปยังแอร์โซล | |||
โบอิง 737-400 | 22 | 1988 | 2013 | ตระกูลแอร์บัส เอ320 | |
4 | โอนย้ายไปยังแอร์ปูซาน | ||||
โบอิง 737-500 | 3 | 1992 | 2008 | ||
3 | โอนย้ายไปยังแอร์ปูซาน | ||||
1 | 1993 | ไม่มี | ตกในเที่ยวบินที่ 733 | ||
โบอิง 747-400 | 3 | 1993 | 2024 | แอร์บัส เอ350 แอร์บัส เอ380-800 |
[20][16] |
โบอิง 747-400BDSF | 2 | 2007 | 2022 | ไม่มี | |
โบอิง 747-400F | 2 | 1996 | 2009 | ไม่มี | |
1 | 2006 | 2011 | ตกในเที่ยวบินที่ 991 | ||
โบอิง 747-400เอ็ม | 6 | 1991 | 2017 | แอร์บัส เอ350 แอร์บัส เอ380-800 |
ดัดแปลงเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าและโอนย้ายไปยังเอเชียนาคาร์โก |
โบอิง 767-300 | 8 | 1990 | 2022 | แอร์บัส เอ330-300 | |
โบอิง 767-300อีอาร์ | 9 | 1991 | 2006 | แอร์บัส เอ330-300 | |
โบอิง 777-200อีอาร์ | 3 | 2001 | 2017 | แอร์บัส เอ350 | |
1 | 2006 | 2013 | ไม่มี | ตกในเที่ยวบินที่ 214 |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Asiana Airlines on ch-aviation.com". ch-aviation.com. สืบค้นเมื่อ 21 November 2023.
- ↑ "Home เก็บถาวร 17 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Asiana Airlines. Retrieved 13 September 2010. "Address : Asiana Town, P.O. Box 98 47 Osoe-dong, Gangseo-gu, Seoul, Korea." Address in Korean เก็บถาวร 22 พฤศจิกายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: "주소 서울특별시 강서구 오쇠동 47번지 아시아나 타운." Map in Korean เก็บถาวร 20 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Direct image link to map เก็บถาวร 2 มกราคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "South Korea aviation market: a decade of rapid growth driven by LCCs". CAPA. 2 June 2019.
- ↑ "For foreigners residing in Korea เก็บถาวร 25 กรกฎาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Asiana Airlines. Retrieved 28 December 2010.
- ↑ Yonhap (November 16, 2020). "Korean Air to buy indebted Asiana, emerging as world's 10th-largest airline". The Korea Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2020. สืบค้นเมื่อ November 24, 2020.
- ↑ "대한항공·아시아나 통합 국적항공사 출범…산은 8천억 투입" [Launch of Korean Air and Asiana integrated national airline... 800 billion won was invested]. Yonhap News Agency (ภาษาเกาหลี). 16 November 2020.
- ↑ "진에어·에어서울·에어부산 통합... 정부 "지방공항 기반해 운영"" [Integration of Jin Air, Air Seoul, and Air Busan... Government "operating based on local airports"]. ChosunBiz (ภาษาเกาหลี). 16 November 2020.
- ↑ "History เก็บถาวร 25 ธันวาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Asiana Cargo. Retrieved on 19 July 2013.
- ↑ "Asiana Airlines Codeshares Network". Asiana Airlines. Seoul: Kumho Asiana Group.
- ↑ 10.0 10.1 "Asiana Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-05-20.
- ↑ "Fleet Guide". Asiana Airlines.
- ↑ "항공기 등록현황" (ภาษาเกาหลี). Ministry of Land, Infrastructure and Transport of the Republic of Korea.
- ↑ Wenzel, Nick (August 2019). "Asiana Airlines receives first Airbus A321neo". International Flight Network. สืบค้นเมื่อ 11 December 2019.
- ↑ https://www.airbus.com/sites/g/files/jlcbta136/files/2024-04/ODs-March-2024-Airbus-Commercial-Aircraft-AC1109.xlsx
- ↑ "Asiana's Airbus A380 set for early retirement". Executive Traveller. 11 October 2021.
- ↑ 16.0 16.1 "현대家 새식구 '아시아나' 약점 지우고 오명 벗는다" (ภาษาเกาหลี). 12 November 2019.
- ↑ "[단독] 아시아나 마지막 '점보 여객기' 내년 3월 운항 종료" (ภาษาเกาหลี). 21 November 2023.
- ↑ "연도별 도입 현황" (ภาษาเกาหลี). Ministry of Land, Infrastructure and Transport of the Republic of Korea.
- ↑ "연도별 말소 현황" (ภาษาเกาหลี). Ministry of Land, Infrastructure and Transport of the Republic of Korea.
- ↑ "Korea's last 'Queen of the Skies' Boeing 747 makes final flight". Korea Joongang Daily. 25 March 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เอเชียนาแอร์ไลน์