ชาญวิทย์ ผลชีวิน
ชาญวิทย์ ผลชีวิน (ชื่อเล่น ตุ๋ย) หรือ โค้ชหรั่ง เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 กรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์[1] โฆษกกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และเป็นอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา[2] อดีตรองอธิบดีกรมพลศึกษา อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย ในช่วงปี 2547-2550 โดยรับตำแหน่งต่อจาก ซิกกี้ เฮลด์ เมื่อ พ.ศ. 2547 และในปี พ.ศ. 2536, พ.ศ. 2537 เคยพาทีมสโมสรธนาคารกสิกรไทย คว้าแชมป์ฟุตบอลเอเชียนแชมเปียนส์คัพ (ฟุตบอลสโมสรชิงแชมป์เอเชีย) สองสมัยติดต่อกัน และพาทีมเยาวชน 17 ปีของไทย ไปเล่นฟุตบอลเยาวชนโลกเป็นครั้งแรกที่อียิปต์ ในปี พ.ศ. 2540
![]() | ||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนตัว | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ชาญวิทย์ ผลชีวิน | |||||||||||||||
วันเกิด | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2498 | |||||||||||||||
สถานที่เกิด | อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย | |||||||||||||||
สโมสรอาชีพ* | ||||||||||||||||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) | |||||||||||||
1978-1981 | ราชประชา เอฟซี | 51 | (8) | |||||||||||||
ทีมชาติ | ||||||||||||||||
1976 | ไทย (ชุดบี) | ? | (?) | |||||||||||||
จัดการทีม | ||||||||||||||||
1991-2000 | ธนาคารกสิกรไทย | |||||||||||||||
1996-1997 | ไทย (ยู-16 ปี) | |||||||||||||||
1998 | ไทย (ยู-19 ปี) | |||||||||||||||
2002 | ไทย (ยู-20 ปี) | |||||||||||||||
2005-2006 | ไทย (ยู-23 ปี) | |||||||||||||||
2005-2008 | ไทย | |||||||||||||||
2010 | ไทย (ผู้หญิง) | |||||||||||||||
2015 | การท่าเรือ เอฟซี | |||||||||||||||
เกียรติประวัติ
| ||||||||||||||||
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
ชาญวิทย์สามารถนำทีมชาติไทย ชุดเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี คว้าแชมป์กีฬาซีเกมส์ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2548 และคว้าแชมป์ฟุตบอล 4 เส้าอกรีแบงก์คัพ ที่เวียดนามในปี พ.ศ. 2549 พาทีมชาติไทยชุดเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 15 ที่ประเทศกาตาร์ ก่อนแพ้ทีมชาติกาตาร์ 0-3 ต่อมาในปีเดียวกัน พาทีมชาติไทยชุดใหญ่ คว้าแชมป์ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ 2006 โดยในนัดชิงชนะเลิศ สามารถเอาชนะทีมชาติเวียดนาม 3-1[3]
ชาญวิทย์ ผลชีวิน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[4]
ผลงานแก้ไข
ผู้จัดการทีม
- เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ชนะเลิศ : 1994,1995
- ไทยพรีเมียร์ลีก (Kor Royal Cup) ชนะเลิศ : 1991, 1992, 1993, 1995, 2000
- ควีนส์คัพ ชนะเลิศ : 1994, 1995, 1996, 1997
- อัฟโร-เอเชียนคลับแชมเปียนชิพ ชนะเลิศ : 1994
- ไทยเอฟเอคัพ ชนะเลิศ : 1999
- ทีมชาติไทย
- ASEAN Football Championship รองชนะเลิศ : 2007 กับ ทีมชาติไทย
- เอเอฟซี U-17 แชมเปียนชิพ U-17 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก : 1997 กับ ทีมชาติไทย
- เอเอฟเอฟ U-20 ยอร์ทแชมเปียนชิพ ชนะเลิศ : 2002 กับ ทีมชาติไทย
- ซีเกมส์ ชนะเลิศ : 2005
- คิงส์คัพ (ประเทศไทย) ชนะเลิศ : 2006, 2007
เกียรติประวัติส่วนบุคคลแก้ไข
- ผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมของเอเชียประจำปี : 1994
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[7]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/242/26.PDF
- ↑ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในเรื่องแต่งตั้ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวการซื้อตัวจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ หน้า 3 5 ตุลาคม 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๑๙๓, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ชาญวิทย์ ผลชีวิน
บทความเกี่ยวกับนักฟุตบอลนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิฟุตบอล |