ความสัมพันธ์บรูไน–มาเลเซีย

ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศ

ประเทศบรูไนและประเทศมาเลเซียเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการทูตใน ค.ศ. 1984 โดยบรูไนมีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ที่ปูตราจายาและกงสุลในโกตากีนาบาลูกับกูจิง[1][2] ส่วนมาเลเซียมีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ที่บันดาร์เซอรีเบอกาวัน[3] ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกเต็มตัวของอาเซียนกับเครือจักรภพแห่งประชาชาติ และมีชายแดนบนพื้นดินในเกาะบอร์เนียว

ความสัมพันธ์บรูไน–มาเลเซีย
Map indicating location of Brunei and Malaysia

บรูไน

มาเลเซีย

เทียบประเทศ แก้

  บรูไน   มาเลเซีย
ตราแผ่นดิน    
ธง    
ประชากร 460,345 32,730,000
พื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร (2,226 ตารางไมล์) 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,724 ตารางไมล์)
ความหนาแน่นประชากร 72.11 ต่อตารางกิโลเมตร (186.8 ต่อตารางไมล์) 92 ต่อตารางกิโลเมตร (240 ต่อตารางไมล์)
เขตเวลา 1 1
เมืองหลวง บันดาร์เซอรีเบอกาวัน กัวลาลัมเปอร์
ปูตราจายา (การบริหาร)
เมืองใหญ่สุด บันดาร์เซอรีเบอกาวัน – 100,700 กัวลาลัมเปอร์ – 1,790,000
รัฐบาล รัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบอิสลาม สหพันธรัฐ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญผ่านการเลือกตั้ง ในระบบรัฐสภา
ก่อตั้ง 17 กันยายน ค.ศ. 1888 (จัดตั้งเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ)
23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1971 (จักรวรรดิบริติชให้สถานะปกครองตนเอง)
1 มกราคม ค.ศ. 1984 (บรูไนประกาศเอกราชจากจักรวรรดิบริติช)
31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 (สหพันธรัฐมาลายาประกาศเอกราชจากจักรวรรดิบริติช)
16 กันยายน ค.ศ. 1963 (คำประกาศมาเลเซีย)
รัฐก่อนหน้า สมัยราชอาณาจักรกลาง (1368–1888)
  รัฐสุลต่านบรูไน (1368–1888)

สมัยอาณานิคมอังกฤษ (1888–1984)
   รัฐในอารักขาบรูไน (1888–1941; 1946–1984)
สมัยครอบครองของญี่ปุ่น (1942–1945)
  บริติชบอร์เนียวที่ถูกยึดครอง (1942–1945)
สมัยทหารชั่วคราว (1945–1946)
  หน่วยงานการทหารแห่งบอร์เนียว (1945–1946)

สมัยเอกราช (1984–ปัจจุบัน)
  เนอการาบรูไนดารุซซาลาม (1984–ปัจจุบัน)
สมัยอาณานิคมโปรตุเกส (1511–1641)
  มะละกาของโปรตุเกส (1511–1641)
สมัยอาณานิคมดัตช์ (1641–1825)
  มะละกาของดัตช์ (1641–1795; 1818–1825)
สมัยอาณานิคมอังกฤษ (1771–1946)
  สเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (1826–1946)
  สหพันธรัฐมลายู (1895–1946)
  รัฐมลายูที่ไม่ได้เป็นสหพันธรัฐ (1909–1946)
  ซาราวัก (1841–1946)
  คราวน์โคโลนีแห่งลาบวน (1848–1946)
  บริติชบอร์เนียว (1881–1946)
สมัยครอบครองของญี่ปุ่น (1942–1945)
  มาลายาที่ถูกครอบครอง (1942–1945)
  บริติชบอร์เนียวที่ถูกยึดครอง (1942–1945)
  สี่รัฐมาลัย (1943–1945)
สมัยทหารชั่วคราว (1945–1946)
  หน่วยงานการทหารแห่งมาลายา (1945–1946)
  หน่วยงานการทหารแห่งบอร์เนียว (1945–1946)
สมัยรัฐบาลปกครองตนเอง (1946–1963)
  สหภาพมาลายา (1946–1948)
  สหพันธรัฐมาลายา (1948–1963)
  คราวน์โคโลนีแห่งบอร์เนียวเหนือ (1946–1963)
  คราวน์โคโลนีแห่งซาราวัก (1946–1963)
สมัยสหพันธรัฐ (1963–ปัจจุบัน)
  สหพันธรัฐมาเลเซีย (1963–ปัจจุบัน)
ผู้นำคนแรก มูฮัมหมัด ชาห์ (อดีต)
ฮัสซานัล โบลเกียห์ (โดยนิตินัย)
ตวนกู อับดุล ระห์มัน (กษัตริย์)
ตุนกู อับดุล ระห์มัน (นายกรัฐมนตรี)
ประมุขแห่งรัฐ   สุลต่าน: ฮัสซานัล โบลเกียห์   กษัตริย์: อับดุลละฮ์
หัวหน้ารัฐบาล   นายกรัฐมนตรี: ฮัสซานัล โบลเกียห์ นายกรัฐมนตรี: อิซมาอิล ซับรี ยักกบ
รองประมุข มกุฎราชกุมาร: อัลมุห์ตาดี บิลละห์ ไม่มี
นิติบัญญัติ สภานิติบัญญัติ (ระบบสภาเดี่ยว) รัฐสภา (ระบบสองสภา)
สภาสูง ไม่มี วุฒิสภา
ประธาน: ราอิซ ยาติม
สภาล่าง ไม่มี สภาผู้แทนราษฎร
ประธาน: อัซฮาร์ อาซีซัน ฮารุน
ตุลาการ สภาสูง สภาสหพันธ์
ประธานศาล: เติงกู ไมมุน ตวน มัต
ภาษาราชการ มลายู มาเลเซีย (มีอีกชื่อว่า มลายู)
เพลงชาติ อัลละฮ์เปอลีฮารากันซุลตัน เนอการากู
สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน (B$) ริงกิตมาเลเซีย (RM)
สายการบินประจำชาติ รอยัลบรูไนแอร์ไลน์ มาเลเซียแอร์ไลน์
ท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าอากาศยานนานาชาติบรูไน ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
การแพร่ภาพกระจายเสียงสาธารณะ สถานีวิทยุโทรทัศน์บรูไน สถานีวิทยุโทรทัศน์มาเลเซีย
จีดีพี (เฉลี่ย) 13,002 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (30,933 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว) 800,169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (25,833 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว)

ประวัติ แก้

ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1984[4]

ความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม แก้

บรูไนและมาเลเซียมีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในมาเลเซียตะวันออกที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิบรูไน ใน ค.ศ. 2011 มีชาวบรูไนประมาณ 61,470 คนเดินทางเยี่ยมชมมาเลเซีย[4] ส่วนบรูไนรับนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย 1,238,871 คนใน ค.ศ. 2013[5]

การเดินทาง แก้

รัฐซาราวักและรัฐซาบะฮ์ในมาเลเซียตะวันออกเชื่อมกับบรูไนที่ทางหลวงแพนบอร์เนียวในบริเวณสะพานมิตรภาพบรูไน–มาเลเซีย

ข้อพิพาท แก้

ก่อน ค.ศ. 2009 ชายแดนบนพื้นดินของมาเลเซียกับรูไนในบริเวณลิมบังอยู่ในเขตพิพาท[6] ทั้งบรูไนและมาเลเซียยอมรับที่จะหยุดการสำรวจน้ำมันและก๊าซในดินแดนพิพาทจนกว่าจะมีการเจรจาข้อตกลงใน ค.ศ. 2003[7] ดูเหมือนว่ามีทางแก้ปัญหาระหว่างรัฐบาลทั้งสองได้สำเร็จในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 โดยสื่อของมาเลเซียรายงานว่าบรูไนถอนการอ้างสิทธิ์ในลิมบังทั้งหมด ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นดินแดนของมาเลเซีย[8] อย่างไรก็ตาม บรูไนปฏิเสธรายงานข่าวของมาเลเซียทันที โดยระบุว่าในช่วงการเจรจาแลกเปลี่ยนหนังสือฯ ยังไม่มีการอภิปรายปัญหาลิมบัง [9]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Consulate General of Brunei Darussalam in Kota Kinabalu, Sabah". Ministry of Foreign Affairs and Trade, Brunei Darussalam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2017. สืบค้นเมื่อ 18 April 2017.
  2. "Consulate General of Brunei Darussalam in Kuching, Sarawak". Ministry of Foreign Affairs and Trade, Brunei Darussalam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2017. สืบค้นเมื่อ 18 April 2017.
  3. "Official Website of High Commission of Malaysia, Bandar Seri Begawan". Ministry of Foreign Affairs, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-19. สืบค้นเมื่อ 18 April 2017.
  4. 4.0 4.1 "Brunei-Malaysia Relations". Ministry of Foreign Affairs and Trade (Brunei). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2014. สืบค้นเมื่อ 3 February 2014.
  5. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 October 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-01-19.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  6. R. Haller-Trost (1994). The Brunei-Malaysia Dispute Over Territorial and Maritime Claims in International Law. IBRU. p. 13. ISBN 978-1-897643-07-5.
  7. Samuel Blankson (February 2007). The Practical Guide to Total Financial Freedom. Lulu Press Incorporated. p. 274. ISBN 978-1-4116-2054-4.
  8. "Brunei drops all claims to Limbang". The Brunei Times. 17 March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2014. สืบค้นเมื่อ 23 August 2013.
  9. Azlan Othman (18 March 2009). "Brunei denies Limbang story". Borneo Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2009. สืบค้นเมื่อ 23 March 2009.