ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล

ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล[1] หรือ การคิดตามความปรารถนา (อังกฤษ: wishful thinking) เป็นการตั้งความเชื่อและการตัดสินใจ ตามสิ่งที่เราชอบใจ แทนที่จะตามหลักฐาน เหตุผล หรือความเป็นจริง เป็นผลของการแก้ความขัดแย้งกันระหว่างความเชื่อและความต้องการ[2] งานศึกษาต่าง ๆ แสดงผลเหมือน ๆ กันว่า เมื่อตัวแปรอื่น ๆ เท่ากัน เราจะพยากรณ์ผลที่ดีน่าชอบใจว่า มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าผลร้าย แต่ก็มีงานวิจัยในปี ค.ศ. 2013 ที่แสดงว่า ในบางสถานการณ์เช่นเมื่อภัยสูงขึ้น ปรากฏการณ์ตรงกันข้ามจะเกิดขึ้น[3]

มีนักจิตวิทยาที่เชื่อว่า ความคิดเชิงบวกจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงบวก และดังนั้น จะทำให้เกิดผลที่ดีกว่า ซึ่งเรียกว่า "Pygmalion effect"[ต้องการอ้างอิง]

มีนักข่าวที่พรรณนาการคิดตามความปรารถนาไว้ว่า

เป็น "วงจรแห่งความฝันเฟื่อง" ... เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีกในชีวิตแต่ละบุคคล ในวงการเมือง ในประวัติศาสตร์ และในเรื่องราวที่เล่า เมื่อเราเริ่มทำอะไร ที่มีการขับเคลื่อนอย่างไม่ได้ตั้งใจโดยความปรารถนาที่อยู่เหนือเหตุผล ทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะดูดีเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเราอาจจะเรียกช่วงนี้ได้ว่า "ช่วงแห่งความฝัน" แต่เพราะว่า เรื่องเพ้อฝันไม่อาจที่จะเข้ากับความจริงได้ ก็จะนำไปสู่ "ช่วงขัดข้องใจ" ต่อไป เมื่ออะไรหลาย ๆ อย่างจะไม่เป็นไปตามความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราตั้งใจพยายามมากขึ้น เพื่อที่จะรักษาความฝันไว้ แต่เมื่อความจริงแสดงตัวออกเรื่อย ๆ ก็จะนำไปสู่ "ช่วงฝันร้าย" เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างจะไม่เป็นไปตามต้องการ ไปสิ้นสุดที่ช่วง "ระเบิดเข้าหาความจริง" เมื่อความฝันเฟื่องในที่สุดก็จะสลายไป[4]

ตัวอย่าง แก้

ตัวอย่างเด่นของการคิดตามความปรารถนาในชาวตะวันตก รวมทั้ง

โดยเป็นเหตุผลวิบัติ แก้

นอกจากจะเป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) และวิธีที่แย่ในการตัดสินใจแล้ว มีการนับว่า การคิดตามความปรารถนาเป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy) อย่างหนึ่ง เมื่อเราคิดว่า สิ่งหนึ่งเป็นจริง เพราะว่าเราอยากให้มันเป็นจริง โดยมีรูปแบบว่า "ฉันอยากให้ ก เป็นจริง/เท็จ ดังนั้น ก จึงเป็นจริง/เท็จ"[6]

การเห็นตามความปรารถนา แก้

การเห็นตามความปรารถนา (wishful seeing) เป็นปรากฏการณ์ที่สภาพใจมีอิทธิพลต่อการเห็น เรามักจะเชื่อว่า เราเห็นโลกดังที่โลกเป็นจริง ๆ แต่งานวิจัยแสดงว่าความเชื่อนี้ไม่เป็นจริง ในปัจจุบัน การเห็นตามความปรารถนาจัดเป็น 2 อย่าง ตามขั้นตอนกระบวนการเห็น คือ เมื่อจัดประเภทสิ่งที่เห็น (categorization of objects) หรือเมื่อสร้างตัวแทนของสิ่งแวดล้อม (representations of an environment)[7]

ประวัติ แก้

การคิดตามความปรารถนา เป็นเรื่องที่เสนอเป็นครั้งแรกจากแนวคิดทางจิตวิทยาที่เรียกว่า "New Look" ซึ่งเป็นแบบจิตวิทยาที่สร้างความนิยมโดยเจโรม บรูเนอร์ และเซซิล กูดแมน ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ในงานศึกษาคลาสสิกปี 1947 พวกเขาให้เด็กบอกขนาดของเหรียญกระษาปณ์ โดยให้แสดงด้วยขนาดของรูกลม ๆ ที่กล่องไม้ คือให้เด็กแต่ละคนถือเหรียญในมือซ้าย ในส่วนสูงและระยะทางเท่ากับรูบนกล่องไม้ แล้วหมุนลูกบิด เพื่อเปลี่ยนขนาดของรูด้วยมือขวา มีเด็กสามกลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองสองกลุ่มและกลุ่มควบคุม แต่ละกลุ่มมีเด็ก 10 คน กลุ่มควบคุมจะประเมินขนาดเหรียญกระดาษแทนเหรียญกระษาปณ์ การทดลองพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กกลุ่มทดลองจะประเมินขนาดเหรียญ ใหญ่เกินความจริง 30%

ในการทดลองที่สอง พวกเขาแบ่งเด็กขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจ แล้วก็ให้เด็กทั้งที่ "รวย" และ "จน" ประเมินขนาดเหรียญกระษาปณ์โดยวิธีเดียวกัน และเหมือนกับที่คาดหวัง เด็กทั้งสองกลุ่มประเมินขนาดเหรียญเกินความจริง แต่เด็กกลุ่มจน ประเมินเกินมากถึง 50% ในขณะเด็กกลุ่มรวย ประเมินเกินเพียงแค่ 20% นักวิจัยสรุปจากผลที่ได้นี้ว่า เด็กจนต้องการเงินมากกว่า ดั้งนั้น จึงเห็นเหรียญใหญ่กว่า สมมุติฐานนี้ เป็นฐานของจิตวิทยาแบบ "New Look" ซึ่งเสนอว่า ประสบการณ์ที่เป็นอัตวิสัยเกี่ยวกับวัตถุ จะมีอิทธิพลต่อการเห็นวัตถุนั้น[8]

แม้ว่าจะมีงานวิจัยต่อ ๆ มาที่สามารถทำซ้ำผลที่ได้ ต่อมา วิธีแบบ "New Look" ก็ตกความนิยมไปในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เพราะการทดลองเต็มไปด้วยความผิดพลาดทางระเบียบวิธี ที่ไม่ได้กำจัดตัวแปรสับสน (confounding)[9] แต่งานวิจัยในปี ค.ศ. 2013 ได้เพิ่มความนิยมในมุมมองนี้อีก และได้ปรับปรุงระเบียบวิธี ที่แก้ปัญหาในงานศึกษาดั้งเดิม[10]

กลไกที่เป็นฐาน แก้

ทางประชาน แก้

กลไกทางประชานที่แน่นอน ของการคิดตามความปรารถนาและการเห็นตามความปรารถนา ยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีทฤษฎีที่เสนอ คืออาจจะเกิดจากกลไก 3 อย่างคือ ความเอนเอียงโดยการใส่ใจ (attention bias) ความเอนเอียงในการตีความ (interpretation bias) หรือ ความเอนเอียงโดยการตอบสนอง (response bias) ดังนั้น จึงมีช่วง 3 ช่วงตามลำดับในการประมวลผลทางประชาน ที่การคิดตามความปรารถนาอาจเกิดขึ้น[3][11] ในช่วงการประมวลผลทางประชานที่ต่ำสุด เราอาจใส่ใจในสิ่งต่าง ๆ โดยคัดเลือก คือจะใส่ใจในหลักฐานที่สนับสนุนความปรารถนาของตน แล้วไม่ใส่ใจหลักฐานที่ค้าน[3][11] หรือว่า การคิดตามความปรารถนาอาจจะเกิดขึ้นจากการตีความสิ่งต่าง ๆ โดยคัดเลือก ในกรณีนี้ เราไม่ได้เปลี่ยนความใส่ใจในสิ่งต่าง ๆ แต่เปลี่ยนความสำคัญที่ให้[11] หรือว่า การคิดตามความปรารถนา อาจเกิดขึ้นในระดับการประมวลผลทางประชานที่สูงกว่า เช่น เมื่อตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ด้วยความเอนเอียง[11]

ส่วนการเห็นตามความปรารถนา อาจจะมีกลไกเช่นเดียวกันการคิดตามความปรารถนา เพราะว่า เป็นการประมวลวัตถุที่รับรู้ รวมทั้งสิ่งที่เห็น แต่ว่า เพราะมีการประมวลผลสิ่งที่เห็นก่อนจะเกิดความสำนึก ให้สัมพันธ์กับผลที่ต้องการ ดังนั้น ความเอนเอียงในการตีความ และ ความเอนเอียงโดยการตอบสนอง จะไม่สามารถเกิดขึ้นในระยะนี้ เพราะว่า ความเอนเอียงเหล่านั้น จะเกิดขึ้นในช่วงประมวลผลทางประชานที่ประกอบด้วยความสำนึก[12] และดังนั้น กลไกที่สี่ที่เสนอซึ่งเรียกว่า perceptual set อาจจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้[3] คือว่า มีสภาพทางจิตใจหรือการสร้างความสัมพันธ์ ที่ทำงานก่อนที่จะเห็น และจะช่วยนำทางการประมวลผลของระบบการเห็น ดังนั้น สิ่งที่เห็น จึงอาจสามารถรู้จำได้ง่าย[3]

มีนักวิชาการบางท่านที่เชื่อว่า การเห็นตามความปรารถนา เป็นผลจากการประมวลผลทางประชานในระดับสูง ซึ่งสามารถมีผลต่อการรับรู้วัตถุ (perceptual experience) ไม่ใช่เพียงแค่มีผลต่อการประมวลผลในระดับสูงเท่านั้น ส่วนนักวิชาการพวกอื่นไม่เห็นด้วยเพราะเชื่อว่า ระบบรับความรู้สึกทำงานโดยเป็นหน่วยจำเพาะ (modular) และสภาวะทางประชานจะมีอิทธิพล ก็ต่อเมื่อมีการรับรู้สิ่งเร้าแล้ว[8] อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์การเห็นตามความปรารถนา แสดงความเกี่ยวข้องของการประมวลผลระดับสูงกับการรับรู้[3]

การจัดประเภท แก้

การเห็นตามความปรารถนา ปรากฏว่าเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ ในการจัดประเภทของสิ่งที่รับรู้ ในงานวิจัยที่ทดลองโดยรูปที่คลุมเครือ (ambiguous image) หรือโดยการแข่งขันระหว่างสองตา (binocular rivalry)[13] โดยการรับรู้ (perception) ได้รับปัจจัยทั้งจากการประมวลผลทางประชานระดับบน (top-down) และระดับล่าง (bottom-up) ในเรื่องการเห็น การประมวลผลระดับล่างที่เป็นปัจจัยนั้น เป็นกระบวนการมีขั้นตอนที่แน่นอน ไม่เหมือนกับกับการประมวลผลระดับบน ซึ่งยืดหยุ่นได้ดีกว่า[14] ในการประมวลผลระดับล่าง สิ่งเร้าจะกำหนดได้โดยการตรึงตาอยู่กับที่ ระยะทาง และบริเวณโฟกัส ของวัตถุที่เห็น ในขณะที่การประมวลผลระดับบน จะกำหนดโดยสิ่งที่อยู่แวดล้อมมากกว่า ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้ในการทดลองที่ใช้เทคนิค priming (การเตรียมการรับรู้) และเปลี่ยนสภาวะต่าง ๆ ทางอารมณ์[15]

แบบจำลองที่ใช้ผ่าน ๆ มา เป็นการประมวลข้อมูลไปตามลำดับชั้น ซึ่งอธิบายการประมวลผลทางตาระยะต้น ๆ ว่า เป็นไปในทางเดียว คือ ผลการเห็นที่ประมวลจะส่งไปยังระบบความคิด (conceptual system) แต่ระบบความคิดจะไม่มีผลต่อกระบวนการทางตา[16] แต่ในปัจจุบันนี้ ผลงานวิจัยปฏิเสธแบบจำลองนี้ และบอกเป็นนัยว่า ข้อมูลความคิดสามารถมีผลโดยตรงต่อการประมวลผลทางตาชั้นต้น ๆ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สร้างความโน้มเอียงให้กับระบบการรับรู้เท่านั้น[15]

วงจรประสาท แก้

เขตในสมองที่กระตุ้นการเห็นและการคิดตามความปรารถนา เป็นเขตเดียวกันกับการระบุกลุ่มของตน (social identification) และความรู้สึกที่ดี (social reward) ทางสังคม งานศึกษาหนึ่งตรวจสอบโครงสร้างเหล่านี้โดยใช้ MRI เมื่อผู้ร่วมการทดลองประเมินค่าความน่าจะเป็น ของชัยชนะของทีมอเมริกันฟุตบอล แต่ก่อนที่จะให้ประเมิน ผู้ร่วมการทดลองจะชี้ว่าชอบ ไม่ชอบ และรู้สึกเฉย ๆ กับทีมไหนบ้าง รู้กันมาก่อนแล้วว่า การคิดตามความปรารถนาสัมพันธ์กับการระบุกลุ่มทางสังคม (social identity theory) ที่เราจะชอบใจคนในกลุ่มของเรา (Ingroups หรือกลุ่มใน) มากว่าคนนอกกลุ่ม (Ougroups หรือกลุ่มนอก)[17] และในงานศึกษานี้ ก็พบว่า ผู้ร่วมการทดลองจะชอบใจ ทีมที่ตัวเองรู้สึกว่าตนคล้ายคลึงมากที่สุด

ในช่วงเวลาที่ทดสอบความคิดตามความปรารถนา มีการทำงานที่ต่างกันในสมอง 3 เขต คือ คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าส่วนหลังด้านใน (dorsal medial prefrontal cortex) สมองกลีบข้าง และ fusiform gyrus ในสมองกลีบท้ายทอย การทำงานที่แตกต่างกันในสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบข้าง บอกเป็นนัยว่า มีความใส่ใจแบบคัดเลือกโดยเฉพาะอย่างหนึ่งที่ให้กับสิ่งที่รับรู้ ซึ่งเป็นหลักฐานว่า มีการประมวลผลทางประชานในระดับต่ำ หรือว่ามีความเอนเอียงโดยการใส่ใจ (attention bias)[12]

แต่ว่าการทำงานที่แตกต่างกันในคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า ก็แสดงด้วยว่ามีการประมวลผลทางประชานระดับสูง ซึ่งสัมพันธ์กับความชอบใจเนื่องกับการระบุกลุ่มทางสังคม[12] ดังนั้น เมื่อสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้องกับผู้ประเมิน เช่นเป็นทีมอเมริกันฟุตบอลที่ตนชอบ ก็จะเกิดการทำงานในคอร์เทกซ์ และการระบุกลุ่มของตน ซึ่งทำให้เกิดความสุขสบาย ก็จะกระตุ้น reward system (ระบบรางวัล เป็นระบบที่ให้ความรู้สึกสุขสบาย เมื่อมีการกระทำที่เข้ากัน) ให้ทำงาน[12] การทำงานที่แตกต่างกันของระบบรางวัล ปรากฏพร้อมกับการทำงานของสมองกลีบท้ายทอยเท่านั้น[12] ดังนั้น การทำงานของระบบรางวัลเนื่องจากการระบุกลุ่มของตน อาจจะนำทางการใส่ใจในการเห็น[12][17]

วิถีประสาท Magnocellular (M) และ Parvocellular (P) ซึ่งส่งสัญญาณไปที่ orbitofrontal cortex ในคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า มีบทบาทสำคัญในการประมวลผลทางตา ที่ได้รับอิทธิพลจากการประมวลผลทางประชานระดับสูง[15] สัญญาณสิ่งเร้าที่ส่งผ่านวิถีประสาท M จะเริ่มการทำงานใน orbitofrontal cortex และวิถีประสาท M แบบเร็ว จะเชื่อมกับระบบรู้จำวัตถุทั้งในระบบสายตาเบื้องต้น ทั้งในสมองกลีบขมับด้านหลัง (Inferotemporal cortex) ให้ทำงานกับ orbitofrontal cortex ร่วมกันสร้างการคาดหมายว่า สิ่งที่รับรู้นั้นคืออะไร[16] สิ่งเร้าที่ใช้กระตุ้นวิถีประสาท M เป็นลายวาดไม่มีสี ภายใต้แสงที่ต่ำ ส่วนที่ใช้กระตุ้นวิถีประสาท P เป็นลายวาดมีสี ภายใต้แสงที่กระจายทั่วกัน มีการตรวจสอบโดยให้ผู้ร่วมการทดลองชี้ว่า ลายที่วาดใหญ่หรือเล็กกว่ากล่องรองเท้า[16] แล้วใช้ fMRI เพื่อสอดส่องการทำงานใน orbitofrontal cortex และสมองกลีบขมับด้านหลัง เพื่อตัดสินใจว่า วิถีประสาทไหนจะช่วยให้รู้จำวัตถุได้เร็วกว่า[16] ผลการทดลองสนับสนุนความคิดว่า เซลล์ประสาทในวิถีประสาท M มีบทบาทสำคัญในการรู้จำวัตถุที่มีรายละเอียดต่ำ เพราะช่วยให้เกิดกระบวนการทำงานในระบบประชานระดับสูงมีผลเป็นการคาดหมายวัตถุ ที่ช่วยให้รู้จำวัตถุได้เร็วขึ้น[16]

ความใส่ใจ แก้

มนุษย์มีเขตลานสายตาจำกัด ที่ต้องย้ายไปตามสิ่งเร้าที่ต้องการเห็น การใส่ใจเป็นกระบวนการทางประชานที่ทำหน้าที่นี้ให้สำเร็จ และอาจเป็นเหตุของปรากฏการณ์การเห็นตามความปรารถนา ส่วนความคาดหวัง ความปรารถนา และความกลัว ล้วนแต่เป็นปัจจัยในการย้ายความใส่ใจ[10] และดังนั้น ความรู้สึกเหล่านี้ อาจมีอิทธิพลต่อประสบการณ์การรับรู้ นอกจากนั้นแล้ว การใส่ใจจะช่วยในการวางแผนการเคลื่อนไหว เป็นกลไกที่สิ่งเร้าทางตาสามารถมีผลต่อพฤติกรรม[18]

ความบกพร่องของการใส่ใจ อาจนำไปสู่ประสบการณ์รับรู้ที่แปรไป Inattentional blindness (ความบอดเพราะไม่ใส่ใจ) ที่เกิดขึ้นเมื่อเราไม่สังเกตเห็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหวัง เป็นความบกพร่องเช่นนี้อย่างหนึ่ง[19] ในการทดลองหนึ่งที่ใช้ปรากฏการณ์ความบอดเพราะไม่ใส่ใจ นักวิจัยให้ผู้ร่วมการทดลองตรึงตราที่กากบาทตรงกลางจอคอมพ์ แรกสุด จะมีตัวเลขที่แสดงว่าจะมีอักษรกี่ตัวมาปรากฏที่แขนของกากบาท ฉายที่กลางกากบาท แล้วอักษรก็จะปรากฏตรงแขน ในการทดลองสี่ครั้ง ตัวเลขที่แสดงจะเท่ากับจำนวนอักษรที่ปรากฏ แต่ในการทดลองที่ 5 ผู้ร่วมการทดลองครึ่งหนึ่งจะเห็นเลขน้อยกว่าที่ตัวอักษรจะปรากฏ และอีกครึ่งหนึ่งจะเห็นตัวเลขเท่ากับจำนวนอักษร แล้วอักษรก็จะปรากฏ แต่มาพร้อมกับสิ่งเร้าที่ไม่ได้คาดหวังอีกตัวหนึ่ง และจะมีการถามผู้ร่วมการทดลองว่า มีอักษรอะไรที่ปรากฏ และเห็นสิ่งเร้าอื่น ๆ อีกหรือไม่ ผู้ร่วมการทดลองที่คาดหวังว่าจะมีอักษรปรากฏน้อยกว่าความจริง จะเกิดความบอดเพราะไม่ใส่ใจมากกว่า และไม่สามารถตรวจจับสิ่งเร้าที่เพิ่มขึ้น บ่อยครั้งกว่าผู้ร่วมการทดลองที่คาดหวังว่าจะมีอักษรปรากฏตรงความจริง ผลการทดลองนี้แสดงว่า การคาดหวังจะมีอิทธิพลต่อสมรรถภาพในการใส่ใจ[20] ซึ่งเป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการทางประชานต่าง ๆ ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างประสบการณ์การรับรู้

แม้ว่าความใส่ใจจะช่วยการประมวลผลเพื่อการรับรู้ แต่ว่า การไม่ใส่ใจสิ่งเร้า กลับทำให้รู้สึกว่า สิ่งเร้าปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นได้[21] ในการทดลองหนึ่ง ผู้ร่วมการทดลองจะได้ตัวชี้ล่วงหน้าว่า ควรจะใส่ใจที่แนวทแยงมุมไหน (ในสองแนว) จากนั้นก็จะมีการแสดงสิ่งเร้า ซึ่งเป็นตะแกรงรูปกลมที่มีลายต่าง ๆ กัน แล้วก็จะแสดงตัวชี้แนวทแยงมุม (ที่อาจไม่เหมือนตัวชี้ล่วงหน้า) ที่ผู้ร่วมการทดลองต้องตัดสินการรับรู้ของตน ในกรณี 70% ตัวชี้ที่แสดงก่อน จะเหมือนกับตัวชี้จริง ๆ และในกรณี 30% จะไม่เหมือน หลังจากนั้น ก็จะให้ผู้ร่วมการทดลอง บอกลายของตะแกรงในแนวทแยงมุม ที่ตัวชี้จริง ๆ บอก แล้วรายงานความชัดเจนของเขตนั้น ด้วยวิธีการเช่นนี้ จึงสามารถเปรียบเทียบสิ่งเร้าที่ใส่ใจ (คือที่ชี้บอกล่วงหน้า) และที่ไม่ใส่ใจ (ที่ชี้บอกไม่ตรงการทดสอบจริง ๆ)[21] ผู้ร่วมการทดลองกลับรายงานว่า เขตที่ไม่ได้ใส่ใจเห็นชัดเจนกว่า ดังนั้น การไม่ใส่ใจ อาจทำให้ประเมินค่าความชัดเจนของการรับรู้สูงเกินจริง[21] งานศึกษานี้บอกเป็นนัยว่า ความเอนเอียงโดยการใส่ใจซึ่งเป็นกลไกของการคิดตามความปรารถนา ไม่ได้อาศัยสิ่งที่เราจ้องดูอยู่เป็นปัจจัยเท่านั้น แต่ต้องอาศัยสิ่งเร้าที่ไม่ได้ใส่ใจด้วย

การประเมินอารมณ์ความรู้สึก แก้

เราตัดสินใจว่าคนอื่นมีอารมณ์เป็นอย่างไร อาศัยสีหน้า อากัปกิริยา และพื้นเพประวัติสิ่งแวดล้อม[22] แต่ว่า พื้นเพประวัติสิ่งแวดล้อม และพื้นฐานทางวัฒนธรรม ปรากฏว่ามีอิทธิพลต่อการรับรู้และการตีความ[22][23] ความแตกต่างที่พบในวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเรื่องความบอดการเปลี่ยนแปลง (change blindness) สัมพันธ์กับการใส่ใจกับสิ่งที่เห็นโดยเป็นแบบเฉพาะ[24] ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมของชาวตะวันออก มักจะเน้นสิ่งที่แวดล้อมวัตถุ ในขณะที่วัฒนธรรมตะวันตก จะโฟกัสที่วัตถุหลัก[24] ดังนั้น วัฒนธรรมสามารถมีอิทธิพลต่อข้อมูลที่ได้จากใบหน้า เหมือนกับที่มีต่อการสังเกตดูวัตถุหนึ่ง ๆ ในสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น คนผิวขาวมักจะสนใจที่ตา จมูก และปาก ในขณะที่คนเอเชีย มักจะโฟกัสอยู่ที่ตา[23] มีการทดลองที่ให้ผู้ร่วมการทดลองจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ดูรูปใบหน้า แล้วให้จัดกลุ่มตามอารมณ์ที่แสดงบนใบหน้า ดังนั้น ความต่าง ๆ กันของส่วนต่าง ๆ บนใบหน้า จะทำให้เกิดการตีความอารมณ์ต่าง ๆ กัน[23] การโฟกัสที่ตาของคนเอเชีย อาจทำให้เห็นใบหน้าที่สะดุ้งตกใจ ว่าเป็นความประหลาดใจ มากกว่าจะเป็นความกลัว[23] ดังนั้น พื้นเพของบุคคล อาจจะทำให้ตีความอารมณ์ต่าง ๆ กัน ความแตกต่างในการรับรู้อารมณ์ทางตา ดูเหมือนจะบอกเป็นนัยว่า ความเอนเอียงโดยการใส่ใจ เป็นกลไกของการเห็นตามความปรารถนา เพราะว่า มีการใส่ใจบางส่วนของใบหน้า (เช่น จมูกและตา) และมีบางส่วนที่ไม่ได้รับการใส่ใจ (เช่น ปาก)

การมองในแง่ดี แก้

การเห็นตามความปรารถนา อาจสัมพันธ์กับความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimism bias) ที่เรามักจะหวังผลที่ดีจากเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่า ความหวังเช่นนั้นอาจจะไม่เข้ากับความเป็นจริง ในงานทดลองเพื่อกำหนดวงจรประสาทที่สัมพันธ์กับความเอนเอียงนี้ มีการใช้ fMRI เพื่อสร้างภาพสมองของบุคคลที่กำลังระลึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต (autobiographical memory) แล้วให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนความทรงจำเหล่านั้นโดยค่าลักษณะต่าง ๆ คะแนนที่ให้แสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองเห็นเหตุการณ์เชิงบวกในอนาคต ว่ามีค่าบวกสูงกว่าเหตุการณ์บวกในอดีต และเหตุการณ์เชิงลบว่าอยู่ห่างไกลกว่าตามกาลเวลาเกินความจริง ส่วนเขตในสมองที่ทำงานก็คือ anterior cingulate cortex ด้านหน้า (rostral ACC ตัวย่อ rACC) และอะมิกดะลา ในสมองซีกขวา และจะทำงานน้อยกว่าเมื่อระลึกถึงเหตุการณ์เชิงลบในอนาคต รู้กันมาก่อนแล้วว่า rACC มีส่วนในการประเมินข้อมูลเชิงอารมณ์ และเชื่อมต่อกับอะมิกดะลาในระดับสูง มีการเสนอว่า rACC ควบคุมการทำงานในเขตสมอง ที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำอาศัยเหตุการณ์ (autobiographical memory) จึงทำให้สามารถเกิดความรู้สึกเชิงบวกกับเหตุการณ์ในอนาคตได้[25]

เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณา การเคลื่อนไหวของตาและการทำงานในสมอง ว่าสัมพันธ์กับการคิดและการเห็นตามความปรารถนา และการมองในแง่ดี (optimism) อย่างไร งานวิจัยในปี ค.ศ. 2006 ตรวจสอบการมอง (gaze) ที่ประกอบด้วยแรงจูงใจ ซึ่งนักวิจัยอ้างว่า มีสหสัมพันธ์ระดับสูง กับความสนใจและบุคลิกภาพของคนมอง[26] คือมีการให้ผู้ร่วมการทดลองที่แจ้งเองว่า ตนเองเป็นคนมองโลกในแง่ดีในระดับต่าง ๆ ดูรูปมะเร็งผิวหนัง ลายวาดที่คล้ายกับมะเร็งผิวหนัง และใบหน้าที่มีสีหน้าเฉย ๆ[26] โดยใช้ระบบติดตามลูกตา ที่วัดการย้ายที่การมอง นักวิจัยพบว่า คนหนุ่มสาวที่มองโลกในแง่ดีมากกว่า จะดูรูปมะเร็งน้อยกว่าหนุ่มสาวที่มองโลกในร้าย[26] ผลงานทดลองนี้ทำซ้ำได้ในงานศึกษาต่อมา ที่ตรวจสอบความเสี่ยงทางพันธุกรรมของผู้ร่วมการทดลอง ต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง คือพบว่า แม้ว่าผู้ร่วมการทดลองบางส่วนจะมีความเสี่ยงสูงกว่า การมองโลกในแง่ดีมากกว่า ก็ยังสัมพันธ์กับการมองรูปมะเร็งผิวหนังน้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่รูปควรจะเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับผู้มีความเสี่ยงสูง[26]

ระเบียบวิธีที่ใช้ทดสอบ แก้

การศึกษาเรื่องการคิดตามความปรารถนาในสาขาจิตวิทยา มักจะใช้รูปภาพที่ไม่ชัดเจน (ambiguous image) เพราะมีสมมุติฐานว่า เมื่อมีสิ่งเร้าที่ไม่ชัดเจน ผู้ร่วมการทดลองจะตีความสิ่งเร้าตามวิธีที่ขึ้นกับพื้นเพประวัติสิ่งแวดล้อมที่ได้ประสบ หรือกับ priming ที่ได้ งานศึกษาในปี ค.ศ. 2013 ตรวจสอบการคิดตามความปรารถนาโดยการทดลองสองงาน งานหนึ่งใช้รูปคลุมเครือ 2 รูป รูปแรกอาจเห็นเป็นตัวอักษรอังกฤษ “B” หรือเลข “13” ก็ได้ และอีกรูปหนึ่งอาจจะเป็นม้าหรือาจจะเป็นแมวน้ำก็ได้ การทดลองงานที่สองทดสอบโดยการแข่งขันระหว่างสองตา ที่แสดงสิ่งเร้าสองอย่างที่ตาแต่ละข้างพร้อม ๆ กัน คืออักษร “H” และเลข “4” ในการทดลองทั้งสอง นักวิจัยได้ให้ค่าสิ่งเร้าอันหนึ่งโดยเป็นผลที่น่าปรารถนา และสิ่งเร้าอีกอันหนึ่งว่าไม่น่าปรารถนา คือ ในการทดลองแรก อักษร “B” มีค่าเป็นน้ำส้มคั้นสด และเลข “13” เป็นสมูททีสุขภาพที่ไม่น่ารับประทาน และในการทดลองที่สอง อักษรมีค่าเป็นการได้ทรัพย์ และตัวเลขมีค่าเป็นการเสียทรัพย์[3] ผลงานทดลองแสดงว่า เรามีโอกาสที่จะเห็นสิ่งเร้าที่มีผลบวก มากกว่าสิ่งเร้าที่มีผลลบ[3] สหสัมพันธ์ที่มีกำลังระหว่างการรับรู้กับสิ่งเร้าเชิงบวก เทียบกับสิ่งเร้าเชิงลบ แสดงว่า เรามักจะเห็นความเป็นจริงในโลกตามความปรารถนาของเรา การเห็นตามความปรารถนา บอกเป็นนัยว่า การรับรู้ของเราจะขึ้นอยู่กับแรงจูงใจ (motivation-based)[3]

มีงานศึกษามากมายที่อ้างว่า สิ่งที่มนุษย์รับรู้หรือเห็น ขึ้นอยู่กับแรงจูงใจและเป้าหมายภายใน แต่ว่า ก็ยังสำคัญที่จะพิจารณาว่า สถานการณ์ที่ใช้เป็น priming ในงานศึกษาบางงาน หรือว่าแม้แต่ มุมมองภายในของผู้ร่วมการทดลอง อาจจะมีผลต่อการตีความสิ่งเร้า[3] ดังนั้น จึงมีงานศึกษาหนึ่งในปี ค.ศ. 2007 ที่แบ่งนักศึกษาปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยคอร์เนลออกเป็นสามกลุ่ม แล้วให้นักศึกษาจินตนาการให้ละเอียดที่สุดในเรื่องสามเรื่อง คือ ให้มองขึ้น (ให้จิตนาการเงยหน้าดูตึกขนาดใหญ่) ให้มองลง (ก้มหน้าดูหุบเขาลึก) และให้มองตรง ๆ (มองตรงดูสนามที่ราบเรียบ) แล้วก็แสดงลูกบาศก์เนกเกอร์ที่ตีความได้หลายแบบบนจอคอมพิวเตอร์ แล้วให้กดปุ่มเมาส์ที่เส้นสีน้ำเงินที่ดูใกล้กว่า เส้นที่ผู้ร่วมการทดลองเลือก จะขึ้นอยู่กับว่า ผู้ร่วมการทดลองเห็นว่า ลูกบาศก์มีก้นขึ้นหรือมีก้นลง[27] ผลงานศึกษานี้แสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองที่มองขึ้นโดยมากจะเห็นลูกบาศก์ว่ามีก้นขึ้น ที่มองลงโดยมากจะเห็นว่ามีก้นลง และที่มองตรง ๆ จะเห็นว่ามีก้นขึ้นก้นลงแบ่งเท่า ๆ กัน[27] ซึ่งแสดงว่า การใช้ภาษาในช่วง priming จะมีผลต่อการรู้จำวัตถุ (object identification)[27]

ผลงานคล้าย ๆ กันก็มีในงานศึกษาในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งศึกษาการคิดตามความปรารถนาและการรู้จำวัตถุแบบมีเป้าหมาย (goal-oriented object identification) โดยตรวจสอบระดับความกระหายน้ำของผู้ร่วมการทดลอง สัมพันธ์กับความโน้มเอียงในการชี้บอกสิ่งเร้าที่มีความใสไม่ชัดเจน ว่าใส (นักวิจัยกล่าวว่า ความใสเป็นคุณสมบัติที่ไม่ชัดแจ้งเกี่ยวข้องกับน้ำ ซึ่งปกติเป็นสารที่ใส)[28] งานวิจัยแสดงความโน้มเอียงที่ชัดเจนของผู้ร่วมการทดลองที่หิวน้ำ (โดยให้รับประทานมันฝรั่งทอดก่อนการทดลอง) ที่จะตีความสิ่งเร้าที่คลุมเครือว่าใส[28] และผู้ร่วมการทดลองที่ไม่หิวน้ำ (โดยให้ทานน้ำจนกระทั่งบอกเองว่า ไม่หิวน้ำแล้ว) มีโอกาสน้อยกว่าที่จะตีความสิ่งเร้าคลุมเครือว่าใส[28] งานวิจัยสรุปว่า การเปลี่ยนสภาวะทางชีวภาพ ในกรณีนี้คือความหิวน้ำ ที่สามารถมีอิทธิพลต่อการคิดตามความปรารถนา สามารถมีผลโดยตรงกับการเห็นสิ่งเร้า[28]

งานศึกษาปี ค.ศ. 2011 แสดงผลของการคิดตามความปรารถนา โดยแสดงผลงานวิจัยที่กุขึ้นสองงานกับพ่อแม่ เกี่ยวกับผลของการเลี้ยงลูก โดยส่งไปสถานรับเลี้ยงเด็ก เทียบกับเลี้ยงอยู่ที่บ้าน พ่อแม่ที่สบสน (คือตั้งใจจะส่งลูกไปที่เลี้ยงเด็กแม้ว่าจะเชื่อว่า เลี้ยงอยู่ที่บ้านดีกว่า) ให้คะแนนดีกว่ากับงานวิจัยที่บอกว่า เลี้ยงที่สถานรับเลี้ยงเด็กดีกว่า และให้คะแนนแย่กว่ากับงานวิจัยที่บอกว่า เลี้ยงอยู่ที่บ้านดีกว่า ส่วนพ่อแม่ที่ไม่สับสน (ที่คิดว่าเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านดีกว่า และตั้งใจจะเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านเท่านั้น) ให้คะแนนดีกว่ากับงานวิจัยที่บอกว่า เลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านดีกว่า ดังนั้น พ่อแม่ล้วนแต่ให้คะแนนกับงานวิจัย ที่เข้ากับความตั้งใจในการเลี้ยงลูกของตน ว่าดีกว่า แม้ว่า (ในกรณีของพ่อแม่ที่สับสน) งานวิจัยจะแสดงผลตรงกับข้าม กับความเชื่อเบื้องต้นของตน[2] ในการตรวจสอบหลังการทดลอง พ่อแม่ที่สับสน จะเปลี่ยนความเชื่อเบื้องต้นของตน แล้วอ้างว่า ตนเชื่อว่า การเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านไม่ได้ดีกว่าเลี้ยงที่สถานรับเลี้ยงเด็ก ส่วนพ่อแม่ที่ไม่สับสน ก็ยังอ้างต่อไปว่า การเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านดีกว่า แม้ว่าจะลดระดับลง[2]

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2012 ใช้ความคลุมเครือตามธรรมชาติในการตัดสินระยะทาง เพื่อวัดผลของการเห็นตามความปรารถนา ในงานทดลองนี้ ผู้ร่วมการทดลองจะตัดสินระยะทางของสิ่งเร้าต่าง ๆ ในขณะที่ผู้วิจัย จะเปลี่ยนความน่าต้องการของสิ่งเร้าให้มีค่าต่าง ๆ ในการทดลองหนึ่ง มีการทำให้ผู้ร่วมการทดลองหิวน้ำ โดยให้บริโภคอาหารที่มีเกลือ หรือให้หายหิวโดยให้ดื่มจนอิ่ม แล้วให้ประเมินระยะทางไปยังขวดน้ำ ผู้ร่วมการทดลองที่หิวน้ำ ให้คะแนนขวดน้ำว่าน่าชอบใจมากกว่า และเห็นว่าอยู่ใกล้กว่า ผู้ร่วมการทดลองที่ไม่หิวน้ำ[10]

ส่วนในอีกการทดลองหนึ่ง มีการให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินระยะทางไปยังผลการทดสอบ ที่เป็นผลเชิงลบหรือผลเชิงบวก และไปยังบัตรของขวัญ (บัตรมีมูลค่าเพื่อซื้อของที่ให้เป็นของขวัญ) มีมูลค่า 100 ดอลล่าร์สหรัฐ ที่ตนมีโอกาสได้หรือไม่ได้ ผู้ร่วมการทดลองจะเห็นผลการทดสอบว่าใกล้กว่า ถ้าเป็นผลเชิงบวก และบัตรของขวัญว่าใกล้กว่า ถ้ามีโอกาสที่จะได้[10] ผู้ทำการทดลองกำจัดตัวแปรสับสนคืออารมณ์ที่ดี โดยวัดความคิดสร้างสรรค์ด้วยงานสร้างคำ (word creation task) และวัดความตื่นตัวทางสรีระ[10] และกำจัด reporter bias ในการทดลองหนึ่งโดยให้ผู้ร่วมการทดลองโยนถุงบรรจุก้อนกลม ๆ ไปที่บัตรของขวัญที่ยึดอยู่ที่พื้น คือ การโยนถุงใกล้เกินไปแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองเห็นบัตรว่าใกล้กว่า และการโยนถุงไกลเกินไปแสดงว่า เห็นบัตรของขวัญว่าไกลกว่า งานทดลองแสดงว่า ความน่าปรารถนาของวัตถุ จะเปลี่ยนระยะทางที่เห็นของวัตถุ[10]

แต่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางที่รับรู้กับความน่าปรารถนา อาจจะซับซ้อนเกินกว่าที่คิดในเบื้องต้น เพราะว่า พื้นเพประวัติสิ่งแวดล้อม (context) อื่น ๆ สามารถมีผลต่อความบิดเบือนของการรับรู้ จริงอย่างนั้น ในเหตุการณ์อันตราย ความเอนเอียงที่เกิดจากความปรารถนาอาจจะหายไป ทำให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง และในเวลาเดียวกัน ความบิดเบือนที่เกิดจากสิ่งเร้าที่อันตราย อาจแก้ได้โดยใช้ psychosocial resources (ทรัพยากรทางจิตสังคม)[29] ซึ่งมีความหมายตามที่กำหนดโดยแบบจิตวิทยา Resources and Perception Model (RPM) ว่าเป็นการได้รับความสนับสนุนจากสังคม (social support), ความรู้สึกว่าตนมีค่า (Self-esteem), ความรู้สึกว่าตนมีความสามารถ (self-efficacy), ความหวัง, การมองในแง่ดี, ความรู้สึกว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ (perceived control), และความเป็นผู้เปิดเผย (self-disclosure) ผู้ร่วมการทดลองจะกำหนดระยะทาง ในขณะที่ผู้ทำงานวิจัยเปลี่ยนแปลงความรู้สึกว่าตนมีค่าของผู้ร่วมการทดลอง โดยให้จินตนาการสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วให้ดูสิ่งเร้าที่เป็นอันตราย (แมงมุมทารันทูล่า) หรือที่ไม่เป็นอันตราย (ตุ๊กตาแมว) ความรู้สึกว่าตนมีค่า มีผลต่อการรับรู้สิ่งเร้าที่เป็นอันตรายเท่านั้น คือ ความรู้สึกว่าตนมีค่าขึ้น สัมพันธ์กับการประเมินระยะทางที่แม่นยำกว่า ไปยังสิ่งเร้าที่เป็นอันตราย[29]

การเป็นตัวแทนสิ่งแวดล้อม แก้

วิธีการศึกษาอีกอย่างหนึ่ง ที่สามารถแสดงการเห็นตามความปรารถนาได้ ก็คือ โดยสังเกตการสร้างแบบจำลองเป็นตัวแทนของสิ่งแวดล้อมของระบบประสาท (ที่ทำให้เกิดการเห็น)[3] มีงานศึกษาหลายงานที่แสดงหลักฐานสนับสนุนว่า ความปรารถนาหรือแรงจูงใจ จะมีผลต่อการประเมินขนาด ระยะทาง ความเร็ว ความยาว และความชัน ของสิ่งแวดล้อม หรือของวัตถุเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น เราจะเห็นวัตถุที่น่าปรารถนาว่าอยู่ใกล้กว่าความจริง[3] การเห็นตามความปรารถนา ยังมีผลต่อการเห็นลูกบอลและอุปกรณ์อื่น ๆ ของนักกีฬาด้วย[30] ยกตัวอย่างเช่น นักกีฬาซอฟต์บอลผู้เห็นลูกบอลว่าใหญ่กว่า จะตีลูกบอลได้ดีกว่า และนักกีฬาเทนนิสที่ตีรับลูกบอลได้ดีกว่า จะเห็นเน็ตต่ำกว่า และเห็นลูกบอลว่าช้ากว่า[30]

ความมีแรง จะมีผลต่อการรับรู้ระยะทางและความชัน คือคนที่ต้องถือแบกของหนัก จะเห็นเนินเขาว่าชันกว่าไกลกว่า และของที่วางไว้บนเขาเทียบกับของที่วางไว้ในที่ราบ จะดูไกลกว่า คนที่มีสุขภาพแข็งแรง จะเห็นเนินเขาว่าเตี้ยกว่า และนักวิ่งที่เหนื่อยจะเห็นเนินเขาว่าชันกว่า[3][31]

การรับรู้เช่นนี้ควบคุมโดยหลักการที่เรียกว่า "การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ" (efficient energy expenditure)[32] คือ ความพยายามที่รู้สึกว่าต้องทำมากขึ้น (เช่นเขาชันกว่าความจริง) เมื่อหมดแรง อาจจะยังให้บุคคลพักแทนที่จะใช้พลังงานเพิ่มขึ้น[31]

ความไม่กลมกลืนกันทางประชาน (cognitive dissonance) อาจมีผลต่อการรับรู้ระยะทาง[3] ในการทดลองหนึ่ง มีการปรับเปลี่ยนความไม่กลมกลืนกันทางประชานของผู้ร่วมการทดลอง คือ ในกลุ่ม high choice นักศึกษาผู้ร่วมการทดลองจะถูกหลอกให้เชื่อว่า ตนได้เลือกที่จะใส่เสื้อผ้าของคาร์เม็น มิรานดา (นักบันเทิงมีชื่อเสียงในการใส่เสื้อผ้าแปลกประหลาด) แล้วต้องเดินข้ามวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย แต่ในกลุ่ม low choice จะมีการบอกนักศึกษาว่า ต้องใส่เสื้อผ้า ในกลุ่ม high choice เพื่อที่จะลดความไม่กลมกลืนทางประชาน นักศึกษาจะเปลี่ยนทัศนคติของตนเพื่อให้เข้ากับเหตุการณ์ คือ จะมองเห็นสิ่งแวดล้อมว่าเล็กน้อยกว่า (เช่น ทางที่ต้องเดินสั้นกว่า) เทียบกับนักศึกษาในกลุ่ม low choice[27] ส่วนการทดลองที่ตรวจสอบการรับรู้ความชัน ให้ผลที่คล้าย ๆ กัน เป็นการทดลองที่นักศึกษาในสองกลุ่ม ต้องดันตัวเองขึ้นทางชันบนสเกตบอร์ดโดยใช้แต่แขนเท่านั้น นักศึกษาในกลุ่ม high choice รู้สึกว่าทางชันน้อยกว่านักศึกษาในกลุ่ม low choice เป็นความรู้สึกที่ลดความไม่กลมกลืนกันทางประชาน งานทดลองทั้งสองนี้บอกเป็นนัยว่า แรงจูงใจมีบทบาทสำคัญในการรับรู้สิ่งแวดล้อม เพื่อจะสนับสนุนเราให้มีพฤติกรรม ที่นำไปสู่การได้สิ่งที่ต้องการ หรือการทำงานที่ต้องการให้สำเร็จ[27]

การคิดและการเห็นตามความปรารถนาแบบผกผัน แก้

แม้ว่าเราจะปกติปรับเหตุผล หรือการรับรู้สิ่งแวดล้อมของเรา ให้เข้ากับความปรารถนา ในบางกรณี การเห็นหรือการคิดตามความปรารถนา อาจจะผันกลับ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีภัยเพิ่มขึ้น[3] มีการใช้ภาพลวงตาเอ็บบิงก์เฮาส์ (เป็นภาพลวงตาที่ให้เห็นวงกลมใหญ่/เล็กเกินความจริง) เพื่อวัดการเห็นตามความปรารถนาผกผัน (reverse wishful seeing) ที่พบว่า ผู้ร่วมการทดลองประเมินวงกลมเป้าหมายเชิงลบ (คือมีรูปที่ให้เกิดอารมณ์เชิงลบในวงกลม) ที่ล้อมด้วยวงกลมที่มีรูปเชิงบวกหรือไม่มีรูป ตรงความจริงมากกว่ารูปเป้ามายเชิงบวกหรือเชิงกลาง ๆ[33]

นอกจากนั้นแล้ว ความรู้สึกกลัวยังทำวัตถุที่กลัวให้ดูเหมือนใกล้กว่า โดยมีนัยเดียวกับงานศึกษาที่แสดงว่า วัตถุที่น่าปรารถนาดูเหมือนใกล้กว่า[34] แต่ว่า บางคนอาจจะประสบกับการคิดหรือการเห็นตามความปรารถนาน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับอารมณ์และบุคลิกของตน[3]

เรื่องที่สัมพันธ์กันอื่น ๆ แก้

การผัดวันประกันพรุ่ง แก้

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2000 พบว่า คนที่วัดได้ว่าเป็นคนคิดตามความปรารถนา มีโอกาสที่จะผัดวันประกันพรุ่งมากกว่า เมื่อมีเหตุที่จะให้ทำเช่นนั้น (เช่น บอกว่า งานที่จะต้องทำเป็นงานไม่สนุก) แต่ว่า เมื่อบอกว่างานนั้นสนุก ผลจะไม่แตกต่างจากคนกลุ่มอื่น ซึ่งแสดงว่า เมื่อมีเหตุที่จะให้ผัดวันประกันพรุ่ง คนคิดตามความปรารถนาอาจจะคิดว่า ตัวเองสามารถทำงานให้เสร็จได้ในเวลาที่น้อยกว่า ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นการคิดตามความปรารถนา และดังนั้น จึงผัดวันการทำงานที่ไม่สนุก[35]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "wishful thinking", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, ความเชื่อว่าเป็นจริง, ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล
  2. 2.0 2.1 2.2 Bastardi, A.; Uhlmann, E. L.; Ross, L. (2011). "Wishful Thinking: Belief, Desire, and the Motivated Evaluation of Scientific Evidence". Psychological Science. 22 (6): 731–732. doi:10.1177/0956797611406447. PMID 21515736. S2CID 35422463.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 Dunning, D.; Balcetis, E. (2013-01-22). "Wishful Seeing: How Preferences Shape Visual Perception". Current Directions in Psychological Science. 22 (1): 33–37. doi:10.1177/0963721412463693.
  4. Booker, Christopher (April 23, 2011). "What happens when the great fantasies like wind power or European Union collide with reality". The Telegraph. “the fantasy cycle” ... a pattern that recurs in personal lives, in politics, in history - and in storytelling. When we embark on a course of action which is unconsciously driven by wishful thinking, all may seem to go well for a time, in what may be called the “dream stage”. But because this make-believe can never be reconciled with reality, it leads to a “frustration stage” as things start to go wrong, prompting a more determined effort to keep the fantasy in being. As reality presses in, it leads to a “nightmare stage” as everything goes wrong, culminating in an “explosion into reality”, when the fantasy finally falls apart.
  5. "The CIA's Internal Probe of the Bay of Pigs Affair — Central Intelligence Agency". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2017. สืบค้นเมื่อ 2014-01-25.
  6. "The Fallacy Files: Wishful Thinking".
  7. Balcetis, Emily; David Dunning (2013). "Wishful Seeing: How preferences shape visual perception". Current Directions in Psychological Science. 22 (1): 33–37. doi:10.1177/0963721412463693.
  8. 8.0 8.1 Stokes, Dustin (2011-01-14). "Perceiving and desiring: a new look at the cognitive penetrability of experience". Philosophical Studies. 158 (3): 477–492. doi:10.1007/s11098-010-9688-8.
  9. Balcetis, E.; Dunning, D. (December 17, 2009). "Wishful Seeing: More Desired Objects Are Seen as Closer". Psychological Science. 21 (1): 147–152. doi:10.1177/0956797609356283. PMID 20424036.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 Riccio, Matthew; Cole, Shana; Balcetis, Emily (June 2013). "Seeing the Expected, the Desired, and the Feared: Influences on Perceptual Interpretation and Directed Attention". Social and Personality Psychology Compass. 7 (6): 401–414. doi:10.1111/spc3.12028.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Krizan, Zlatan; Windschitl, Paul D. (2007). "The influence of outcome desirability on optimism". Psychological Bulletin. 133 (1): 95–121. doi:10.1037/0033-2909.133.1.95. PMID 17201572.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 Aue, T.; Nusbaum, H.C.; Cacippo, J. (2012). "Neural correlated of wishful thinking". SCAN: Swiss Center for Affective Sciences. 7: 991–1000.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Balceltis, Emily; Dunning, David (2006). "See what you want to see: The impact of motivational states on visual perception". Journal of Personality and Social Psychology. 91 (4): 612–625. doi:10.1037/0022-3514.91.4.612. PMID 17014288.
  14. Robinson-Riegler, Bridget Robinson-Riegler, Gregory (2011). Cognitive psychology : applying the science of the mind (3rd ed.). Boston: Pearson Allyn & Bacon. pp. 46–50. ISBN 9780205033645.
  15. 15.0 15.1 15.2 Lupyan, G.; Thompson-Schill, S. L.; Swingley, D. (2010). "Conceptual Penetration of Visual Processing". Psychological Science. 21 (5): 682–691. doi:10.1177/0956797610366099. PMC 4152984. PMID 20483847.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 Kveraga, K.; Boshyan, J.; Bar, M. (2007). "Magnocellular Projections as the Trigger of Top-Down Facilitation in Recognition". Journal of Neuroscience. 27 (48): 13232–13240. doi:10.1523/JNEUROSCI.3481-07.2007. PMC 6673387. PMID 18045917.
  17. 17.0 17.1 Babad, Elisha; Katz, Yosi (December 1991). "Wishful Thinking—Against All Odds". Journal of Applied Social Psychology. 21 (23): 1921–1938. doi:10.1111/j.1559-1816.1991.tb00514.x.
  18. Wood, G.; Vine, S. J.; Wilson, M. R. (2013). "The impact of visual illusions on perception, action planning, and motor performance". Attention, Perception, & Psychophysics. 75 (5): 830–834. doi:10.3758/s13414-013-0489-y. PMID 23757046.
  19. Robinson-Riegler, Bridget Robinson-Riegler, Gregory. Cognitive psychology : applying the science of the mind (3rd ed.). Boston: Pearson Allyn & Bacon. pp. 99–101. ISBN 9780205033645.
  20. White, Rebekah C.; Davies, Anne Aimola (2008). "Attention set for number: Expectation and perceptual load in inattentional blindness". Journal of Experimental Psychology: Human Perception and Performance. 34 (5): 1092–1107. doi:10.1037/0096-1523.34.5.1092.
  21. 21.0 21.1 21.2 Rahnev, D.; Maniscalco, B.; Graves, T.; Huang, E.; De Lange, F. P.; Lau, H. (2011). "Attention induces conservative subjective biases in visual perception". Nature Neuroscience. 14 (12): 1513–1515. doi:10.1038/nn.2948. PMID 22019729. S2CID 205433966.
  22. 22.0 22.1 Barrett, L. F.; Kensinger, E. A. (February 26, 2010). "Context Is Routinely Encoded During Emotion Perception". Psychological Science. 21 (4): 595–599. doi:10.1177/0956797610363547. PMC 2878776. PMID 20424107.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 Barrett, L. F.; Mesquita, B.; Gendron, M. (2011). "Context in Emotion Perception". Current Directions in Psychological Science. 20 (5): 286–290. doi:10.1177/0963721411422522. S2CID 35713636.
  24. 24.0 24.1 Robinson-Riegler, Bridget Robinson-Riegler, Gregory. Cognitive psychology : applying the science of the mind (3rd ed.). Boston: Pearson Allyn & Bacon. pp. 101–102. ISBN 9780205033645.
  25. Sharot, T.; Riccardi, A. M.; Raio, C. M.; Phelps, E. A. (2007). "Neural mechanisms mediating optimism bias". Nature. 450 (7166): 102–5. Bibcode:2007Natur.450..102S. doi:10.1038/nature06280. PMID 17960136. S2CID 4332792.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 Isaacowitz, D. M. (2006). "Motivated Gaze. The View from the Gazer" (PDF). Current Directions in Psychological Science. 15 (2): 68–72. CiteSeerX 10.1.1.136.9645. doi:10.1111/j.0963-7214.2006.00409.x. S2CID 16392932. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-12. สืบค้นเมื่อ 2022-11-20.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 Balcetis, E.; Dunning, D. (2007). "Cognitive Dissonance and the Perception of Natural Environments". Psychological Science. 18 (10): 917–21. doi:10.1111/j.1467-9280.2007.02000.x. PMID 17894610. S2CID 5926930.
  28. 28.0 28.1 28.2 28.3 Changizi, Mark A; Hall, Warren G (2001). "Thirst modulates a perception". Perception. 30 (12): 1489–1497. doi:10.1068/p3266. PMID 11817755.
  29. 29.0 29.1 Harber, K. D.; Yeung, D.; Iacovelli, A. (2011). "Psychosocial resources, threat, and the perception of distance and height: Support for the resources and perception model". Emotion. 11 (5): 1080–1090. doi:10.1037/a0023995. PMID 21707147.
  30. 30.0 30.1 Witt, J. K. (May 24, 2011). "Action's Effect on Perception". Current Directions in Psychological Science. 20 (3): 201–206. doi:10.1177/0963721411408770.
  31. 31.0 31.1 Robinson-Riegler, Bridget Robinson-Riegler, Gregory. Cognitive psychology : applying the science of the mind (3rd ed.). Boston: Pearson Allyn & Bacon. pp. 64–67. ISBN 9780205033645.
  32. Proffitt, D. R. (2006). "Embodied Perception and the Economy of Action". Perspectives on Psychological Science. 1 (2): 110–122. doi:10.1111/j.1745-6916.2006.00008.x. PMID 26151466. S2CID 10991519.
  33. Van Ulzen, N. R.; Semin, G. N. R.; Oudejans, R. U. R. D.; Beek, P. J. (2007). "Affective stimulus properties influence size perception and the Ebbinghaus illusion". Psychological Research. 72 (3): 304–310. doi:10.1007/s00426-007-0114-6. PMC 2668624. PMID 17410379.
  34. Cole, S.; Balcetis, E.; Dunning, D. (2012). "Affective Signals of Threat Increase Perceived Proximity". Psychological Science. 24 (1): 34–40. doi:10.1177/0956797612446953. PMID 23160204. S2CID 18952116.
  35. Sigall, Harold; Kruglanski, A, Fyock, J (2000). "Wishful Thinking and Procrastination". Journal of Social Behavior & Personality. 15 (5): 283–296.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

สิ่งตีพิมพ์
เว็บไซต์