การแข่งขันระหว่างสองตา

การแข่งขันระหว่างสองตา (อังกฤษ: binocular rivalry) เป็นปรากฏการณ์การรับรู้ทางตา โดยการรับรู้ดังกล่าวสลับไปมาระหว่างภาพหลายภาพที่แสดงให้แก่ดวงตาแต่ละข้าง

ภาพที่แสดงให้เห็นซึ่งการแข่งขันระหว่างสองตา ถ้าดูภาพนี้ด้วยแว่น 3 มิติ เลนส์ข้างหนึ่งสีแดง ข้างหนึ่งสีเขียว (cyan) ข้อความที่จะเห็นจะสลับกันระหว่าง Red และ Blue ควรใส่ แว่นสามมิติแดง ฟ้า เพื่อดูภาพนี้ในมุมมอง 3 มิติ

เมื่อแสดงภาพภาพหนึ่งให้แก่ตาข้างหนึ่ง และแสดงอีกภาพหนึ่งซึ่งต่างกันให้แก่ตาอีกข้างหนึ่ง แทนที่จะเห็นภาพทั้งสองจะโดยซ้อนทับกัน แต่กลับเห็นภาพหนึ่งชั่วขณะ หลังจากนั้น จึงเห็นอีกภาพหนึ่ง และหลังจากนั้น ก็กลับไปเห็นภาพแรก สลับกันดังนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลาที่บุคคลนั้นเพ่งดูอยู่ ตัวอย่างเช่น ถ้าแสดงเส้นตรงตั้งจำนวนหนึ่งให้แก่ตาข้างหนึ่ง และแสดงเส้นตรงนอนอีกจำนวนหนึ่งให้แก่เขตเดียวกันในจอตาอีกข้างหนึ่ง บางครั้งก็จะเห็นเส้นตรงตั้งโดยไม่มีเส้นตรงนอน และบางครั้งก็เห็นเส้นตรงนอนโดยไม่มีเส้นตรงตั้ง

ในระหว่างที่การเห็นเปลี่ยนไปมา อาจจะเห็นภาพผสมที่ไม่มั่นคงปรากฏแต่ในช่วงเวลาสั้น ๆ ภาพผสมเหล่านี้ โดยมากมีระเบียบ ตัวอย่างเช่น เส้นตรงตั้งอาจจะปรากฏทีละเส้น ทำให้ไม่ชัดซึ่งเส้นตรงนอนจากทางด้านซ้ายหรือด้านขวา หรือเส้นตรงนอนอาจจะปรากฏทีละเส้น ทำให้ไม่ชัดซึ่งเส้นตรงตั้งจากข้างบนหรือข้างล่าง การแข่งขันระหว่างสองตาเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อตัวกระตุ้นทั้งสอง แตกต่างกันพอสมควร ตัวอย่างของตัวกระตุ้นที่ไม่ซับซ้อนก็คือ เส้นตรงที่ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน และตัวอย่างของตัวกระตุ้นซับซ้อนก็คือ ตัวอักษรหนังสือต่าง ๆ หรือภาพภาพต่าง ๆ เช่นภาพใบหน้าหรือภาพบ้าน

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยของภาพทั้งสอง อาจจะทำให้เกิดการเห็นแค่ภาพเดียว หรือการเห็นภาพมีสามมิติ ในหลายปีที่เพิ่งผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ประสาทได้ใช้เทคนิคบันทึกภาพประสาท (neuroimaging) และเทคนิคบันทึกสัญญาณจากเซลล์ประสาทเซลล์เดียว เพื่อที่จะบ่งชี้ปรากฏการณ์ของเซลล์ประสาทที่เป็นต้นเหตุแห่งการที่ภาพภาพหนึ่งมีอิทธิพลที่เหนือกว่าในการรับรู้อารมณ์ (perceptual dominance) และปรากฏการณ์ของเซลล์ประสาทที่เป็นต้นเหตุแห่งการสลับไปมาของการรับรู้อารมณ์

อ้างอิง แก้

  • Breese, B.B. (1909). "Binocular rivalry". Psychological Review. 16 (6): 410–5. doi:10.1037/h0075805.
  • Breese, B.B. (1899). "On inhibition". Psychological Monographs. 3: 1–65.
  • Desaguiliers, J.T. (1716). "III. A plain and easy Experiment to confirm Sir Isaac Newton's Doctrine of the different Refrangibility of the Rays of Light". Philosophical Transactions. 348: 448–452.
  • Dutour, É.F. (1760). "Discussion d'une question d'optique". Mémoires de Mathématique et de Physique Présentés par Divers Savants. l’Académie des Sciences. 3: 514–530. O’Shea, R.P. (1999) l Translation เก็บถาวร 2015-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Dutour, É.F. (1763). "Addition au Mémoire intitulé, Discussion d'une question d'Optique, imprimé dans le troisième Volume des Mémoires des Savan[t]s Étrangers, pages 514 & suivantes" [Addition to the Memoir entitled, Discussion on a question of Optics printed in the third Volume of Memoirs of Foreign Scientists, pages 514 and following]. Mémoires de Mathématique et de Physique Préséntes par Divers Savants. Académie des Sciences. 4: 499–511. O’Shea, R.P. (1999) l Translation เก็บถาวร 2015-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Le Clerc, S. (1712). Système de la vision. Paris: Delaulne.
  • Porta, J. B. (1593). De refractione. Optices parte. Libri novem. Naples: Salviani.
  • Wade, N.J. (1996). "Descriptions of visual phenomena from Aristotle to Wheatstone". Perception. 25 (10): 1137–75. doi:10.1068/p251137. PMID 9027920.
  • Wade, N.J. (1998). "Early studies of eye dominances". Laterality. 3 (2): 97–108. doi:10.1080/135765098397313. PMID 15513077.
  • Wheatstone, C. (1838). "Contributions to the physiology of vision.—Part the First. On some remarkable, and hitherto unobserved, phænomena of binocular vision". Philosophical Transactions of the Royal Society of London. 128: 371–394. doi:10.1098/rstl.1838.0019.
  • Knapen T, Paffen C, Kanai R, van Ee R. Stimulus flicker alters interocular grouping during binocular rivalry.. National Center for Biotechnology Information

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้