คริสต์ศาสนิกชน

ผู้นับถือศาสนาคริสต์
(เปลี่ยนทางจาก คริสตศาสนิกชน)

คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน (อังกฤษ: Christian) หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์[7] ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย[8][9]

คริสตชน
χριστιανοί
หลังจากแสดงปาฏิหาริย์จับปลา พระคริสต์ทรงเรียกสาวกมาเป็น "ผู้หาคนดั่งหาปลา" (มธ. 4:19) วาดโดยราฟาเอล
ประชากรทั้งหมด
ป. 2.4 พันล้านคน ทั่วโลก (2015)[1][2]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 สหภาพยุโรป373,656,000[3]
 สหรัฐ246,790,000[2]
 บราซิล175,770,000[2]
 เม็กซิโก107,780,000[2]
 รัสเซีย105,220,000[2]
 ฟิลิปปินส์86,790,000[2]
 ไนจีเรีย80,510,000[2]
 จีน67,070,000[2]
 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก63,150,000[2]
 เอธิโอเปีย52,580,000[2]
ภาษา
ภาษาศักดิ์สิทธิ์:
ศาสนา
คริสต์
สัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน

คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือเชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา

ในประเทศไทยมีคริสต์ศาสนิกชนทั้ง 3 นิกายหลัก โดยเข้าสู่สยามตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหารา[10]ชเป็นต้นมาตามบันทึกจดหมายเหตุตามประวัติศาสตร์ เรียกชาวโรมันคาทอลิก(เรียกวัด มีบาทหลวง) ว่า คริสตัง, ชาวโปรเตสแตนต์(เรียกคริสตจักร มีศิษยาภิบาล) ว่า คริสเตียน และ ชาวออโธดอกซ์ (เรียกพระวิหาร มีสาธุคุณ) ว่า คริสแตงซ์

ที่มาในคัมภีร์ไบเบิล

แก้

คำว่าคริสตชนหรือคริสเตียน ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ทั้งหมดสามครั้ง[11] ครั้งแรกในหนังสือกิจการบทที่ 11 ข้อที่ 26[12] "...ที่เมืองอันทิโอกนี้เอง บรรดาศิษย์ได้รับชื่อว่า "คริสตชน" เป็นครั้งแรก"

ครั้งที่สองปรากฏในหนังสือกิจการ บทที่ 26 ข้อที่ 28[13] เมื่อเปาโลได้มีโอกาสแก้ข้อกล่าวหาต่อพระเจ้าเฮโรด อากริปปา ความว่า "กษัตริย์อากริปปาจึงทรงตอบเปาโลว่า "อีกนิดเดียว ท่านก็ชักชวนเราให้เป็นคริสตชนได้แล้ว"

คำว่าคริสตชนปรากฏเป็นครั้งที่สามและครั้งสุดท้ายในจดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1 บทที่ 4 ข้อที่ 16[14] "แต่ถ้าทนทุกข์เพราะได้ชื่อว่าเป็นคริสตชน ก็อย่าให้คนนั้นละอายเลย แต่ให้ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าเพราะชื่อนั้น"

ทัศนะของศาสนาอื่น

แก้

ศาสนายูดาห์

แก้

เนื่องจากพระเยซูเป็นชาวนาซาเรธ ชาวยิวจึงเรียกคริสตชนว่านาซารีน (Nazarene) มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1[15] และมองว่าเป็นพวกนอกรีต[16] ผู้นำชาวยิวยุคนั้นพยายามยับยั้งการขยายตัวของคริสต์ศาสนาโดยการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน เช่น ประหารพระเยซู ยากอบ และสเทเฟน แต่คริสตชนกลับยิ่งมีจำนวนมากขึ้น รวมถึงคนที่ไม่ใช่ชาวยิว (Gentile) ความแปลกแยกระหว่างคริสตชนกับชาวยิวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนศาสนาคริสต์แยกออกจากศาสนายูดาห์ในที่สุด[17]

ในปัจจุบันชาวยิวยังคงปฏิเสธความเชื่อของคริสตชนที่ว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิยาห์[18] และเป็นพระผู้ไถ่บาปให้มนุษย์[19]

ศาสนาอิสลาม

แก้

คัมภีร์อัลกุรอานเรียกคริสตชนว่า นะซอรอ หรือ มันสรอนีห์[20] (อาหรับ: نصارى ผู้ช่วยเหลือ, ชาวพระวัจนะหรือ ชาวคำภีร์อินญีล(ไบเบิล)) เพราะถือว่าเป็นพวกที่คอยช่วยเหลือพระเยซู (นบีอีซา) และ เป็นคำภีร์เล่มที่ 2 ก่อนคำภีร์อัลกุรอ่าน (เล่มที่3) แม้ชาวมุสลิมจะนับถือพระเยซูเป็นท่านผู้ประกาศผู้ยิ่งใหญ่และเป็นท่านเราะห์ซูล 1 ใน 3 นบีที่สูงสุด (นบีมูซา-ท่านโมเสสแห่งยูดาห์, นบีอีซา เมสิยาห์-พระเยซูคริสต์แห่งนาซาเร็ธ และท่านสุดท้ายแห่งศาสนทูตของพระเป็นเจ้า มะหะหมัด(ซ.ฮ.) หรือ ท่านนบีมูฮัมหมัดแห่งอิสลาม) ก็ไม่ยอมรับในความเชื่อของคริสตชนในปัจจุบัน อัลกุรอานระบุว่าคริสต์ศาสนิกชน (มัสรอนีห์) เข้าใจเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า[21] ก็ไม่ต่างจากความเชื่อของคนที่ไม่ศรัทธาต่อพระเป็นเจ้า[21] (เพียงองค์เดียว) คริสต์ศาสนิกชนจึงนับถือหลายนามพระเจ้าหลายสถานะ[22] อัลกุรอานไม่ยอมรับว่าคริสต์ศาสนิกชนเป็นบุตรของพระเจ้า เป็นผู้ที่พระเจ้าโปรดปราน[23] แต่เพียงผู้เดียว (สายอิสอัค) และไม่ใช่คริสตชนเท่านั้นจะได้ขึ้นสวรรค์เพราะ อิสลาม(สายอิชมาเอล) ก็คือพงศ์พันธะสัญญาที่เกิดร่วมท่านอับราฮัมเช่นกัน [24]

อ้างอิง

แก้
  1. "Christianity 2015: Religious Diversity and Personal Contact" (PDF). gordonconwell.edu. January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-25. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 ANALYSIS (19 December 2011). "Global Christianity". Pewforum.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 17 August 2012.
  3. "Discrimination in the EU in 2012" (PDF), Special Eurobarometer, 383, European Union: European Commission, p. 233, 2012, สืบค้นเมื่อ 14 August 2013 The question asked was "Do you consider yourself to be...?" With a card showing: Catholic, Orthodox, Protestant, Other Christian, Jewish, Muslim, Sikh, Buddhist, Hindu, Atheist, and Non-believer/Agnostic. Space was given for Other (SPONTANEOUS) and DK. Jewish, Sikh, Buddhist, Hindu did not reach the 1% threshold.
  4. Johnson, Todd M.; Grim, Brian J. (2013). The World's Religions in Figures: An Introduction to International Religious Demography (PDF). Hoboken, NJ: Wiley-Blackwell. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 October 2013. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
  5. A history of ancient Greek by Maria Chritē, Maria Arapopoulou, Centre for the Greek Language (Thessalonikē, Greece) pg 436 ISBN 0-521-83307-8
  6. Wilken, Robert Louis. The First Thousand Years: A Global History of Christianity. New Haven and London: Yale University Press. p. 26. ISBN 978-0-300-11884-1.
  7. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 233. ISBN 978-616-7073-80-4
  8. "Definition of Christian". Cambridge Advanced Learner's Dictionary. Cambridge University Press. สืบค้นเมื่อ 2010-01-18.[ลิงก์เสีย]
  9. "BBC — Religion & Ethics — Christianity at a glance", BBC
  10. www.jaisarmarn.org
  11. การเป็นคริสเตียนคืออะไร
  12. "กิจการ 11:26". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
  13. "กิจการ 26:28". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
  14. เปโตร 4:16
  15. "กิจการ 24:5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 2014-06-07.
  16. กิจการ 24:14
  17. When did Christianity become a separate religion from Judaism?
  18. M. Steinberg, 1975 Basic Judaism pp. 108, New York: Harcourt, Brace Jovanovich
  19. Speigel, Shalom (1993). The Last Trial: On the Legends and Lore of the Command to Abraham to Offer Isaac As a Sacrifice: The Akedah, Jewish Lights Publishing; Reprint edition. ISBN 1-879045-29-X
  20. ท่าทีของท่านเราะซูล ต่อพวก “นะซอรอ” (คริสเตียน), อิสลามมอร์, เรียกข้อมูลวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555
  21. 21.0 21.1 กุรอาน 9: 30
  22. บรรจง บินกาซัน, สารานุกรมอิสลาม, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2547, กรุงเทพฯ: อัล อะมีน, หน้า 81
  23. กุรอาน 5:18
  24. กุรอาน 2:11