กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ

(เปลี่ยนทางจาก กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ)

กึนเทอร์ อดอล์ฟ แฟร์ดีนันท์ ฟ็อน คลูเกอ (เยอรมัน: Günther Adolf Ferdinand Kluge) บ้างรู้จักในชื่ือ ฮันส์ กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ เป็นจอมพลชาวเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้บัญชาการการรบทั้งแนวรบตะวันออกและแนวรบตะวันตก เขาได้บัญชาการแก่กองทัพที่ 4 ของแวร์มัคท์ในช่วงการบุกครองโปแลนด์ในปี 1939 และยุทธการที่ฝรั่งเศส ในปี 1940 ได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นจอมพลไรช์ คลูเกอยังคงบัญชาการกองทัพที่ 4 ในปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา(การบุกครองสหภาพโซเวียต) และยุทธการที่มอสโกในปี 1941

กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
คลูเกอในปี 1943
ชื่อเกิดกึนเทอร์ อดอล์ฟ แฟร์ดีนันท์ ฟ็อน คลูเกอ
ชื่ออื่นฮันส์ กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ
ชื่อเล่นเคลฟเวอร์ ฮันส์
เกิด30 ตุลาคม ค.ศ. 1882(1882-10-30)
โพเซิน, ปรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน (โปแลนด์ในปัจจุบัน)
เสียชีวิต19 สิงหาคม ค.ศ. 1944(1944-08-19) (61 ปี)
แม็ส, นาซีเยอรมนี
รับใช้ เยอรมนี (1901–1918)
 เยอรมนี (1918–1933)
 ไรช์เยอรมัน (1933–1944)
Branch กองทัพบกปรัสเซีย
 ไรชส์แฮร์
 กองทัพบกเยอรมัน
ประจำการ1901–44
ชั้นยศ แกเนอราลเฟ็ลท์มาร์ชัล
หน่วยกรมทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 46
บังคับบัญชา
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สงครามโลกครั้งที่สอง

บำเหน็จกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊กและดาบ
คู่สมรสMathilde von Briesen (สมรส 1907)[1]
บุตร3
ความสัมพันธ์ว็อล์ฟกัง ฟ็อน คลูเกอ (น้องชาย)
Eike-Henner Kluge (หลาน)

ท่ามกลางวิกฤตของการรุกตอบโต้กลับของโซเวียตในเดือนธันวาคม 1941 คลูเกอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกลุ่มทัพกลาง เข้ามาแทนที่กับจอมพล เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค สมาชิกหลายคนของกลุ่มทหารเยอรมันฝ่ายต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ซึ่งทำหน้าที่ในคณะเสนาธิการของเขา รวมทั้งเฮ็นนิง ฟ็อน เทร็สโค คลูเกอได้รับรู้ถึงความเคลื่อนไหวของผู้วางแผนก่อกบฏ แต่ปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนยกเว้นแต่เพียงฮิตเลอร์จะถูกสังหาร การบัญชาการของเขาในแนวรบด้านตะวันออกได้ดำเนินไปจนถึงเดือนตุลาคม 1943 เมื่อคลูเกอได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

ภายหลังจากได้พักฟื้นรักษาตัวเป็นเวลานาน คลูเกอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการใหญ่เขตตะวันตก (OB West) ในเขตยึดครองฝรั่งเศสในเดือนกรกฎาคม 1944 ภายหลังคนก่อนหน้านี้ จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ถูกสั่งปลดเพราะมีความเชื่อว่าจะพ่ายแพ้สงคราม กองกำลังของคลูเกอไม่สามารถหยุดยั้งแรงผลักดันของการบุกครองนอร์ม็องดีของฝ่ายสัมพันธมิตรไว้ได้ และเขาเริ่มตระหนักแล้วว่าสงครามทางด้านตะวันตกกำลังจะพ่ายแพ้แล้ว แม้ว่าคลูเกอจะไม่ได้เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในแผนลับ 20 กรกฎาคม แต่ภายหลังการก่อรัฐประหารได้ล้มเหลว เขาได้กระทำอัตวินิบาตกรรมในวันที่ 19 สิงหาคม 1944 หลังจากที่ถูกเรียกตัวกลับไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อเข้าพบกับฮิตเลอร์ ดังนั้นตำแหน่งของคลูเกอร์จึงถูกแทนที่โดยจอมพล วัลเทอร์ โมเดิล

ช่วงชีวิตตอนต้นและอาชีพ แก้

คลูเกอเกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1882 ในโพเซิน ปรัสเซีย และปัจจุบันคือทางตะวันตกของโปแลนด์[2] พ่อของเขา แม็กซ์ ฟ็อน คลูเกอ ซึ่งมาจากครอบครัวทหารปรัสเซียชนชั้นสูง ด้วยการเป็นผู้บัญชาการที่มีความโดดเด่น แม็กซ์เป็นนายทหารตำแหน่งยศพลโทในกองทัพบกปรัสเซีย ซึ่งประจำการอยู่ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้แต่งงานกับ lise Kühn-Schuhmann[2] ในปี 1881 คลูเกอเป็นหนึ่งในลูกชายสองคน ซึ่งมีน้องชายที่ชื่อว่า ว็อล์ฟกัง (1892-1976)[2] ว็อล์ฟกังได้ปฏิบัติหน้าที่ในสงครามโลกสองครั้ง ได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็นพลโท ในปี 1943, และเป็นผู้บัญชาการแห่งป้อมปราการดันเคิร์ก ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน 1944[3]

ในปี 1901 คลูเกอได้รับหน้าที่ในกรมทหารปืนใหญ่ภาคสนามที่ 46 แห่งกองทัพบกปรัสเซีย เขาได้ทำหน้าที่ในคณะเสนาธิการทั่วไป ระหว่างปี 1910 และ 1918 ได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นร้อยเอกบนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขายังคงประจำการอยู่ในไรชส์แวร์ภายหลังความขัดแย้ง จนได้เป็นพันเอกในปี 1930 พลตรีในปี 1933 และพลโทในอีกหนึ่งปีต่อมา[2] วันที่ 1 เมษายน 1934 คลูเกอได้บัญชาการแก่กองพลที่ 6 ในมึนส์เทอร์[2] คำประกาศแวร์มัคท์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี 1935 ได้เร่งรัดการกำหนดของเขาให้กับกองพลน้อยที่ 6 และกลุ่มทัพที่ 6 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกองทัพที่ 4 [2]

คลูเกอเชื่อว่า "ลัทธิแสนยนิยมที่หยาบประด้าง" ของฮิตเลอร์จะนำพาเยอรมนีไปสู่หายนะ ในช่วงวิกฤตการณ์ซูเดเทินลันท์ เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มลับต่อต้านสงครามซึ่งนำโดยลูทวิช เบ็ค และ Ernst von Weizsäcker ได้คาดหวังว่าจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในดินแดนข้อพิพาท วิกฤตดังกล่าวได้ถูกเบี่ยงเบนโดยข้อตกลงมิวนิก เมื่อวันที่ 30 กันยายน 1938 แม้ว่าเขาจะวิพากษ์วิจารณ์ถึงพวกนาซีเป็นการส่วนตัว แต่คลูเกอมีความเชื่อมั่นในหลักการของเลเบินส์เราม์ (พื้นที่อยู่อาศัย) และภาคภูมิใจในการฟื้นแสนยานุภาพของแวร์มัคท์[4]

เขาได้มีชื่อเล่นว่า เดอ คลูเกอ ฮันส์ ("เคลฟเวอร์ ฮันส์") ตามชื่อของม้าสายพันธุ์เยอรมันที่สามารถคำนวณคิดเลขได้[5]

สงครามโลกครั้งที่สอง แก้

การบุกครองโปแลนด์ แก้

ฮิตเลอร์ได้อนุมัติเค้าโครงสำหรับการรุกรานโปแลนด์ของกองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมันกับกองทัพสองกลุ่มในช่วงการบรรยายสรุปทางทหาร เมื่อวันที่ 26-27 เมษายน 1939[6] กองทัพที่ 4 ของคลูเกอได้รับมอบหมายให้เป็นกองกำลังของกลุ่มทัพเหนือภายใต้การบัญชาการโดยเฟดอร์ ฟ็อน บ็อค[7] การทัพโปแลนด์ได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน โดยใช้ประโยชน์จากชายแดนที่ยืดยาวติดกับประเทศเยอรมนี กองทัพที่ 4 ได้เคลื่อนทัพไปทางตะวันออกเข้าสู่ฉนวนจากทางตะวันตกของพอเมอเรเนียเพื่อเข้าสมทบกับกองทัพที่ 3 เมืองท่าเรือดันท์ซิชได้ถูกยึดครองภายในวันแรก[8]

ในวันต่อมา ด้วยความวิตกกังวลต่อแนวป้องกันของโปแลนด์ที่แข็งแกร่งตามแนวแม่น้ำเบรดาไม่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน กองทัพที่ 4 ได้ข้ามแม่น้ำ ทำการปิดล้อมกองพลทหารราบที่ 9 กองพลทหารราบที่ 27 และกองพลน้อยทหารม้าพอเมอเรเนียของโปแลนด์ไว้ในฉนวน คลูเกอได้ส่งกองพลยานเกราะที่ 10 จากกองทัพของเขาเองให้ข้ามแม่น้ำวิสตูล่า ไปสมทบกับกองทัพที่ 3 เมื่อวันที่ 3 กันยายน[9] กองทัพน้อยยานเกราะที่ 19 (ไฮนทซ์ กูเดรีอัน) ได้เข้ายึดครองเมืองเบรสท์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน ภายหลังสามวันของการสู้รบในยุทธการที่เบรสท์-ลีตอฟสก์[10] กลุ่มทัพเหนือได้รับแจ้งข่าวว่า การบุกครองโปแลนด์ทางตะวันออกของกองทัพแดงในวันเดียวกัน และได้รับคำสั่งให้อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำ Bug เมืองเบรสท์ได้ถูกส่งไปให้กับกองทัพโซเวียต เมื่อวันที่ 22 กันยายน สำหรับการโอบล้อมต่อกองกำลังโปแลนด์ในช่วงเริ่มต้นของการบุกครอง คลูเกอได้รับการยกย่องจากฮิตเลอร์ว่าเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการที่เก่งกาจที่สุดของเขา[7]

ยุทธการที่ฝรั่งเศส แก้

 
คลูเกอกับฮิตเลอร์ในช่วงเยี่ยมเยียนกองทหารในฝรั่งเศส 1940

ในการเตรียมความพร้อมสำหรับฟัลเก็ลพ์ ("กรณีเหลือง") การบุกครองฝรั่งเศส คลูเกอและกองทัพที่ 4 ได้ถูกย้ายไปอยู่ในกลุ่มทัพเอภายใต้บัญชาการของแกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท[11] ฮิตเลอร์ยังคงมองหาทางเลือกที่ดูก้าวร้าวมาแทนที่ในแผนการเดิม ได้ยอมรับความคิดของเอริช ฟ็อน มันชไตน์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ แผนมันชไตน์ ภายหลังการประชุมกับพวกเขา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1940[11] แผนการได้ระบุว่า กองทัพที่ 4 จะให้การสนับสนุนเพื่อเข้าโจมตีผ่านภูมิประเทศอาร์แดนที่ดูขรุขระจากทางตอนใต้ของเบลเยียมและลักเซมเบิร์กมุ่งหน้าไปยังแม่น้ำเมิซ คลูเกอได้มอบหมายให้กองทัพน้อยกองทัพบกที่ 15 ทำการห้อมล้อมกองพลยานเกราะที่ 5 และที่ 7 เพื่อจัดตั้งปีกคุ้มกันแก่กองทัพน้อยของ Georg-Hans Reinhardt โดยการข้ามแม่น้ำเมิซที่ Dinant[12]

การเปิดฉาก เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม กรณีเหลืองเริ่มประสบความสำเร็จ กองทัพน้อยของคลูเกอได้เข้ารุกอย่างรวดเร็ว จนมาถึงแม่น้ำเมิซในสองวัน[13] ในการข้ามแม่น้ำ ผู้นำหัวหอกโดยแอร์วีน ร็อมเมิล ผู้บัญชาการกองพลยานเกราะที่ 7 ได้สร้างหัวสะพานบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเมิซ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม และบีบบังคับให้กองทัพฝรั่งเศสที่ 9 ต้องล่าถอย[14] กองกำลังของคลูเกอ - โดยเฉพาะกองพลยานเกราะที่ 7 ได้ประสบความเร็วในการบุกทะลวงอย่างรวดเร็วจากหัวสะพานของพวกเขาในวันต่อมา ระหว่างวันที่ 16 และ 17 พฤษภาคม ร็อมเมิลได้จับกุมเชลยศึกจำนวน 10,000 นาย และยึดรถถัง 100 คัน และกวาดล้างกองทัพฝรั่งเศสที่ 9 ที่หลงเหลืออยู่โดยสูญเสียกำลังคนไปเพียง 35 นาย[15] ด้วยการเคลื่อนทัพที่ยาวไกลเกินไปและนำหน้าอย่างเต็มที่ของกลุ่มทัพ กองพลยานเกราะที่ 5 และที่ 7 ได้ป้องกันการโจมตีตอบโต้กลับร่วมกันของบริติช-ฝรั่งเศส ใกล้กับเมืองอารัส เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม[16]

หลังจากการประชุมกับฮิตเลอร์และรุนท์ชเต็ท คลูเกอได้ออกคำสั่งแก่หน่วยยานเกราะของเขาให้หยุด เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ซึ่งอยู่ห่างระยะทางเพียง 16 กิโลเมตร(9.9 ไมล์) จากเดิงแกร์ก ซึ่งในขณะนั้นเป็นเส้นทางการหลบหนีที่เป็นไปได้สำหรับกองกำลังรบนอกประเทศบริติช[16] การหยุดพักชั่วคราวเพียงสองวันทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทำการรวบรวมกำลังคนบริเวณรอบเดิงแกร์กและเตรียมความพร้อมสำหรับการอพยพ[16] เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ณ จุดเริ่มต้นของฟัลโรท (กรณีแดง) ระยะที่สองของแผนการบุกครอง กองทัพที่ 4 ของคลูเกอได้ช่วยเหลือในการบรรลุการบุกทะลวงครั้งแรกที่อาเมียงและมุ่งหน้าไปถึงแม่น้ำแซน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน[17][18] การบัญชาการของคลูเกอและการนำทัพของร็อมเมิลในช่วงตลอดของการบุกครองทำให้เขาได้รับเลื่อนตำแหน่งยศเป็นแกเนอราลเฟ็ลท์มาร์ชัล(จอมพล) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม[17]

การบุกครองสหภาพโซเวียต แก้

คลูเกอได้บัญชาการแก่กองทัพที่ 4 ในการเปิดฉากปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทัพกลาง นอกเหนือจากการบัญชาการของเขา กลุ่มทัพซึ่งรวมทั้งกองทัพบกภาคสนาม กองทัพที่ 9 และขบวนเคลื่อนที่เร็วสองหน่วย กลุ่มยานเกราะที่ 2 (ไฮนทซ์ กูเดรีอัน) และที่ 3 (แฮร์มันน์ โฮท)[19]

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน คลูเกอได้ออกคำสั่งว่า ผู้หญิงที่อยู่ในชุดเครื่องแบบจะต้องถูกยิงทิ้ง ตามที่สอดคล้องกับโลกทัศน์ในอุดมการณ์นาซี ซึ่งถือว่า ผู้ต่อสู้รบที่เป็นผู้หญิงเป็นการแสดงให้เห็นถึงรูปแบบหนึ่งของลัทธิบอลเชวิคที่ดู"ป่าเถื่อน" ซึ่งบทบาททางเพศตามธรรมชาติได้พลิกกลับ คำสั่งดังกล่าวได้ถูกยกเลิกในวันต่อมา และให้จับกุมผู้หญิงที่อยู่ในชุดเครื่องแบบแทน[20] เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม กองบัญชาการใหญ่กองทัพบกเยอรมัน (OKH) ได้ส่งมอบกลุ่มยานเกราะที่ 2 และที่ 3 ให้อยู่ภายใต้บัญชาการของคลูเกอ เพื่อปรับปรุงการประสานงานระหว่างหัวหอกยานเกราะที่เคลื่อนที่เร็วและทหารราบที่เชื่องช้า ผลลัพธ์ได้ก่อตัวขึ้นทำให้เกิดสามัคคีบนกระดาษ ในความเป็นจริง ผู้บัญชาการกลุ่มยานเกราะมักจะขัดคำสั่งของคลูเกอและกูเดรีอัน และคลูเกอหมั่นไส้แต่ละคนเป็นการส่วนตัว[21][22] คลูเกอได้ยอมแพ้ทั้งหมดยกเว้นแต่กองทัพน้อยทหารราบสองหน่วยของเขา กองทัพน้อยหน่วยอื่น ๆ ของเขาได้รับมอบหมายให้เป็นกองทัพที่ 2 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกจัดให้เป็นกองกำลังสำรอง[23]

ด้วยการคาดหวังว่า สงครามในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งไม่มีความจำเป็นในการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานโซเวียตสำหรับความพยายามในการทำสงครามของเยอรมัน กองบัญชาการใหญ่และผู้นำทางทหารไม่ได้เตรียมความพร้อมที่เพียงพอสำหรับที่พักเชลยศึกและพลเรือนที่ถูกคุมขัง ในเขตบังคับบัญชาการของคลูเกอ เชลยศึก 100,000 นายและพลเรือน 40,000 คนได้ถูกต้อนเข้าไปในค่ายกลางแจ้งขนาดเล็กในมินสค์ในเดือนกรกฎาคม 1941 ท่ามกลางสภาพที่ดูทรุดโทรมและความอดอยากในค่าย องค์กรท็อทได้ร้องขอให้คลูเกอปล่อยคนงานที่มีความสามารถจำนวน 10,000 คน คลูเกอได้ปฏิเสธและต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับนักโทษด้วยตัวเขาเอง[24]

ในส่วนหนึ่งของแผนความหิว ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของสงครามของการทำลายล้างกับสหภาพโซเวียต แวร์มัคท์ส่วนใหญ่คาดหวังว่า "พื้นที่ที่จะได้อยู่อาศัย" ดังนั้น การฉกชิงทรัพย์ การปล้นสะดม และการกระทำทารุณต่อประชากรพลเรือนได้ลุกลามมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ด้านหลัง ในเดือนกันยายน 1941 คลูเกอได้ออกคำสั่งให้กองทหารของเขามุ่งเป้าไปที่การฟื้นฟูกฎระบียบวินัย โดยกล่าวว่า "ถึงเวลาแล้วที่จะต้องยุติวิธีการได้รับเสบียงอย่างไม่ยุติธรรม การโจมตีโฉบฉวย การเที่ยวปล้นสะดมในระยะทางอันกว้างใหญ่ การกระทำที่ไร้สติและอาชญากรรมทั้งหมด " คลูเกอได้ข่มขู่ว่าจะใช้มาตรการรุนแรงต่อผู้รับผิดชอบพร้อมกับผู้บัญชาการทหารระดับสูงของพวกเขาที่ล้มเหลวในการรักษากฎระบียบวินัย[25]

ยุทธการที่มอสโก แก้

 
คลูเกอได้ตรวจแถวกองพันทหารอาสาสมัครชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นฝ่ายให้ความร่วมมือของฝรั่งเศส พฤศจิกายน 1941.

ในช่วงปฏิบัติการไต้ฝุ่น เยอรมันได้เข้ารุกสู่กรุงมอสโก คลูเกอได้กลุ่มยานเกราะที่ 4 ภายใต้บัญชาการโดยเอริช เฮิพเนอร์ ซึ่งมาอยู่ใต้บังคับบัญชาการของกองทัพที่ 4 ในช่วงต้นเดือนตุลาคม กลุ่มยานเกราะที่ 4 ได้ทำการโอบล้อมที่ Vyazma อย่างสมบูรณ์ ด้วยความไม่พอใจอย่างมากของเฮิพเนอร์ คลูเกอได้สั่งให้เขาหยุดการรุก เนื่องจากหน่วยของเขามีความจำเป็นเพื่อขัดขวางการตีฝ่าวงล้อมของกองทัพโซเวียต เฮิพเนอร์นั้นมีความมั่นใจว่า จะสามารถเคลียร์วงล้อมและรุกเข้าสู่กรุงมอสโกซึ่งสามารถทำได้ในเวลาเดียวกัน เขามองว่า การกระทำของคลูเกอเป็นการแทรกแซง ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งและ"การปะทะ" กับหัวหน้าของเขา ในขณะที่เขาได้เขียนจดหมายไปทางบ้าน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม[26] ดูเหมือนว่า เฮิพเนอร์จะไม่ปลื้มที่หน่วยของเขามีเชื้อเพลิงน้อยมาก กองพลยานเกราะที่ 11 ได้รายงานว่าไม่มีเชื้อเพลิงเลย มีเพียงแต่กองพลยานเกราะที่ 20 ซึ่งมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงมอสโกท่ามกลางสภาพถนนที่ทรุดโทรม[27]

วันที่ 17 พฤศจิกายน กลุ่มยานเกราะที่ 4 เข้าโจมตีมอสโกอีกครั้งพร้อมกับกองทัพน้อยกองทัพที่ 5 ของกองทัพที่ 4 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการไต้ฝุ่นโดยกลุ่มทัพกลาง กลุ่มยานเกราะและกองทัพน้อยกองทัพบกได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเป็นกองกำลังที่ดีที่สุดของคลูเกอ ซึ่งมีความพร้อมอย่างมากสำหรับการรุกอย่างต่อเนื่อง ในการสู้รบสองสัปดาห์ กองทัพเยอรมันได้เข้ารุกเพียงระยะทาง 60 กิโลเมตร (37 ไมล์)(4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์) ต่อวัน)[28] การขาดแคลนรถถัง การขนส่งทางรถยนต์ที่ไม่เพียงพอ และสถานการณ์ด้านเสบียงที่ดูล่อแหลม พร้อมกับการต้านทานที่เหนี่ยวแน่นของกองทัพแดง และอำนาจเหนือน่านฟ้าที่ทำได้โดยเครื่องบินรบของโซเวียตได้เข้าขัดขวางการโจมตี[29]

เมื่อเผชิญแรงกดดันจากกองบัญชาการใหญ่ ในที่สุดคลูเกอได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีปืกใต้ที่อ่อนแอ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ในภายหลังจากการสู้รบ เฮิพเนอร์และกูเดรีอันได้กล่าวโทษความมุ่งมั่นที่ล่าช้าของคลูเกอที่ปีกใต้ของกองทัพที่ 4 เพื่อเข้าโจมตีสำหรับความล้มเหลวของเยอรมันในการเข้าถึงมอสโก นักประวัติศาสตร์ที่ชื่อว่า David Stahel ได้เขียนว่า การประเมินผลครั้งนี้ได้ประเมินความสามารถสูงเกินไปอย่างไม่ลดละของกองกำลังที่เหลืออยู่ของคลูเกอ[30] พวกเขายังมองไม่เห็นถึงความเป็นจริงที่ว่ากรุงมอสโกเป็นเมืองขนาดใหญ่ และกองกำลังเยอรมันก็ขาดแคลนกำลังคนจำนวนมากเพื่อการโอบล้อม ด้วยแนวป้องกันชั้นนอกได้เสร็จสิ้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน มอสโกจึงเป็นตำแหน่งที่มีป้อมปราการซึ่งแวร์มัคท์ขาดแคลนกำลังคนเพื่อเข้าจู่โจมส่วนหน้า การโจมตีที่ไกลห่างออกไปได้ถูกยกเลิก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม กองทัพแดงได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับฤดูหนาวในวันเดียวกัน[31]

กลุ่มทัพกลาง แก้

 
คลูเกอได้ประชุมหารือกับนายพลของกลุ่มทัพกลาง, สิงหาคม 1942

ภายหลังจากเฟดอร์ ฟ็อน บ็อคถูกปลดออกจากการบังคับบัญชาการแก่กลุ่มทัพกลาง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม คลูเกอได้รับตำแหน่งหน้าที่แทนที่เขา[32][33] การสู้รบอันขมขืนยังคงดำเนินต่อไปในภาคส่วนของกลุ่มทัพกลางในฤดูหนาวและช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถรุกคืบหน้าไปได้มากนัก กองทัพเยอรมันยังยึดครองอยู่แต่แทบไม่ได้มากนัก[34] ในช่วงการทัพฤดูร้อน ปี 1942 กรณีสีน้ำเงิน กลุ่มทัพได้รับหน้าที่ในตำแหน่งนี้[35]

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1942 คลูเกอได้รับจดหมายอวยพรจากฮิตเลอร์พร้อมกับเช็คเงินสดมูลค่าครึ่งล้านไรชส์มาร์ค[a][36] ซึ่งถูกทำออกมาให้แก่เขาจากกองคลังเยอรมัน รวมทั้งให้คำมั่นสัญญาในการจ่ายค่าปรับปรุงที่ดินของเขาซึ่งสามารถเรียกเก็บได้จากรัฐ นี่เป็นส่วนหนึ่งของการติดสินบนโครงสร้างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของแวร์มัคท์[37] คลูเกอได้ยอมรับเงินนี้ ภายหลังการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากหัวหน้าคณะเสนาธิการ เฮ็นนิง ฟ็อน เทร็สโค ที่ได้ประณามเขาเรื่องการทุจริต เขาได้ตกลงที่จะเข้าพบกับคาร์ล ฟรีดริช เกอร์เดอเลอร์ ผู้ต่อต้านระบอบนาซี ในเดือนพฤศจิกายน 1942[38] คลูเกอได้ให้คำมั่นสัญญากับเกอร์เดอเลอร์ว่า เขาจะจับกุมฮิตเลอร์ในครั้งต่อไป เมื่อเขามาที่แนวรบด้านตะวันออก แต่หลังจากนั้นก็ได้รับ"ของขวัญ" อีกชิ้นหนึ่งจากฮิตเลอร์ เขาจึงเปลี่ยนใจและตัดสินใจที่จะยังคงจงรักภักดีต่อไป[39] ฮิตเลอร์ที่ดูเหมือนว่าจะเคยได้ยินว่า คลูเกอจะไม่พอใจกับความเป็นผู้นำของเขา ซึ่งถือว่า "ของขวัญ"ของเขาเป็นการให้สิทธิ์เขาแก่ความจงรักภักดีทั้งหมดของคลูเกอ[39]

 
ปฏิบัติการมาส์ แผนการของโซเวียตที่ไม่ประสบความสำเร็จในส่วนที่ยื่นออกมาของรเจฟ, พฤศจิกายน – ธันวาคม 1942. ส่วนที่ยื่นออกมาได้ถูกยุบทิ้งโดยแวร์มัคท์ในปฏิบัติการบึเฟิล, 1–22 มีนาคม 1943.

ตลอดช่วงปี 1942 และต้นปี 1943 กลุ่มทัพกลางได้มีส่วนร่วมในการทำสงครามประจำตำแหน่งบริเวณรอบ ๆ ส่วนยื่นออกมาของรเจฟเพื่อต่อกรกับการรุกของกองทัพแดง หรือที่เรียกโดยรวมกันว่า ยุทธการที่รเจฟ กองทัพโซเวียตได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปฏิบัติการมาส์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับปฏิบัติการยูเรนัส การโอบล้อมกองทัพเยอรมันในยุทธการที่สตาลินกราด กองกำลังของคลูเกอได้หมดกำลังลงอย่างสิ้นเชิงและในช่วงต้นปี 1943 เขาได้รับอนุญาตให้ถอนกำลังแก่กองทัพที่ 9 (วัลเทอร์ โมเดิล) และองค์ประกอบของกองทัพที่ 4 (นายพล Gotthard Heinrici) ออกจากส่วนยื่นออกมา ผลลัพธ์ของปฏิบัติการบึเฟิลแสดงให้เห็นว่า แวร์มัคท์ได้ละทิ้งส่วนยื่นออกมา ในช่วงระหว่างวันที่ 1 และ 22 มีนาคม 1943 ปฏิบัติการดังกล่าวได้กำจัดส่วนที่ยื่นออกมาที่ทำให้แนวรบของเยอรมันสั้นลงจากระยะทาง 370 กิโลเมตร (230 ไมล์) การถอนกำลังดังกล่าวได้เกิดขึ้นพร้อมกับกลยุทธ์ผลาญภพที่ดูโหดเหี้ยมและการทัพความมั่นคง ส่งผลทำให้เกิดการทำลายล้างอย่างกว้างขวาง การเผาผลาญหมู่บ้าน การเนรเทศประชากรชายฉกรรจ์สำหรับแรงงานทาส และการสังหารพลเรือนโดยกองกำลังของแวร์มัคท์ ซึ่งอยู่ในลักษณะของ"การสงครามต่อต้านพลพรรค"[40]

วันที่ 13 มีนาคม 1943 ฮิตเลอร์ได้อนุญาตให้เข้าโจมตีหลายครั้ง รวมทั้งครั้งหนึ่งที่ได้เข้าปะทะกับส่วนที่ออกมาของคูสค์[41][42] เมื่อการต่อต้านครั้งสุดท้ายของโซเวียตในยุทธการที่ฮาร์คอฟครั้งที่ 3 ได้ยุติลง เอริช ฟ็อน มันชไตน์ ผู้บัญชาการกลุ่มทัพใต้ได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้คลูเกอเข้าโจมตีแนวรบกลางของโซเวียตโดยทันที ซึ่งเป็นการป้องกันจากทางตอนเหนือของส่วนที่ยื่นออกมา คลูเกอได้ปฏิเสธ โดยเชื่อว่ากองกำลังของเขาอ่อนแอเกินกว่าที่จะเข้าโจมตีได้[43] ในช่วงกลางเดือนเมษายน ท่ามกลางสภาพอากาศที่เลวร้ายและกองทัพเยอรมันที่หมดกำลังลงและจำเป็นต้องปรับปรุง การรุกได้ถูกเลื่อนออกไป[44][45]

วันที่ 15 เมษายน ฮิตเลอร์และกองบัญชาการใหญ่ได้ออกคำสั่งให้เริ่มปฏิบัติการใหม่สำหรับการรุก รหัสนามว่า ซิทาเดล (Zitadelle) ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 3 พฤษภาคมหรือหลังจากนั้นได้ไม่นานในการเข้าปะทะส่วนที่ยื่นออกมาของคูสค์[46] ปฏิบัติการซิทาเดลดังกล่าวได้นำไปสู่ยุทธการที่คูสค์ เพื่อเรียกร้องสำหรับการโอบล้อมสองครั้ง กลุ่มทัพกลางได้จัดตั้งกองทัพที่ 9 ของโมเดิลเพื่อเป็นก้ามปูทางเหนือ[47] กองทัพยานเกราะที่ 4 และกองทัพ Detachment Kempf ของกลุ่มทัพใต้ได้มุ่งหน้าขึ้นเหนือเพื่อสมทบกับกองทัพที่ 9 ทางตะวันออกของคูสค์[48][49] ในขณะที่กำลังวางแผนและการเตรียมความพร้อมยังคงดำเนินต่อไป ในปลายเดือนเมษายน โมเดิลได้เข้าพบกับฮิตเลอร์ซึ่งแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับตำแหน่งการป้องกันอันแข็งแกร่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยกองทัพแดงในเขตภาคของเขา[50]

ฮิตเลอร์ได้เรียกเจ้าหน้าที่ระดับสูงและที่ปรึกษาของเขาให้เข้ามาประชุมที่มิวนิก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม มีตัวเลือกมากมายสำหรับความคิดเห็น: ให้เข้าโจมตีทันทีด้วยกองกำลังที่มีอยู่ ชะลอการรุกครั้งต่อไปเพื่อรอการมาถึงของรถถังชนิดใหม่และดีกว่า แก้ไขปฏิบัติการอย่างกระทันหัน หรือยกเลิกโดยสิ้นเชิง มันชไตน์ได้สนับสนุนให้เข้าโจมตีแต่เนิ่น ๆ แต่ได้ร้องขอกองพลทหารราบเพิ่มเติมอีกสองกองพล ซึ่งฮิตเลอร์ได้ตอบว่าแทบจะไม่มีอยู่เลย คลูเกอได้แสดงความคิดเห็นอย่างแข็งกร้าวในการชะลอเลื่อนออกไปและลดเครื่องมิอสำหรับการลาดตะเวนของโมเดิล นายพล ไฮนทซ์ กูเดรีอัน ผู้ตรวจการกองทัพ ได้โต้แย้งถึงปฏิบัติการดังกล่าว โดยระบุว่า "เป็นการโจมตีที่ไร้จุดหมาย"[51] การประชุมได้สิ้นสุดลงโดยที่ฮิตเลอร์ไม่อาจตัดสินใจได้ แต่ซิทาเดลไม่ได้ถูกยกเลิก[51]

ปฏิบัติการดังกล่าวได้เปิดฉาก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ได้เกิดความผิดพลาดนับตั้งแต่เริ่มต้น ในเขตภาคเหนือ กองกำลังโซเวียตสามารถหยุดยั้งการรุกของเยอรมันอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 10 กรกฎาคม[52] เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม กองทัพแดงได้เปิดฉากปฏิบัติการคูตูซอฟ ซึ่งเป็นการรุกตอบโต้กลับต่อส่วนที่ยื่นออกมาของโอเริล ซึ่งได้เข้าคุกคามทางด้านปีกและด้านหลังของกองทัพที่ 9 ของโมเดิล ในช่วงเย็นของวันที่ 12 กรกฎาคม ฮิตเลอร์ได้เรียกคลูเกอและมันชไตน์มาที่กองบัญชาการของเขาที่ Rastenburg ในปรัสเซียตะวันออก ซึ่งเขาได้ประกาศยกเลิกซิทาเดล[53] ท่ามกลางการสู้รบอย่างหนัก กองทัพแดงได้เข้าสู่โอเริล เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม และในวันที่ 18 สิงหาคม กองทัพแดงได้มาถึงชานเมืองของ Bryansk โดยได้กำจัดส่วนที่ยื่นออกมาของโอเริล[54] เมื่อกลุ่มทัพกลางได้ล่าถอยกลับไปยังตำแหน่งการป้องกันที่ได้เตรียมไว้ การต่อต้านของเยอรมันก็แข็งขันและกองทัพโซเวียตต้องใช้เวลานานจนกระทั่งปลายเดิอนกันยายนในการปลดปล่อยสโมเลนสค์[55]

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1943 คลูเกอได้รับบาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เขาไม่สามารถกลับไปปฏิบัติหน้าที่ได้จนถึงเดือนกรกฎาคม 1944[56] จอมพล แอ็นสท์ บุช ได้เข้ามาแทนที่คลูเกอในฐานะผู้บัญชาการกลุ่มทัพกลาง[57]

แนวรบด้านตะวันตก แก้

 
คลูเกอกับนายทหารเสนาธิการคนอื่น ๆ ของผู้บัญชาการใหญ่เขตตะวันตกในฝรั่งเศส มิถุนายน 1944

ในเดือนกรกฎาคม 1944 คลูเกอได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการใหญ่เขตตะวันตกภายหลังจากคนก่อนหน้านี้ แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ถูกสั่งปลดเพราะมีความเชื่อว่ากำลังจะพ่ายแพ้สงคราม[58] ด้วยความคิดริเริ่มที่เป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร คลูเกอได้พยายามแสดงสิทธิ์อำนาจเหนือร็อมเมิล ซึ่งรับผิดชอบดูแลกลุ่มทัพบี และสร้างความมั่นใจให้แก่กองบัญชาการของเขาในการป้องกันนอร์ม็องดี[59] เมื่อถึงวันที่ 12 กรกฎาคม คลูเกอได้ออกตรวจแนวหน้าและได้รับฟังการบรรยายสรุปจากผู้บัญชาการภาคสนาม คลูเกอได้แสดงความคิดเห็นถึงข้อสงสัยของเขาแก่อัลเฟรท โยเดิล : "ผมไม่ใช่คนมองโลกในแง่ร้าย แต่ในความคิดของผม สถานการณ์ก็ไม่น่าจะเลวร้ายลง"[59] ห้าวันต่อมา ร็อมเมิลได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อเครื่องบินรบของกองทัพอากาศแคนาดา(RCAF) ระดมยิงใส่รถประจำตำแหน่งของเขา ทำให้รถได้เบี่ยงออกจากถนน คลูเกอได้ช่วงต่อจากเขาในการบังคับบัญชาการแก่กลุ่มทัพบี ในขณะที่ยังคงดำรงตำแหน่งอื่น ๆ เอาไว้[59]

 
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกทะลวงจากหัวหาดนอร์ม็องดี, 1 – 13 สิงหาคม 1944

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ขับไล่เยอรมันออกจากเนินเขาที่สำคัญของแซ็ง-โลในเดือนกรกฎาคม ได้จัดตั้งเวทีสำหรับการรุกครั้งใหญ่ในการทัพนอร์ม็องดี[60] การเปิดฉากปฏิบัติการคอบรา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม เป็นการมุ่งเป้าหมายโดยกองทัพสหรัฐเพื่อใช้ประโยชน์จากกองทัพเยอรมันผู้ยึดครองโดยการโจมตีของบริติชและแคนาดาบริเวณรอบ ๆ เมืองก็องและบรรลุในการบุกทะลวงที่เด็ดขาดในฝรั่งเศสตะวันตกเฉียงเหนือ ในวันที่ 28 กรกฎาคม ปฏิบัติการได้ประสบความสำเร็จในการบุกทะลวงแนวรบเยอรมัน และการต้านทานต่ออเมริกันอย่างไม่เป็นระเบียบ[61] จากการขาดแคลนทรัพยากรที่จะรักษาแนวหน้า หน่วยกองกำลังเยอรมันได้เปิดฉากการโจมตีตอบโต้กลับอย่างสิ้นหวังเพื่อหลบหนีจากการถูกโอบล้อม ในขณะที่คลูเกอได้ส่งการเสริมกำลัง ซึ่งประกอบได้ด้วยองค์ประกอบของกองพลยานเกราะที่ 2 และที่ 116 ไปยังทางตะวันตกโดยคาดหวังว่าจะหลีกเลี่ยงการละลายหายทั้งหมด ในการสู้รบที่ดุเดือด กองกำลังของเขาได้ประสบความสูญเสียอย่างหนักทั้งกำลังคนและรถถถังที่เขาไม่สามารถหามาแทนที่ได้[62]

ในวันสุดท้ายของเดือนกรกฎาคม กองทัพเยอรมันในนอร์ม็องดีได้ถูกลดทอนกำลังลงในสภาพที่ย่ำแย่จากการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งคลูเกอไม่อาจรักษาตำแหน่งป้องกันในนอร์ม็องดีได้อีกต่อไป เขาไม่มีโอกาสในการได้รับการเสริมกำลัง ภายหลังจากปฏิบัติการบากราติออน การรุกช่วงฤดูร้อนของโซเวียตซึ่งต่อกรกับกลุ่มทัพกลาง และมีชาวเยอรมันเพียงไม่กี่คนที่เชื่อว่าพวกเขาสามารถกอบกู้ชัยชนะไว้ได้[63] ระหว่างวันที่ 1 และ 4 สิงหาคม กองพลทั้งเจ็ดของกองทัพสหรัฐที่ 3 ภายใต้บัญชาการของพลโท จอร์จ เอส. แพตตัน ได้เข้ารุกอย่างรวดเร็วผ่านทาง Avranches และข้ามสะพานที่ Pontaubault เข้าสู่บริตทานี[64]

ด้วยการที่ไม่เห็นด้วยกับคำแนะนำในการถอนกำลังของคลูเกอ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้โจมตีตอบโต้กลับในปฏิบัติการลึททิช ระหว่าง Mortain และ Avranches[65][66] เขาได้เรียกร้องให้หน่วยรบยานเกราะที่มีอยู่ทั้งหมดให้ร่วมมือกันในการโจมตีมุ่งเป้าหมายไปที่การเข้ายึดครองคาบสมุทรคอนเตนตินกลับคืนมา และตัดกองกำลังสหรัฐในบริตทานีจากการจัดหาเสบียง[65] ตามรายงานของนายทหารเสนาธิการในปฏิบัติการของผู้บัญชาการใหญ่เขตตะวันตก Bodo Zimmermann คลูเกอรับรู้ว่า "คงจะดีกว่าที่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ซึ่งอาจหมายถึงการล่มสลายของแนวรบนอร์ม็องดี" แต่ความวิตกกังวลของเขาถูกเพิกเฉย[65] คลูเกอสามารถรวบรวมกองพลยานเกราะที่หมดสภาพได้เพียงสี่กองพล โดยช่วงเวลาของปฏิบัติการได้เริ่มต้นในวันที่ 7 สิงหาคม การรุกได้หยุดชะงักลงในระยะทาง 15 กิโลเมตร(9.3 ไมล์) จาก Avranches สาเหตุหลักมาจากอำนาจเหนือน่านฟ้าของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้หน่วยกองกำลังเยอรมันนั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกดักล้อม[67][68]

การรุกครั้งสุดท้าย ปฏิบัติการแทร็กทาเบิล ซึ่งถูกเปิดฉากโดยกองทัพแคนาดา เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ซึ่งร่วมกับการรุกของอเมริกาไปยังทางเหนือช็องบัว เป้าหมายของพวกเขาคือการโอบล้อมและทำลายกองทัพเยอรมันที่ 7 และกองทัพยานเกราะที่ 5 ใกล้กับเมืองฟาเลส์[69] ในคำสั่งสุดท้ายของเขาในฐานะผู้บัญชาการแห่งผู้บัญชาการใหญ่เขตตะวันตก คลูเกอได้ออกคำสั่งให้ล่าถอยอย่างเต็มรูปแบบไปทางตะวันออก เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม[70] ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ได้เข้ายึดครองฟาเลส์จนกระทั่งวันเดียวกันนั่นเอง โดยทิ้งช่องว่างที่มีระยะทาง 24 กิโลเมตร(17 ไมล์) ระหว่างกองกำลังแคนาดาและอเมริกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ ช่องว่างฟาเลส์[71] ในวันที่ 22 สิงหาคม ช่องว่างซึ่งถูกปกป้องอย่างหมดรูปโดยเยอรมันเพือให้กองกำลังทหารที่ถูกล้อมสามารถหลบหนีไปได้ จนกระทั่งถูกปิดผนึกอย่างสมบูรณ์ เป็นการยุติของยุทธการที่นอร์ม็องดีด้วยชัยชนะที่เด็ดขาดของฝ่ายสัมพันธมิตร[72] ในขณะส่วนที่เหลือของกลุ่มทัพบีได้หลบหนีไปทางตะวันออก ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ารุกโดยปราศจากการต่อต้านผ่านทางดินแดนที่ไม่มีการป้องกัน แม้ว่าชาวเยอรมันจำนวน 100,000 นายที่สามารถหลบหนีไปได้ จำนวน 10,000 นายที่ถูกสังหาร และอีก 40,000–50,000 นายที่ถูกจับกุม[71]

แผนลับต่อต้านฮิตเลอร์ แก้

ด้วยการติดต่อผ่านทางคาร์ล-ไฮน์ริช ฟ็อน ชตึลพ์นาเกิล คลูเกอได้ทราบแผนลับ 20 กรกฎาคมเพื่อต่อต้านฮิตเลอร์ เขาตกลงที่จะสนับสนุนการยึดอำนาจของเหล่าผู้สมรู้ร่วมคิด ถ้าฮิตเลอร์ถูกสังหาร[73] ในกรุงปารีส เหล่าผู้สมรู้ร่วมคิดได้เข้าจับกุมสมาชิกของหน่วยเอ็สเอ็สและเอ็สดีจำนวนกว่า 1,200 คน และภายหลังจากการลอบสังหารได้ล้มเหลว ชตึลพ์นาเกิลและ Caesar von Hofacker ได้เข้าพบกับคลูเกอที่กองบัญชาการของเขาใน La Roche-Guyon[73][74] เมื่อทราบว่าฮิตเลอร์ยังมีชีวิตอยู่ คลูเกอจึงถอนตัวการสนับสนุนและยกเลิกหมายจับกุม[73]

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม รถของคลูเกอได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร และเขาถูกตัดขาดจากการติดต่อทั้งหมดกับกองกำลังของเขาเป็นเวลาหลายชั่วโมง ฮิตเลอร์เคลือบแคลงสงสัยทันทีว่าคลูเกอกำลังจะเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร เขาถูกปลดออกในอีกสองวันต่อมาและถูกแทนที่โดยโมเดิล[70] เมื่อเขาถูกเรียกตัวกลับไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อเข้าพบฮิตเลอร์ คลูเกอมีความเชื่อว่า ฮิตเลอร์รับรู้แล้วว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องในแผนลับ 20 กรกฎาคม และตัดสินใจเลือกที่จะฆ่าตัวตาย เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม โดยการกินยาพิษโพแทสเซียมไซยาไนด์[75] ในคำให้การครั้งสุดท้ายของเขา เขายืนยันในความจงรักภักดีต่อฮิตเลอร์และแสดงความเห็นว่า เยอรมนีจำเป็นต้องยุติสงคราม โดยเขียนว่า "ประชาชนชาวเยอรมันได้รับคามทุกข์ทรมานอย่างนับไม่ถ้วน คงถึงเวลาที่จะต้องยุติความน่าสะพรึงกลัวนี้ได้แล้ว"[70][76]

เกียรติยศ แก้

อิสริยาภรณ์เยอรมัน แก้

  • กางเขนเหล็ก (1914) ชั้นสอง และชั้นหนึ่ง
  • กางเขนอัศวินแห่งเครื่องอิสรยาภรณ์ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น คาดดาบ[77]
  • เข็มกลัดกางเขนเหล็ก (1939) ชั้นสอง (5 กันยายน 1939) และชั้นหนึ่ง[78]
  • กางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็ก
    • กางเขนอัศวิน เมื่อวันที่ 30 กันยายน 1939 และผู้บัญชาการกองทัพที่ 4[79]
    • ติดใบโอ๊ก เมื่อวันที่ 18 มกราคม 1943 ในฐานะผู้บัญชาการกลุ่มทัพกลาง[79]
    • คาดดาบ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 1943 ในฐานะผู้บัญชาการกลุ่มทัพกลาง[79][79]

ยศทหาร แก้

  • มีนาคม 1901 : ร้อยตรี (Leutnant)
  • มิถุนายน 1910 : ร้อยโท (Oberleutnant)
  • สิงหาคม 1914 : ร้อยเอก (Hauptman)
  • เมษายน 1923 : พันตรี (Major)
  • กรกฎาคม 1927: พันโท (Oberstleutnant)
  • กุมภาพันธ์ 1930 : พันเอก (Oberst)
  • ตุลาคม 1933 : พลตรี (Generalmajor)
  • เมษายน 1934: พลโท (Generalleutnant)
  • สิงหาคม 1936: พลเอกทหารปืนใหญ่ (General der Artillerie)
  • ตุลาคม 1939: พลเอกอาวุโส (Generaloberst)
  • กรกฎาคม 1940: จอมพล (Generalfeldmarschall)

อ้างอิง แก้

  1. Kinder & Porada 2017, p. 283.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Barnett 1989, pp. 395–396.
  3. Mitcham 2008, p. 201.
  4. Barnett 1989, pp. 396–398.
  5. Margaritis 2019, p. 29.
  6. Kennedy 2015, p. 71.
  7. 7.0 7.1 Barnett 1989, pp. 396–397.
  8. Barnett 1989, pp. 79–80.
  9. Kennedy 2015, p. 82.
  10. Kennedy 2015, p. 98.
  11. 11.0 11.1 Horne 1969, pp. 204–207.
  12. Horne 1969, p. 208.
  13. Barnett 1989, pp. 397–398.
  14. Horne 1969, pp. 324–326, 329–331.
  15. Horne 1969, pp. 472–479.
  16. 16.0 16.1 16.2 Barnett 1989, pp. 399–400.
  17. 17.0 17.1 Barnett 1989, pp. 401–402.
  18. Horne 1969, pp. 641–643.
  19. Glantz & House 2015, p. 35.
  20. Die Zeit 2011.
  21. Glantz & House 2015, p. 62.
  22. https://www.youtube.com/watch?v=0GogjX5SppE&t=419s
  23. Klink 1998, p. 527.
  24. Müller 1998, pp. 1146–1147.
  25. Förster 1998, pp. 1210–1211.
  26. Stahel 2013, pp. 74–75, 95.
  27. Stahel 2013, p. 95.
  28. Stahel 2015, p. 228.
  29. Stahel 2015, pp. 240–244.
  30. Stahel 2015, pp. 229–230.
  31. Stahel 2015, pp. 306–307.
  32. Megargee 2006, p. 139.
  33. Glantz & House 2015, p. 111.
  34. Glantz & House 2015, pp. 111–115.
  35. Citino 2007, p. 157.
  36. historicalstatistics.org.
  37. Wheeler-Bennett 2005, p. 529.
  38. Wheeler-Bennett 2005, pp. 529–530.
  39. 39.0 39.1 Wheeler-Bennett 2005, p. 530.
  40. Newton 2006, pp. 212–216.
  41. Clark 2012, p. 186.
  42. Glantz & House 2004, p. 354.
  43. Glantz & House 2004, p. 14.
  44. Glantz & House 2004, p. 13.
  45. Clark 2012, pp. 178, 186.
  46. Citino 2012, p. 121.
  47. Newton 2002, p. 13.
  48. Clark 2012, p. 194,196.
  49. Glantz & House 2004, pp. 51–53.
  50. Clark 2012, p. 193.
  51. 51.0 51.1 Showalter 2013, p. 50.
  52. Overy 1995, p. 204.
  53. Overy 1995, pp. 204–205.
  54. Glantz & House 2015, pp. 220–221.
  55. Glantz & House 2015, pp. 223–224.
  56. DHM 2014.
  57. Mitcham 1988, p. 272.
  58. Barnett 1989, p. 405.
  59. 59.0 59.1 59.2 Hastings 1984, pp. 175–176.
  60. Hastings 1984, p. 249.
  61. Hastings 1984, pp. 256–258.
  62. Hastings 1984, pp. 260–263, 265.
  63. Hastings 1984, pp. 277–278.
  64. D'Este 1983, pp. 408–410.
  65. 65.0 65.1 65.2 D'Este 1983, pp. 413–415.
  66. Barnett 1989, p. 407.
  67. D'Este 1983, pp. 418–420.
  68. Graeger 1998, p. 62.
  69. Hastings 1984, pp. 301–302.
  70. 70.0 70.1 70.2 Hastings 1984, pp. 302–303.
  71. 71.0 71.1 D'Este 1983, pp. 430–431.
  72. Hastings 1984, pp. 304–305, 313.
  73. 73.0 73.1 73.2 Barnett 1989, pp. 406–407.
  74. Reuth 2005, p. 182.
  75. Shirer 1990, pp. 1076–1077.
  76. Barnett 1989, p. 408.
  77. Hürter 2007, p. 639.
  78. Thomas 1997, p. 378.
  79. 79.0 79.1 79.2 79.3 Scherzer 2007, p. 451.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ ถัดไป
จอมพล เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค   ผู้บัญชาการกลุ่มทัพกลาง
(19 ธันวาคม 1941 – 12 ตุลาคม 1943)
  จอมพล แอ็นสท์ บุช
จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท   ผู้บัญชาการกลุ่มทัพ D
(2 กรกฎาคม 1944 – 15 สิงหาคม 1944)
  จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท
จอมพล แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท   ผู้บัญชาการใหญ่เขตตะวันตก
(2 กรกฎาคม 1944 – 15 สิงหาคม 1944)
  จอมพล วัลเทอร์ โมเดิล
(รักษาการแทน)
จอมพล แอร์วีน ร็อมเมิล   ผู้บัญชาการกลุ่มทัพ B
(19 กรกฎาคม 1944 – 17 สิงหาคม 1944)
  จอมพล วัลเทอร์ โมเดิล


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน