ปฏิบัติการบากราตีออน
ปฏิบัติการบากราตีออน (รัสเซีย: Oперация Багратион, อังกฤษ: Operaion Bagration) เป็นชื่อรหัสของ ปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เบลารุส โดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งกวาดล้องกำลังเยอรมนีออกจากสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบลารุสและโปแลนด์ตะวันออก ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายนถึง 19 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ชื่อของปฏิบัติการตั้งตามพลเอกปิออตร์ บากราตีออน ของจักรวรรดิรัสเซีย
ปฏิบัติการบากราตีออน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
การเคลื่อนกำลังในปฏิบัติการบากราตีออน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
นาซีเยอรมนี ราชอาณาจักรโรมาเนีย ราชอาณาจักรฮังการี | สหภาพโซเวียต | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
แอนสท์ บุช (ถึง 28 มิ.ย.) วัลเทอร์ โมเดิล ฮันส์ ยอร์ดัน เกออร์ก-ฮันส์ ไรน์ฮาร์ท ควร์ท ฟอน ทิพเพิลส์เคียร์ช วัลเทอร์ ไวสส์ |
เกออร์กี จูคอฟ อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี อีวาน บากราเมียน อีวาน เชเนียฮอฟสกี คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี เกออร์กี ชาฮารอฟ | ||||||
กำลัง | |||||||
"กำลังพลแนวหน้า" 486,493 นาย[1] กำลังพลสนับสนุนและไม่ใช่กำลังรบ 400,000 นาย[2] รถถัง 118 คัน[3] รถปืนใหญ่อัตตาจร (assualt gun) 377 คัน[3] ปืนใหญ่ 2,589 กระบอก[3] อากาศยาน 602 ลำ[3] |
ทหารโซเวียต 2,331,700 นาย (ไม่รวมกำลังเพิ่มเติม) ทหารโปแลนด์ 79,900 นาย รถถัง 2,715 คัน[3] รถปืนใหญ่อัตตาจร 1,355 คัน[3] ปืนใหญ่ 24,363 กระบอก[3] อากาศยาน 5,327 ลำ[4] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
|
กองทัพแดงซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการบากราตีออนโดยตรงมีแนวรบบอลติกที่ 1 ในบัญชาของพลเอกอีวาน บากราเมียน, แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 ในบัญชาของพลเอกอาวุโสคอนสตันติน โรคอสซอฟสกี (ผู้ได้เลื่อนยศเป็นจอมพลเมื่อ 29 มิถุนายน 1944) แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 2 ในบัญชาของพลเอกซาฮารอฟ และแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 3 ในบัญชาของพลเอกอีวาน เชเนียฮอฟสกี ปฏิบัติการดังกล่าวลงเอยด้วยการที่กลุ่มทัพกลางของเยอรมนีถูกทำลายเกือบราบคาบ และบรรดากองทัพที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทัพกลาง ได้แก่ กองทัพที่ 4, กองทัพยานเกราะที่ 3 และกองทัพที่ 9 เรียกได้ว่าเป็น "ความพ่ายแพ้ครั้งหายนะที่สุดของกองทัพเยอรมันทั้งหมดในสงครามโลกครั้งที่สอง"[12] เมื่อสิ้นสุดปฏิบัติการ ดินแดนส่วนมากทางตะวันตกของสหภาพโซเวียตตะวันตกถูกยึดคืน กองทัพแดงได้ฐานที่มั่นในโรมาเนียและโปแลนด์
เป้าหมายของปฏิบัติการนี้ซับซ้อนกว่ามาก กองทัพแดงปรับใช้มโนทัศน์การปฏิบัติการเชิงลึกโซเวียต ยุทธการเชิงลึกโซเวียตและมาสกีรอฟกา (การลวงทางทหาร) นวัตกรรมของสหภาพโซเวียตเหล่านี้เป็นไปได้ส่วนหนึ่งเพราะการจัดหารถบรรทุกกว่า 220,000 คันจากสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ทหารราบโซเวียตมียานยนต์ มีการเสนอแนะว่า เป้าหมายหลักของการรุกครั้งนี้ คือ หัวสะพานบนแม่น้ำวิสตูล่าทางตอนกลางของโปแลนด์ และปฏิบัติการบากราตีออนนั้นเพื่อสร้างวิกฤตการณ์ในเบลารุสเซียเพื่อหันกองหนุนเคลื่อนที่เร็วไปยังส่วนกลางโดยเป็นส่วนหนึ่งของมาสกีรอฟกา ให้ออกมาจากพื้นที่ลูบลิน-เบรสท์, ลวอฟ-ซันโดเมียร์ซที่ซึ่งสหภาพโซเวียตตั้งใจจะดำเนินการการรุกลวอฟ-ซานโดเมียร์ซ[13] และการรุกลุบลิน-เบรสท์[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ Frieser 2007, p. 531.
- ↑ Zaloga 1996, p. 22.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Frieser 2007, p. 534.
- ↑ Glantz & House 1995, p. 201.
- ↑ Glantz&Oreinstein 2004, p. 176.
- ↑ Zaloga 1996, p. 71
- ↑ Frieser p. 593–594
- ↑ Bergstrom 2008, p. 82.
- ↑ Glantz & House 1995, p. 298.
- ↑ Krivosheev 1997, p. 371.
- ↑ 11.0 11.1 Krivosheev 1997, p. 203.
- ↑ Zaloga 1996, p. 7.
- ↑ Watt 2008, p. 699.
- ↑ Watt 2008, p. 669.
บรรณานุกรม
แก้- Adair, Paul (2004) [1994]. Hitler's Greatest Defeat: The collapse of Army Group Centre, June 1944. Weidenfeld Military. ISBN 1-85409-232-4.
- Citino, Robert (2017). The Wehrmacht's Last Stand: The German Campaigns of 1944–1945. University Press of Kansas. ISBN 9780700624942.
- Connor, William M. (1987). "Analysis of Deep Attack Operations: Operation Bagration, Belorussia, 22 June – 29 August 1944" (PDF). Fort Leavenworth, KS: Combat Studies Institute. สืบค้นเมื่อ 9 May 2017.
- Dunn, Walter S. (2000). Soviet Blitzkrieg: The Battle for White Russia, 1944. Lynne Riener. ISBN 9781555878801.
- Frieser, Karl-Heinz; Schmider, Klaus; Schönherr, Klaus; Schreiber, Gerhard; Ungváry, Kristián; Wegner, Bernd (2007). Die Ostfront 1943/44 – Der Krieg im Osten und an den Nebenfronten [The Eastern Front 1943–1944: The War in the East and on the Neighbouring Fronts]. Das Deutsche Reich und der Zweite Weltkrieg [Germany and the Second World War] (ภาษาเยอรมัน). Vol. VIII. München: Deutsche Verlags-Anstalt. ISBN 978-3-421-06235-2.
- Glantz, David M. (1989). Soviet Military Deception in the Second World War. London: Frank Cass. ISBN 0-7146-3347-X.
- Glantz, David M. (2002). The Battle for L'vov, July 1944. Routledge Press. ISBN 978-0-7146-5201-6.
อ่านเพิ่ม
แก้- Beevor, Antony; Vinogradova, Luba, บ.ก. (2006). A Writer at War: Vasily Grossman with the Red Army. Pimlico. ISBN 978-1-84595-015-6.
- Bruoygard, Terje (2013). "Operation Art in Theory and War: A Comparison of Soviet Theory and the Red Army's Conduct in Operation Bagration 1944". Quantico, VA: USMC Command and Staff College. สืบค้นเมื่อ 29 January 2017.[ลิงก์เสีย]
- Glantz, David M. Byelorussia 1944–The Soviet General Staff Study.
- Mazower, Mark (2008). Hitler's Empire: Nazi Rule in Occupied Europe. London: Allen Lane. ISBN 978-0-713-99681-4.
- Merridale, C. (2006). Ivan's War: Inside the Red Army, 1939–45. Faber. ISBN 978-0-571-21809-7.
- Zetterling, Niklas; Franksson, Anders (1 March 1998). "Analyzing World War II Eastern Front Battles". The Journal of Slavic Military Studies. Routledge Taylor & Francis Group. 11 (1): 176–203. doi:10.1080/13518049808430334.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปฏิบัติการบากราตีออน
- Operation Bagration: Soviet Offensive of 1944
- Operation Bagration (video) เก็บถาวร 2016-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: lecture by the military historian Robert Citino at the 2014 International Conference on World War II, via the official Livestream channel of The National WWII Museum.