ปฏิบัติการยูเรนัส

ปฏิบัติการยูเรนัส (รัสเซีย: Опера́ция «Ура́н», อักษรโรมัน: Operatsiya "Uran") เป็นรหัสนามของโซเวียต เมื่อวันที่ 19-23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ปฏิบัติการทางยุทธศาสตร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้นำไปสู่การโอบล้อมกองทัพเยอรมันที่ 6, กองทัพโรมาเนียที่ 3 และ 4 และบางส่วนของกองทัพพันเซอร์ที่ 4 ของเยอรมัน ปฏิบัติการได้ถูกดำเนินที่ประมาณกึ่งกลางห้าเดือนที่ยาวนานของยุทธการที่สตาลินกราดและมุ่งเป้าไปที่การทำลายกองทัพเยอรมันทั้งในและรอบ ๆ เมืองสตาลินกราด การวางแผนสำหรับปฏิบัติการยูเรนัส ได้เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1942 และได้ถูกพัฒนาขึ้นพร้อมแผนการโอบล้อมและทำลายกลุ่มกองทัพเยอรมันกลางและกองกำลังเยอรมันในเทือกเขาคอเคซัส กองทัพแดงได้ใช้ประโยชน์จากความน่าสังเวชของกองทัพเยอรมันในการเตรียมพร้อมสำหรับฤดูหนาว และความจริงที่ว่ากองกำลังของตนในทางตอนใต้ของสหภาพโซเวียตนั้นเกินความสามารถใกล้กับสตาลินกราด ด้วยการใช้ความอ่อนแอของทหารโรมาเนียที่เป็นปีกป้องกันของพวกเขา จุดเริ่มต้นของการรุกตั้งอยู่ส่วนของแนวด้านหน้าที่ตรงข้างกับกองทัพโรมาเนีย ซึ่งกองทัพฝ่ายอักษะเหล่านี้ไม่ได้มีอาวุธหนักเพื่อรับมือกับยานเกราะของโซเวียต

ปฏิบัติการยูเรนัส
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่สตาลินกราดบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง
วันที่19–23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
สถานที่
ใกล้กับสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด)
48°42′N 44°31′E / 48.700°N 44.517°E / 48.700; 44.517
ผล

โซเวียตชนะ

  • กองทัพฝ่ายอักษะถูกโอบล้อม
คู่สงคราม
 สหภาพโซเวียต  นาซีเยอรมนี
 อิตาลี
 โรมาเนีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหภาพโซเวียต โจเซฟ สตาลิน
สหภาพโซเวียต เกออร์กี จูคอฟ

สหภาพโซเวียต คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี
สหภาพโซเวียต อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี
สหภาพโซเวียต นีโคไล วาตูติน
นาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
นาซีเยอรมนี ฟรีดริช เพาลุส

นาซีเยอรมนี วัลเทอร์ ไฮซ์
ราชอาณาจักรโรมาเนีย เปเตร ดูมิเตรสคู
กำลัง
ทหาร 1,143,500 นาย (รวมกำลังเสริม)[1]
รถถัง 894 คัน[1]
ปืนใหญ่ 13,451 กระบอก[1]
อากาศยาน 1,500 ลำ[2]
เยอรมนี:
ทหาร 400,000 นาย (กองทัพที่ 6 และกองทัพพันท์เซอร์ที่ 4)[3]
ไม่ทราบจำนวนปืนใหญ่
อากาศยาน 732 ลำ (ใช้งานได้ 402 ลำ)
อิตาลี: ไม่ทราบจำนวนปืนใหญ่หรืออากาศยาน[4]
โรมาเนีย:
ทหาร 143,296-200,000 นาย[3]
ปืนใหญ่ 827 กระบอก
รถถัง 134 คีน
ไม่ทราบจำนวนอากาศยาน[4]
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ไม่ทราบ

เนื่องจากระยะทางของแนวหน้าถูกสร้างขึ้นโดยการรุกช่วงฤดูร้อนของเยอรมัน ได้มุ่งเป้าไปที่แหล่งน้ำมันเทือกเขาคอเคซัสและเมืองสตาลินกราด กองทัพเยอรมันและฝ่ายอักษะอื่น ๆ ได้ถูกบังคับให้ต้องปกป้องส่วนที่ระยะทางที่ยาวไกลเกินกว่าที่พวกเขาตั้งใจจะยึดครอง ด้วยสถานการณ์ที่เลวร้ายโดยการตัดสินใจของเยอรมันในการย้ายกองพลยานยนต์หลายหน่วยจากสหภาพโซเวียตไปยังยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ หน่วยในพื้นที่ได้หมดไปหลังจากเดือนของการสู้รบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซึ่งได้เข้าร่วมในการสู้รบในสตาลินกราด เยอรมันได้นับแค่เพียงเหล่าพันเซอร์ที่ 48(XXXXVIII Panzer Corps) ซึ่งมีความแข็งแกร่งของกองพลพันเซอร์เดียว และกองพลแพนเซอร์เกรนาดีร์ที่ 29 เป็นหน่วยสำรองเพื่อสนับสนุนโรมาเนีย พันธมิตรของพวกเขาบนปีกของกองทัพเยอรมันที่ 6 ในทางตรงกันข้าม กองทัพแดงได้ใช้กำลังทหารมากว่าหนึ่งล้านนายเพื่อจุดประสงค์ในการเริ่มต้นของการรุกทั้งในและรอบ ๆ สตาลินกราด การเคลื่อนไหวของกองกำลังโซเวียตนั้นมีปัญหา เนื่องจากความยากลำบากในการปกปิดจากการเตรียมความพร้อมของพวกเขา และหน่วยทหารโซเวียตโดยปกติจะมาถึงก็ล่าช้า เนื่องจากปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ ปฏิบัติการยูเรนัสถูกเลื่อนออกไปครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 17 พฤศจิกายน จากนั้นก็เลื่อนไปถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน

เวลา 7 นาฬิกา 20 นาทีซึ่งเป็นเวลาของกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน กองกำลังโซเวียตบนทางตอนปีกเหนือของกองกำลังฝ่ายอักษะที่สตาลินกราดได้เริ่มต้นการรุก กองกำลังในทางตอนใต้ได้เริ่มเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน แม้ว่าหน่วยทหารโรมาเนียจะสามารถต้านทานการโจมตีครั้งแรกไว้ได้ ในช่วงท้ายของวันที่ 20 พฤศจิกายน กองทัพโรมาเนียที่ 3 และ 4 ต้องล่าถอยอย่างแตกกระเจิง ดังนั้นกองทัพแดงก็ได้โอบล้อมกองพลทหารราบของเยอรมันได้หลายกองพล การเคลื่อนไหวของหน่วยสำรองของเยอรมันไม่แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันหน่วยยานยนต์หัวหอกของโซเวียตได้ ในขณะที่กองทัพที่ 6 ไม่อาจตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วพอหรืออย่างเด็ดขาดที่จะปลดปล่อยกองทัพเยอรมันในสตาลินกราดและช่วยให้พวกเขาเอาชนะภัยคุกคามที่ใกล้เข้ามา โดยช่วงปลายวันที่ 22 พฤศจิกายน กองกำลังโซเวียตได้เชื่อมโยงกันไปที่เมืองคาลัช ล้อมรอบด้วยจำนวนประมาณ 290,000 นาย ทางตะวันออกของแม่น้ำดอน แทนที่จะพยายามในการเปิดวงล้อม ผู้นำเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ตัดสินใจที่จะรักษากองกำลังฝ่ายอักษะในสตาลินกราดและจัดหาสเบียงและอื่น ๆให้กับพวกเขาทางอากาศ ในขณะเดียวกันผู้บัญชาการฝ่ายโซเวียตและฝ่ายเยอรมันก็ได้เริ่มวางแผนการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป

อ้างอิง แก้

ข้อมูล แก้

  • Beevor, Antony (1998). Stalingrad: The Fateful Siege: 1942 – 1943. Harmondsworth, United Kingdom: Penguin Putnam Inc. ISBN 0-670-87095-1.
  • Bell, Kelly (Fall 2006). "Struggle for Stalin's Skies". WWII History: Russian Front. Special. Herndon, Virginia: Sovereign Media. Issue. 1539-5456.
  • Bergström, Christer (2007). Stalingrad – The Air Battle: 1942 through January 1943. Harmondsworth, United Kingdom: Chevron Publishing Limited. ISBN 978-1-85780-276-4.
  • Clark, Alan (1965). Barbarossa: The Russian-German Conflict, 1941–1945. New York City, New York: William Morrow. ISBN 0-688-04268-6.
  • Cooper, Matthew (1978). The German Army 1933–1945. Lanham, Maryland: Scarborough House. ISBN 0-8128-8519-8.
  • Erickson, John (1983). The Road to Berlin: Stalin's War with Germany. Yale University Press. ISBN 0-300-07813-7.
  • Erickson, John (1975). The Road to Stalingrad: Stalin's War With Germany. Yale University Press. ISBN 0-300-07812-9.
  • Glantz, David M. (January 1996). "Soviet Military Strategy During the Second Period of War (November 1942 – December 1943): A Reappraisal". The Journal of Military History. Society for Military History. 60 (1): 115–150. doi:10.2307/2944451. JSTOR 2944451.
  • Glantz, David M.; House, Jonathan (1995). When Titans Clashed: How the Red Army Stopped Hitler. Lawrence, Kansas: Kansas University Press. ISBN 0-7006-0717-X.
  • Glantz, David M. (1999). Zhukov's Greatest Defeat: The Red Army's Epic Disaster in Operation Mars, 1942. Lawrence, Kansas: Kansas University Press. ISBN 0-7006-0944-X.
  • Glantz, David M. (2009). Armageddon in Stalingrad: September-November 1942. Lawrence, Kansas: Kansas University Press. ISBN 978-0-7006-1664-0.
  • Joly, Anton (2014). Stalingrad Battle Atlas, Volume III. Paris, France: Staldata Publications. ISBN 979-10-93222-06-6.
  • McCarthy, Peter; Syron, Mike (2002). Panzerkrieg: The Rise and Fall of Hitler's Tank Divisions. New York City, New York: Carroll & Graf. ISBN 0-7867-1009-8.
  • McTaggart, Pat (Fall 2006). "Soviet Circle of Iron". WWII History: Russian Front. Special. Herndon, Virginia: Sovereign Media. Issue. 1539-5456.
  • Perrett, Bryan (1998). German Light Panzers 1932–42. Oxford, United Kingdom: Osprey. ISBN 1-85532-844-5.
  • von Manstein, Erich (1982). Lost Victories. St. Paul, MN: Zenith Press. ISBN 0891411305.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้