กระดูกเรเดียส
ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (อังกฤษ: Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้วย
กระดูกเรเดียสหรือกระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) | |
---|---|
รยางค์บน | |
กระดูกเรเดียส คือ หมายเลข 1 | |
ตัวระบุ | |
MeSH | D011884 |
TA98 | A02.4.05.001 |
TA2 | 1210 |
FMA | 23463 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก |
กายวิภาคศาสตร์
แก้กระดูกเรเดียสเป็นกระดูกที่ค่อนข้างเล็กและบางทางปลายด้านข้อศอกซึ่งเป็นส่วนต้นของกระดูก แต่จะขยายใหญ่ออกทางปลายด้านข้อมือที่เป็นส่วนปลายของกระดูก ซึ่งจะต่อกับกลุ่มของกระดูกข้อมือ (carpal bones) กระดูกเรเดียสจะแบ่งออกได้เป็นสามส่วน คือ ส่วนต้นกระดูก (proximal/upper part) ส่วนกลางกระดูก (body) และส่วนปลายกระดูก (distal/lower part)
ส่วนต้นกระดูก
แก้ส่วนต้นของกระดูกเรเดียสประกอบด้วยโครงสร้างที่สำคัญสองส่วน คือส่วนหัวกระดูก (head of radius) ส่วนคอกระดูก (neck) และยังมีปุ่มนูน (tuberosity) ยื่นออกมาอย่างชัดเจน
- ส่วนหัวกระดูกเรเดียส มีลักษณะเป็นทรงกระบอกตรงผิวหนังชั้นนอกใหญ่ พื้นผิวด้านบนเนียนจะเว้าลงเล็กขยายมากขึ้นน้อยเพื่อรับกับส่วนแคปปิทูลัม (capitulum) ของกระดูกต้นแขน (humerus) และทางด้านที่ติดกับกระดูกมีเนื้อเยื้อขึ้นรอบๆไฟรอบๆอัลนา จะมีรอยเล็กเนียนขึ้นๆซึ่งเป็นรอยของข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนต้น (proximal radioulnar joint) ทั้งกระดูกอัลนาและส่วนหัวของกระดูกเรเดียสจะมีเอ็นที่พันรอบกระดูกทั้งสองอยู่ ซึ่งเรียกว่า เอ็นแอนูลาร์ (annular tendon) ทั้งโครงสร้างของข้อต่อเราดิโออัลนาส่วนต้นและเอ็นแอนูลาร์จะช่วยในการพลิกหงาย (supination) ของปลายแขน
- ส่วนคอกระดูก เป็นส่วนที่ต่อลงมาจากส่วนหัว และมีรอยเล็กๆที่เป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (Supinator muscle) ซึ่งเกี่ยวข้อโดยตรงกับการพลิกหงายของปลายแขนกว้างขึ้น
- ปุ่มนูนเรเดียส (Radial tuberosity) เป็นปุ่มนูนที่อยู่ในส่วนของคอกระดูกด้านที่ติดกับกระดูกอัลนา ปุ่มนูนนี้เป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ (Bicep braschii muscle)
ส่วนกลางกระดูก
แก้ส่วนกลางของกระดูกเรเดียส จะมีลักษณะคล้ายปริซึมสามเหลี่ยมที่โค้งออกไปทางด้านข้างเล็กน้อย ซึ่งสามารถคลำแนวโค้งนี้ได้โดยเฉพาะที่ใกล้กับส่วนปลายของกระดูก ขอบและพื้นผิวด้านต่างๆของส่วนกลางกระดูกที่สำคัญและเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อของปลายแขนและมือ ได้แก่
- ขอบด้านหน้า (Anterior/volar border) เริ่มจากทางด้านล่างของปุ่มนูนเรเดียส จนไปสิ้นสุดที่สไตลอยด์ โพรเซส ซึ่งอยู่ทางปลายกระดูก ขอบด้านนี้จะเป็นจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อปลายแขนสองมัด คือ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitalis superficialis) และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (Flexor pollicis longus) ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของมือ ส่วนทางด้านล่างของขอบนี้จะเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส (Pronator quadratus muscle) และกล้ามเนื้อเบรกิโอเรเดียลิส (Brachioradialis muscle)
- ขอบด้านเยื่อระหว่างกระดูก (interosseuous border) เริ่มจากทางด้านหลังของปุ่มนูนเรเดียส แล้วไล่ลงมาทางด้านปลายกระดูก ไปบรรจบที่รอยเว้าอัลนา (ulnar notch) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนปลาย (distal radioulnar joint) ครึ่งล่างของแนวนี้จะเป็นจุดเกาะของเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก ทำให้เป็นการเชื่อมต่อของกระดูกรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่าข้อต่อแบบซินเดสโมเซส (syndesmoses joint) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด
- พื้นผิวด้านข้าง (Lateral surface) มีลักษณะโค้งนูนออกมาเล็กน้อย ส่วนบนประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวกระดูกด้านนี้จะเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (supinator muscle) ขณะที่ส่วนกลางจะมีแนวสันที่เป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (Pronator teres muscle)
- พื้นผิวด้านหลัง (Dorsal surface) มีจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) และจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis muscle)
ส่วนปลายกระดูก
แก้ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสจะมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อกับกระดูกอื่นสองจุด
- ทางด้านปลายสุดจะต่อกับกระดูกข้อมือ โดยพื้นผิวส่วนใหญ่ทางปลายด้านนี้จะต่อกับกระดูกสแคฟฟอยด์ (Scaffoid bone) และกระดูกลูเนท (Lunate bone) ซึ่งเป็นกระดูกในกลุ่มของกระดูกข้อมือ
- ทางด้านข้างจะมีจุดต่อกับกระดูกอัลนา โดยรอยเว้าอัลนา (ulnar notch) ซึ่งจะไปต่อกับปลายของกระดูกอัลนา
นอกจากนี้ พื้นผิวอื่นๆในส่วนปลายของกระดูกยังมีร่องที่มีเอ็นวางตัวอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นเอ็นจากกล้ามเนื้อส่วนปลายแขน และเอ็นที่รองรับข้อต่อต่างๆในบริเวณข้อมือ ซึ่งได้แก่
- พื้นผิวด้านหลัง จะแบ่งออกเป็นสามร่อง ซึ่งจะมีเอ็นของกล้ามเนื้อในพื้นที่ด้านหลังปลายแขน (Posterior compartment of forearm) พาดผ่านเพื่อเข้าสู่บริเวณมือ
- ร่องที่อยู่ติดกับกระดูกอัลนา มีลักษณะกว้างแต่ตื้น และจะมีเอ็นของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus) และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis) วางตัวอยู่
- ร่องกลาง มีลักษณะแคบแต่ลึก และมีเอ็นของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (Extensor pollicis longus) วางอยู่
- ร่องด้านข้าง มีลักษณะกว้าง และเป็นทางผ่านของเอ็นจากกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส (Extensor indicis) และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (Extensor digitorum)
- พื้นผิวทางด้านข้าง จะมีส่วนยื่นของกระดูก ซึ่งเรียกว่า สไตลอยด์ โพรเซส (Styliod process) ซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของเอ็นจากกล้ามเนื้อเบรกิโอเรเดียลิส นอกจากนี้ยังมีร่องของเอ็นจากกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส อีกด้วย
รูปประกอบเพิ่มเติม
แก้-
กระดูกเรเดียสข้างขวา มุมมองจากทางด้านหน้า
-
กระดูกเรเดียสข้างขวา มุมมองทางด้านหลัง
-
ภาพวาดกระดูกเรเดียสและกระดูกอัลนาข้างขวา แสดงจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆ จากมุมมองทางด้านหลัง
-
กระดูกปลายแขนด้านขวาของมนุษย์ มุมมองจากทางด้านหลัง
-
ภาคตัดขวางจากส่วนกลางของปลายแขน
-
ภาคตัดขวางของปลายกระดูกปลายแขน แสดงการวางตัวของเอ็นและโครงสร้างอื่นๆที่เข้าสู่ข้อมือ
อ้างอิง
แก้- Gray's anatomy for students. Drake, RL., Vogl, W. and Mitchell, AWM.
- Clinically Oriented Anatomy, 4th ed. Keith L. Moore and Arthur F. Dalley.