ส่วนปลายของกระดูกเรเดียส
ส่วนปลายของกระดูกเรเดียส (อังกฤษ: distal end of the radius) เป็นส่วนของกระดูกเรเดียสที่มีขนาดใหญ่และมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู
ส่วนปลายของกระดูกเรเดียส (Distal radius) | |
---|---|
ภาพวาดกระดูกเรเดียสและกระดูกอัลนาข้างขวา ด้านบนเป็นส่วนต้น (ข้อศอก) และด้านล่างเป็นส่วนปลาย (ข้อมือ) | |
ตัวระบุ | |
FMA | 33776 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก |
พื้นผิวข้อต่อ
แก้ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสมีพื้นผิวที่เป็นข้อต่อกับกระดูกอื่นอยู่ 2 ด้าน ด้านหนึ่งอยู่ข้างใต้เป็นข้อต่อกับกระดูกข้อมือ (carpus) และอีกด้านหนึ่งอยู่ด้านใกล้กลาง (medial) เป็นข้อต่อกับกระดูกอัลนา
- พื้นผิวข้อต่อกับกระดูกข้อมือ เป็นรูปสามเหลี่ยม เว้า เรียบ และแบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยสันตื้นๆ ในแนวหน้าหลัง ได้แก่ส่วนด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid bone) และส่วนด้านใกล้กลางเป็นรูปสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกับกระดูกลูเนท (lunate bone)
- พื้นผิวข้อต่อกับกระดูกอัลนา เรียกว่า รอยเว้าอัลนา (ulnar notch) หรือ แอ่งซิกมอยด์ (sigmoid cavity) ของกระดูกเรเดียส มีลักษณะแคบ เว้า เรียบ และเป็นข้อต่อกับหัวกระดูกอัลนา
พื้นผิวข้อต่อทั้งสองถูกแบ่งโดยสันนูน ซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของฐานของแผ่นข้อต่อรูปสามเหลี่ยม แผ่นดังกล่าวแบ่งระหว่างข้อมือกับข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนปลาย (distal radioulnar articulation)
พื้นผิวที่ไม่เป็นข้อต่อ
แก้ส่วนปลายของกระดูกนี้ประกอบด้วยพื้นผิวที่ไม่ใช่ข้อต่อ 3 พื้นผิว ได้แก่
- พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) มีลักษณะขรุขระและไม่สม่ำเสมอ ให้เป็นจุดเกาะของเอ็นเรดิโอคาร์ปัลด้านฝ่ามือ (volar radiocarpal ligament)
- พื้นผิวด้านหลังมือ (dorsal surface) มีลักษณะนูน ให้เป็นจุดเกาะของเอ็นเรดิโอคาร์ปัลด้านหลังมือ (dorsal radiocarpal ligament) แบ่งออกเป็น 3 ร่อง
- ร่องแรกนับจากด้านข้าง อยู่ติดกับกระดูกอัลนา มีลักษณะกว้างแต่ตื้น และแบ่งออกได้อีกเป็น 2 สันตื้นๆ สันที่อยู่ด้านข้างกว่าเป็นจุดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (extensor carpi radialis longus muscle) ส่วนสันอันที่อยู่ด้านใกล้กลางเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (extensor carpi radialis brevis muscle)
- ร่องที่สอง มีลักษณะแคบแต่ลึก มีขอบเขตด้านข้างเป็นสันแหลมวิ่งในแนวเฉียงจากด้านบนลงล่างและไปทางด้านข้าง เป็นจุดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (extensor pollicis longus muscle)
- ร่องที่สามนับจากด้านข้าง มีลักษณะกว้าง เป็นทางผ่านของเอ็นกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส (Extensor indicis proprius) และกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (Extensor digitorum communis)
- พื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) มีลักษณะยาวในแนวเฉียงลงล่างไปยังส่วนยื่นที่แข็งแรง รูปทรงกรวย เรียกว่า สไตลอยด์ โพรเซส (styloid process) ซึ่งที่ฐานของสไตลอยด์ โพรเซสเป็นจุดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis) และที่ยอดของสไตลอยด์ โพรเซสเป็นจุดเกาะของเอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัลของข้อมือ ส่วนพื้นผิวด้านข้างของสไตลอยด์ โพรเซสเป็นร่องแบนๆ สำหรับเอ็นของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (abductor pollicis longus) และ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (extensor pollicis brevis)
ภาพอื่นๆ
แก้-
เอ็นข้อมือ มุมมองจากทางด้านหน้า
-
เอ็นข้อมือ มุมมองจากทางด้านหลัง
-
ภาคตัดตามยาวของข้อมือ แสดงการวางตัวของกระดูกข้อมือ
-
ภาคตัดขวางของปลายกระดูกปลายแขน
-
ภาพเอกซฺเรย์ของกระดูกหักแบบปิดที่ส่วนปลายของกระดูกเรเดียส ฉายภาพด้านข้างทำมุม 10° ตัวอย่างในภาพเป็นแขนซ้ายของชายอายุ 11 ปี