กระดูกสแคฟฟอยด์

กระดูกสแคฟฟอยด์ (อังกฤษ: Scaphoid bone) อยู่บริเวณข้อมือ พบอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือภายในอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ (anatomical snuff-box) ลักษณะคล้ายกับเรือ ในอดีตจึงเรียกกระดูกนี้ว่า navicular (ซึ่งปัจจุบัน navicular หมายถึงกระดูกรูปเรือที่อยู่ในกระดูกข้อเท้า) ขนาดและรูปร่างของกระดูกนี้คล้ายกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์

กระดูกสแคฟฟอยด์
(Scaphoid bone)
กระดูกสแคฟฟอยด์จากข้อมือซ้าย
รายละเอียด
ข้อต่อมีข้อต่อกับกระดูก 5 ชิ้น ได้แก่
ตัวระบุ
ภาษาละตินos scaphoideum, os naviculare manus
MeSHD021361
TA98A02.4.08.003
TA21250
FMA23709
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

กระดูกสแคฟฟอยด์เป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) แกนยาวของกระดูกวิ่งจากบนลงล่าง ไปทางด้านข้างและด้านหน้า

คำว่า สแคฟฟอยด์ (scaphoid) มาจากภาษากรีกว่า skaphe แปลว่า "เรือ" และ eidos แปลว่า "รูปร่าง"

พื้นผิว

แก้

พื้นผิวด้านบน (superior surface) เป็นรูปสามเหลี่ยมมีรูปร่างนูน เรียบ เป็นผิวข้อต่อกับปลายล่างของกระดูกเรเดียส

พื้นผิวด้านล่าง (inferior surface) ชี้ลงด้านล่าง ไปทางด้านข้างและด้านหลัง มีลักษณะเรียบ นูน และเป็นรูปสามเหลี่ยมเช่นกัน มีสันตื้นๆ แบ่งพื้นผิวออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นผิวด้านข้างเป็นข้อต่อกับกระดูกทราพีเซียม (trapezium) พื้นผิวด้านใกล้กลางเป็นข้อต่อกับกระดูกทราพีซอยด์ (trapezoid)

บนพื้นผิวด้านหลังมือ (dorsal surface) มีลักษณะแคบ เป็นร่องขรุขระ ซึ่งร่องนี้วิ่งในแนวตลอดความยาวของกระดูก เป็นจุดเกาะของเอ็น

พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) ด้านบนเว้า ส่วนด้านล่างและด้านข้างยกขึ้นเป็นส่วนยื่นรูปทรงกลมเกิดเป็นปุ่มกระดูก (tubercle) ชี้ไปทางด้านหน้า ซึ่งให้เป็นจุดเกาะของเอ็นทรานสเวิร์สคาร์ปัล และบางครั้งอาจเป็นจุดเกาะต้นของใยกล้ามเนื้อบางส่วนของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส เบรวิส (Abductor pollicis brevis)

พื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) ขรุขระและแคบ เป็นจุดเกาะของเอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัล (radial collateral ligament) ของข้อมือ

พื้นผิวด้านใกล้กลาง (medial surface) ให้เป็นหน้าประกบข้อต่อ 2 หน้า ได้แก่ ด้านบนมีขนาดเล็กกว่า เป็นรูปเสี้ยวพระจันทร์มีลักษณะแบนและเกิดข้อต่อกับกระดูกลูเนท (lunate bone) ส่วนด้านล่างมีขนาดใหญ่กว่ามีลักษณะเว้า เรียงตัวกับกระดูกลูเนทเกิดเป็นรอยเว้ารับกับหัวของกระดูกแคปปิเตต (capitate)

พื้นผิวนูนด้านปลาย (distal convex surface) เกิดข้อต่อกับกระดูกทราพีเซียมและทราพีซอยด์

ความสำคัญทางคลินิก

แก้

เมื่อเกิดกระดูกชิ้นนี้หักมักจะหายได้ยากเพราะว่ามีการไหลเวียนไปเลี้ยงกระดูกชิ้นนี้น้อย แม้ว่ากระดูกชิ้นนี้ก็มีโอกาสหักยากก็ตาม แต่กระดูกชิ้นนี้ก็มักจะหักได้บ่อยเมื่อเกิดการหักของกระดูกข้อมือ เนื่องจากกายวิภาคและตำแหน่งในข้อมือของกระดูกนี้มีลักษณะเฉพาะ ประมาณ 60% ของกระดูกข้อมือหักมักเกิดจากกระดูกสแคฟฟอยด์หัก เมื่อเกิดกระดูกสแคฟฟอยด์จะต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อผลการรักษาที่ดี การวินิจฉัยและรักษาที่ล่าช้าอาจทำให้การรักษาซับซ้อนมากขึ้น

ภาพอื่นๆ

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้