กระดูกพิสิฟอร์ม

กระดูกพิสิฟอร์ม (อังกฤษ: Pisiform bone) หรือ กระดูกเลนติฟอร์ม (อังกฤษ: Lentiform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือ มีขนาดเล็ก รูปร่างกลมคล้ายเมล็ดถั่วลันเตา กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือแถวต้น อยู่บริเวณที่กระดูกอัลนา (ulna) เชื่อมกับกระดูกข้อมือ กระดูกนี้เกิดข้อต่อกับกระดูกไตรกีตรัล (triquetral) เท่านั้น

กระดูกพิสิฟอร์ม
(Pisiform bone)
กระดูกพิสิฟอร์มจากข้อมือซ้าย
รายละเอียด
จุดกำเนิดเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล
ข้อต่อกระดูกไตรกีตรัล
ตัวระบุ
ภาษาละตินos pisiforme
MeSHD051220
TA98A02.4.08.007
TA21254
FMA23718
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

กระดูกพิสิฟอร์มจัดเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone)

รากศัพท์ของชื่อ พิสิฟอร์ม (pisiform) มาจากภาษาละตินว่า pīsum แปลว่า ถั่วลันเตา (pea)

พื้นผิว

แก้

พื้นผิวด้านหลังมือ (dorsal surface) มีลักษณะเป็นหน้าประกบรูปวงรี เรียบ เกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกไตรกีตรัล หน้าประกบนี้จะมาถึงขอบด้านบน แต่ไม่ถึงขอบด้านล่างของกระดูกนี้

พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) มีลักษณะกลมและขรุขระ ให้เป็นจุดเกาะของเอ็นทรานสเวิร์สคาร์ปัล (transverse carpal ligament) และกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส (Flexor carpi ulnaris) และกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ ดิจิไต มินิไม (Abductor minimi digiti muscle)

พื้นผิวด้านข้าง (lateral) และด้านใกล้กลาง (medial surfaces) ขรุขระ พื้นผิวด้านข้างจะมีลักษณะเว้า แต่พื้นผิวด้านใกล้กลางมักมีลักษณะนูน

ภาพอื่นๆ

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้