กระดูกไตรกีตรัล
กระดูกไตรกีตรัล (อังกฤษ: Triquetral bone; หรืออาจเรียกว่า triquetrum bone, cuneiform bone, pyramidal bone, cubital bone, three-cornered bone, และ triangular bone) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณข้อมือ อยู่บริเวณด้านใกล้กลาง (medial side) ของกระดูกข้อมือแถวต้น ระหว่างกระดูกลูเนท (lunate) และกระดูกพิสิฟอร์ม (pisiform) กระดูกนี้อยู่ด้านอัลนา (ด้านนิ้วก้อย) ของมือ แต่ไม่เกิดข้อต่อกับกระดูกอัลนา กระดูกไตรกีตรัลเกิดข้อต่อกับกระดูกพิสิฟอร์ม, กระดูกฮาเมต (hamate) , และกระดูกลูเนท กระดูกนี้มีโอกาสหักมากเป็นอันดับที่ 3 เมื่อเกิดกระดูกข้อมือหัก
กระดูกไตรกีตรัล (Triquetral bone) | |
---|---|
กระดูกข้อมือ แถวต้น: A=สแคฟฟอยด์, B=ลูเนท, C=ไตรกีตรัล, D=พิสิฟอร์ม แถวปลาย: E=ทราพีเซียม, F=ทราพีซอยด์, G=แคปปิเตต, H=ฮาเมต | |
กระดูกไตรกีตรัลจากข้อมือซ้าย | |
รายละเอียด | |
ข้อต่อ | มีข้อต่อกับกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ ด้านข้างกับกระดูกลูเนท ด้านหน้ากับกระดูกพิสิฟอร์ม ด้านปลายกับกระดูกฮาเมต และแผ่นข้อต่อ (articular disk) รูปสามเหลี่ยมซึ่งแยกกระดูกนี้จากปลายล่างของกระดูกอัลนา |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | os triquetrum, os pyramidale, os triangulare |
MeSH | D051221 |
TA98 | A02.4.08.006 |
TA2 | 1253 |
FMA | 23715 |
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก |
กระดูกไตรกีตรัลมีลักษณะเด่นคือ มีรูปร่างคล้ายพีระมิด และที่เด่นชัดที่สุดคือรอยบุ๋มรูปวงรีที่อยู่บนพื้นผิวด้านหน้า ซึ่งเป็นบริเวณเกิดข้อต่อกับกระดูกพิสิฟอร์ม กระดูกนี้อยู่ด้านบนและด้านอัลนาของข้อมือ ในการคลำกระดูกนี้เพื่อตรวจ มือต้องอยู่ในท่าเบนไปทางนิ้วหัวแม่มือเพื่อให้กระดูกไตรกีตรัลเลื่อนออกจากสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกอัลนา (ulnar styloid process) กระดูกไตรกีตรัลอาจหาได้ยากเพราะว่ากระดูกนี้วางตัวอยู่ใต้กระดูกพิสิฟอร์ม
รากศัพท์ของชื่อกระดูกนี้มาจากภาษาละติน triquetrus ซึ่งแปลว่า สามเหลี่ยม (three-cornered)
พื้นผิว
แก้พื้นผิวด้านบน (superior surface) ด้านใกล้กลาง (medial) มีลักษณะขรุขระ และไม่เกิดข้อต่อกับกระดูกอื่นๆ และพื้นผิวด้านข้าง (lateral) เป็นพื้นผิวข้อต่อนูน เกิดข้อต่อกับแผ่นรองข้อต่อรูปสามเหลี่ยม (triangular articular disk) ของข้อมือ
พื้นผิวด้านล่าง (inferior surface) ซึ่งชี้ไปทางด้านข้าง มีลักษณะเว้า โค้งวกคล้ายคลื่น เรียบ เกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกฮาเมต (hamate)
พื้นผิวด้านหลังมือ (dorsal surface) ขรุขระ เป็นจุดเกาะของเอ็นต่างๆ
พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) ส่วนใกล้กลางเป็นหน้าประกบรูปวงรี ซึ่งเกิดข้อต่อกับกระดูกพิสิฟอร์ม ส่วนด้านข้างมีลักษณะขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะของเอ็น
พื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) ซึ่งเหมือนเป็นฐานของพีระมิด มีลักษณะเป็นหน้าประกบแบนรูปสี่เหลี่ยม เกิดข้อต่อกับกระดูกลูเนท (lunate)
พื้นผิวด้านใกล้กลาง (medial surface) ซึ่งเหมือนเป็นยอดของพีระมิด มีลักษณะเป็นยอดแหลมและขรุขระ ซึ่งเป็นจุดเกาะของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัลของข้อมือ (ulnar collateral ligament of the wrist)
ภาพอื่นๆ
แก้-
กระดูกของมือข้างซ้าย มุมมองด้านฝ่ามือ
-
กระดูกของมือข้างซ้าย มุมมองด้านหลังมือ