ประเทศซามัว

(เปลี่ยนทางจาก Samoa)

13°35′S 172°20′W / 13.583°S 172.333°W / -13.583; -172.333

รัฐเอกราชซามัว

Independent State of Samoa (อังกฤษ)
Malo Sa'oloto Tuto'atasi o Samoa (ซามัว)
ตราแผ่นดินของซามัว
ตราแผ่นดิน
คำขวัญFaavae i le Atua Samoa
(ซามัวสถาปนาด้วยพระเจ้า)
ที่ตั้งของซามัว
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
อาปีอา
13°50′S 171°45′W / 13.833°S 171.750°W / -13.833; -171.750
ภาษาราชการภาษาซามัวและภาษาอังกฤษ
การปกครองประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
วาอาเลโตอา ซูอาลาอูวีที่ 2
• นายกรัฐมนตรี
Fiamē Naomi Mataʻafa
เอกราช
1 มกราคม พ.ศ. 2505
พื้นที่
• รวม
2,842 ตารางกิโลเมตร (1,097 ตารางไมล์) (167)
0.3
ประชากร
• สำมะโนประชากร October 2020
202,506[1] (176)
70 ต่อตารางกิโลเมตร (181.3 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2018 (ประมาณ)
• รวม
$1.188 พันล้าน[2]
$5,962[2]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2018 (ประมาณ)
• รวม
$881 ล้าน[2]
$4,420[2]
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.715[3]
สูง · 111
สกุลเงินตาลา (WST)
เขตเวลาUTC+13
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
+14
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+685
โดเมนบนสุด.ws

รัฐเอกราชซามัว (ซามัว: Malo Sa‘oloto Tuto'atasi o Sāmoa; อังกฤษ: Independent State of Samoa) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ซามัว (ซามัว: Sāmoa; อังกฤษ: Samoa) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ชื่อในอดีตคือ เยอรมันซามัว ระหว่างปี พ.ศ. 2443 ถึง พ.ศ. 2457 และ ซามัวตะวันตก ระหว่างปี พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2540

ประวัติศาสตร์

แก้
 
ภาพชาวซามัวสมัยโบราณ

ซามัวเป็นดินแดนที่เป็นที่ตั้งหนึ่งในจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ของชาวโพลินีเซีย สามารถขยายอาณาเขตยึดประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงได้ จนกระทั่งมีการเข้ามาของชาวยุโรปทำให้ประชากรส่วนใหญ่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ จนกระทั่ง จักรวรรดิตูอิตองงา ได้เข้ามายึดดินแดน ส่งผลให้ซามัวกลายเป็นเมืองขึ้นของตองงา ในระยะต่อมาอีก 500 ปี ซามัวได้ประกาศเอกราชและปกครองตนเองเรื่อยมา ต่อมาประเทศอังกฤษได้ยึดซามัว ในเวลาต่อมาเกิดข้อพิพาทระหว่างสหรัฐ เยอรมันและอังกฤษ ยังผลให้ประเทศเยอรมนีได้ครอบครองส่วนที่เป็นประเทศซามัวในปัจจุบัน ส่วนสหรัฐอเมริกาได้ครอบครองส่วนที่เป็นอเมริกันซามัวในปัจจุบัน สำหรับประเทศอังกฤษก็ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในซามัวอีกแล้ว ในระยะต่อมาในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซามัวถูกโอนให้มาขึ้นกับประเทศนิวซีแลนด์ จนประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2505 นับเป็นประเทศแรกในแปซิฟิกใต้ที่ได้รับเอกราช

การเมือง

แก้

ระบบรัฐสภา สภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน โดย 47 คน มาจากการเลือกตั้ง และผู้แทน 2 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากเผ่ามาไต (Matai) วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี เดิมประมุขรัฐมาจากการสืบตระกูลและดำรงตำแหน่งประมุขตลอดชีพ แต่ภายหลังจากที่พระประมุข มาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2 ประมุขรัฐที่ได้รับการแต่งตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้สิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ด้วยพระชันษา 94 พรรษา โดยไม่มีรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ทำให้ซามัวไม่มีกษัตริย์อีกต่อไป และเริ่มใช้ระบบประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีแทน ซามัวเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองมากที่สุดในแปซิฟิกใต้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

ซามัวแบ่งการปกครองเป็น 11 เขตคือ:

ภูมิศาสตร์

แก้
 
แผนที่ประเทศซามัว

ซามัวตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอเมริกันซามัว ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตองกาและฟิจิ มีป่าไม้ค่อนข้างหนาแน่น ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายโพลินีเชีย และบางส่วนเป็นเยอรมันและจีน ชาวซามัวจำนวนมากอพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ โดยคาดว่ามีชาวซามัวในนิวซีแลนด์ประมาณ 120,000 คน และในออสเตรเลียประมาณ 40,000 คน

ข้อมูลภูมิอากาศของประเทศซามัว
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30
(86)
30
(86)
30
(86)
30
(86)
30
(86)
29
(84)
29
(84)
29
(84)
29
(84)
30
(86)
30
(86)
30
(86)
30
(86)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 24
(75)
24
(75)
24
(75)
24
(75)
24
(75)
24
(75)
23
(73)
23
(73)
23
(73)
24
(75)
24
(75)
24
(75)
24
(75)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 419
(16.5)
322
(12.68)
332
(13.07)
261
(10.28)
205
(8.07)
165
(6.5)
133
(5.24)
155
(6.1)
180
(7.09)
257
(10.12)
270
(10.63)
372
(14.65)
3,071
(120.91)
แหล่งที่มา: www.weather2travel.com [4]

เศรษฐกิจ

แก้
 
เผือก ผลิตผลหลักทางการเกษตรของซามัว

ซามัวเป็นหนึ่งในประเทศมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในแปซิฟิก โดยมีการท่องเที่ยวและการประมงเป็นปัจจัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ชาวซามัวส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ พืชที่สำคัญคือ มะพร้าว สาเก กล้วย โกโก้ และเผือก ทั้งนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภาคประมงของซามัวเติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสินค้าที่สร้างรายได้สูงสุดให้กับประเทศ นอกจากนี้ ซามัวยังมีรายได้จากแรงงานที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะจากนิวซีแลนด์ อเมริกันซามัว ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา

ซามัวมีนโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2535 (ค.ศ. 1992) แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก รัฐบาลมีนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการพัฒนา organic farming เพื่อส่งออกไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซามัวเริ่มเติบโต รวมทั้งบริษัท Partridge Pacific Investment Group ตัดสินใจลงทุนด้านการค้าปลีกขนาดใหญ่ในซามัวและฟิจิ จึงคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2549-50 จะเติบโตในระดับที่น่าพอใจ

ปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นชื่อ Yazaki ซึ่งผลิต wire harness ที่ใช้ในรถยนต์เพื่อส่งออกไปยังออสเตรเลีย เป็นบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนและเป็นแหล่งจ้างงานใหญ่ที่สุด สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ มีขนาดเล็กและผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้าเท่านั้น เป็นที่คาดกันว่า ซามัวจะถูกถอดถอนจากรายชื่อกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries) ในปี 2549 (ค.ศ. 2006) ซึ่งจะช่วยให้ซามัวสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติได้มากกว่าที่เป็นอยู่

จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2549 สูงขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 26 คิดเป็นรายได้กว่า 4.7 ล้านดอลาร์สหรัฐ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากอเมริกันซามัว และมีแนวโน้มว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนเพิ่มขึ้น จากความร่วมมือระหว่างจีนและซามัว อย่างไรก็ตาม ปัญหาสังคมของซามัวทวีความรุนแรงขึ้น เช่น การก่ออาชญากรรมของเยาวชน ปัญหายาเสพติด ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น ชาวซามัวมีอัตราการอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังนิวซีแลนด์ ออสเตรเลียและสหรัฐฯ สูงขึ้นเป็นลำดับ

ประชากร

แก้
 
ครอบครัวชาวซามัว

ประชากรในซามัวนั้นประกอบด้วยชาวซามัวร้อยละ 92.6 (โพลินีเซียน) ยูโรนีเซียน (ยุโรป-โพลินีเซียน) ร้อยละ 7 และชาวยุโรปร้อยละ 0.4

วัฒนธรรม

แก้

ชาวซามัวมีความยิ่งใหญ่มากในอดีต มีวัฒนธรรมซึ่งโดดเด่นมากในกลุ่มชาติพันธุ์โพลินีเซียน มีทั้งภาษา การเต้นรำและการแต่งกายดั้งเดิม

อ้างอิง

แก้
  1. "Population & Demography Indicator Summary". Samoa Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 25 June 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Samoa". International Monetary Fund.
  3. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  4. "Apia climate guide". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2012-06-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
รัฐบาล
ทั่วไป
อื่นๆ