ประมุขแห่งรัฐซามัว

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

โอเลอาโอโอเลมาโล หรือ หัวหน้ารัฐบาล (ซามัว: O le Ao o le Malo)[a] เป็นประมุขแห่งรัฐของซามัว ตำแหน่งนี้มีระบุไว้ในส่วนที่ 3 ของรัฐธรรมนูญซามัว ค.ศ. 1960[3] ในช่วงที่รัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบ มีการคาดการณ์ไว้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐจะถูกเลือกจากประมุขสูงสุดของราชสกุลทั้งสี่ อย่างไรก็ตามไม่มีการกำหนดเนื้อหาส่วนนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าซามัวเป็นประเทศสาธารณรัฐ มากกว่าที่จะเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สำนักเลขาธิการด้านสื่อของรัฐบาลอธิบายตำแหน่งนี้ว่าเป็นลักษณะของ "ประธานาธิบดีทางพิธีการ" ผู้ดำรงตำแหน่งจะมีอิสริยยศที่ ไฮเนส ในฐานะที่เป็นหนึ่งในประมุขสูงสุดของแต่ละราชวงศ์

โอเลอาโอโอเลมาโล
O le Ao o le Malo o Malo Saʻoloto Tutoʻatasi o Sāmoa
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
วาอาเลโตอา ซูอาลาอูวีที่ 2

ตั้งแต่ 21 กรกฎาคม 2017
การเรียกขานฮีส ไฮเนส
ที่ว่าการอาปีอา
ผู้แต่งตั้งรัฐสภาซามัว
วาระ5 ปี
ต่อได้หนึ่งสมัยติดต่อกัน[1]
ตราสารจัดตั้งรัฐธรรมนูญซามัว
ตำแหน่งก่อนหน้าพระมหากษัตริย์แห่งซามัวตะวันตก
ผู้ประเดิมตำแหน่งเมอาโอเล และ ตานุมาฟิลิที่ 2
สถาปนา1 มกราคม 1962
เงินตอบแทน82,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[2]

คณะผู้รักษาการแทนทำหน้าที่เป็นรองประมุขแห่งรัฐ และจะทำหน้าที่แทนประมุขแห่งรัฐหากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

ประมุขแห่งรัฐพระองค์ปัจจุบันคือวาอาเลโตอา ซูอาลาอูวีที่ 2 ผู้ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นโอเลอาโอโอเลมาโลเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

ประวัติ แก้

เมื่อซามัวได้รับเอกราชในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1962 สอง[4]ในสี่ประมุขสูงสุด (ตามาอาอาอีงา) ได้แก่มาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2 และตูปัว ตามาเซเซ เมอาโอเล ซึ่งมาจากราชวงศ์มาลีเอตัวและตูปัว ตามาเซเซตามลำดับ โดยทั้งสองพระองค์ได้รับตำแหน่งประมุขแห่งรัฐตลอดชีพตามความรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1960[5] ทั้งสองพระองค์เป็นที่รู้จักในฐานะ โออาโอโอเลมาโล และโดยส่วนพระองค์ในฐานะ โอเลอาโอโอเลมาโล[3] เมอาโอเลสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1963 ทำให้ตำแหน่งนี้ถูกครองโดยตานุมาฟิลิที่ 2 ตราบจนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ในตำแหน่งเมื่อ ค.ศ. 2007 พระชนมายุ 94 พรรษา[6][7] ผู้ดำรงตำแหน่งต่อมาได้แก่ตูปัว ตามาเซเซ เอฟี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของตูปัว ตามาเซเซ เมอาโอเล พระองค์ได้รับเลือกจากรัฐสภาซามัวโดยมีวาระ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2007[8] และอีกวาระหนึ่งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 เป็นเวลา 5 ปี ประมุขแห่งรัฐพระองค์ที่ 4 และองค์ปัจจุบันได้แแก่ ตูอิมาเลอาลีอีฟาโน วาอาเลโตอา เอตี ซูอาลาอูวีที่ 2 เหลนของผู้นำขบวนการเมาคือตูอิมาเลอาลีอีฟาโน ฟาอาโอโลอีอี และหลานชายของตูอิมาเลอาลีอีฟาโน ซูอาตีปาตีปาที่ 2 ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งคณะผู้รักษาการแทนชุดแรก[9] โดยได้รับเลือกจากรัฐสภาซามัวในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2017 ให้ดำรงตำแหน่งต่อจากตูฟูงา เอฟี ในช่วงที่วาระของตูฟูงา เอฟีกำลังหมดลง

คุณสมบัติ แก้

รัฐธรรมนูญซามัวมาตรา 18 กำหนดคุณสมบัติของประมุขแห่งรัฐ ดังนี้

  • มีคุณสมบัติเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา
  • มีคุณสมบัติตามที่รัฐสภา (โฟโน) มีมติกำหนด
  • ไม่เคยถูกถอดถอนจากตำแหน่งจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือภาวะทุพพลภาพ[3]

วาระการดำรงตำแหน่ง แก้

โฟโน เป็นผู้เลือกประมุขแห่งรัฐ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และสามารถได้รับการเลือกตั้งต่อได้ ข้อยกเว้นจากกรณีนี้คือมาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2 และเมอาโอเล ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นจากวาระ 5 ปีดังกล่าว ตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา 19[3] รัฐธรรมนูญมิได้กำหนดจำนวนวาระในฐานะประมุขแห่งรัฐ แต่เป็นที่เข้าใจกันว่าตำแหน่งจะสลับสับเปลี่ยนกันระหว่างราชตระกูล (ตามาไองา) ทั้งสี่ ผู้ที่ได้รับเลือกล่าสุดมาจากราชตระกูลตูอีมาเลอาลีอีโฟโน นอกจากสามตระกูลดังกล่าวข้างต้น อีกราชตระกูลหนึ่งคือมาตาอาฟา[5]

การออกจากตำแหน่งประมุขของรัฐมีสาเหตุดังนี้

  • ลาออก
  • ถูกถอดถอนจากตำแหน่งจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือภาวะทุพพลภาพ
  • ถูกถอดถอนโดยโฟโนด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 โดยการถอดถอนดังกล่าวต้องได้รับการสนับสนุน 1 ใน 4 ของสมาชิกรัฐสภา จากนั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 14 วันระหว่างการประกาศให้ทราบและการอภิปราย[3]
  • สิ้นพระชนม์

อำนาจหน้าที่ แก้

ตำแหน่งดังกล่าวมีสถานะเป็นประมุขแห่งรัฐทางพิธีการ ขณะที่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประมุขแห่งรัฐตามคำแนะนำของโฟโน ขณะที่ประมุขแห่งรัฐมิได้มีบทบาทในรัฐบาล แต่เขาสามารถยุบ โฟโน ได้ และพระราชบัญญัติจากรัฐสภาจะเป็นกฎหมายไม่ได้หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากประมุขแห่งรัฐ[10] นอกจากนี้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจในการให้อภัยโทษอีกด้วย[11]

การเลือกตั้ง แก้

จนถึงปัจจุบัน มีการเลือกตั้งประมุขแห่งรัฐทั้งสิ้น 3 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ที่โฟโนเลือกตูฟูงา เอฟี ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ 49 เสียง ครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 เมื่อเอฟีได้รับการเสนอชื่อจากตูอีลาเอปา ไอโอโน ไซเลเล มาลีเอเลงาโออี นายกรัฐมนตรีและปาลูซาลูเอ ฟาอาโปที่ 2 ผู้นำฝ่ายค้าน ครั้งที่สามเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2017 ซึ่งในครั้งนี้วาอาเลโตอา ซูอาลาอูวีที่ 2 ได้รับเลือก[12]

รายพระนามประมุขแห่งรัฐ แก้

สัญลักษณ์
  •   หมายถึงรักษาการประมุขแห่งรัฐ
  • † สิ้นพระชนม์ในตำแหน่ง
ลำดับที่ พระฉายาลักษณ์ พระนาม
(ประสูติ–สิ้นพระชนม์)
การเลือกตั้ง ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง พรรคการเมือง นายกรัฐมนตรี
เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ รวมระยะเวลา
1   ตูปัว ตามาเซเซ เมอาโอเล
(1905–1963)[b]
1 มกราคม 1962 5 เมษายน 1963† 1 ปี 94 วัน อิสระ มูลีนูอูที่ 2
  มาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2
(1913–2007)[c]
1 มกราคม 1962 11 พฤษภาคม 2007† 45 ปี 130 วัน อิสระ มูลีนูอูที่ 2
เลอาโลฟีที่ 4
ตูฟูงา เอฟิ
วาไอ โกโลเน
โตฟีเลา เอตี อาเลซานา
ตูอีลาเอปา เอ. เอส. มาลีเอเลงาโออี
  ตูปูอาตามาเซเซตูปูโอลา ตูฟูงา เอฟิ
(1938–)
คณะผู้รักษาการแทน
11 พฤษภาคม 2007 20 มิถุนายน 2007 0 ปี 40 วัน อิสระ ตูอีลาเอปา เอ. เอส. มาลีเอเลงาโออี
  ตูอีมาเลอาลีอีฟาโน วาอาเลโตอา ซูอาลาอูวีที่ 2
(1947–)
คณะผู้รักษาการแทน
11 พฤษภาคม 2007 20 มิถุนายน 2007 0 ปี 40 วัน อิสระ
2   ตูปูอาตามาเซเซตูปูโอลา ตูฟูงา เอฟิ
(1938–)[d]
2007
2012
20 มิถุนายน 2007 21 กรกฎาคม 2017 10 ปี 31 วัน อิสระ ตูอีลาเอปา เอ. เอส. มาลีเอเลงาโออี
3   ตูอีมาเลอาลีอีฟาโน วาอาเลโตอา ซูอาลาอูวีที่ 2
(1947–)
2017 21 กรกฎาคม 2017[13] ปัจจุบัน 6 ปี 272 วัน อิสระ ตูอีลาเอปา เอ. เอส. มาลีเอเลงาโออี

เชิงอรรถ แก้

หมายเหตุ แก้

  1. Ao เป็นตำแหน่งใช้เรียกหัวหน้าเผ่า/ประมุข (มาไต), ขณะ malo หมายถึง "รัฐบาล"
  2. ประมุขแห่งรัฐตลอดชีพร่วมกับตานุมาฟิลิที่ 2
  3. ประมุขแห่งรัฐตลอดชีพร่วมกับเมอาโอเลถึงวันที่ 5 เมษายน 1963
  4. บุตรชายของเมอาโอเล

อ้างอิง แก้

  1. Sobserver
  2. Hill, Bruce (28 September 2016). "Samoan leaders salaries published by newspaper". ABC Radio Australia.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Constitution of the Independent State of Western Samoa 1960". University of the South Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กรกฎาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2007.
  4. Hassall, Graham & Saunders, Cheryl (2002). Asia-Pacific Constitutional Systems. Cambridge University Press. p. 41. ISBN 0-521-59129-5.
  5. 5.0 5.1 New Zealand Herald (28 June 2007). "Name says it all for Samoa's new leader". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 28 December 2007.
  6. "Samoan king dies at the age of 94". The Sydney Morning Herald. 13 May 2007. สืบค้นเมื่อ 13 May 2007.
  7. Jackson, Cherelle (13 May 2007). "Samoa's Head of State Malietoa dies aged 95". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
  8. New Zealand Herald (16 June 2007). "New head of state for Samoa". The New Zealand Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 16 June 2007.
  9. "TUIMALEALI'IFANO". members.iinet.net.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2016. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
  10. Kogan Page; World of information (2003). Asia and Pacific Review 2003/04, 21st edition. Essex, England: Walden Publishing Ltd. p. 41. ISBN 0-7494-4063-5.
  11. eDiplomat.com. "Samoa". สืบค้นเมื่อ 28 December 2007.
  12. Samoa’s parliament reappoints Tui Atua as head of state Radio New Zealand International, 19 July 2012.
  13. Samoa Planet[ลิงก์เสีย]