ก้านสมองส่วนท้าย

โครงสร้างในก้านสมอง
(เปลี่ยนทางจาก Medulla oblongata)

ก้านสมองส่วนท้าย[1] หรือ เมดัลลา (อังกฤษ: medulla oblongata, medulla) เป็นโครงสร้างรูปก้านซึ่งอยู่ในก้านสมอง อยู่ทางด้านหน้าสมองน้อยโดยอยู่ต่ำกว่าเล็กน้อย เนื้อเซลล์ประสาทที่มีรูปกรวยของมันมีหน้าที่ซึ่งไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ (ของระบบประสาทอิสระ) เริ่มตั้งแต่การอาเจียนจนไปถึงการจาม เมดัลลามีศูนย์หัวใจ ศูนย์การหายใจ ศูนย์การอาเจียน (area postrema) และศูนย์ปรับขนาดหลอดเลือด และดังนั้นจึงมีหน้าที่เหนืออำนาจจิตใจเกี่ยวกับการหายใจ อัตราหัวใจเต้น และความดันเลือด

ก้านสมองส่วนท้าย
(Medulla oblongata)
ก้านสมองส่วนท้าย (สีม่วง) เป็นส่วนของก้านสมอง (มีสี)
ภาพตัดขวางของก้านสมองส่วนท้าย ตัดใกล้ ๆ กับตรงกลางของ olivary body[A]
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของก้านสมอง
ตัวระบุ
ภาษาละตินmedulla oblongata, myelencephalon
MeSHD008526
นิวโรเนมส์698
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_957
TA98A14.1.03.003
TA25983
FMA62004
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

ช่วงพัฒนาการเมื่อเป็นตัวอ่อน เมดัลลาพัฒนามาจาก myelencephalon[B] ซึ่งเป็นถุงเล็ก (vesicle) ถุงที่สองที่เกิดในช่วงพัฒนาการของสมองส่วนท้าย (rhombencephalon, hindbrain)

คำพ้นสมัยว่า bulb หมายถึงเมดัลลา ดังนั้น คำทางการแพทย์ปัจจุบันว่า bulbar เช่น bulbar palsy (อัมพาตก้านสมองส่วนท้าย) จึงยังเป็นคำที่ใช้เมื่อเกี่ยวกับเมดัลลา โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงอาการ/โรค และยังหมายถึงเส้นประสาท (nerve), ลำเส้นใยประสาท (tract) ที่เชื่อมกับเมดัลลา และกล้ามเนื้อต่าง ๆ ที่เมดัลลาส่งใยประสาทไปถึง เช่น ลิ้น คอหอย และกล่องเสียง

กายวิภาค

แก้
 
ภาพเคลื่อนไหวของก้านสมองส่วนท้าย
 
เมดัลลาและส่วนต่าง ๆ (10-16) (10) พีระมิด (11) anterior median fissure (15) ข่ายหลอดเลือดสมอง (choroid plexus) ในโพรงสมองที่สี่ (13) olive (7) พอนส์
 
ภาพเคลื่อนไหวของเมดัลลา มันโผล่ออกจากฟอราเมน แมกนัมที่ฐานกะโหลกศีรษะ แล้วต่อจากนั้นกลายเป็นไขสันหลัง

เมดัลลาสามารถรจัดเป็นสองส่วน คือ

  • ส่วน "เปิด" ด้านบน ที่ผิวด้านบน (dorsal) ของมันอยู่ติดกับโพรงสมองที่สี่
  • ส่วน "ปิด" ด้านล่าง เป็นส่วนที่โพรงสมองที่สี่ได้แคบลง ณ obex[C] ในเมดัลลาส่วนท้าย (caudal)

รอบ ๆ

แก้

anterior median fissure เป็นร่องในเมดัลลาที่เป็นรอยพับของเยื่อเพียโดยทอดยาวไปตามเมดัลลาทั้งหมด มันยุติที่ขอบด้านล่างของพอนส์โดยขยายเป็นรูปสามเหลี่ยมเล็กที่เรียกว่า foramen cecum ด้านข้างของร่องนี้เป็นบริเวณสูงขึ้นที่เรียกว่า พิระมิดของเมดัลลา (medullary pyramid)[D] พิระมิดมีลำเส้นใยประสาท pyramidal tract ซึ่งรวม corticospinal tract และ corticobulbar tract ที่ด้านหลัง (caudal) ของเมดัลลา ลำเส้นใยประสาทเหล่านี้ข้ามไขว้ทแยงไปอีกข้างหนึ่งโดยเรียกว่า decussation of the pyramids ซึ่งบังร่องตามที่ว่า ณ จุดนี้ เส้นใยประสาทที่เรียกว่า anterior external arcuate fiber โผล่ขึ้นจากร่องเหนือส่วนไขว้ทแยงนี้แล้วโค้งไปทางด้านข้าง (lateral) ขึ้นไปยังผิวของเมดัลลาเพื่อรวมกับ inferior peduncle/inferior cerebellar peduncle[E]

บริเวณระหว่างร่องหน้าส่วนข้าง (anterolateral sulcus) กับร่องหลังส่วนข้าง (posterolateral sulcus) ซึ่งอยู่ทางส่วนบนของเมดัลลา กำหนดได้ด้วยส่วนพองคู่ที่เรียกว่า olivary bodies (หรือ olives) มันพองเพราะมีนิวเคลียสใหญ่สุดของ olivary bodies คือ inferior olivary nucleus

ด้านหลังของเมดัลลาระหว่างร่องหลังส่วนใน (posterior median sulcus) กับร่องหลังส่วนข้าง (posterolateral sulcus) มีลำเส้นใยประสาทที่เข้าไปในเมดัลลาโดยมาจาก posterior funiculus[F] ของไขสันหลัง มีลำเส้นใยประสาทคือ gracile fasciculus ซึ่งทอดไปตามด้านใน (medial) ต่อจาก midline และ cuneate fasciculus ซึ่งทอดไปตามด้านข้าง (lateral) ต่อจาก midline มัดเส้นใยประสาท (fasciculus) เหล่านี้ไปสุดที่ส่วนนูนเป็นปุ่มซึ่งเรียกว่า gracile tubercle และ cuneate tubercle เป็นปุ่มเนื่องกับเนื้อเทาที่เรียกว่า gracile nucleus และ cuneate nucleus ตัวเซลล์ของนิวเคลียสเหล่านี้เป็น second order neuron ของวิถีประสาท posterior column-medial lemniscus pathway แอกซอนของเซลล์ซึ่งเรียกว่า internal arcuate fibers/fasciculi จะข้ามไขว้ทแยงจากข้างหนึ่งของเมดัลลาไปยังอีกข้างหนึ่งโดยเรียกว่า medial lemniscus

เหนือปุ่มทั้งสองตามที่ว่านี้ ด้านหลังของเมดัลลาเป็นแอ่งรูปสามเหลี่ยม ซึ่งเป็นส่วนล่างของพื้นโพรงสมองที่สี่ ที่ข้างทั้งสองของแอ่งนี้ประกบกับ inferior cerebellar peduncle[E] ซึ่งเชื่อมเมดัลลากับสมองน้อย

ส่วนล่างขอเมดัลลาทางด้านข้าง (lateral) ต่อจาก cuneate fasciculus กำหนดโดยส่วนนูนเป็นแถบยาวที่เรียกว่า tuberculum cinereum รอยนูนเกิดจากเนื้อเทาที่เรียกว่า spinal trigeminal nucleus เนื้อเทาของนิวเคลียสนี้ปกคลุมด้วยชั้นเส้นใยประสาทอันเป็นลำเส้นใยประสาทส่วนไขสันหลัง (spinal tract) ของเส้นประสาทไทรเจมินัล

ฐานของเมดัลลากำหนดด้วยเส้นใยประสาท commissural fibers ซึ่งเป็นใยประสาทที่ข้ามจากไขสันหลังข้างหนึ่งไปยังก้านสมองอีกข้างหนึ่ง ส่วนต่ำจากนี้ลงไปเป็นไขสันหลัง

เส้นเลือด

แก้

หลอดเลือดแดงหลายเส้นส่งเลือดไปยังเมดัลลา

  • anterior spinal artery ส่งเลือดไปยังด้านใน (medial) ของเมดัลลาทั้งหมด
  • posterior inferior cerebellar artery เป็นสาขาใหญ่ของ vertebral artery และส่งเลือดไปยังส่วนหลังด้านข้าง (posterolateral) ของเมดัลลา เป็นส่วนที่ลำเส้นใยประสาทรับความรู้สึกหลักวิ่งเข้าไปยุติเป็นไซแนปส์ เส้นเลือดยังส่งเลือดไปยังสมองน้อยเป็นบางส่วนด้วย
  • สาขาอื่น ๆ ของ vertebral artery ส่งเลือดไปยังบริเวณระหว่างหลอดเลือดที่กล่าวมาแล้วทั้งสอง รวมทั้ง solitary nucleus และนิวเคลียสรับความรู้สึกและเส้นใยประสาทรับความรู้สึกอื่น ๆ

พัฒนาการ

แก้

เมดัลลาเกิดขึ้นในครรภ์จาก myelencephalon[B] โดยเปลี่ยนสภาพกลายเป็นเมดัลลาอย่างสมบูรณ์ในสัปดาห์ที่ 20[3] neuroblast จากส่วน alar plate ของ neural tube ในระดับเดียวกันจะเป็นตัวให้เกิดนิวเคลียสรับความรู้สึก (sensory nuclei) ในเมดัลลา neuroblast จากส่วน basal plate (ของ neural tube) จะกลายเป็นนิวเคลียสสั่งการ (motor nuclei) คือ

หน้าที่

แก้

เมดัลลาเป็นตัวเชื่อมสมองระดับที่สูงกว่ากับไขสันหลัง ทำหน้าที่ต่าง ๆ ของระบบประสาทอิสระรวมทั้ง

  • การควบคุมการหายใจ (control of ventilation) อาศัยกระแสประสาทที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมีคือ carotid body ซึ่งอยู่ที่หลอดเลือดแดงที่คอและ aortic body ซึ่งอยู่ที่ส่วนโค้งเอออร์ตาเหนือหัวใจ กลุ่มตัวรับรู้สารเคมี (chemoreceptor) เหล่านี้เป็นตัวควบคุมการหายใจ คือพวกมันจะตรวจจับความเป็นกรดในเลือด ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเลือดเป็นกรดเกิน เมดัลลาจะได้รับข้อมูลจากตัวรับสารเคมีแล้วส่งกระแสประสาทไปยังเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ คือ intercostal muscle ที่ซี่โครงและ phrenical muscle ที่กะบังลมเพื่อเพิ่มอัตราการหดเกร็ง เพิ่มการหายใจ และเพิ่มการเติมออกซิเจนใส่ในเลือด กลุ่มเซลล์ประสาทในเมดัลลาคือ ventral respiratory group และ dorsal respiratory group มีบทบาทในการควบคุมเช่นนี้ กลุ่มอินเตอร์นิวรอน pre-Bötzinger complex ในเมดัลลาก็มีบทบาทในการหายใจด้วยเหมือนกัน
  • ศูนย์หัวใจร่วมหลอดเลือด เป็นส่วนของระบบประสาทซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติก
  • ศูนย์ปรับขนาดหลอดเลือด - มีตัวรับรับรู้ความดันในหลอดเลือด (baroreceptor) ซึ่งส่งข้อมูลไปยังเมดัลลาส่วน solitary nucleus เพื่อให้ปรับความดันได้
  • ศูนย์รีเฟล็กซ์สำหรับการอาเจียน การไอ การจาม และการกลืน รีเฟล็กซ์เหล่านี้รวมทั้งรีเฟล็กซ์ขย้อน (pharyngeal reflex[G]), รีเฟล็กซ์การกลืน (swallowing reflex[H]) หรือ palatal reflex และรีเฟล็กซ์ขากรรไกร (masseter reflex[I]) จึงสามารถเรียกรีเฟล็กซ์เหล่านี้แต่ละอย่างว่า bulbar reflex[8]

ความสำคัญในการตรวจรักษา

แก้

เส้นเลือดอุดตัน (เช่นที่เกิดในโรคหลอดเลือดสมอง) อาจสร้างปัญหาต่อเมดัลลาที่ pyramidal tract, medial lemniscus และ hypoglossal nucleus เป็นเหตุของกลุ่มอาการที่เรียกว่า medial medullary syndrome อาการเช่น

  • เมื่อพยายามแลบลิ้น ลิ้นจะเบี้ยวไปทางข้างสมองที่มีปัญหาเพราะกล้ามเนื้อด้านนั้นอ่อนแรง เป็นปัญหาที่ hypoglossal nerve fiber
  • แขนขาอ่อนแรง (หรืออัมพาตครึ่งซีกโดยขึ้นอยู่กับความรุนแรง) ในร่างกายซีกตรงข้ามกับสมองข้างที่มีปัญหา เป็นปัญหาที่ pyramidal tract
  • การเสียความรู้สึกสัมผัสที่แยกแยะวัตถุได้ (discriminative touch) การรับรู้อากัปกิริยาที่รู้สึกได้ และการรับรู้แรงสั่นในร่างกายซีกตรงข้ามกับสมองด้านที่มีปัญหา เป็นปัญหาที่ medial lemniscus

กลุ่มอาการ lateral medullary syndrome อาจเกิดเพราะการอุดตันของเส้นเลือด posterior inferior cerebellar artery หรือของ vertebral artery อาการรวมทั้งการเสียความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิที่ร่างกายซีกตรงกันข้าม (กับซีกสมองที่บาดเจ็บ) หรือใบหน้าซีกเดียวกัน ส่วนอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายแบบลุกลาม (progressive bulbar palsy, PBP) เป็นโรคที่ทำลายประสาทซึ่งส่งไปยังกล้ามเนื้อ bulbar muscle (เช่น ลิ้น คอหอย และกล่องเสียง) อาการที่เป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งปัญหาการเคี้ยว การพูด และการกลืน ส่วน infantile progressive bulbar palsy เป็น PBP ที่เกิดในเด็ก

สัตว์อื่น

แก้

ทั้งปลาแลมป์เพรย์ทะเลและแฮ็กฟิชมีเมดัลลาที่พัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่[9][10] เพราะปลาทั้งสองมีลักษณะคล้ายกับปลาไม่มีขากรรไกรรุ่นต้น ๆ มาก จึงเสนอว่า เมดัลลาได้พัฒนาขึ้นในปลารุ่นต้น ๆ เช่นนี้เมื่อประมาณ 505 ล้านปีก่อน[11] สมมติฐานว่า เมดัลลาเป็นส่วนของสมองสัตว์เลื้อยคลานในยุคต้น ๆ ได้หลักฐานจากขนาดที่ใหญ่โดยเปรียบเทียบในสัตว์เลื้อยคลานยุคปัจจุบันรวมทั้งจระเข้ จระเข้ตีนเป็ด และกิ้งก่ามอนิเตอร์

รูปภาพอื่น ๆ

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. ในกายวิภาคศาสตร์ olivary body (พหูพจน์ olivary bodies, olives โดยมาจากคำละตินว่า oliva) เป็นโครงสร้างรูปไข่คู่ที่เด่นภายในก้านสมองส่วนท้ายซึ่งอยู่ทางด้านล่างของก้านสมอง เป็นโครงสร้างที่มี olivary nuclei
  2. 2.0 2.1 myelencephalon หรือ afterbrain เป็นส่วนหลังสุดของสมองส่วนท้ายของตัวอ่อน (embryonic hindbrain) ซึ่งเมดัลลาพัฒนามาจาก[2]
  3. obex (จากคำละตินซึ่งแปลว่า ส่วนกั้น) เป็นจุดในสมองมนุษย์ซึ่งโพรงสมองที่สี่ได้แคบลงเป็น central canal ของไขสันหลัง โดยเกิดที่เมดัลลาส่วนท้าย (caudal medulla) เส้นใยประสาทรับความรู้สึกที่ส่งเข้าไปในสมองจะข้ามไขว้ทแยง (decussate) ณ จุดนี้
  4. medullary pyramid (พิระมิดของเมดัลลา) เป็นโครงสร้างเนื้อขาวเป็นคู่ของก้านสมองส่วนท้ายที่มีเส้นใยประสาทสั่งการของ corticospinal tract และ corticobulbar tract โดยรวมเรียกว่า pyramidal tract ขอบล่างของพิระมิดจะกำหนดด้วยเส้นใยประสาทที่ข้ามไขว้ทแยง (decussate)
  5. 5.0 5.1 ด้านหลังบนของเมดัลลามี inferior cerebellar peduncle ซึ่งเป็นโครงสร้างเป็นเส้นคล้ายเชือกหนาระหว่างโพรงสมองที่สี่ส่วนล่างกับรากของเส้นประสาทคอหอยและกล่องเสียง (9) และเส้นประสาทเวกัส (10) inferior cerebellar peduncle แต่ละอันเชื่อมไขสันหลังพร้อมเมดัลลากับสมองน้อย และประกอบด้วย juxtarestiform body และ restiform body
  6. posterior funiculus ของไขสันหลังอยู่ระหว่าง posterolateral sulcus กับ posterior median sulcus เป็นส่วนที่มี posterior columns (หรือเรียกว่า dorsal columns) ซึ่งเป็นเนื้อขาวที่มี fasciculus gracilis และ fasciculus cuneatus ส่วนแบ่งที่เป็นเซลล์เกลียแยก fasciculus สองส่วนนี้ออกจากกันแล้วกลายเป็นข้างทั้งสองของ posterior intermediate sulcus.
  7. รีเฟล็กซ์ขย้อน (pharyngeal reflex หรือ gag reflex หรือ laryngeal spasm) เป็นการหดเกร็งกล้ามเนื้อด้านหลังของคอโดยรีเฟล็กซ์[4] ที่เกิดเพราะการถูกเพดานปาก ลิ้นด้านหลัง บริเวณใกล้ ๆ ทอนซิล ลิ้นไก่ และคอด้านหลัง รีเฟล็กซ์นี้บวกกับรีเฟล็กซ์ทางเดินหายใจ/ทางเดินอาหารอื่น ๆ เช่น การกลืน ช่วยป้องกันวัตถุในช่องปากไม่ให้เข้าไปในคอยกเว้นเมื่อกลืน ดังนั้น จึงช่วยไม่ให้ติดคอ
  8. การกลืนเป็นกระบวนการในร่างกายสัตว์หรือมนุษย์ ที่ทำให้วัตถุผ่านปากเข้าไปในคอหอยแล้วเข้าไปในหลอดอาหารในขณะที่ปิดฝากล่องเสียง เป็นเรื่องสำคัญในการกินและการดื่ม เพราะถ้าทำงานล้มเหลว วัตถุ (เช่น อาหาร เครื่องดื่ม หรือยา) ก็จะล่วงเข้าไปในท่อลมแล้วทำให้หายใจไม่ออกหรือสูดเข้าไปในปอด[5] ในมนุษย์ การปิดฝากล่องเสียงชั่วคราวโดยอัตโนมัติจะเกิดอาศัยรีเฟล็กซ์การกลืน (swallowing reflex)
  9. รีเฟล็กซ์ขากรรไกร (jaw jerk reflex หรือ masseter reflex) เป็นรีเฟล็กซ์กล้ามเนื้อยืด (stretch reflex) ที่แพทย์ใช้ตรวจสถานะของเส้นประสาทไทรเจมินัล (5) และช่วยแยกแยะระหว่างปัญหาไขสันหลังระดับคอส่วนบน (upper cervical cord compression) กับรอยโรคที่อยู่เหนือฟอราเมน แมกนัม[6][7] คือแพทย์จะเคาะขากรรไกรล่างโดยเคาะเป็นมุมลงล่างใต้ปากที่คางเมื่อปากเปิดอยู่เล็กน้อย ร่างกายจะตอบสนองโดยกระตุกกล้ามเนื้อแมสซีเตอร์ให้ขากรรไกรกระตุกกลับขึ้นบน ปกติแล้วรีเฟล็กซ์นี้ตอบสนองน้อยหรือไม่มี แต่คนไข้ที่มีรอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการบน (upper motor neuron lesion) จะมีปฏิกิริยาที่เห็นได้ชัด

อ้างอิง

แก้

  บทความนี้รวมเอาข้อความซึ่งเป็นสาธารณสมบัติจากหน้าที่ 767 ของหนังสือเกรย์อนาโตมีฉบับพิมพ์ครั้งที่ 20 (ค.ศ. 1918 )

  1. "medulla oblongata", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) ก้านสมองส่วนท้าย
  2. "Myelencephalon". Segen's Medical Dictionary. 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-05.
  3. Carlson, Neil R (2013). Foundations of Behavioral Neuroscience (9th ed.). Pearson. pp. 70–71. ISBN 978-0205947997.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. "NUCLEUS AMBIGUUS". University of Wisconsin-Madison, Medical Neuroscience 721. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06.
  5. "Dysphagia Screening: Contributions of Cervical Auscultation Signals and Modern Signal-Processing Techniques". 2015. doi:10.1109/THMS.2015.2408615. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. "Neurological Examination". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
  7. Virella, Anthony A. "Cervical Spondylosis". Virella Neuro Surgery. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-30. สืบค้นเมื่อ 2016-03-13.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. Hughes, T. (2003). "Neurology of swallowing and oral feeding disorders: Assessment and management". Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry. 74 (90003): 48iii. doi:10.1136/jnnp.74.suppl_3.iii48. PMC 1765635. [1]
  9. Nishizawa, H; Kishida, R; Kadota, T; Goris, RC; Kishida, Reiji; Kadota, Tetsuo; Goris, Richard C. (1988). "Somatotopic organization of the primary sensory trigeminal neurons in the hagfish, Eptatretus burgeri". J Comp Neurol. 267 (2): 281–95. doi:10.1002/cne.902670210. PMID 3343402.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Rovainen, CM (1985). "Respiratory bursts at the midline of the rostral medulla of the lamprey". J Comp Physiol A. 157 (3): 303-9. doi:10.1007/BF00618120. PMID 3837091.
  11. Haycock, DE (2011). Being and Perceiving. Manupod Press. ISBN 978-0-9569621-0-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้