โรงเรียนพนัสพิทยาคาร

โรงเรียนพนัสพิทยาคาร (อังกฤษ: Phanatpittayakarn School, ย่อ: พ.พ., PP) เป็นโรงเรียนรัฐบาลสหศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 ถนนสุขประยูร ตำบลกุฎโง้ง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยมีชื่อที่เรียกกันทั่วไปของชาวพนัสนิคมว่า “โรงเรียนหลวงใหญ่”

โรงเรียนพนัสพิทยาคาร
โรงเรียนหลวงใหญ่

Phanatpittayakarn School
ที่ตั้ง
หมู่ที่ 6 ถนนสุขประยูร ตำบลกุฏโง้ง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 20140 ประเทศไทย ไทย
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.พ. (PP)
ประเภทโรงเรียนสหศึกษา - โรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสุสิกขิโต ภวัง โหตุ (ค่าของคนอยู่ที่ผลของกรรมดี)
สถาปนา28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 (87 ปี 211 วัน)
ผู้ก่อตั้งครูเจียม รุธิระกุล
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส12200601
ผู้อำนวยการประโยชน์ กีรติปกรณ์
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย
อังกฤษ
วิทยาเขตโรงเรียนพนัสพิทยาคาร 2 ปัจจุบันได้พัฒนาไปเป็นโรงเรียนเกาะจันทร์พิทยาคาร
สี   แดง-เหลือง
เพลงเพลงมาร์ชพ.พ.
เว็บไซต์www.panatp.ac.th

โรงเรียนพนัสพิทยาคาร อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สหวิทยาเขตชลบุรี 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำ อำเภอพนัสนิคม ก่อตั้งขึ้นในปี 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 (อย่างเป็นทางการ) โดยปัจจุบันโรงเรียนพนัสพิทยาคารมีอายุ 87 ปี

นอกจากนี้โรงเรียนพนัสพิทยาคารได้เป็นโรงเรียนเครือข่ายห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ตามแนวทาง สสวท. และ สอวน. รวมถึงโรงเรียนเครือข่ายศูนย์สะเต็มศึกษา ภาคตะวันออก

ประวัติโรงเรียน

แก้

โรงเรียนพนัสพิทยาคาร เป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ตั้งขึ้นครั้งแรกที่วัดพิมพฤฒาราม เมื่อ พ.ศ. 2460 “โรงเรียนวัดใหม่ประจำอำเภอพนัสนิคม” จัดสอนตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ได้จนถึง พ.ศ. 2464 พอดีมีประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา ครูใหญ่โรงเรียนนี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศึกษาธิการอำเภอ อีกตำแหน่งหนึ่ง จึงเริ่มมีความไม่สะดวกประกอบกับโรงเรียนรัฐบาลจำเป็นต้องเก็บค่าศึกษาเล่าเรียนตามระเบียบ ผู้ปกครองนักเรียนไม่ประสงค์จะเสียค่าเล่าเรียนโรงเรียนนี้จึงยุบไป

ต่อมามีผู้ปกครองต้องการจะให้มีโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นอีก จึงได้ขออนุญาตตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ในระหว่างที่ขอตั้งโรงเรียนอยู่นี้ อำเภอได้เปิดสอนชั้นมัธยมเป็นการเตรียมตัวไว้รับเหตุการณ์ก่อนเรียกว่า “โรงเรียนราษฎร์เสริมพนัส” ทำการสอนที่ ศาลาการเปรียญวัดกลางทุมมาวาส จนถึงปี พ.ศ. 2479 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้อนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาได้โดยใช้ชื่อว่า“โรงเรียนประจำอำเภอพนัสนิคม” และเลิกล้มโรงเรียนราษฎร์เสริมพนัส โดยโอนให้กับโรงเรียนประจำอำเภอ และสอนที่ศาลาการเปรียญวัดกลางทุมมาวาสตามเดิม มีนายเจียม รุธิระกุล เป็นครูใหญ่ ครั้นถึง พ.ศ. 2480 ทางวัดมีความจำเป็นต้องรื้อศาลาเพื่อสร้างใหม่ โรงเรียนนี้จึงต้องย้ายไปสอนที่โรงเรียนประชาบาล ประจำตำบลกุฎโง้ง (พนัส-ศึกษาลัย) เมื่อนายสนิท อนันตสมบูรณ์ ย้ายมารับตำแหน่งศึกษาธิการประจำอำเภอพนัสนิคม ได้ของบประมาณสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นเงิน 4,000 บาท ในปี พ.ศ. 2481 และใช้เรียนได้ตั้งแต่วัน 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 อาคารนี้มีรูปทรงมนิลา ใต้ถุนโล่ง หลังคามุงกระเบื้อง มีมุขริมด้านหน้าสองมุข มีห้องเรียน 3 ห้อง ห้องครูใหญ่ 1 ห้อง ห้องประชุม 1 ห้อง รวมถึงได้ย้ายมาอยู่ในที่ดินของนายสุชาติ และนางเฉลียว เจริญผล และได้ซื้อที่ดินเพิ่มเป็น 47 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งชื่อโรงเรียนแห่งนี้ว่า โรงเรียนพนัสนิคม “พนัสพิทยาคาร”

โรงเรียนนี้มีนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ทางโรงเรียนจึงของบประมาณสร้างอาคารเรียนขึ้นอีกแต่ไม่เป็นผลสำเร็จจนกระทั่งปี พ.ศ. 2496 นายชาติ สุอังคะ สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี นายชลิต มุตตามระ นายอำเภอพนัสนิคม นายเฉลิมศักดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ศึกษาธิการอำเภอพนัสนิคมในสมัยนั้นได้ช่วยเหลือติดต่อกับกระทรวงศึกษาธิการ ให้ได้รับงบประมาณอีก เป็นเงิน จำนวน 50,000 บาท เพื่อก่อสร้างต่อเติมอาคารเรียนจนแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ทำให้มีมุขหน้า 3 มุข มีห้องเรียน 14 ห้อง เต็มรูปทั้งชั้นล่างและชั้นบน ต่อมานายเฉลิมชัย รัตนกรี ผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรกได้ขออนุญาตกรมสามัญศึกษา ใช้ชื่อให้สั้นลงว่า “โรงเรียนพนัสพิทยาคาร”เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 และปัจจุบัน นายอัมพร อิสสรารักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนคนที่ 14 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559

จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนพนัสพิทยาคาร โรงเรียนมีเนื้อที่ประมาณ 46 ไร่ มีนักเรียนประมาณ 3,000 คน โรงเรียนพนัสพิทยาคารจัดเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีอาคารเรียน 3 ชั้นจำนวน 4 อาคาร อาคาร 6 ชั้นจำนวน 1 อาคาร อาคารห้องสมุด อาคารประกอบประมาณ 7-10 อาคาร สนามกีฬาในร่ม และสนามกีฬากลางแจ้ง มีธนาคารโรงเรียนโดยธนาคารออมสิน ศูนย์ศิลปะ สถานนีวิทยุโรงเรียนพนัสพิทยาคาร มีศาลาอาจารย์สาโรจน์ มีป้อมยาม 2 ป้อมที่มียามเฝ้าเพียงแค่คนเดียว

เส้นเวลา

แก้
  • พ.ศ. 2460 – จัดตั้งโรงเรียนวัดใหม่ประจำอำเภอพนัสนิคม ที่วัดพิมพฤฒาราม
  • พ.ศ. 2464 – ยุบโรงเรียนวัดใหม่ประจำอำเภอพนัสนิคม
  • พ.ศ. 2476 – จัดตั้งโรงเรียนราษฎร์เสริมพนัส ที่ศาลาการเปรียญ วัดกลางทุมมาวาส
  • พ.ศ. 2479 – จัดตั้งโรงเรียนประจำอำเภอพนัสนิคม และยุบโรงเรียนราษฎร์เสริมพนัส
  • พ.ศ. 2480 – ย้ายโรงเรียนไปที่โรงเรียนประชาบาล ประจำตำบลกุฎโง้ง (พนัส-ศึกษาลัย)
  • พ.ศ. 2482 – เปิดใช้อาคารหลังใหม่ ทรงมนิลา, ย้ายโรงเรียนมาที่ดินของนายสุชาติ และนางเฉลียว เจริญผล รวมถึงได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติม และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนพนัสนิคม “พนัสพิทยาคาร”
  • พ.ศ. 2496 – ได้ต่อเติมอาคารเรียน
  • พ.ศ. 2520 – ได้ย่อชื่อโรงเรียนให้สั้นลงว่า โรงเรียนพนัสพิทยาคาร
  • พ.ศ. 2548สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินยังโรงเรียนพนัสพิทยาคาร เพื่อทรงเปิด"อาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา"
  • พ.ศ. 2554 – นายมนูญ เชื้อชาติ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 13
  • พ.ศ. 2557 – โรงเรียนพนัสพิทยาคารได้รับรางวัลโรงเรียนรางวัลพระราชทาน สถานศึกษาขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2559 – โรงเรียนพนัสพิทยาคารมีอายุครบ 80 ปี, ได้เปิดใช้อาคารอเนกประสงค์ 80 ปี และนายอัมพร อิสสรารักษ์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนที่ 14
  • พ.ศ. 2560 – โรงเรียนพนัสพิทยาคารมีอายุครบ 100 ปี นับตั้งแต่การจัดตั้งโรงเรียนวัดใหม่ประจำอำเภอพนัสนิคม ที่วัดพิมพฤฒาราม

สถานที่ภายในโรงเรียน

แก้
  • อาคาร 1 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องผู้อำนวยการ ห้องวิชาการ รวมถึงห้องเรียนพิเศษโครงการSME, EP และ IEP
  • อาคาร 2 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ห้องเรียนภาษาไทย รวมถึงห้องเรียนปกติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4
  • อาคาร 3 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ รวมถึงห้องเรียนพิเศษโครงการ สสวท. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  • อาคาร 4 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ห้องเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รวมถึงห้องเรียนปกติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2
  • อาคาร 5 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา) เป็นอาคารสูง 6 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ศูนย์แนะแนว ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ห้องเรียนคณิตศาสตร์ รวมถึงห้องเรียนพิเศษโครงการ สสวท. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และห้องเรียนปกติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6
  • อาคารเอนกประสงค์ (80 ปี โรงเรียนพนัสพิทยาคาร) เป็นอาคารสูง 2 ชั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ศูนย์สเต็มศึกษา ศูนย์ไอที ศูนย์ทูบีนัมเบอร์วัน และหอประชุมขนาดใหญ่
  • อาคารการงานอาชีพ มีทั้งหมด 3 อาคาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องเรียนการงานอาชีพ รวมถึงห้องเรียนปกติระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
  • ศูนย์ศิลปะ เป็นสถานที่เรียน และทำกิจกรรมวิชาศิลปะ
  • เรือนเกษตร เป็นสถานที่เรียน และทำกิจกรรมทางการเกษตร
  • เรือนปกครอง เป็นที่ตั้งของกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • อาคารลูกเสือ เป็นสถานที่เรียนวิชาลูกเสือ เนตรนารี
  • หอพระพนัสบดี เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของโรงเรียนพนัสพิทยาคาร
  • อนุสาวรีย์ครูเจียม รุธิระกุล ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพนัสพิทยาคาร
  • หอประชุมโรงเรียนพนัสพิทยาคาร เป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนพนัสพิทยาคาร
  • ห้องสมุด ภายในแยกหมวดหมู่หนังสืออย่างชัดเจน รวมทั้งหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ สำหรับนักเรียนเพื่อให้รับรู้ข่าวสารต่างๆ พร้อมด้วยระบบยืม-คืน คอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับนักเรียนเพื่อใช้สืบค้นหาข้อมูลและหาความรู้
  • โรงอาหาร มีร้านอาหารร่วม 20 ร้าน ซึ่งมีทั้งข้าว, ก๋วยเตี๋ยว, เบเกอร์รี่, ผลไม้, เครื่องดื่ม และไอศกรีม
  • สหกรณ์การค้า จำหน่ายขนม และน้ำ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องเขียน นอกจากนี้โรงเรียนพนัสพิทยาคารมีจุดจำหน่ายขนม และน้ำ เพิ่มเติมอีก 2 จุดในโรงเรียน
  • ธนาคารโรงเรียน เป็นธนาคารโรงเรียนสนับสนุนโดยธนาคารออมสิน
  • เรือนพยาบาล เป็นสถานที่รักษาพยาบาลเบื้องต้นแก่นักเรียน
  • สนามกีฬากลางแจ้ง เป็นสนามฟุตบอลดิน โดยรอบๆสนามจะมีลู่วิ่งขนาดมาตรฐาน เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน
  • สนามกีฬาในร่ม เป็นสนามกีฬาวอลเลย์บอล บาสเกตบอล เซปักตะกร้อ และอื่นๆ
  • ศาลากลางน้ำ โดยปัจจุบันเป็นศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นในอำเภอพนัสนิคม
  • ศาลารวมใจ เป็นสถานที่พักผ่อนของนักเรียน
  • ความปลอดภัย ภายในโรงเรียนมีระบบความรักษาความปลอดภัยอย่างดี มีกล้องวงจรปิดภายในอาคาร มีป้อมยาม 2 ป้อม รวมถึงมีระบบสแกนบัตรนักเรียน บริเวณหน้าและหลังโรงเรียน
  • Wi-Fi ปัจจุบันทางโรงเรียนมีการติดตั้ง Wi-Fi ในจุดต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับครู และนักเรียนในโรงเรียน

รายนามผู้บริหารโรงเรียน

แก้

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียน

แก้
คนที่ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง สาเหตุพ้นจากตำแหน่ง
1 นายเจียม รุธิระกุล 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 – กันยายน พ.ศ. 2513 ครูใหญ่, อาจารย์ใหญ่ เกษียณอายุราชการ
2 นายประสงค์ จันทราปัตย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 – 30 กันยายน พ.ศ. 2516 อาจารย์ใหญ่ เกษียณอายุราชการ
3 นายสพัสดิ์ พูลผล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 1 เมษายน พ.ศ. 2518 อาจารย์ใหญ่
4 นายเฉลิมชัย รัตนกรี 2 เมษายน พ.ศ. 2518 – 19 มิถุนายน พ.ศ. 2529 อาจารย์ใหญ่ รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย
5 นายชุมพล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา 19 มิถุนายน พ.ศ. 2529 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสิงห์สมุทร
6 นายชะนะ กมลานนท์ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
7 นายชัยศักดิ์ ประพันธ์ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539 ผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณอายุราชการ
8 นายสมดุล ทำเนาว์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 5 มกราคม พ.ศ. 2542 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม
9 นายวิเชียร อิ่มเอิบ 7 มกราคม พ.ศ. 2542 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ผู้อำนวยการโรงเรียน
10 นายวิศัลย์ โกมุทพงศ์ 1 มีนาคม พ.ศ. 2542 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า
11 นายอภิสิทธิ์ รื่นจิตร์ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 – 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
12 นายอุทัย สิงห์โตทอง 22 ตุลาคม 2551 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
13 นายมนูญ เชื้อชาติ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 ผู้อำนวยการโรงเรียน เกษียณอายุราชการ
14 นายอัมพร อิสสรารักษ์ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ตุลาคม พ.ศ. 2561 ผู้อำนวยการโรงเรียน รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
15 นายสุพัฒน์ จิรัสคามิน ตุลาคม พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน ผู้อำนวยการโรงเรียน

หลักสูตรการศึกษา

แก้
หลักสูตรการศึกษาโรงเรียนพนัสพิทยาคาร ปีการศึกษา 2563

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวน 39 ห้องเรียน แบ่งเป็นห้องเรียนปกติ 23 ห้องเรียน, โครงการห้องเรียนภาษาจีน 3 ห้องเรียน, โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ 3 ห้องเรียน และโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ 9 ห้องเรียน

ห้องเรียนปกติ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีห้องเรียนปกติ จำนวน 23 ห้องเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 2 ระดับชั้นละ 8 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 4 ถึง ห้องเรียนที่ 10 และห้องเรียนที่ 13 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 ชั้นเรียน คือ ห้องเรียนที่ 4 ถึง ห้องเรียนที่ 10
โครงการห้องเรียนภาษาจีน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีโครงการห้องเรียนภาษาจีน จำนวน 3 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 3
โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ EP
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ จำนวน 3 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 11
โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ สสวท.
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ จำนวน 9 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 3 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 1 (เน้นภาษาอังกฤษ SME) ห้องเรียนที่ 2 (ห้องควีน) และห้องเรียนที่ 12 (ห้องคิง)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวน 36 ห้องเรียน แบ่งเป็นห้องเรียนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 21 ห้องเรียน และห้องเรียนสายภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ จำนวน 15 ห้องเรียน

ห้องเรียนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีห้องเรียนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 21 ห้องเรียน แบ่งเป็น ห้องเรียนปกติ 15 ห้องเรียน โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ 3 ห้องเรียน และโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ 3 ห้องเรียน
ห้องเรียนปกติ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีห้องเรียนปกติสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 15 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 5 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 2 (ห้องคิง) ถึง ห้องเรียนที่ 6
โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ MEP
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 7
โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ SMTE
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 1
ห้องเรียนสายภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีห้องเรียนสายภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ จำนวน 15 ห้องเรียน แบ่งเป็น ห้องเรียนปกติ 12 ห้องเรียน และโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ 3 ห้องเรียน
ห้องเรียนปกติ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีห้องเรียนปกติสายภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ จำนวน 12 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 4 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 9 ถึง ห้องเรียนที่ 12
โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ IEP
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษสายภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้องเรียน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 8

แนวการศึกษาต่อระดับอุดมศีกษา

แก้

เมื่อจบตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพนัสพิทยาคารแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศีกษาผ่านทาง

  • การสอบคัดเลือกจากระบบส่วนกลาง
  • การสอบคัดเลือกจากระบบรับตรง

ที่ให้สิทธิแก่นักเรียนจากโรงเรียนพนัสพิทยาคารเข้าสอบคัดเลือกในระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี เป็นต้น

ศิษย์เก่า

แก้

สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพนัสพิทยาคาร

แก้

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

รายนามศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎี

ดร.ประภากร อัศวศิลาวสุกุล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎี สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา

สถานที่ใกล้เคียง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้