เวลาในประเทศอินโดนีเซีย
หมู่เกาะอินโดนีเซียในทางภูมิศาสตร์กินขอบเขตถึง 4 เขตเวลา ตั้งแต่ UTC+06:00 ในจังหวัดอาเจะฮ์ถึง UTC+09:00 ในจังหวัดปาปัว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอินโดนีเซียยอมรับเพียง 3 เขตเวลาในดินแดนของตน ดังนี้:
- เวลาอินโดนีเซียตะวันตก (WIB) — เร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 7 ชั่วโมง (UTC+07:00);
- เวลาอินโดนีเซียกลาง (WITA) — เร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 8 ชั่วโมง (UTC+08:00);
- เวลาอินโดนีเซียตะวันออก (WIT) — เร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 9 ชั่วโมง (UTC+09:00)
แผนที่เขตเวลาของประเทศอินโดนีเซีย
| |||||||||||
|
ขอบเขตของเขตเวลาตะวันตกกับกลางเป็นเส้นทางระหว่างเกาะชวากับเกาะบาหลีผ่านชายแดนจังหวัดบนเกาะกาลีมันตันตะวันตกกับกลาง ส่วนขอบเขตเวลากลางกับตะวันออกเป็นเส้นทางจากปลายตะวันออกของเกาะติมอร์ถึงปลายตะวันออกของเกาะซูลาเวซี
การใช้งานในปัจจุบัน
แก้อินโดนีเซียแบ่งออกเป็น 3 เขตเวลา ดังนี้:
เขตเวลาเหล่านี้ใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1988[2]
เขตเวลาในอดีต
แก้ช่วงแรก
แก้ระเบียบเวลาเริ่มใช้ครั้งแรกใน ค.ศ. 1908 ตามคำขอของบริษัทรถไฟดัตช์ Staatsspoorwegen ที่เกาะชวาในสมัยหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ เวลาในจังหวัดชวากลางช้ากว่าบาตาเวีย เมืองหลวงที่ใช้เวลา GMT +7 ถึง 12 นาที ระเบียบนี้มีผลในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1908 ใช้เฉพาะบนเกาะชวาและเกาะมาดูรา ส่วนเวลาบนหมู่เกาะอื่นยังไม่ได้รับการจัดระเบียบ[3][4]
สิบปีต่อมาในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 มีการจัดตั้งเวลาที่ปาดัง เกาะสุมาตรา ให้เร็วกว่าจังหวัดชวากลาง 39 นาที ในขณะที่เวลาในปาเล็มบังตั้งให้เร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช 8 ชั่วโมง 20 นาที จากนั้น ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1924 เวลาในสถานที่เหล่านี้มีการจัดระเบียบไว้ ดังนี้:[3][4]
สถานที่ | เวลา |
---|---|
จังหวัดชวากลาง | GMT +7:20 |
Tapanoeli Residency | ชวากลาง -45 นาที |
ปาดัง | ชวากลาง -7 นาที |
เกาะบาหลีและเกาะลมบก | ชวากลาง +22 นาที |
มากัซซาร์ | ชวากลาง +38 นาที |
เขตเวลามาตรฐาน
แก้ใน ค.ศ. 1932 รัฐบาลอาณานิคมดัตช์ได้แบ่งอาณานิคมทั้งหมดออกเป็น 6 เขตเวลา โดยห่างกัน 30 นาที ผ่าน Governments Besluit ลงวันที่ 27 กรกฎาคม ซึ่งตีพิมพ์ใน Staatsblad หมายเลข 412 แบ่งได้ดังนี้::
เขตเวลา | ในภาษาดัตช์ | ออฟเซต เวลาสากลเชิงพิกัด |
สถานที่ |
---|---|---|---|
เวลาสุมาตราเหนือ | Nord-Sumatra tijd | UTC+06:30 | อาเจะฮ์, ปาดัง และเมดัน |
เวลาสุมาตราใต้ | Zuid-Sumatra tijd | UTC+07:00 | จังหวัดเบิงกูลู, ปาเล็มบัง และจังหวัดลัมปุง |
เวลาชวา | Java tijd | UTC+07:30 | เกาะชวา, เกาะบาหลี, เกาะมาดูรา และกาลีมันตัน |
เวลาเซเลบีส | Celebes tijd | UTC+08:00 | เกาะซูลาเวซีและหมู่เกาะซุนดาน้อย |
เวลาโมลุกกะ | Molukken tijd | UTC+08:30 | เตอร์นาเต, นัมเลอา, เกาะอัมบน และหมู่เกาะบันดา |
เวลานิวกินี | Nieuw-Guinea tijd | UTC+09:00 | อีเรียนตะวันตก ใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1932 ถึง 31 สิงหาคม ค.ศ. 1944[5] |
เวลาดัตช์นิวกินี | Nederlandse Nieuw-Guinea tijd | UTC+09:30 | อีเรียนตะวันตก ในเวลานั้นมีชื่อว่านิวกินีของเนเธอร์แลนด์ ใช้ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1944 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1963[6] |
ในช่วงการยึดครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ของญี่ปุ่นในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1942 ถึง 24 กันยายน ค.ศ. 1945 อินโดนีเซียฝั่งตะวันตกและกลางใช้เวลามาตรฐานญี่ปุ่น (JST) (UTC+09:00) เพื่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติการทางทหารของญี่ปุ่นในอินโดนีเซีย[7][4]
เขตเวลาหลังเอกราช
แก้เมื่อดัตช์กลับมาปกครองใน ค.ศ. 1945 ทางรัฐบาลจึงกำหนดเขตเวลา 3 แห่งใหม่ (GMT +6, +7 และ +8) โดยเพิ่มเขตเวลา GMT +9 สำหรับนิวกินีของเนเธอร์แลนด์ หลังเนเธอร์แลนด์ให้การยอมรับความเป็นอธิปไตยของอินโดนีเซีย ข้อบังคับของประธานาธิบดีมีผลบังคับใช้อีกครั้งในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1950 โดยแบ่งประเทศออกเป็น 6 เขตเวลาที่ห่างกันครึ่งชั่วโมง จากนั้นในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1964 คำสั่งประธานาธิบดีอีกฉบับมีผลบังคับใช้ โดยกำหนดให้ระบบปัจจุบันมี 3 เขตเวลา การเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายเกิดในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1988 เมื่อเกาะบาหลีถูกย้ายเขตเวลาจากเขตเวลาอินโดนีเซียตะวันตกไปยังเขตเวลาอินโดนีเซียกลาง และจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกกับกลางย้ายจากเวลาอินโดนีเซียกลางไปยังเวลาอินโดนีเซียตะวันตก[2][3]
ข้อเสนอเขตเวลาเดียว
แก้ณ วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2012 ฮัตตา ราจาซา รัฐมนตรีประสานงานเศรษฐกิจ กล่าวว่า: "จากการวิจัยพบว่า ด้วยเขตเวลาเดียวทำให้ประเทศสามารถลดค่าใช้จ่ายได้หลายล้านล้านรูปียะฮ์"[8] สองเดือนต่อมา เดอะจาการ์ตาโพสต์ รายงานว่าอาจจะเริ่มมีการใช้งานเขตเวลาเดียวด้วย UTC+08:00 ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2012[9] อย่างไรก็ตาม จาการ์ตาโกลบรายงานในเดือนสิงหาคมว่าแผนนี้ถูกหยุดไว้ชั่วคราว[10] คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจอินโดนีเซีย (KP3EI) อ้างว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือนในการสื่อสารและวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลง ทำให้เหตุการณ์จะเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2013 จากนั้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกล่าวว่าแนวคิดนี้ถูกล้มเลิกไปหลังจากพลาดวันที่เป้าหมายไปสองวัน: 17 สิงหาคม (วันประกาศเอกราช) และ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2012 (วันซุมปะฮ์เปอมูดา)[11] ต่อมาในปีนั้น ฮัตตาอ้างว่าแผนนี้ไม่ได้ถูกละทิ้ง แม้ว่าจะไม่มีกำหนดเส้นตายสำหรับการดำเนินการก็ตาม[12]
ฐานข้อมูลเขตเวลาองค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต
แก้ฐานข้อมูลเขตเวลาองค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ตในไฟล์ zone.tab สำหรับอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็น 4 เขต[13]
- เอเชีย/จาการ์ตา
- เอเชีย/ปนเตียนัก
- เอเชีย/มากัซซาร์
- เอเชีย/จายาปูรา
อ้างอิง
แก้- ↑ Statistics Indonesia 2020.
- ↑ 2.0 2.1 BAPPENAS 1987, p. 2.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Hendaru Tri Hanggoro 2021.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 vivi.co.id 2023.
- ↑ tiamanddate.com nd.
- ↑ "Time Zone in Jayapura, Papua, Indonesia". timeanddate.com. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ Post et al. 2023, pp. 50, 614.
- ↑ Jakarta Post 2012a.
- ↑ Jakarta Post 2012b.
- ↑ Tito Summa Siahaan 2012.
- ↑ Iwan Kurniawan & Raden Jihad Akbar 2013.
- ↑ Okzone 2013.
- ↑ IANA 2023.
ข้อมูล
แก้- "Hatta: Penyatuan zona waktu tidak batal". okezone.com. Okezone Economy. 9 February 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 30 March 2018.
- Hendaru Tri Hanggoro (13 March 2013). "Kisah Zona Waktu di Indonesia" [The Story of time Zones in Indonesia]. Historia (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 30 May 2023.
- "Indonesia Pernah Ubah 9 Kali Zona Waktu". Viva.co.id. 28 May 2012. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- Iwan Kurniawan; Raden Jihad Akbar. "Penyatuan zona waktu Indonesia batal" [Unified Indonesian Time Zone Cancelled]. bisnis.news.viva.co.id (ภาษาอินโดนีเซีย).
- "Keputusan Presiden No. 41 Tahun 1987" (PDF). Keputusan Presiden No. 41 tahun 1987. BAPPENAS. 26 November 1987. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 April 2016. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- Post, Peter; Frederick, William H.; Heidebrink, Iris; Sato, Shigeru, บ.ก. (2010). The Encyclopedia of Indonesia in the Pacific War. Handbook of Oriental Studies. Vol. 19. Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-16866 4.
- "Results of the 2020 Population Census". BPS.go.id. Statistics Indonesia. September 2020. สืบค้นเมื่อ 10 January 2021.
- "Single time zone may begin in late October". TheJakartaPost.com. The Jakarta Post. 26 May 2012b. สืบค้นเมื่อ 30 March 2018.
- "Time Zone in Jayapura, Papua, Indonesia". timeanddate.com. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- "Time Zone Database". IANA. 2023-03-28. สืบค้นเมื่อ 2023-05-31.
- Tito Summa Siahaan. "Clock stops on Indonesia's unified time zone". TheJakartaGlobe.com. Jakarta Globe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-03. สืบค้นเมื่อ 25 October 2012.
- "Trillions of rupiah could be saved with single time zone: Govt". TheJakartaPost.com. The Jakarta Post. 12 March 2012a. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 27 May 2012.