มากัซซาร์ (อินโดนีเซีย: Makassar; มากาซาร์: ᨆᨀᨔᨑ, อักษรโรมัน: Mangkasara’) เป็นเมืองหลักของจังหวัดซูลาเวซีใต้ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะซูลาเวซีในแง่จำนวนประชากร และเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของประเทศรองจากจาการ์ตา, ซูราบายา, บันดุง และเมดัน[1][2] ระหว่าง ค.ศ. 1971–1999 เมืองนี้มีชื่อว่า อูจุงปันดัง (Ujung Pandang) ซึ่งตั้งตามชื่อป้อมสมัยก่อนอาณานิคมป้อมหนึ่งในเมือง และยังมีการใช้ชื่อทั้งสองสลับกันอยู่บ่อยครั้ง มากัซซาร์ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะซูลาเวซีโดยหันหน้าสู่ช่องแคบมากัซซาร์

มากัซซาร์
นครมากัซซาร์
Kota Makassar
การถอดเสียงภาษาอื่น
 • มากัซซาร์ᨀᨚᨈ ᨆᨀᨔᨑ
ตึกระฟ้ามากัซซาร์
ที่เดินเล่นโลซารี
มัสยิดกลางน้ำอะมีรุลมุอ์มินีน
ธงของมากัซซาร์
ธง
ตราราชการของมากัซซาร์
ตราอาร์ม
สมญา: 
"นครดาเอ็ง"; "อูจุงปันดัง"
คำขวัญ: 
Sekali Layar Terkembang Pantang Biduk Surut ke Pantai
(เมื่อออกเรือแล้ว เราจะไม่กลับเข้าฝั่ง)
ที่ตั้งในจังหวัดซูลาเวซีใต้
แผนที่
แผนที่แบบโต้ตอบของมากัซซาร์
มากัซซาร์ตั้งอยู่ในเกาะซูลาเวซี
มากัซซาร์
มากัซซาร์
มากัซซาร์ตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
มากัซซาร์
มากัซซาร์
มากัซซาร์ (ประเทศอินโดนีเซีย)
พิกัด: 5°9′42.6956″S 119°26′10.1915″E / 5.161859889°S 119.436164306°E / -5.161859889; 119.436164306
ประเทศธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ภูมิภาคซูลาเวซี
จังหวัด จังหวัดซูลาเวซีใต้
จัดตั้ง9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1607
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโมฮัมมัด รัมดัน โปมันโต
 • รองนายกเทศมนตรีฟัตมาวาตี รุซดี
พื้นที่
 • นคร175.77 ตร.กม. (67.87 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,689.89 ตร.กม. (1,038.57 ตร.ไมล์)
ความสูง0–25 เมตร (0–82 ฟุต)
ประชากร
 (ประมาณกลาง ค.ศ. 2022)
 • นคร1,432,189 คน
 • ความหนาแน่น8,100 คน/ตร.กม. (21,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,740,532 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล1,000 คน/ตร.กม. (2,600 คน/ตร.ไมล์)
 สำมะโนประมาณกลาง ค.ศ. 2022
เขตเวลาUTC+8 (เวลาอินโดนีเซียกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+8 (ไม่มี)
รหัสพื้นที่(+62) 411
ป้ายทะเบียนยานพาหนะDD
เอชดีไอ (2022)เพิ่มขึ้น 0.831 (สูงมาก)
เว็บไซต์

มากัซซาร์มีเนื้อที่ 175.77 ตารางกิโลเมตร (67.87 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 1.432 ล้านคนในกลาง ค.ศ. 2022[1][3][4] เขตสิ่งปลูกสร้าง (หรือ "เมโตร") ของเมืองมีผู้อยู่อาศัย 1,976,168 คน ครอบคลุมนครมากัซซาร์และตำบล 15 ตำบล[5] ส่วนเขตมหานครอย่างเป็นทางการของเมืองมีชื่อเรียกว่า "มัมมีนาซาตา" (Mamminasata) ซึ่งครอบคลุมไปถึงตำบล 33 ตำบล มีเนื้อที่ 2,666.63 ตารางกิโลเมตร (1,029.59 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 2,740,532 คนตามสำมะโนกลาง ค.ศ. 2022[4]

เขตบริหาร

แก้

นครมากัซซาร์แบ่งออกเป็น 15 เขต (เกอเจอมาตัน) และแบ่งออกเป็น 153 หมู่บ้านในเมือง (เกอลูราฮัน) เขตเหล่านี้ระบุอยู่ข้างล่างพร้อมกับพื้นที่และประชากรตามสำมะโน ค.ศ. 2010[6] และสำมะโน ค.ศ. 2020,[7] ร่วมกับจำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงกลาง ค.ศ. 2022[4] และจำนวนหมู่บ้านในแต่ละเขต

ชื่อ พื้นที่ใน
ตารางเมตร
ประชากรใน
สำมะโน
2010
ประชากรใน
สำมะโน
2020
ประชากร
ประมาณ
กลาง ค.ศ. 2022
จำนวน
หมู่บ้าน
มารีโซ 1.82 56,313 57,426 57,795 9
มามาจัง 2.25 59,133 56,049 56,094 13
ตามาลาเต 20.21 169,890 180,824 182,348 11
รัปโปจีนี 9.23 151,357 144,587 144,733 11
มากัซซาร์ (เขต) 2.52 81,901 82,067 82,265 14
อูจุงปันดัง 2.63 27,206 24,526 24,541 10
วาโจ 1.99 29,670 29,972 30,110 8
บนโตอาลา 2.10 54,268 54,996 55,239 12
อูจุงตานะฮ์ 4.40 46,771 35,789 36,127 9
หมู่เกาะ
ซังการ์รัง
1.54 (a) 14,125 14,258 3
ตัลโล 5.83 133,815 144,977 145,908 15
ปานักกูกัง 17.05 141,524 139,590 139,759 11
มังกาลา 24.14 117,303 146,724 148,462 9
บีริงกานายา 48.22 167,843 209,048 211,228 11
ตามาลันเรอา 31.84 101,669 103,770 103,322 8
รวม 175.77 1,338,663 1,423,877 1,432,189 153

หมายเหตุ (a) ประชากรในเขตหมู่เกาะซังการ์รังใน ค.ศ. 2010 รวมอยู่ในจำนวนของเขตอูจุงตานะฮ์ ซึ่งเป็นเขตที่เขตนี้แยกออกมา

เขตมหานคร (มัมมีนาซาตา)

แก้
 
เขตมหานครมัมมีนาซาตา

เขตมหานครที่รวมมากัซซาร์มีชื่อเรียกว่า Mamminasata [id] ซึ่งเป็นคำย่อจาก Makassar และพื้นที่ใกล้เคียงอย่าง Maros, Sungguminasa (โกวา) และ Takalar

ชื่อ พื้นที่ใน
ตารางกิโลเมตร
ประชากร
ใน
ค.ศ. 2010
ประชากรใน
สำมะโน
2020
ประชากร
ประมาณการ
กลาง ค.ศ. 2022
จำนวน
เขต
จำนวน
หมู่บ้าน
นครมากัซซาร์ 175.77 1,338,663 1,423,877 1,432,189 15 153
อำเภอตาลาการ์ (ทั้งหมด) 566.51 269,603 300,853 305,077 10 100
อำเภอโกวา (บางส่วน) 686.51 500,341 609,447 627,031 11 112
อำเภอมารซ (ส่วนใหญ่) 1,237.84 295,729 364,738 376,235 12 84
รวม 2,666.63 2,404,336 2,698,915 2,740,532 48 449

ภูมิอากาศ

แก้

มากัซซาร์มีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (เคิพเพิน: Am) อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 27.5 องศาเซลเซียส (81.5 องศาฟาเรนไฮต์) โดยมีความแปรปรวนน้อยเนื่องจากละติจูดที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร: อุณหภูมิสูงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 32.5 องศาเซลเซียส (90.5 องศาฟาเรนไฮต์) และอุณหภูมิต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 22.5 องศาเซลเซียส (72.5 องศาฟาเรนไฮต์) ทั้งปี

ข้อมูลภูมิอากาศของมากัซซาร์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.7
(87.3)
31.0
(87.8)
31.3
(88.3)
32.0
(89.6)
32.1
(89.8)
32.5
(90.5)
33.4
(92.1)
34.3
(93.7)
34.8
(94.6)
34.6
(94.3)
33.5
(92.3)
31.3
(88.3)
32.63
(90.73)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.9
(80.4)
26.9
(80.4)
27.3
(81.1)
27.8
(82)
27.8
(82)
27.7
(81.9)
27.1
(80.8)
27.2
(81)
28.0
(82.4)
28.1
(82.6)
28.1
(82.6)
27.1
(80.8)
27.5
(81.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 23.2
(73.8)
22.7
(72.9)
23.3
(73.9)
23.6
(74.5)
23.4
(74.1)
22.9
(73.2)
21.7
(71.1)
20.1
(68.2)
21.2
(70.2)
21.7
(71.1)
22.7
(72.9)
23.0
(73.4)
22.46
(72.43)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 734
(28.9)
563
(22.17)
391
(15.39)
235
(9.25)
97
(3.82)
66
(2.6)
48
(1.89)
15
(0.59)
32
(1.26)
83
(3.27)
273
(10.75)
549
(21.61)
3,086
(121.5)
ความชื้นร้อยละ 86 86 85 83 81 79 74 68 66 71 80 85 78.7
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 27 26 23 18 8 6 4 1 2 7 17 24 163
แหล่งที่มา 1: Weatherbase[8]
แหล่งที่มา 2: Weather2travel[9] & Climate-Data.org[10]

ประชากร

แก้

ศาสนาในมากัซซาร์ (2010)[11]

  อิสลาม (87.19%)
  พุทธ (1.26%)
  ฮินดู (0.14%)
  ลัทธิขงจื๊อและอื่น ๆ (0.42%)

มากัซซาร์เป็นนครที่มีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมากัซซาร์และบูกิซ ส่วนที่เหลือเป็นชาวโจราจา, มันดาร์, บูตน, จีน และชวา

ปี 1971 1980 1990 2000 2010 2020
ประชากรทั้งหมด   434,766   708,465   944,372   1,130,384   1,338,663   1,423,877

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Ministry of Internal Affairs: Registration Book for Area Code and Data of 2013 เก็บถาวร 2017-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Daftar 10 Kota Terbesar di Indonesia menurut Jumlah Populasi Penduduk". 16 September 2015.
  3. Andi Hajramurni: "Autonomy Watch: Makassar grows with waterfront city concept", The Jakarta Post, 13 June 2011
  4. 4.0 4.1 4.2 Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023.
  5. http://www.citypopulation.de/php/indonesia-sulawesi-admin.php
  6. Biro Pusat Statistik, Jakarta, 2011.
  7. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
  8. "Makassar, Indonesia". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 22 August 2020.
  9. "Makassar Climate Guide". Weather2travel. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.
  10. "Makassar, Indonesia". Climate-Data.org. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.
  11. "Population by Region and Religion: Makassar Municipality". BPS (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2019-08-21.

ข้อมูล

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
  • McCarthy, M., 2000, Indonesian divers in Australian waters. The Great Circle, vol. 20, No.2:120–137.
  • Turner, S. 2003: Indonesia’s Small Entrepreneurs: Trading on the Margins. London, RoutledgeCurzon ISBN 070071569X 288pp. Hardback.
  • Turner, S. 2007: Small-Scale Enterprise Livelihoods and Social Capital in Eastern Indonesia: Ethnic Embeddedness and Exclusion. Professional Geographer. 59 (4), 407–20.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้