จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก

กาลีมันตันตะวันตก หรือ กาลีมันตันบารัต (อินโดนีเซีย: Kalimantan Barat; มลายู: كليمنتان بارت; จีน: 西加里曼丹; แคะ: Sî-Kâ-lí-màn-tân; แต้จิ๋ว: Sai-Gia-li-man-dang) เป็นจังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในกาลีมันตัน ดินแดนของประเทศอินโดนีเซียบนเกาะบอร์เนียว เมืองหลวงจังหวัดคือ ปนตียานัก จังหวัดมีเนื้อที่ 147,307 ตารางกิโลเมตร จากข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2010 มีประชากร 4,395,983 คน[2] กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ดายัก, มลายู, จีน, ชวา, บูกิส และมาดูรา จากข้อมูลประชากรอย่างเป็นทางการล่าสุดในเดือนมกราคม 2014 มีประชากร 4,546,439 คน ชายแดนของจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกโดยทั่วไปติดกับเทือกเขาที่รายล้อมไปด้วยลุ่มน้ำของแม่น้ำกาปูวัซที่ไหลผ่านส่วนใหญ่ของจังหวัด จังหวัดยังมีพื้นที่ติดกับจังหวัดกาลีมันตันกลางทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับจังหวัดกาลีมันตันตะวันออกทางทิศตะวันออก และติดกับรัฐซาราวักของประเทศมาเลเซียทางทิศเหนือ

จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก

Provinsi Kalimantan Barat (อินโดนีเซีย)
จากบน ซ้ายไปขวา : อุทยานแห่งชาติกูนุงปาลุง, หาดเตมาจุก, ทะเลสาบเตราไตในซิงกาวัง, วัดตัวเปกกงเกตาปัง, หาดปารัตนาตัล, เกาะซิมปัง, หาดปูเลาดาตก
ธงของจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก
ตรา
สมญา: 
Provinsi Seribu Sungai[1]
Province of Thousand Rivers
คำขวัญ: 
Akçaya (Sanskrit)
(Immortal)
ที่ตั้งจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกในประเทศอินโดนีเซีย
ที่ตั้งจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกในประเทศอินโดนีเซีย
พิกัด: 0°0′N 110°30′E / 0.000°N 110.500°E / 0.000; 110.500
ประเทศ อินโดนีเซีย
เมืองหลัก ปนตียานัก
ก่อตั้ง1 มกราคม 1957
การปกครอง
 • องค์กรWest Kalimantan Regional Government
 • ผู้ว่าการฮาริซซน อัซโรย (รักษาการ)
 • รองผู้ว่าการตำแหน่งว่าง
พื้นที่
 • ทั้งหมด147,307 ตร.กม. (56,876 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่3
ความสูงจุดสูงสุด2,278 เมตร (7,474 ฟุต)
ประชากร
 (2014)[2]
 • ทั้งหมด4,546,439 คน
 • อันดับ15th
 • ความหนาแน่น31 คน/ตร.กม. (80 คน/ตร.ไมล์)
ประชากรศาสตร์
 • กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไดยัก (32.75%), ชาวมลายู (29.75%), ชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีน (29.21%), ชาวชวา (5.25%), ชาวบูกิซ (0.3%) อื่น ๆ (9.85%)[3]
 • ศาสนาอิสลาม (51.22%), โรมันคาทอลิก (23.94%), โปรเตสแตนต์ (12.38%), พุทธ (12.21%), ขงจื้อ (1.68%), ฮินดู (0.06%)
 • ภาษาอินโดนีเซีย (ทางการ), มลายู (ปนตียานัก, ซัมบัซ), ไดยัก (อีบัน, เกินดายัน, จังกัง และบูการ์ซาดง เป็นต้น), จีน (แคะ, แต้จิ๋ว)
เขตเวลาUTC+7 (Indonesia Western Time)
รหัสไปรษณีย์70xxx, 71xxx, 72xxx
รหัสพื้นที่(62)5xx
รหัส ISO 3166ID-KB
Vehicle signKB
HDIลดลง 0.648 (medium)
HDI rank28th(2014)
เมืองพื้นที่ใหญ่ที่สุดซิงกาวัง - 504.00 ตารางกิโลเมตร (194.60 ตารางไมล์)
เมืองประชากรมากที่สุดปนตียานัก - (554,764 - 2010)
อำเภอพื้นที่ใหญ่ที่สุดอำเภอเกอตาปัง - 31,240.74 ตารางกิโลเมตร (12,062.12 ตารางไมล์)
อำเภอประชากรมากที่สุดอำเภอกูบูรายา - (500,970 - 2010)
เว็บไซต์kalbarprov.go.id

จังหวัดกาลีมันตันตะวันตกได้รับการขนานนามว่า "จังหวัดแม่น้ำร้อยสาย" ที่เกิดจากภูมิศาสตร์ของจังหวัดที่มีแม่น้ำน้อยใหญ่นับร้อยที่สามารถใช้ในการเดินเรือได้ มีแม่น้ำหลายสายยังคงแม่น้ำสายหลักในการขนส่งไปยังพื้นที่ห่างไกล เนื่องจากถนนยังไม่สามารถไปถึงได้

แม้จังหวัดกาลีมันตันตะวันตกจะมีพื้นที่ส่วนน้อยติดกับบริเวณทะเล แต่จังหวัดกาลีมันตันตะวันตกยังมีเกาะใหญ่น้อยหลายเกาะ (โดยมากไม่มีผู้อยู่อาศัย) อยู่กระจัดกระจายบริเวณช่องแคบการีมาตา และทะเลนาตูนาที่มีเขตติดต่อกับหมู่เกาะรีเยา

หน่วยการบริหาร

แก้

พื้นที่จังหวัดกาลีมันตันตะวันตกแบ่งออกเป็น 12 อำเภอหรือกาบูปาเต็น 2 นครหรือโกตา และ 174 ตำบลหรือเกอจามาตัน[4][5]

อำเภอ
นคร

อ้างอิง

แก้
  1. "Pemerintah Provinsi Kalimantan Barat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-16. สืบค้นเมื่อ 2018-11-15.
  2. 2.0 2.1 Central Bureau of Statistics: Census 2010 เก็บถาวร 2010-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 17 January 2011 (อินโดนีเซีย)
  3. Overcoming Violent Conflict: Volume 1, Peace and Development Analysis in West Kalimantan, Central Kalimantan and Madura. Prevention and Recovery Unit – United Nations Development Programme, LabSosio and BAPPENAS. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 15 January 2010.
  4. Statistik Indonesia 2021 (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. 2021-02-26. pp. 45–47. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
  5. "Peraturan Kepala Badan Pusat Statistik Nomor 120 Tahun 2020 Tentang Klasifikasi Desa Perkotaan dan Perdesaan di Indonesia Tahun 2020" (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.