เปาต้าน
เปาต้าน[b] หรือเหาตวน[c] (ค.ศ. 209–255)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ฟู่ กู่ (จีน: 傅嘏; พินอิน: Fù Gǔ) ชื่อรอง หลานฉือ (จีน: 蘭石; พินอิน: Lánshí) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน
เปาต้าน (ฟู่ กู่) | |
---|---|
傅嘏 | |
ผู้กำกับกิจการสำนักราชเลขาธิการ (錄尚書事 ลู่ช่างชูชื่อ) (ภายใต้มหาขุนพล) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 255 – ค.ศ. 255 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 249 – ค.ศ. 255 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
เจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 249 – ค.ศ. 255 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 209[a] เขตเย่าโจว นครถงชฺวาน มณฑลฉ่านซี |
เสียชีวิต | ค.ศ. 255 (46 ปี)[a] |
บุตร | ฟู่ จือ |
บุพการี |
|
ญาติ |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | หลานฉือ (蘭石) / เจาเซียน (昭先) |
สมัญญานาม | ยฺเหวียนโหว (元侯) |
บรรดาศักดิ์ | หยางเซียงโหว (陽鄉侯) |
ประวัติ
แก้ปู่ของเปาต้านคือฟู่ รุ่ย (傅睿) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองไตกุ๋น (代郡 ไต้จฺวิ้น) ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[4] บิดาของเปาต้านคือฟู่ ชง (傅充) รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่สำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง)[5] เปาต้านมีบุตรชายคือฟู่ จือ (傅祗) มีหลานชายคือฟู่ เซฺวียน (傅宣) และฟู่ ช่าง (傅暢) เปาต้านมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยอยู่ในวัยยี่สิบปี เปาต้านได้รับการเสนอชื่อจากตันกุ๋นให้รับราชการกับราชสำนักวุยก๊กและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการระดับล่าง[6]
ในช่วงเวลานั้น ขุนนางที่มีชื่อเสียงที่สุดในวุยก๊กคือโฮอั๋น, เตงเหยียง และแฮเฮาเหียน เปาต้านไม่ชอบทั้งสามคนนี้ ตีตัวออกห่างจากพวกเขา และเลือกคบหากับสฺวิน ช่าน (荀粲) แทน แม้ว่าลิฮองเป็นชาวมณฑลเดียวกันกับเปาต้าน แต่เปาต้านไม่ถูกกันกับลิฮองและเปาต้านคาดการณ์ว่าในที่สุดลิฮองจะทำลายชื่อเสียงของตนเอง[7]
ในปี ค.ศ. 240 เปาต้านได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง) และขุนนางสำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง)[8]
ในช่วงเวลานั้น โจซองแต่งตั้งให้โฮอั๋นเป็นราชเลขาธิการกรมบุคลากร (吏部尚書 ลี่ปู้ช่างชู) และมอบหมายให้โฮอั๋นรับผิดชอบในการคัดเลือกบุคลากร เปาต้านแนะนำโจอี้ (曹羲 เฉา ซี) น้องชายของโจซองว่าไม่อาจไว้วางใจโฮอั๋นในความรับผิดชอบสำคัญได้[9] แต่หลังจากนั้นไม่นาน คำแนะนำที่เปาต้านเสนอกับโจอี้ก็รู้ไปถึงโฮอั๋น เปาต้านจึงถูกปลดจากตำแหน่ง[10] หลังจากนั้นเปาต้านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเอ๊งหยง (滎陽 สิงหยาง) แต่เปาต้านปฏิเสธการแต่งตั้ง[11] ภายหลังเปาต้านได้รับคำเชิญจากสุมาอี้ให้มารับราชการเป็นขุนนางผู้ช่วย (從事中郎 ฉงชื่อจงหลาง)[12] หลังจากโจซองสิ้นอำนาจ เปาต้านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น) และราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)[13]
ในปี ค.ศ. 252 หลังการสวรรคตของซุนกวนจักรพรรดิแห่งง่อก๊ก ขุนพลวุยก๊กในแนวหน้าอย่างอ้าวจุ๋น, อองซอง และบู๊ขิวเขียมตั้งใจจะใช้โอกาสนี้โจมตีง่อก๊กที่เป็นรัฐอริ เมื่อมีการถามความเห็นของเปาต้าน เปาต้านคัดค้านการทำศึกกับง่อก๊ก แม้ว่าท้ายที่สุดก็มีการรบเกิดขึ้น ทัพวุยก๊กนำโดยอ้าวจุ๋นและจูกัดเอี๋ยนพ่ายแพ้ในยุทธการที่ตังหินในปี ค.ศ. 253 ต่อทัพง่อก๊กที่นำโดยจูกัดเก๊ก[14][15] ภายหลังเปาต้นได้รับบรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว)[16]
ในปี ค.ศ. 254 สุมาสูปลดโจฮองจักรพรรดิแห่งวุยก๊กและตั้งโจมอขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน เปาต้านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นอู่เซียงถิงโหว (武鄉亭侯)[17]
ในปี ค.ศ. 255 บู๊ขิวเขียมและบุนขิมไม่พอใจผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สุมาสูที่ปลดจักรพรรดิโจฮอง ทั้งคู่จึงก่อกบฏในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; อยู่บริเวณอำเภอโช่ว มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ต่อต้านสุมาสู เวลานั้นสุมาสูป่วยด้วยโรคตา เหล่าขุนนางเสนอให้ตั้งสุมาหูเป็นผู้นำทัพหลวงไปปราบปรามกบฏ แต่เปาต้าน, อองซก และจงโฮยแนะนำให้สุมาสูนำทัพด้วยตนเองแทน สุมาสูทำตามคำแนะนำของทั้งสาม[18] เปาต้านเข้าร่วมในการทัพในตำแหน่งรองหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書僕射 ช่างชูผูเย่) สุมาเจียวน้องชายของสุมาสูก็ได้เข้าร่วมในการทัพด้วย เปาต้านมีส่วนร่วมในการปราบกบฏ[19] ในระหว่างการทัพ อาการป่วยที่ตาของสุมาสูแย่ลงและทำให้สุมาสูเสียชีวิตในอีกหลายวันต่อมา
หลังสุมาสูเสียชีวิตในฮูโต๋ สุมาเจียวเข้าดำรงตำแหน่งแทนพี่ชายในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก โจมอจักรพรรดิแห่งวุยก๊กทรงพยายามจะป้องกันการถ่ายโอนอำนาจจากสุมาสูมายังสุมาเจียว จึงทรงมีรับสั่งให้สุมาเจียวยังคงอยู่ที่ฮูโต๋และให้เปาต้านนำทัพกลับมานครหลวงลกเอี๋ยง แต่เปาต้านและจงโฮยเข้าพบสุมาเจียวและเสนอให้สุมาเจียวไม่ทำตามรับสั่ง และกลับไปนครหลวงด้วยกัน[20][21]
ภายหลังเปาต้านได้รับบรรดาศักดิ์หยางเซียงโหว (陽鄉侯)[22] เปาต้านเสียชีวิตในปีเดียวกันนั้นขณะอายุ 47 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[23]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติเปาต้านในสามก๊กจี่บันทึกว่าเปาต้านเสียชีวิตในศักราชเจงหงวน (正元 เจิ้ง-ยฺเหวียน; ค.ศ. 254-256) ในรัชสมัยของโจมอ เปาต้านเสียชีวิตขณะอายุ 47 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของของเปาต้านควรเป็นปี ค.ศ. 209
- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 81[2]
- ↑ ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 80[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ([正元二年] ... 是歲薨,時年四十七, ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ ("เปาต้านจึงว่า บู๊ขิวเขียมล่าทัพถอยไปครั้งนี้ ด้วยกลัวทัพเมืองกังตั๋งจะวกหลังไปตีเมืองชิวฉุน เห็นทีจะถอยทัพไปอยู่เมืองฮางเสีย แล้วจะแบ่งปันทหารไปรักษาเมืองชิวฉุน ขอให้ท่านเกณฑ์ทหารยกไปเปนสามกอง ไปตีเมืองงักแกเสียเมืองฮางเสียเมืองชิวฉุน ข้าพเจ้าเห็นว่าทหารเมืองห้วยหลำก็จะถอยทัพไปเอง ท่านจงให้มีหนังสือไปถึงเตงงายเจ้าเมืองกุนจิ๋ว เปนคนมีสติปัญญาความคิด ให้ยกไปช่วยตีเมืองงักแกเสียได้แล้ว เห็นจะปราบศัตรูได้โดยง่าย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
- ↑ ("เหาตวนที่ปรึกษาจึงว่ายังหาเห็นทีที่จะได้ไม่ ด้วยเมืองกังตั๋งนี้มีแม่น้ำกั้นอยู่เปนที่คับขัน ข้าศึกที่จะไปทำการยากนัก กษัตริย์แต่ก่อนหลายพระองค์มาแล้วยกกองทัพไปตีก็หาได้ไม่ ซึ่งจะยกทัพไปทำการครั้งนี้ข้าพเจ้าหาเห็นด้วยไม่ บ้านเมืองของใคร ๆ ก็รักษาอยู่เห็นจะเปนสุขกว่า ถ้าได้ทีแล้วยกไปตีจึงจะมีชัยชนะ") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
- ↑ (嘏祖父睿,代郡太守。) อรรถาธิบายจากฟู่จื่อในสามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (父充,黃門侍郎。) อรรถาธิบายจากฟู่จื่อในสามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (嘏弱冠知名,司空陳羣辟為掾。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (是時何晏以材辯顯於貴戚之間,鄧颺好變通,合徒黨,鬻聲名於閭閻,而夏侯玄以貴臣子少有重名,為之宗主,求交於嘏而不納也。嘏友人荀粲,有清識遠心,然猶怪之。謂嘏曰:「夏侯泰初一時之傑,虛心交子,合則好成,不合則怨至。二賢不睦,非國之利,此藺相如所以下廉頗也。」嘏荅之曰:「泰初志大其量,能合虛聲而無實才。何平叔言遠而情近,好辯而無誠,所謂利口覆邦國之人也。鄧玄茂有為而無終,外要名利,內無關鑰,貴同惡異,多言而妬前;多言多釁,妬前無親。以吾觀此三人,皆敗德也。遠之猶恐禍及,況昵之乎?」) อรรถาธิบายจากฟู่จื่อในสามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (正始初,除尚書郎,遷黃門侍郎。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (時曹爽秉政,何晏為吏部尚書,嘏謂爽弟羲曰:「何平叔外靜而內銛巧,好利,不念務本。吾恐必先惑子兄弟,仁人將遠,而朝政廢矣。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (晏等遂與嘏不平,因微事以免嘏官。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (起家拜熒陽太守,不行。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (太傅司馬宣王請為從事中郎。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (曹爽誅,為河南尹,遷尚書。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (時論者議欲自伐吳,三征獻策各不同。詔以訪嘏,嘏對曰:「昔夫差陵齊勝晉,威行中國,終禍姑蘇;齊閔兼土拓境,闢地千里,身蹈顛覆。有始不必善終,古之明效也。孫權自破關羽并荊州之後,志盈欲滿,凶宄以極,是以宣文侯深建宏圖大舉之策。今權以死,託孤於諸葛恪。若矯權苛暴,蠲其虐政,民免酷烈,偷安新惠,外內齊慮,有同舟之懼,雖不能終自保完,猶足以延期挺命於深江之外矣。而議者或欲汎舟徑濟,橫行江表;或欲四道並進,攻其城壘;或欲大佃疆埸,觀釁而動:誠皆取賊之常計也。然自治兵以來,出入三載,非掩襲之軍也。賊之為寇,幾六十年矣,君臣偽立,吉凶共患,又喪其元帥,上下憂危,設令列船津要,堅城據險,橫行之計,其殆難捷。惟進軍大佃,最差完牢。兵出民表,寇鈔不犯;坐食積穀,不煩運士;乘釁討襲,無遠勞費:此軍之急務也。昔樊噲願以十萬之衆,橫行匈奴,季布面折其短。今欲越長江,涉虜庭,亦向時之喻也。未若明法練士,錯計於全勝之地,振長策以禦敵之餘燼,斯必然之數也。」 後吳大將諸葛恪新破東關,乘勝揚聲欲向青、徐,朝廷將為之備。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (嘉平四年四月,孫權死。征南大將軍王昶、征東將軍胡遵、鎮南將軍毌丘儉等表請征吳。朝廷以三征計異,詔訪尚書傅嘏,嘏對曰:「昔夫差勝齊陵晉,威行中國,不能以免姑蘇之禍;齊閔辟土兼國,開地千里,不足以救顛覆之敗:有始不必善終,古事之明效也。孫權自破蜀兼平荊州之後,志盈欲滿,罪戮忠良,殊及胤嗣,元凶已極。相國宣文侯先識取亂侮亡之義,深建宏圖大舉之策。今權已死,託孤於諸葛恪。若矯權苛暴,蠲其虐政,民免酷烈,偷安新惠,外內齊慮,有同舟之懼,雖不能終自保完,猶足以延期挺命於深江之表矣。昶等或欲汎舟徑渡,橫行江表,收民略地,因糧於寇;或欲四道並進,臨之以武,誘間攜貳,待其崩壞;或欲進軍大佃,偪其項領,積穀觀釁,相時而動:凡此三者,皆取賊之常計也。然施之當機,則功成名立,苟不應節,必貽後患。自治兵已來,出入三載,非掩襲之軍也。賊喪元帥,利存退守,若撰飾舟楫,羅船津要,堅城清野,以防卒攻,橫行之計,殆難必施。賊之為寇,幾六十年,君臣偽立,吉凶同患,若恪蠲其弊,天去其疾,崩潰之應,不可卒待。今邊壤之守,與賊相遠,賊設羅落,又持重密,間諜不行,耳目無聞。夫軍無耳目,校察未詳,而舉大衆以臨巨險,此為希幸徼功,先戰而後求勝,非全軍之長策也。唯有進軍大佃,最差完牢。可詔昶、遵等擇地居險,審所錯置,及令三方一時前守。奪其肥壤,使還耕塉土,一也;兵出民表,寇鈔不犯,二也;招懷近路,降附日至,三也;羅落遠設,間構不來,四也;賊退其守,羅落必淺,佃作易之,五也;坐食積穀,士不運輸,六也;釁隙時聞,討襲速決,七也:凡此七者,軍事之急務也。不據則賊擅便資,據之則利歸於國,不可不察也。夫屯壘相偪,形勢已交,智勇得陳,巧拙得用,策之而知得失之計,角之而知有餘不足,虜之情偽,將焉所逃?夫以小敵大,則役煩力竭,以貧敵富,則斂重財匱。故『敵逸能勞之,飽能飢之』,此之謂也。然後盛衆厲兵以震之,參惠倍賞以招之,多方廣似以疑之。由不虞之道,以間其不戒;比及三年,左提右挈,虜必冰散瓦解,安受其弊,可坐筭而得也。昔漢氏歷世常患匈奴,朝臣謀士早朝晏罷,介冑之將則陳征伐,搢紳之徒咸言和親,勇奮之士思展搏噬。故樊噲願以十萬之衆橫行匈奴,季布面折其短。李信求以二十萬獨舉楚人,而果辱秦軍。今諸將有陳越江陵險,獨步虜庭,即亦向時之類也。以陛下聖德,輔相忠賢,法明士練,錯計於全勝之地,振長策以禦之,虜之崩潰,必然之數。故兵法曰:『屈人之兵,而非戰也;拔人之城,而非攻也。』若釋廟勝必然之理,而行萬一不必全之路,誠愚臣之所慮也。故謂大佃而偪之計最長。」時不從嘏言。其年十一月,詔昶等征吳。五年正月,諸葛恪拒戰,大破衆軍於東關。) อรรถาธาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในสามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (嘉平末,賜爵關內侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (高貴鄉公即尊位,進封武鄉亭侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (正元二年春,毌丘儉、文欽作亂。或以司馬景王不宜自行,可遣太尉孚往,惟嘏及王肅勸之。景王遂行。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (以嘏守尚書僕射,俱東。儉、欽破敗,嘏有謀焉。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (及景王薨,嘏與司馬文王徑還洛陽,文王遂以輔政。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (毌丘儉作亂,大將軍司馬景王東征,會從,典知密事,衞將軍司馬文王為大軍後繼。景王薨於許昌,文王緫統六軍,會謀謨帷幄。時中詔勑尚書傅嘏,以東南新定,權留衞將軍屯許昌為內外之援,令嘏率諸軍還。會與嘏謀,使嘏表上,輒與衞將軍俱發,還到雒水南屯住。於是朝廷拜文王為大將軍、輔政,會遷黃門侍郎,封東武亭侯,邑三百戶。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (嘏以功進封陽鄉侯,增邑六百戶,并前千二百戶。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
- ↑ (是歲薨,時年四十七,追贈太常,謚曰元侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 21.
บรรณานุกรม
แก้- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).