เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์)
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร นามเดิม หม่อมราชวงศ์ลพ เป็นขุนนางชาวไทย ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น องคมนตรี ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุลสุทัศน์[1]
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลพ สุทัศน์) ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2455 – พ.ศ. 2469 | |
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร |
ถัดไป | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 |
เสียชีวิต | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 (81 ปี) |
บิดา | หม่อมเจ้าจินดา สุทัศน์ |
มารดา | หม่อมเจ้าอิน สุทัศน์ |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร มีนามเดิมว่าหม่อมราชวงศ์ลพ เป็นโอรสในหม่อมเจ้าจินดากับหม่อมเจ้าหญิงอิน หม่อมเจ้าจินดาเป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ กรมหมื่นไกรสรวิชิต กับหม่อมน้อย[2] เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400[3]ท่านมีพี่ชายร่วมพระบิดาเดียวกันคนหนึ่งคือเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์)
ในวัยเยาว์ได้เรียนหนังสือไทยกับพระพิมลธรรม (อ้น) และเรียนภาษาบาลีกับสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) และศึกษาในทางเลขกับพระอริยกวี (พลับ) ใน พ.ศ. 2422 ได้อุปสมบทที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์[4]
ประวัติรับราชการแก้ไข
พ.ศ. 2418 ได้เข้ารับราชการในกรมมหาดเล็ก ถึงปี พ.ศ. 2420 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายรองฉัน แล้วเลื่อนเป็นนายขัน หุ้มแพร ถือศักดินา ๔๐๐ เมื่อวันเสาร์ เดือนสิบเอ็ด ขึ้นสิบสองค่ำ ปีเถาะเอกศก จุลศักราช ๑๒๔๑ ตรงกับปี พ.ศ. 2422[5]ต่อมาย้ายไปรับราชการในกระทรวงนครบาล ตำแหน่งเจ้ากรมกองตระเวน ฝ่ายกองไต่สวนโทษหลวง ถึงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2433 จึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระประชากรกิจวิจารณ์ ถือศักดินา ๘๐๐[6]และในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2435 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง เจ้ากรมกองตระเวนขวา ถือศักดินา 1,000[7] ได้เลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาจนได้เป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2445 [8] และได้เลื่อนยศเป็น มหาอำมาตย์เอก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2455[9]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 วันต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้ท่านได้เข้าถือน้ำและรับตั้งเป็นองคมนตรี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[10]
วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาอภัยราชา มหายุติธรรมธร สยามนริศรนิตยภักดี วรางคมนตรีกุลพิศิษฎ์ ไกรสรวิชิตสันตติวงษ์ สิทธิประสงค์นฤปราช สุจริตามาตย์สีตลัถยาศัย อดุลไตรรัตนสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[11] ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยยศประกอบด้วย มาลาเส้าสเทินกำมะหยี่ เครื่องทองคำลงยาราชาวดี เสื้อทรงประกาศ กระบี่ฝักทองคำสลัก หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี หลังหีบตราไอยราพต และกาน้ำรูปกระบอกมีถาดรองทองคำ ฝาตราไอยราพต[12] ต่อมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ยังทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเข็มตั้งเป็นท่านสมุหมนตรี[13] และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2457 ได้รับพระราชทานยศเป็นจางวางเอก[14]
เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร ได้ลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2469[3] และได้รับพระราชทานบำนาญตลอดมา
ด้านชีวิตครอบครัว ท่านได้สมรสกับท่านผู้หญิงเอี่ยม แต่ไม่ปรากฏว่ามีบุตรธิดา[3]
อสัญกรรมแก้ไข
เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร ได้เริ่มป่วยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 จนไปไหนไม่ได้ ครั้นถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เวลา 08:40 น. ได้ถึงแก่อสัญกรรมเพราะโรคชรา ด้วยความสงบที่บ้านถนนอนุวงศ์ สิริอายุ 82 ปี[4]
ยศแก้ไข
ยศพลเรือนแก้ไข
- มหาอำมาตย์เอก
ยศเสือป่าแก้ไข
- นายกองใหญ่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2431 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[15]
- พ.ศ. 2444 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2447 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[17]
- พ.ศ. 2455 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[18]
- พ.ศ. 2457 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2463 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
อ้างอิงแก้ไข
- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๒๖ มิถุนายน ๒๔๕๖, หน้า ๖๕๘
- ↑ ราชินิกูลรัชกาลที่ 3,หน้า 17
- ↑ 3.0 3.1 3.2 เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 170
- ↑ 4.0 4.1 "ประวัติบุคคลสำคัญด้านกฎหมาย : เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร". พิพิธภัณฑ์ศาลไทย. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2558. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ พระราชทานสัญญาบัตรในปีเถาะเอกศก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม ๙, ตอน ๕๒, ๒๖ มีนาคม ๒๔๓๕, หน้า ๒๐๐๗
- ↑ แจ้งความกระทรวงนครบาล
- ↑ พระราชทานเลื่อนยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 1 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2,273-4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา, เล่ม ๒๙, ตอน ก, ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๕๕, หน้า ๒๕๒-๔
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 1902. 24 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2563. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมุรธาธร เรื่อง พระราชทานเข็มตราตั้ง สมุหมนตรี แก่เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๓๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖, หน้า ๑๙๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๑, ตอน ๐ ง, ๖ ธันวาคม ๒๔๕๗, หน้า ๒๐๐๗
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ฝ่ายหน้า (หน้า ๖๗๐)
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๘๐๓)
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 1902. 24 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2563. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)
- บรรณานุกรม
- สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 168-70. ISBN 974-417-534-6