อุซามะฮ์ บิน ลาดิน

(เปลี่ยนทางจาก อุซามะห์ บิน ลาดิน)

โอซามะฮ์ บิน โมฮัมเม็ด บิน อาวัด บิน ลาดิน[1][note 1] (อาหรับ: أسا‌مة بن محمد بن عو‌ض بن لا‌د‌ن; 10 มีนาคม ค.ศ. 1957[7] – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011)[8] เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรทหารรวมอิสลาม อัลกออิดะฮ์ ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เนโท สหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศที่ประกาศว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย

อุซามะฮ์ บิน ลาดิน
أسا‌مة بن لا‌د‌ن
บิน ลาดิน ป. ค.ศ. 1997–98
นายพลเอมีร์คนแรกของอัลกออิดะฮ์
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม ค.ศ. 1988 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011
ก่อนหน้าก่อตั้งตำแหน่ง
ถัดไปอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อุซามะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน[1]

10 มีนาคม ค.ศ. 1957(1957-03-10)
ริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย
เสียชีวิต2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011(2011-05-02) (54 ปี)
เอบเฏอบอด, แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา, ประเทศปากีสถาน
สาเหตุการเสียชีวิตแผลจากการถูกยิง
สัญชาติซาอุดีอาระเบีย (ค.ศ. 1957–1994)
ความสูง1.95 เมตร (6 ฟุต 5 นิ้ว)[6]
คู่สมรสนัจวา ฆอนิม (สมรส 1974; หย่า 2001)
Khadijah Sharif (สมรส 1983; หย่า 1990)
Khairiah Sabar (สมรส 1985)
Siham Sabar (สมรส 1987)
Amal Ahmed al-Sadah (สมรส 2000)
บุตร20–26 คน; รวมอับดุลลอฮ์, ซะอัด, อุมัร และฮัมซะฮ์
บุพการีมุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน
ฮะมีดะฮ์ อัลอะฏอส
ความสัมพันธ์ครอบครัวบิน ลาดิน
ศาสนาอิสลาม (วะฮาบีย์/ซะละฟี)[2][3][4][5]
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ มักตะบุลคิดมาต (ค.ศ. 1984–1988)
อัลกออิดะฮ์ (1988–2011)
ประจำการค.ศ. 1984–2011
ยศนายพลเอมีร์คนแรกของอัลกออิดะฮ์
ผ่านศึกสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน

สงครามต่อต้านการก่อการร้าย

เขาเคยเป็นพลเมืองซาอุดีอาระเบียจนถึง ค.ศ. 1994 และเป็นสมาชิกของครอบครัวบิน ลาดินที่ร่ำรวย[9] มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน พ่อของบิน ลาดิน เป็นเศรษฐีพันล้านชาวซาอุดีจากฮัฎเราะเมาต์ ประเทศเยเมน และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทก่อสร้าง ซาอุดีบินลาดินกรุ๊ป[10] ส่วนอาลิยะฮ์ ฆอนิม แม่ของเขา เป็นฆราวาสจากครอบครัวชนชั้นกลางในอัลลาษิกียะฮ์ ประเทศซีเรีย[11] เขาเกิดในประเทศซาอุดีอาระเบียและศึกษาที่มหาวิทยาลัยในประเทศจนถึง ค.ศ. 1979 เมื่อเขาไปเข้าร่วมกองกำลังมุญาฮิดีนที่ปากีสถานสู้รบกับสหภาพโซเวียตที่อัฟกานิสถาน เขาช่วยเหลือพวกมุญาฮิดีนด้วยการส่งอาวุธ เงิน และนักสู้จากโลกอาหรับไปยังอัฟกานิสถาน ทำให้ได้รับความนิยมในชาวอาหรับ[12] ใน ค.ศ. 1988 เขาก่อตั้งกลุ่มอัลกออิดะฮ์[13] จากนั้นจึงถูกเนรเทศออกจากประเทศซาอุดีอาระเบียใน ค.ศ. 1992 และย้ายฐานไปที่ประเทศซูดาน จนกระทั่งสหรัฐบังคับให้เข้าออกจากซูดานใน ค.ศ. 1996 หลังตั้งฐานทัพใหม่ที่อัฟกานิสถาน เขาประกาศสงครามต่อสหรัฐ และเริ่มภารกิจระเบิดกับการโจมตีที่คล้าย ๆ กัน[14] บิน ลาดินอยู่ในรายชื่อสิบผู้หลบหนีที่ต้องการตัวมากที่สุดและผู้ก่อการร้ายที่ต้องการตัวมากที่สุดของสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) จากการระเบิดสถานทูตสหรัฐใน ค.ศ. 1998[15][16][17]

บิน ลาดินเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้ก่อเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 300,000 คน และทำให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชเริ่มต้นสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 ถึง 2011 บิน ลาดินกลายเป็นเป้าหมายหลักของสหรัฐ เพราะทางเอฟบีไอประกาศนำจับด้วยเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[18] ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011[19] เนวีซีลของสหรัฐยิงบิน ลาดินจนเสียชีวิต[20]ที่บ้านพักส่วนตัวในเอบเฏอบอด ประเทศปากีสถาน ปฏิบัติการนี้ควบคุมตามคำสั่งของประธานาธิบดีบารัก โอบามา[21] ภายใต้การนำของบิน ลาดิน องค์กรอัลกออิดะฮ์มีส่วนในการโจมตีทั่วโลก[22][23][24]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

แก้

อุซามะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน[1][25]เกิดที่ริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นบุตรของมุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน เจ้าสัวโครงการก่อสร้างมหาเศรษฐีชาวเยเมนที่มีความใกล้ชิดกับราชวงศ์ซะอูด[26] กับฮะมีดะฮ์ อัลอะฏอส (ตอนนั้นมีชื่อว่าอาลิยะฮ์ ฆอนิม) ภรรยาคนที่ 10 ของมุฮัมมัด บิน ลาดินที่เป็นชาวซีเรีย[27] ในการสัมภาษณ์ ค.ศ. 1998 บิน ลาดินกล่าวว่าตนเกิดในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1957[28]

หลังจากที่เขาถือกำเนิด มุฮัมมัด บิน ลาดินหย่ากับฮามิดะฮ์ทันที แล้วแนะนำให้ไปแต่งงานกับมุฮัมมัด อัลอะฏอส ทั้งคู่แต่งงานในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ปัจจุบันยังคงอยู่ด้วยกัน[29] ทั้งคู่มีลูก 4 คน และบิน ลาดินกลายเป็นสมาชิกใหม่ที่มีกึ่งพี่/น้องชาย 3 คนและกึ่งพี่/น้องสาวคนเดียว[27] ครอบครัวของบิน ลาดินมีรายได้ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจก่อสร้าง ต่อมาอุซามะฮ์ได้รับมรดกกว่า 25-30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[30]

บิน ลาดินถูกเลี้ยงมาให้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี[31] จาก ค.ศ. 1968 ถึง 1976 เขาเข้าศึกษาที่สถานศึกษาต้นแบบอัษษะฆิร[27][32] แล้วศึกษาต่อในด้านเศรษฐศาสตร์และปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต[33]ที่มหาวิทยาลัยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ บางรายงานกล่าวแนะว่า เขาได้รับปริญญาสาขาวิศวกรรมโยธาใน ค.ศ. 1979[34] หรือปริญญาในด้านการบริหารรัฐกิจใน ค.ศ. 1981[35] บิน ลาดินเคยเข้าเรียนภาษาอังกฤษที่ออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษใน ค.ศ. 1971[36] ข้อมูลหนึ่งกล่าวถึงเขาว่า "ทำงานหนัก"[37] บางส่วนกล่าวว่า เขาลาออกจากมหาวิทยาลัยในปี 3 โดยไม่ได้รับปริญญาใด ๆ[38] ตอนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สิ่งที่บิน ลาดินสนใจคือศาสนา ซึ่งเขามีส่วนร่วมทั้ง "แปลอัลกุรอานกับญิฮาด" และทำงานจิตอาสา[39] ความสนใจอื่น ๆ ของเขาคือ การแต่งกวี[40] การอ่าน และเขาติดตามสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล[41]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

ใน ค.ศ. 1974 ตอนอายุ 17 บิน ลาดินแต่งงานกับนัจวา ฆอนิมทีอัลลาษิกียะฮ์ ประเทศซีเรีย[42] ทั้งคู่แยกกันก่อนเกิดเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ภรรยาหลายคนเท่าที่รู้จักคือเคาะดีญะฮ์ ชะรีฟ (แต่งงาน ค.ศ. 1983, หย่าในคริสต์ทศวรรษ 1990); Khairiah Sabar (แต่งงานใน ค.ศ. 1985); Siham Sabar (แต่งงานใน ค.ศ. 1987) และ Amal al-Sadah (แต่งงานใน ค.ศ. 2000) บางรายงานกล่าวถึงภรรยาคนที่หก ซึ่งไม่ทราบชื่อ ผู้ที่แต่งงานกับบิน ลาดินจะถูกหย่าหลังพิธี[43] บิน ลาดินเป็นพ่อของลูก ๆ ระหว่าง 20 ถึง 26 คนจากภรรยาของเขา[44][45] หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยา ลูก ๆ ของบิน ลาดินหลายคนหนีไปยังประเทศอิหร่าน และข้อมูลเมื่อ 2010 เจ้าหน้าที่อิหร่านยังคงรายงานการเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้อยู่ตลอด[46]

นาศิร อัลบะห์รี ผู้เป็นคนคุ้มกันประจำตัวของบิน ลาดินใน ค.ศ. 1997–2001 กล่าวถึงบิน ลาดินในบันทึกว่า เขาเป็นคนประหยัด และเป็นพ่อที่เข้มงวด เขาชอบที่จะพาครอบครัวที่ใหญ่โตของเขาออกเดินทางไปยิงปืนและปิกนิกในทะเลทราย[47]

มุฮัมมัด พ่อของบิน ลาดินเสียชีวิตใน ค.ศ. 1967 จากเหตุการณ์เครื่องบินตกที่ซาอุดีอาระเบีย เมื่อจิม แฮร์ริงตัน นักบินชาวอเมริกัน[48]ตัดสินใจผิดพลาดขณะลงจอด[49] ซาลิม บิน ลาดิน กึ่งพี่ชายคนโตของบิน ลาดิน ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวคนต่อมาได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1988 ใกล้เมืองแซนแอนโทนีโอ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ในอุบัติเหตุขณะขับเครื่องบินไปชนสายไฟ[50]

ทางเอฟบีไอบรรยายถึงบิน ลาดินว่า เขาเป็นผู้ใหญ่ที่สูงและผอม มีส่วนสูงระหว่าง 1.93 เมตร (6 ฟุต 4 นิ้ว) ถึง 1.98 เมตร (6 ฟุต 6 นิ้ว) และน้ำหนักประมาณ 73 กิโลกรัม (160 ปอนด์) ถึงแม้ว่าลอว์เรนซ์ ไรต์ ผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับอัลกออิดะฮ์ในเดอะลูมมิงทาวเวอร์ ซึ่งชนะรางวัลพูลิตเซอร์ บันทึกจากข้อมูลคนใกล้ชิดกับบิน ลาดินว่า "เขาสูงมากกว่า 6 ฟุต (1.8 เมตร)"[51] หลังเสียชีวิต มีการวัดว่าเขาสูงประมาณ 1.93 เมตร (6 ฟุต 4 นิ้ว)[52] บิน ลาดินมีผิวสีมะกอกและถนัดมือข้างซ้าย ส่วนใหญ่มักเดินพร้อมกับไม้เท้า และสวมกูฟียะฮ์ขาว[53] มีการกล่าวถึงบิน ลาดินว่าพูดจาไพเราะอ่อนน้อมถ่อมตน[54]

บทบาททางการทหารและการเมือง

แก้
 
บิน ลาดิน ในขณะให้สัมภาษณ์กับ ฮามิด เมียร์ นักข่าวชาวปากีสถานใน ค.ศ. 1997

หลังสหภาพโซเวียตเข้ารุกรานอัฟกานิสถานในปี 1979[55][56] ได้ไม่นาน บิน ลาดิน ได้เดินทางไปพบกับผู้นำกลุ่มติดอาวุธชาวอัฟกันและช่วยหาเงินอุดหนุนการต่อต้านการยึดครองของสหภาพโซเวียต นับแต่ปี 1984 บิน ลาดิน ดำเนินกิจกรรมส่วนใหญ่ในอัฟกานิสถานและปากีสถาน มีส่วนสำคัญในการหาอาสาสมัครชาวอาหรับเพื่อต่อสู้กับทหารโซเวียต ด้วยเงินทุนและชื่อเสียงในความเคร่งศาสนา และความกล้าหาญในสนามรบช่วยเสริมสถานะของเขาในฐานะผู้นำทางทหาร ในปี 1988 เขาได้สร้างฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์รวบรวมรายชื่ออาสาสมัครผู้ร่วมรบในสงครามอัฟกานิสถาน ซึ่งกลายมาเป็นฐานข้อมูลของเครือข่ายทางทหารกลุ่มใหม่ในชื่อ “อัลกออิดะฮ์” (al-Qaeda, ในภาษาอาหรับแปลว่า ฐาน)[57] แม้ว่ากลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้จะยังไม่มีวัตถุประสงค์หรือวาระในการปฏิบัติการที่ชัดเจนเป็นเวลาหลายปีก็ตาม[58]

ในปี 1989 หลังสหภาพโซเวียตถอนทัพออกจากอัฟกานิสถาน บิน ลาดิน เดินทางกลับซาอุดีอาระเบียในฐานะวีรบุรุษ แต่ไม่นานก็ถูกรัฐบาลหมายหัวในฐานะพวกหัวรุนแรงและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง ในปี 1990 รัฐบาลซาอุดีอาระเบียปฏิเสธคำร้องขอให้เครือข่ายนักรบของเขาร่วมปกป้องซาอุดีอาระเบียจากภัยคุกคามของ ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำอิรักในสมัยนั้น เนื่องจากซาอุดีอาระเบียหวังพึ่งกองทัพสหรัฐฯ เป็นกำลังหลัก คำปฏิเสธสร้างความไม่พอใจให้กับ บิน ลาดินอย่างรุนแรง และนั่นเป็นสาเหตุหลักที่เขาหันหน้าให้กับประเทศบ้านเกิด เนื่องจากผิดหวังในความอ่อนแอของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย เขาเดินทางออกจากซาอุดีอาระเบียไปตั้งหลักอยู่ที่ซูดานในปี 1991[59]

ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เขาและเครือข่ายอัลกออิดะฮ์เริ่มวางรูปแบบการต่อต้านด้วยความรุนแรงต่อภัยคุกคามจากอิทธิพลของสหรัฐฯ ในโลกมุสลิม เขาออกมาแสดงความชื่นชมอย่างเปิดเผยต่อการโจมตีสหรัฐฯของกลุ่มหัวรุนแรงต่าง ๆ รวมถึงเหตุโจมตีด้วยระเบิดต่ออาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กเมื่อปี 1993[60][61] ปีถัดมา บิน ลาดิน เริ่มขยายโครงสร้างของกลุ่มในซูดานเพื่อรองรับการฝึกฝนนักรบอิสลามเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งทั่วโลก ไม่นานซาอุดีอาระเบียก็ประกาศถอนสัญชาติและยึดทรัพย์สินของเขาทำให้เขาจำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุนจากภายนอก[62]

ในปี 1996 หลังถูกกดดันจากนานาชาติอย่างหนัก ซูดานมีคำสั่งเนรเทศบิน ลาดิน[63] เขาจึงเดินทางไปยังอัฟกานิสถานอีกครั้งโดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลตอลิบาน ในปีเดียวกันเขาออก ฟัตวา (คำวินิจฉัยทางศาสนา) ชุดแรก ประกาศสงครามศักดิ์สิทธิ์ต่อสหรัฐฯ กล่าวหาว่าสหรัฐฯ ปล้นทรัพยากรธรรมชาติจากโลกมุสลิม ยึดครองคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งรวมถึงศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม เป้าหมายของบิน ลาดิน ค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการยกระดับการทำสงครามของสหรัฐฯกับโลกมุสลิมและหวังให้ประเทศมุสลิมรวมตัวเป็นรัฐอิสลามหนึ่งเดียว[64][65][66] (รัฐเคาะลีฟะฮ์, Caliphate)

นับแต่นั้นมา บิน ลาดิน และอัลกออิดะฮ์ ได้ฝึกฝนนักรบและให้ทุนสนับสนุนการโจมตีในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง พวกเขาถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีสถานทูตสหรัฐฯหลายแห่ง ถึงปี 2001 กลุ่มติดอาวุธ 19 คน ซึ่งเชื่อว่ามีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลกออิดะฮ์ได้วางแผนโจมตี “11 กันยายน” (การยึดเครื่องบินพานิชย์พุ่งชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และเพนตากอน) ทำให้สหรัฐฯและชาติพันธมิตรตัดสินใจใช้กำลังเข้าล้มล้างรัฐบาลตาลีบันพร้อมกับตามล่าบิน ลาดิน

นับแต่ปลายปี 2001 บิน ลาดิน ได้หลบหนีการจับกุมของสหรัฐฯ และหายหน้าหายตาไปจากสาธารณะ จนถึงเดือนตุลาคม 2004 ก่อนหน้าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯเพียงสัปดาห์เดียว เขาได้ปรากฏตัวในบันทึกวิดีโออ้างตัวว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวินาศกรรม 11 กันยายน อันนำไปสู่ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย หลังจากนั้นเขาก็ได้ออกบันทึกเสียงและคลิปวิดีโอเพื่อปลุกใจเพื่อนร่วมอุดมการณ์เป็นระยะ ๆ[67] เป็นเวลาหลายปีที่มีข่าวลือต่าง ๆ นา ๆ ว่าเขาหลบซ่อนอยู่ที่สถานที่ลับตาในประเทศต่าง ๆ และได้รับการคุ้มครองอย่างดี อาทิ หมู่บ้านโทรา โบรา ซึ่งเป็นพื้นที่อันห่างไกลในหุบเขาของอัฟกานิสถาน รวมถึงบ้านพักในปากีสถาน หรือแม้แต่ข่าวลือว่าเขาใช้ชีวิตในถ้ำ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐและสำนักงานสอบสวนกลางประกาศนำจับเขาด้วยเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เสียชีวิตและผลที่ตามมา

แก้
 
เว็บไซต์สำนักงานสอบสวนกลางที่จัดให้บิน ลาดินอยู่ในสถานะเสียชีวิตตามบุคคลที่ต้องการตัวมากที่สุดในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2011

หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางทหารของสหรัฐได้ฆ่าอุซามะฮ์ บิน ลาดินที่เอบเฏอบอด ประเทศปากีสถานในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 เวลา 1:00 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น (16:00 นาฬิกาตามเขตเวลาตะวันออก)[note 2][68][69]

ปฏิบัติการนี้ มีชื่อรหัสว่าปฏิวัติการเนปจูนสเปียร์ เริ่มต้นตามคำสั่งของประธานาธิบดีบารัก โอบามา กับดำเนินการในสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (CIA) ด้วยทีมเนวีซีลสหรัฐจากกองพัฒนาสงครามพิเศษกองทัพเรือ (มีอีกชื่อว่าเดฟกรู (DEVGRU) หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า ซีลทีมซิกซ์) ของกองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ[70]ด้วยการสนับสนุนจากปฏิบัติการซีไอเอในบริเวณนี้[71][72] แล้วเริ่มโจมตีที่หลบซ่อนของบิน ลาดินที่เอบเฏอบอดจากอัฟกานิสถาน[73] หลังการโจมตี มีรายงานว่ากองทัพสหรัฐนำร่างกายของบิน ลาดินไปอัฟกานิสถานเพื่อไประบุตัว (positive identification) แล้วนำไปฝังในทะเล ซึ่งตามกฎหมายอิสลาม จะต้องฝังภายใน 24 ชั่วโมงหลังเสียชีวิต[74] การรายงานที่ตามมาได้เรียกข้อมูลนี้ว่าเป็นปัญหา เช่น ไม่มีหลักฐานที่ว่ามีอิหม่ามอยู่บนเรือยูเอสเอส คาร์ลวินสัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการฝังศพ[75]

ต่อมาเจ้าหน้าที่ปากีสถานจึงทำลายสิ่งก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012[76] เพื่อไม่ให้มันกลายเป็นอนุสรณ์ของพวกลัทธินีโออิสลาม[77][78][79][80][81][82] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ในปากีสถานมีการวางแผนสร้างสวนสนุกในบริเวณนี้ ซึ่งรวมถึงที่หลบซ่อนในอดีต ด้วยเงิน 265 ล้านรูปีปากีสถาน (30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[83]

ในการสัมภาษณ์ใน ค.ศ. 2019 อิมราน ข่าน นายกรัฐมนตรีปากีสถานอ้างว่าหน่วยสืบราชการลับของปากีสถานเป็นกลุ่มที่นำซีไอเอไปหาอุซามะฮ์ บิน ลาดิน[84][85][86][87][88][89][90]

หมายเหตุ

แก้
  1. การทับศัพท์โดยทั่วไปอิงจากภาษาดารี; ถ้าตามภาษาอาหรับ จะอ่านเป็น อุซามะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน
  2. ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในเขตเวลาไหน วันที่เขาเสียชีวิตอาจแตกต่างกันตามพื้นที่

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Davies, William D.; Dubinsky, Stanley (2018). Language Conflict and Language Rights: Ethnolinguistic Perspectives on Human Conflict. Cambridge University Press. p. 74. ISBN 978-1-107-02209-6.
  2. Fair, C. Christine; Watson, Sarah J. (February 18, 2015). Pakistan's Enduring Challenges. University of Pennsylvania Press. p. 246. ISBN 978-0-8122-4690-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2016. Osama bin Laden was a hard-core Salafi who openly espoused violence against the United States in order to achieve Salafi goals.
  3. Brown, Amy Benson; Poremski, Karen M. (December 18, 2014). Roads to Reconciliation: Conflict and Dialogue in the Twenty-first Century. Routledge. p. 81. ISBN 978-1-317-46076-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2016.
  4. Osama Bin Laden (2007) Suzanne J. Murdico
  5. Armstrong, Karen (July 11, 2005). "The label of Catholic terror was never used about the IRA". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2016.
  6. "Usama BIN LADEN". FBI.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2016. สืบค้นเมื่อ October 5, 2015.
  7. "Usama Bin Laden". Rewards for Justice. December 29, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2006.
  8. "FBI – USAMA BIN LADEN". September 25, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2012.
  9. Scheuer, Michael (February 7, 2008). "Yemen still close to al Qaeda's heart". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 2, 2016. สืบค้นเมื่อ May 6, 2011.{{cite news}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  10. Strozier, Charles B.; Offer, Daniel; Abdyli, Oliger (May 24, 2011). The Leader: Psychological Essays. Springer Science & Business Media. ISBN 978-1-4419-8387-9.
  11. Scheuer, Michael (February 17, 2011). Osama Bin Laden. Oxford University Press, USA. ISBN 978-0-19-973866-3.
  12. Fisk, Robert (2005). The Great War for Civilisation. p. 4.
  13. United States v. Usama bin Laden et al., S (7) 98 Cr. 1023, Testimony of Jamal Ahmed Mohamed al-Fadl (SDNY February 6, 2001).
  14. Fisk, Robert (2005). The Great War for Civilisation. p. 22.
  15. "FBI Ten Most Wanted Fugitives". FBI.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2008. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  16. Eggen, Dan (August 28, 2006). "Bin Laden, Most Wanted For Embassy Bombings?". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2010. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  17. "'Most wanted terrorists' list released". CNN. October 10, 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2005. สืบค้นเมื่อ March 2, 2018.
  18. "Fbi – Usama Bin Laden". Fbi.gov. August 7, 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2011. สืบค้นเมื่อ May 15, 2011.
  19. "Ten Most Wanted Fugitives 401 to 500". Federal Bureau of Investigation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2019. สืบค้นเมื่อ October 10, 2019.
  20. "The Navy SEAL Who Shot Bin Laden Is: Rob O'Neill From Butte Montana". Soldier of Fortune Magazine. November 6, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2014. สืบค้นเมื่อ July 8, 2015.
  21. "USS Carl Vinson: Osama Bin Laden's Burial at Sea". USA: ABC News. May 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2011. สืบค้นเมื่อ May 1, 2011.
  22. "Death of Osama bin Ladin". Pakistani Ministry of Foreign Affairs. May 1, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2011. สืบค้นเมื่อ January 9, 2012.
  23. Baker, Peter; Cooper, Helene; Mazzetti, Mark (May 1, 2011). "Bin Laden Dead, US Officials Say". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2011.
  24. Maqbool, Aleem (May 1, 2011). "Osama Bin Laden, al Qaeda leader, dead – Barack Obama". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2015. สืบค้นเมื่อ January 12, 2015.
  25. "Frontline: Hunting Bin Laden: Who is Bin Laden?: Chronology". PBS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2006. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  26. Johnson, David. "Osama bin Laden". infoplease. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 20, 2008. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  27. 27.0 27.1 27.2 Coll, Steve (December 12, 2005). "Letter From Jedda: Young Osama- How he learned radicalism, and may have seen America". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2010. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  28. "Osama bin Laden". GlobalSecurity.org. January 11, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2010. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  29. "The Mysterious Death of Osama Bin Laden". August 3, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2012. สืบค้นเมื่อ November 4, 2011.
  30. "Osama bin Laden เก็บถาวร พฤษภาคม 20, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Economist, May 5, 2011, p. 93.
  31. Beyer, Lisa (September 24, 2001). "The Most Wanted Man in the World". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2001. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  32. Bergen 2006, p. 52
  33. Messages to the World: The Statements of Osama bin Laden, Verso, 2005, p. xii.
  34. Encyclopedia of World Biography Supplement, vol. 22, Gale Group, 2002, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 18, 2008
  35. "A Biography of Osama Bin Laden". PBS Frontline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2010. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  36. "Bin Laden's Oxford days". BBC News. October 12, 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2017. in, Burke, Jason; Kareem, Shaheen. "This article is more than 2 years old Bin Laden's disdain for the west grew in Shakespeare's birthplace, journal shows". The Guardian 1 November 2017 20.50 GMT. Guardian News & Media Limited. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2017. สืบค้นเมื่อ March 9, 2020.
  37. Hug, Aziz (January 19, 2006). "The Real Osama". The American Prospect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2008. สืบค้นเมื่อ January 6, 2012.
  38. Gunaratna, Rohan (2003). Inside Al Qaeda (3rd ed.). Berkley Books. p. 22. ISBN 0-231-12692-1.
  39. Wright 2006, p. 79
  40. Hirst, Michael (September 24, 2008). "Analysing Osama's jihadi poetry". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2009. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  41. "Osama bin Laden's bodyguard: I had orders to kill him if the Americans tried to take him alive". Daily Mirror. May 4, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 10, 2012. สืบค้นเมื่อ April 20, 2012.
  42. Slackman, Michael (November 13, 2001). "Osama Kin Wait and Worry". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2009. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  43. Todd, Brian; Lister, Tim (May 5, 2011). "Bin Laden's wives – and daughter who would 'kill enemies of Islam'". CNN Edition: International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2011. สืบค้นเมื่อ May 5, 2011.
  44. "Osama's Women". CNN. March 12, 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2011. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  45. Zalman, Amy. "Profile: Osama bin Laden". About.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2011. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
  46. "Osama bin Laden's family 'stranded' in Iran, son says". The Daily Telegraph. July 19, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2011.
  47. Al-Bahri, Nasser (June 2013). Guarding bin Laden: My Life in al-Qaeda. London: Thin Man Press. pp. 150–160. ISBN 978-0-9562473-6-0.
  48. "Blood Brothers: Could Osama Have Been Tamed?". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2016.
  49. "Interview with US Author Steve Coll: 'Osama bin Laden is Planning Something for the US Election'". Der Spiegel. April 2, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2011. สืบค้นเมื่อ January 26, 2011.
  50. "Best of the Web: Osama's Brother Died in San Antonio, Red Velvet Onion Rings-WOAI: San Antonio News". January 13, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2012.
  51. Wright 2006, p. 83
  52. Mangan, Dan (August 2, 2011). "Wanted: dead – not alive!". New York Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2017.
  53. "Most Wanted Terrorist – Usama Bin Laden". FBI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 10, 2006. สืบค้นเมื่อ June 8, 2006.
  54. "I met Osama Bin Laden". BBC News. March 26, 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2006. สืบค้นเมื่อ May 15, 2006.
  55. Editors, History com. "Soviet Union invades Afghanistan". HISTORY (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  56. "Soviet invasion of Afghanistan | Summary & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  57. "What is the origin of the name al-Qaida?". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2002-08-24.
  58. "al-Qaeda | History, Meaning, Terrorist Attacks, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  59. "In the War against Terrorism, Where Goes Sudan?". The Washington Institute (ภาษาอังกฤษ).
  60. Pruitt, Sarah. "7 Facts About the 1993 World Trade Center Bombing". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
  61. "World Trade Center History | National September 11 Memorial & Museum". www.911memorial.org.
  62. "Saudi Arabia revokes citizenship of Hamza bin Laden". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-20.
  63. "James Astill on Bin Laden's Sudan years". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2001-10-17.
  64. "Osama had warned against premature declaration of 'Islamic caliphate'". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 2016-03-03.
  65. Lahoud, Nelly (2021-10-05). "Bin Laden's Catastrophic Success" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0015-7120. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.
  66. Cassandra Vinograd. "Islamic State Declares Caliphate, Seizes Osama Bin Laden's Dream". NBC News (ภาษาอังกฤษ).
  67. Analyst, Opinion by Peter Bergen, CNN National Security. "Opinion: Osama bin Laden changed history on 9/11, but not in the ways he expected". CNN.
  68. Miller, Greg (May 5, 2011). "CIA spied on bin Laden from safe house". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2011. สืบค้นเมื่อ May 6, 2011.
  69. Cooper, Helene (May 1, 2011). "Obama Announces Killing of Osama bin Laden". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2011. สืบค้นเมื่อ May 1, 2011.
  70. Finkel, Gal Perl (November 8, 2015). "Back to the ground?". Israel Hayom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2016.
  71. Sherwell, Philip (May 7, 2011). "Osama bin Laden killed: Behind the scenes of the deadly raid". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2011. สืบค้นเมื่อ May 9, 2011.
  72. Dilanian, Ken (May 2, 2011). "CIA led U.S. special forces mission against Osama bin Laden". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2011. สืบค้นเมื่อ May 14, 2011.
  73. Fair, C. Christine (May 4, 2011). "The bin Laden aftermath: The U.S. shouldn't hold Pakistan's military against Pakistan's civilians". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2011. สืบค้นเมื่อ May 10, 2011.
  74. "Osama Bin Laden, al-Qaeda leader, dead – Barack Obama". BBC News. May 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2011. สืบค้นเมื่อ May 2, 2011.
  75. Hersh, Seymour M. (May 21, 2015). "The Killing of Osama bin Laden". London Review of Books. pp. 3–12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2015. สืบค้นเมื่อ May 3, 2016.
  76. Walsh, Declan (February 25, 2012). "Pakistan Razing House Where Bin Laden Lived". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2017. สืบค้นเมื่อ February 25, 2012.
  77. Chamkhi, Tarek. "Neo Islamism and the Quest for Islamisation: Case Studies from Turkey, Tunisia, Egypt and Morocco". International Political Science Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2018. สืบค้นเมื่อ August 29, 2018.
  78. "Bin Laden's Compound in Pakistan Demolished". RIA Novosti. February 25, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2012. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
  79. "Osama Bin Laden's Pakistan compound demolished". BBC News. February 26, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2012. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
  80. "4 reasons Pakistan demolished bin Laden's compound". The Week. February 27, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2012. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
  81. "4 reasons Pakistan demolished bin Laden's compound". BBC News. February 27, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2012. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
  82. Ladd, Trevor J. (February 27, 2012). "Osama Bin Laden's Pakistani Compound Demolished". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2012. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
  83. "Bin Laden hideout to become theme park". News 24. February 6, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2019. สืบค้นเมื่อ February 11, 2013.
  84. "Imran Khan claims Pakistani intelligence led CIA to bin Laden". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2019-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
  85. "Pakistani intelligence led CIA to bin Laden — Imran Khan". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2019-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
  86. hermesauto (2019-07-23). "Pakistani intelligence led CIA to Osama bin Laden: PM Khan". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
  87. "Pakistani intelligence led CIA to bin Laden: Imran Khan". Pakistani intelligence led CIA to bin Laden: Imran Khan (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
  88. "Pakistani intelligence led CIA to Bin Laden: Imran Khan". gulfnews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
  89. Scroll Staff. "Pakistan PM Imran Khan claims ISI helped the United States kill Osama Bin Laden". Scroll.in (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
  90. "Pakistani intelligence led CIA to bin Laden: Imran Khan". news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้