ซีลทีมซิกซ์
กองพัฒนาสงครามพิเศษทางเรือ (อังกฤษ: Naval Special Warfare Development Group; อักษรย่อ: NSWDG) เป็นที่รู้จักในนาม เดฟกรู (อักษรย่อ: DEVGRU; อังกฤษ: DEVelopment GRoUp) หรือ ซีลทีมซิกซ์ (อังกฤษ: SEAL Team Six)[4][5] เป็นส่วนเสริมกองทัพเรือสหรัฐของกองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ (JSOC) ซึ่งมักได้รับการอ้างถึงภายในกองบัญชาการดังกล่าวในฐานะ กองกำลังเฉพาะกิจสีน้ำเงิน (อังกฤษ: Task Force Blue)[5] เดฟกรูได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารโดยหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และสั่งการดำเนินการโดยกองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ ข้อมูลส่วนใหญ่เกี่ยวกับเดฟกรูจัดอยู่ในประเภทและรายละเอียดของกิจกรรมที่มักจะไม่ได้รับความเห็นโดยกระทรวงกลาโหมหรือทำเนียบขาว[6] แม้จะมีการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการ แต่ "ซีลทีมซิกซ์" ยังคงเป็นชื่อเล่นของหน่วยที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
กองพัฒนาสงครามพิเศษทางเรือ | |
---|---|
Naval Special Warfare Development Group | |
ตราสัญลักษณ์ซีลทีมซิกซ์ | |
ประจำการ | พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 – ปัจจุบัน |
ประเทศ | สหรัฐ |
ขึ้นต่อ | หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐ กองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือสหรัฐ |
เหล่า | กองทัพเรือสหรัฐ |
รูปแบบ | ปฏิบัติการพิเศษ หน่วยภารกิจพิเศษ |
บทบาท | การปฏิบัติการพิเศษ การต่อต้านการก่อการร้าย การชิงตัวประกัน การปฏิบัติภารกิจโดยตรง การลาดตระเวนพิเศษ |
กำลังรบ | กำลังพลที่ได้รับอำนาจ 1,787 นาย:[1]
|
กองบัญชาการ | แดมเนกซ์แอนเนกซ์ สถานีอากาศนาวีโอเชียนา เวอร์จิเนียบีช รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ |
สมญา | "ซีลทีมซิกซ์", "เดฟกรู", "กองกำลังเฉพาะกิจสีน้ำเงิน", "เอ็นเอสดับเบิลยูดีจี" |
คำขวัญ | เพื่อบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า[2] |
ปฏิบัติการสำคัญ | ปฏิบัติการเออเจินฟิวรี การจี้เครื่องบินทีดับเบิลยูเอ เที่ยวบินที่ 847 การจี้เรืออากิลเล ลาอูโร ปฏิบัติการโอกาสครั้งสำคัญ ปฏิบัติการจัสต์คอส ปฏิบัติการพายุทะเลทราย สงครามกลางเมืองโซมาเลีย |
รางวัลหน่วย | รางวัลสดุดีหน่วยประธานาธิบดี[3] |
เดฟกรูและกองทัพบกที่คล้ายกัน, กองกำลังเดลตา เป็นหน่วยภารกิจพิเศษระดับ 1 ของทหารสหรัฐ ซึ่งทำหน้าที่ปฏิบัติการภารกิจที่ซับซ้อน, เป็นความลับทางราชการ และอันตรายที่สุด ซึ่งบังคับบัญชาโดยคณะผู้บัญชาการแห่งชาติ[7][8] เดฟกรูดำเนินภารกิจพิเศษต่าง ๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย, การชิงตัวประกัน, การลาดตระเวนพิเศษ และการปฏิบัติภารกิจโดยตรง (การปะทะระยะใกล้ หรือปฏิบัติการรุกขนาดเล็ก) ซึ่งมักจะปะทะกับเป้าหมายที่มีค่าสูง[9]
ประวัติ
แก้ต้นกำเนิดของเดฟกรูอยู่ในหน่วยซีลทีมซิกซ์ ซึ่งเป็นหน่วยที่สร้างขึ้นจากผลพวงของปฏิบัติการกรงเล็บอินทรี[10][11][12] ในช่วงวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่านใน ค.ศ. 1979 ริชาร์ด มาร์ซินโก ได้เป็นหนึ่งในสองผู้แทนกองทัพเรือสหรัฐสำหรับกองกำลังเฉพาะกิจคณะเสนาธิการร่วมที่รู้จักกันในชื่อ "ชุดต่อต้านก่อการร้าย" (Terrorist Action Team, TAT) วัตถุประสงค์ของทีเอทีคือเพื่อพัฒนาแผนการปลดปล่อยตัวประกันชาวอเมริกันที่ถูกจับในประเทศอิหร่าน โดยหลังจากเกิดความย่อยยับที่ฐานเดสเสิร์ตวันในประเทศอิหร่านแล้ว กองทัพเรือก็ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายเต็มเวลา และมอบหมายให้มาร์ซินโกออกแบบและพัฒนา
มาร์ซินโกเป็นผู้บังคับบัญชาคนแรกของหน่วยใหม่นี้ ซึ่งในขณะนั้นมีทีมซีลเพียงสองทีมคือซีลทีมวัน และซีลทีมทู มาร์ซินโกตั้งชื่อหน่วยซีลทีมซิกซ์เพื่อสร้างความสับสนให้แก่หน่วยสืบราชการลับของสหภาพโซเวียตกับจำนวนทีมซีลที่มีอยู่จริง[12][13][14] แพลงก์โอนเนอร์ของหน่วย (สมาชิกผู้ก่อตั้ง) ได้รับการสัมภาษณ์และคัดเลือกโดยมาร์ซินโกจากทั่วชุมชนทีมทำลายใต้น้ำ/ซีล ซีลทีมซิกซ์ได้รับหน้าที่อย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1980 และโปรแกรมการฝึกการทำงานที่เข้มข้นและก้าวหน้า ทำให้หน่วยพร้อมปฏิบัติภารกิจในอีกหกเดือนต่อมา[14] ซีลทีมซิกซ์กลายเป็นหน่วยกู้ภัยตัวประกันและต่อต้านการก่อการร้ายชั้นนำของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งได้รับการเปรียบเทียบกับกองกำลังเดลตาชั้นยอดของกองทัพบกสหรัฐ[6][11] มาร์ซินโกตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยซีลทีมซิกซ์เป็นเวลาสามปีตั้งแต่ ค.ศ. 1980 ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1983 แทนที่จะเป็นผู้บังคับบัญชาสองปีในกองทัพเรือในเวลานั้น[12] ซีลทีมซิกซ์เริ่มต้นด้วยมือปืน 75 นาย อ้างอิงจากมาร์ซินโก เงินสมทบการฝึกอาวุธยุทธภัณฑ์ประจำปีนั้นสูงกว่าของเหล่านาวิกโยธินสหรัฐฯทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง][งานค้นคว้าต้นฉบับ?] หน่วยนี้มีทรัพยากรไม่จำกัดในการทำลายล้าง[15] ใน ค.ศ. 1984 มาร์ซินโกและสมาชิกหนึ่งโหลของซีลทีมซิกซ์จะก่อตั้ง "เรดเซลล์" (หรือที่เรียกว่าโอพี-06ดี) ซึ่งเป็นหน่วยพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อทดสอบความมั่นคงของการเข้าประจำตำแหน่งทางทหารของอเมริกา
ใน ค.ศ. 1987 ซีลทีมซิกซ์ถูกยุบ และมีการจัดตั้งหน่วยใหม่ที่ชื่อ "กองพัฒนาสงครามพิเศษทางเรือ" ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นผู้สืบทอดของซีลทีมซิกซ์[4][16][17] เหตุผลในการยุบนั้นมีหลายประการ[12] แต่ชื่อซีลทีมซิกซ์มักใช้ในการอ้างอิงถึงเดฟกรู
ข้อโต้เถียง
แก้ประวัติของหน่วยงานไม่เคยเกิดขึ้นโดยปราศจากเหตุการณ์การโต้เถียง เหตุการณ์หนึ่งดังกล่าวเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2010 ระหว่างความพยายามช่วยชีวิตลินดา นอร์โกรฟ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือชาวอังกฤษจากตอลิบานผู้ลักพาตัวในประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งเธอเสียชีวิตจากการบาดเจ็บที่เกิดจากระเบิดมือที่หลงทางของหน่วยซีล ส่วนใน ค.ศ. 2017 จ่าสิบตรี โลแกน เมลการ์ ซึ่งเป็นกำลังพลหน่วยรบพิเศษกองทัพบก ได้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บระหว่างเหตุการณ์เฮซซิงที่ฐานในประเทศมาลี ซึ่งส่งผลให้มีการดำเนินคดีทางอาญากับสมาชิกเดฟกรูสองนาย และสมาชิกปฏิบัติการพิเศษนาวิกโยธินสองนาย
หลังจากการสอบสวนสองปีโดยดิอินเทอร์เซปต์ มีการเปิดเผยรายงานใน ค.ศ. 2017 โดยกล่าวหาซีลทีมซิกซ์และผู้บังคับบัญชาในการใช้ในทางที่ผิด, ความผิดทางอาญา และการปกปิด การสอบสวนดังกล่าวรวมถึงการสัมภาษณ์สมาชิกและเจ้าหน้าที่จำนวนมากของหน่วย ซึ่งเล่าถึงการมีส่วนร่วมของกลุ่มในการใช้ในทางที่ผิด รวมถึงสิ่งที่สมาชิกบางคนถูกอธิบายว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม ซึ่งบรรดาอดีตสมาชิกหน่วยและเจ้าหน้าที่กล่าวว่าผู้บังคับบัญชายอมรับและปกปิดในการใช้ในทางที่ผิด[18][19]
การรับสมัคร, การคัดเลือก และการฝึก
แก้ในช่วงแรก ๆ ของการก่อซีลทีมซิกซ์นั้น มาร์ซินโกมีกรอบเวลาหกเดือนในการสร้างทีม ซึ่งหากเขาล้มเหลวในการทำเช่นนั้น โครงการดังกล่าวจะถูกยกเลิก ด้วยเหตุนี้ มาร์ซินโกจึงมีเวลาเพียงเล็กน้อยในการสร้างหลักสูตรการคัดเลือกที่เหมาะสมซึ่งเทียบเท่ากับกระบวนการของกองกำลังเดลตา เพื่อแก้ไขปัญหานี้ การรับสมัครได้รับการคัดเลือกหลังจากประเมินบันทึกกองทัพเรือ ตามด้วยการสัมภาษณ์รายบุคคล โดยแรกเริ่มเดิมที ผู้สมัครมาจากทีมซีลชายฝั่งตะวันออกกับชายฝั่งตะวันตก และทีมทำลายใต้น้ำเท่านั้น
แม้ว่าการฝึกและการรับสมัครส่วนใหญ่จะเป็นความลับทางราชการ แต่ก็มีข้อกำหนดและการฝึกออกกำลังบางอย่างที่ขณะนี้เป็นความรู้สาธารณะ ข้อกำหนดในการสมัครเดฟกรูระบุว่าผู้สมัครจะต้องเป็นเพศชาย อายุ 21 ปีขึ้นไป เคลื่อนกำลังประจำการรบอย่างน้อย 2 ครั้งในการมอบหมายงานก่อนหน้า และเหมาะสมสำหรับปกปิดความลับ ผู้สมัครมาจากทีมหน่วยซีลชายฝั่งตะวันออก/ตะวันตก, ทีมยานพาหนะจัดส่งซีล (SDV), ทีมปฏิบัติการพิเศษทางเรือ, ทีมหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (EOD) ของกองทัพเรือ และหน่วยเสนารักษ์ลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกพิเศษของกองทัพเรือ ผู้สมัครจะต้องได้รับการตรวจร่างกาย, การทดสอบทางจิตวิทยา จากนั้นจึงเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาว่าเหมาะสมสำหรับการมอบหมายงานให้กองพัฒนาสงครามพิเศษทางเรือหรือไม่[21] ผู้ที่ผ่านกระบวนการสรรหาที่เข้มงวดจะเข้าร่วมหลักสูตรการคัดเลือกและฝึกแปดเดือนกับแผนกฝึกของหน่วยที่เรียกว่า "กรีนทีม" ซึ่งมีอัตราการออกจากหลักสูตรการฝึกสูง ปกติประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยในหลักสูตรคัดเลือกหนึ่งหลักสูตรจากผู้สมัครเดิม 20 นาย มี 12 นายสำเร็จหลักสูตร[22] ผู้สมัครทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยผู้สอนของเดฟกรู และประเมินว่ามีความเหมาะสมที่จะเข้าร่วมหมู่คณะหรือไม่ ฮาวเวิร์ด อี. วอสดิน อดีตสมาชิกของซีลทีมซิกซ์กล่าวในการให้สัมภาษณ์ ค.ศ. 2011 ว่ามี 16 คนสมัครหลักสูตรคัดเลือกซีลทีมซิกซ์ และได้รับการยอมรับสองคน[23] ผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกจะกลับไปการมอบหมายก่อนหน้า และสามารถลองได้อีกในอนาคต[24]
เช่นเดียวกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษทุกหน่วยที่มีตารางการฝึกที่เข้มข้นและมีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจมีผู้บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตได้ โดยซีลทีมซิกซ์/เดฟกรูได้สูญเสียผู้ปฏิบัติงานหลายนายระหว่างการฝึก รวมถึงอุบัติเหตุร่มชูชีพและอุบัติเหตุการฝึกยุทธวิธีการต่อสู้ระยะใกล้ ซึ่งสันนิษฐานว่ากระบวนการประเมินของหน่วยสำหรับผู้สมัครใหม่ที่มีศักยภาพ จะแตกต่างจากที่ผู้ปฏิบัติการหน่วยซีลมีประสบการณ์ในอาชีพก่อนหน้า และการฝึกส่วนใหญ่จะทดสอบความสามารถทางจิตใจของผู้สมัครมากกว่าสภาพร่างกายของเขา ผู้สมัครทุกคนที่ได้รับการคัดเลือกจะสำเร็จขั้นตอนการฝึกอบรมขั้นสูงของตน ทั้งการฝึกการทำลายล้างใต้น้ำขั้นพื้นฐาน/ซีล, การฝึกพลประจำยานลำน้ำสงครามพิเศษ, การฝึกหน่วยเสนารักษ์ลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบกพิเศษ, การฝึกอีโอดีของกองทัพเรือ หรือโรงเรียนสอนประดาน้ำของกองทัพเรือ
ผู้สมัครจะต้องผ่านหลักสูตรการฝึกขั้นสูงที่หลากหลายซึ่งนำโดยผู้สอนที่เป็นพลเรือนหรือทหาร สิ่งเหล่านี้รวมถึงการปีนเขาแบบอิสระ, การสงครามทางบก, เทคนิคการต่อสู้ด้วยมือเปล่าขั้นสูง, การขับขี่เชิงรับและเชิงรุกขั้นสูง, การประดาน้ำขั้นสูง, การสื่อสาร ตลอดจนการฝึกการเอาตัวรอด, การหลบหลีกข้าศึก, การต่อต้าน และการหนีออกจากแนวข้าศึก ซึ่งผู้สมัครจะได้รับการสอนปลดล็อกกุญแจรถยนต์, ประตู และตู้นิรภัย ผู้สมัครทุกคนต้องปฏิบัติการในระดับสูงสุดระหว่างการคัดเลือก และผู้สอนประจำหน่วยจะประเมินผู้สมัครในระหว่างกระบวนการฝึก ผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในกองพัฒนายุทธวิธีและประเมินผล ซึ่งต่างจากทีมซีลทั่วไป ผู้ปฏิบัติการซีลทีมซิกซ์สามารถเข้าร่วมหลักสูตรทางทหารอื่น ๆ เกือบทั้งหมดเพื่อรับการฝึกเพิ่มเติม โดยขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของหน่วย
เช่นเดียวกับกองกำลังเดลตา การฝึกการเป็นนักแม่นปืนด้วยกระสุนจริงทั้งในการต่อสู้ระยะไกลและระยะประชิดนั้นกระทำโดยนักเรียนคนอื่น ๆ นั้นใช้บทบาทเป็นตัวประกัน เพื่อช่วยสร้างความไว้วางใจระหว่างกันของผู้สมัคร
ทั้งนี้ เดฟกรูฝึกและปฏิบัติการร่วมกับหน่วยกองกำลังพิเศษจากประเทศอื่น ๆ เช่น หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ และหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางเรือของสหราชอาณาจักร, กรมปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ และกรมคอมมานโดที่ 2 ของออสเตรเลีย, หน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการของอิสราเอล และกองกำลังเฉพาะกิจร่วมที่ 2 ของแคนาดา[25][26][27]
โครงสร้าง
แก้เดฟกรูแบ่งออกเป็นกองทหารสายรหัสสี ได้แก่:[28]
- เรดสควอดรอน (จู่โจม)
- บลูสควอดรอน (จู่โจม)
- โกลด์สควอดรอน (จู่โจม)
- ซิลเวอร์สควอดรอน (จู่โจม)
- แบล็กสควอดรอน (การข่าวกรอง, การลาดตระเวน และการเฝ้าตรวจ)
- เกรย์สควอดรอน (ทีมเคลื่อนที่ การขนส่ง/นักประดาน้ำ, หน่วยตอบโต้เร็ว)
- กรีนทีม (การคัดเลือก/การฝึก)[29]
แต่ละกองทหารจู่โจมซึ่งมักจะนำโดยนาวาโท (O-5) แบ่งออกเป็นสามกองทหารของหน่วยซีลที่เข่าร่วม ซึ่งมักเรียกว่าผู้จู่โจม กองทหารแต่ละกองเหล่านี้ได้รับคำสั่งจากนายทหารชั้นสัญญาบัตรอาวุโส ซึ่งมักจะเป็นนาวาตรี (O-4) หัวหน้ากองทหารยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้บังคับกองทหาร และเป็นหน่วยซีลที่เข่าร่วมสูงสุดในกองทหาร โดยปกติแล้วจะเป็นพันจ่าเอก (E-9) กองทหารเดฟกรูแบ่งออกเป็นทีมที่เล็กกว่า โดยกองทหารแต่ละกองมีสมาชิกประมาณ 16 นาย และนำโดยนายทหารชั้นสัญญาบัตรอาวุโส รวมทั้งหัวหน้ากองทหาร[30] ทีมจู่โจมแต่ละทีมนำโดยหน่วยซีลอาวุโส ซึ่งมักจะเป็นพันจ่าโท (E-8) และบางครั้งเป็นพันจ่าตรี (E-7) ส่วนที่เหลือของทีมเหล่านี้เต็มไปด้วยพันจ่าตรี (E-7), จ่าเอก (E-6), และจ่าโท (E-5) โดยสมาชิกแต่ละนายที่มีบทบาทตามลำดับ
แต่ละกองทหารจู่โจมก็มีชื่อเล่นเฉพาะเช่นกัน ตัวอย่าง ได้แก่ โกลด์สควอดรอนส์ครูเซเดอส์, เรดสควอดรอนส์อินเดียนส์, บลูสควอดรอนส์ไพเรตส์, ซิลเวอร์สควอดรอนส์เฮดฮันเตอส์ และเกรย์สควอดรอนส์ไวกิงส์[28][31][32] ทั้งนี้ กองทหารจู่โจมได้รับการสนับสนุนจากกำลังพลสนับสนุนที่หลากหลาย รวมถึงนักเข้ารหัสลับ, นักสื่อสาร, ช่างเทคนิคของหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด, คนจูงสุนัข และบางครั้งเป็นนักขับเครื่องบินจากฝูงบินยุทธวิธีพิเศษที่ 24 ของกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของกองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ กองทัพอากาศ
ตามรายงานของสำนักงานตรวจสอบอิสระของรัฐสภาเกี่ยวกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ในปีงบประมาณ 2014 เดฟกรูมีตำแหน่งที่อนุมัติทั้งหมด 1,787 ตำแหน่ง โดย 1,342 เป็นทหาร และ 445 เป็นพลเรือน[33][34]
อาวุธปืน
แก้ต่อไปนี้คือรายชื่ออาวุธปืนที่เดฟกรูใช้ แต่เนื่องจากลักษณะที่เป็นความลับของหน่วย รายการนี้จึงไม่ครอบคลุมทั้งหมด
- คาร์บิน
- โนเวสกี 10.5 นิ้ว เอ็นเอสอาร์ ขนาด 5.56×45 มม.[35]
- เฮคเลอร์อุนด์ค็อค ฮาคา416 ขนาด 5.56×45 มม. (ก่อนหน้านี้ปืนไรเฟิลเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ปฏิบัติงานและมักจะดัดแปลง ทั้งอย่างมีนัยสำคัญและหลากหลายตามความชอบส่วนตัว ด้วยอุปกรณ์เสริมของโซปมอด เช่น เครื่องบังคับเสียง, พานท้ายปืน, กล้องเล็ง, เลเซอร์, ไฟฉายติดปืน และด้ามปืน)[ต้องการอ้างอิง]
- เฮคเลอร์อุนด์ค็อค เอ็มเพ7 ขนาด 4.6×30 มม.
- โคลต์ เอ็มเค 18 ซีคิวบีอาร์ ขนาด 5.56×45 มม.
- เอ็ม4เอ1 (ผู้ผลิตหลายราย) ขนาด 5.56×45 มม. (ไม่ได้ใช้กันทั่วไปแต่ยังอยู่ในรายการสิ่งของ และปรับแต่งด้วยชิ้นโซปมอดเช่นกัน)
- ปืนไรเฟิลซุ่มยิงและต่อต้านยุทโธปกรณ์
- โคลต์ เอ็มเค 12 เอสพีอาร์ ขนาด 5.56×45 มม.
- ไนส์อาร์มาเมนต์คัมพานี เอสอาร์-25 ขนาด 7.62×51 มม.
- เรมิงตัน โมเดล 700 "เอ็มเค 13 มอด. 5" .300 วินเชสเตอร์ แมกนัม
- แมกมิลแลนไฟร์อามส์ แทก-338 .338 ลาปัว
- แมกมิลแลน แทก-50 "เอ็มเค 15 มอด. 0 .50 บีเอ็มจี
- บาร์เรตต์ เอ็ม107เอ1 .50 บีเอ็มจี
- อาวุธอื่นที่พกติดข้างตัว
- เฮคแลร์อุนด์คอค ฮาคา45 "เอ็มเค 24 มอด. 0" .45 เอซีพี
- ซิก ซาวเออร์ พี226 "พี226อาร์ เอ็มเค 25" ขนาด 9×19 มม.
- กล็อก 19 ขนาด 9×19 มม.[36]
- ซิก ซาวเออร์ พี320 ขนาด 9×19 มม.[ต้องการอ้างอิง]
ผู้บัญชาการ
แก้ผู้บัญชาการ | ระดับ | วาระผู้บัญชาการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
(ซีลทีมซิกซ์)
| |||
ริชาร์ด มาร์ซินโก | ทีมทำลายใต้น้ำ/ทดแทน คลาส 26 | ค.ศ. 1980 ถึง 1983 | [37] |
รอเบิร์ต เอ. กอร์มลี | ทีมทำลายใต้น้ำ/ทดแทน คลาส 31 | ค.ศ. 1983 ถึง 1986 | [38] |
ธอมัส อี. เมอร์ฟี | ทีมทำลายใต้น้ำ/ทดแทน คลาส 35 | ค.ศ. 1986 ถึง 1987[การพิสูจน์ยืนยันล้มเหลว] | [39][ต้องการอ้างอิงเพิ่มเติม] |
(เดฟกรู)
| |||
ริชาร์ด วูเลิร์ด | ทีมทำลายใต้น้ำ/ทดแทน คลาส 38 | ค.ศ. 1987 ถึง 1990[การพิสูจน์ยืนยันล้มเหลว] | [40][ต้องการอ้างอิงเพิ่มเติม] |
รอนัลด์ อี. ยอว์ | ทีมทำลายใต้น้ำ/ทดแทน คลาส 37 | ค.ศ. 1990 ถึง 1992 | [41] |
ธอมัส จี. โมเซอร์ | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 55 | ค.ศ. 1992 ถึง 1994[การพิสูจน์ยืนยันล้มเหลว] | [42] |
เอริก ที. โอลสัน | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 76 | ค.ศ. 1994 ถึง 1997[การพิสูจน์ยืนยันล้มเหลว] | [43][ต้องการอ้างอิงเพิ่มเติม] |
อัลเบิร์ต เอ็ม. แคลแลนด์ ที่สาม | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 82 | ค.ศ. 1997 ถึง 1999 | [44] |
โจเซฟ ดี. เคอร์แนน | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 117 | ค.ศ. 1999 ถึง 2003 | [44] |
เอ็ดเวิร์ด จี. วินเทอส์ ที่สาม | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 112 | ค.ศ. 2003 ถึง 2005 | [45] |
ไบรอัน แอล. ลอซีย์ | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 126 | ค.ศ. 2005 ถึง 2007 | [46] |
สกอต พี. มัวร์ | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 126 | ค.ศ. 2007 ถึง 2009 | [47][48][49] |
เพร์รี เอฟ. แวน ฮูเซอร์ | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 137 | ค.ศ. 2009 ถึง 2011 | [50][51] |
ฮิวจ์ ดับเบิลยู. ฮาเวิร์ด ที่สาม | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 172 | ค.ศ. 2011 ถึง 2013 | [52] |
แฟรงก์ เอ็ม. แบรดลีย์ | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 179 | ค.ศ. 2013[การพิสูจน์ยืนยันล้มเหลว] ถึง 2015 | [53][54][55][ต้องการอ้างอิงเพิ่มเติม] |
เจโรมี บี. วิลเลียมส์ | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 191 | ค.ศ. 2015 ถึง 2017 | [56][57] |
แมทธิว เจ. เบินส์ | ทำลายใต้น้ำพื้นฐาน/ซีล คลาส 158 | ค.ศ. 2018 ถึง 2020 | [58] |
ทหารผู้บัญชาการอันดับแรกของหน่วยนี้คือนาวาโท โดยหลังจากที่เขาออกไป ตำแหน่งของเขาก็เปลี่ยนเป็นนาวาเอก และยังคงเป็นเช่นนั้นจนถึงปัจจุบัน
หน้าที่และความรับผิดชอบ
แก้ภารกิจเต็มรูปแบบของเดฟกรูเป็นความลับทางราชการ แต่คิดว่าจะรวมถึงการชิงโจมตีก่อน, ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายในเชิงรุก, การต่อต้านการแพร่ขยายอาวุธ (ความพยายามในการป้องกันการแพร่กระจายของอาวุธธรรมดาและอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง) รวมถึงการกำจัดหรือการเอากลับคืนเป้าหมายที่มีค่าสูง (HVT) จากประเทศที่มุ่งร้าย[59][60] เดฟกรูเป็นหนึ่งในหน่วยภารกิจพิเศษของสหรัฐที่อนุญาตให้ใช้ปฏิบัติการชิงโจมตีก่อนกับผู้ก่อการร้ายและยุทโธปกรณ์ของพวกเขา[61]
ดูเพิ่ม
แก้- ชุดปฏิบัติการรบพิเศษ – เดลตา ที่ 1 (สหรัฐ)
- ฝูงบินยุทธวิธีพิเศษที่ 24 (สหรัฐ)
- กลุ่มอัลฟา และวึมเปล (รัสเซีย)
หมายเหตุ
แก้- ↑ "SEAL Team 6 by the Numbers – Foreign Policy". 28 กรกฎาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2017.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ [1]
- ↑ Brook, Tom Vanden (16 May 2016). "Navy SEALs' secret medals reveal heroism over last 15 years". Navy Times. สืบค้นเมื่อ 1 January 2017.
- ↑ 4.0 4.1 von Rosenbach, Alexander (May 4, 2011). "Devgru: Bin Laden's ultimate nemesis". IHS Jane's Defense & Security Intelligence & Analysis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2011. สืบค้นเมื่อ June 18, 2013.
Devgru was established in 1987 as the successor to SEAL Team 6 (although it is still colloquially known by this name). The unit serves as the US Navy's dedicated counter-terrorism unit and is believed to consist of about 200 personnel.
- ↑ 5.0 5.1 Naylor, Sean. Relentless Strike. Chapter 4.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 Emerson, Steven (13 November 1988). "Stymied Warriors". The New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 13 March 2008.
- ↑ https://nationalinterest.org/blog/buzz/us-armys-delta-force-how-secret-group-deadly-soldiers-came-be-55057
- ↑ "In high demand, Air Force commandos must find new ways to cope with stress of duty". The Gaffney Ledger. Gaffney, South Carolina. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-05-04.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
- ↑ Fallows, James (13 December 1981). "Iran from five American viewpoints". The New York Times.
- ↑ 11.0 11.1 Halloran, Richard (26 November 1986). "U.S. moving to expand unconventional forces". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 May 2011.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Marcinko, Richard (1992). Rogue Warrior. New York: Pocket Books. ISBN 978-0-671-79593-1.
- ↑ Pfarrer, Chuck (2011). SEAL Target Geronimo: The Inside Story of the Mission to Kill Osama Bin Laden. Macmillan. p. 178. ISBN 978-1-4299-6025-0.
- ↑ 14.0 14.1 Gerth, Jeff; Philip Taubman (8 June 1984). "U.S. military creates secret units for use in sensitive tasks abroad". The New York Times.
- ↑ Wasdin, Howard (9 May 2011). "'SEAL Team Six' And Other Elite Squads Expanding". NPR. สืบค้นเมื่อ 19 May 2011.
- ↑ "Naval Special Warfare Development Group (DEVGRU)". Global Security. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
- ↑ Ambiner, Marc (10 October 2012). "Delta Force Gets a Name Change". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013.
- ↑ Cole, Matthew (2019-01-10). "The Crimes of SEAL Team 6". The Intercept (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-23.
- ↑ staff, Navy Times (2019-03-27). "War crimes case expands to SEAL Team 6". Navy Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-23.
- ↑ Abhan, Courtney Messman (30 July 2010). "Special Warfare Development Group seeks Sailors" (PDF). Naval Station Everett Public Affairs. Northwest Navigator. p. 3. สืบค้นเมื่อ 14 September 2012.
NSWDG is located in Virginia Beach and is a type two sea duty cno priority one major command. The command is an elite counter-terrorism unit that conducts research, and develops, tests, and evaluates current and emerging technology. This technology is related to special operations tactics and joint warfare to improve Special Forces warfighting capabilities. ... While at NSWDG, support personnel could have opportunities to earn many special qualifications, their expeditionary warfare specialist (EXW) pin, and Combat Service Support and Combat Support Naval Education Codes (NEC). Special qualifications include parachuting and fast roping, among many others. NSWDG support personnel receive special duty pay and have some of the highest promotion rates in the Navy.
- ↑ Anderson Cooper (3 May 2011). "'This is their type of op,' ex-SEAL says". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ 2021-11-01.
- ↑ Pfarrer, Chuck (2004). Warrior Soul: The Memoir of a Navy Seal. New York: Random House. pp. 325–26. ISBN 978-0-89141-863-4.
In one year, the operators of SEAL Six fire more bullets than entire USMC.
- ↑ "The iron will of Seal Team 6". CBS News. 6 May 2011. สืบค้นเมื่อ 19 May 2011.
- ↑ "LCV Cities Tour: Interview with Howard Wasdin 'SEAL Team Six: Memoirs of an Elite Navy SEAL Sniper'". Global-report.org. 22 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-08. สืบค้นเมื่อ 7 January 2012.
- ↑ Atlamazoglou, Stavros (19 October 2021). "AUKUS security pact follows decades of special ops cooperation". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
- ↑ Atlamazoglou, Stavros (3 February 2020). "Canadian soldier serving in a Tier 1 SOF unit kicked out of the military for theft". SOFREP (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
- ↑ McAlister, Mitchell (2015-02-26). "Australia's 2nd Commando Regiment and the DEA". SOFREP (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
- ↑ 28.0 28.1 Pfarrer, Chuck (2004). Warrior Soul: The Memoir of a Navy Seal. New York: Random House. pp. 325–26. ISBN 978-0-89141-863-4.
editions:PanKDPddlTQC.
- ↑ Owen, Mark (2012). No Easy Day. Dutton Adult. p. 11. ISBN 9780525953722.
- ↑ Owen, Mark (2012). No Easy Day. Dutton Adult. p. 37. ISBN 9780525953722.
- ↑ Combs, Cindy C; Slann, Martin W. (2007). Encyclopedia of Terrorism. Infobase Publishing. p. 289. ISBN 978-0-8160-6277-5.
- ↑ Blehm, Eric (2013). Fearless: The Undaunted Courage and Ultimate Sacrifice of Navy SEAL Team SIX Operator Adam Brown. WaterBrook Press. ISBN 9780307730701.
- ↑ "SPECIAL OPERATIONS FORCES Opportunities Exist to Improve Transparency of Funding and Assess Potential to Lessen Some Deployments" (PDF). GAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 May 2017. สืบค้นเมื่อ 31 May 2017.
- ↑ "SEAL Team 6 by the Numbers". Foreign Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-26. สืบค้นเมื่อ 10 June 2017.
- ↑ "About Those Custom Rifles Navy SEALs Were Seen Carrying On A Recent Training Mission". The War Zone. 10 May 2021.
- ↑ "Sig Sauer vs. Glock: Why the Navy SEALs Dumped the P226 for the Glock 19". nationalinterest.org. 12 February 2019.
- ↑ "A True Hero – Richard Marcinko". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2020. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
- ↑ Gormly 1999, pp. 183, 253
- ↑ Mann, Don (2011). Inside SEAL Team Six: My Life and Missions with America's Elite Warriors. Little, Brown and Company. p. 143. ISBN 978-0-316-20431-6.
- ↑ Kelly, Orr (1995). Never Fight Fair!. Presidio. p. 276. ISBN 0-89141-519-X.
- ↑ ""Finished his career as CO of SEAL Team 6 ('90–92)"". reddit.com. 7 September 2017.
- ↑ "Lessons Learned from the Fukushima Nuclear Accident for Improving Safety and Security of U.S. Nuclear Plants". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2020. สืบค้นเมื่อ 5 February 2019.
- ↑ Butler, Frank K.; John H. Hagmann; David T. Richards (2009). "Tactical Management of Urban Warfare Casualties in Special Operations". Military Medicine. Parabellum Concepts. 165 (4 Suppl): 6. PMID 10803010.
- ↑ 44.0 44.1 Naylor, Sean (2006). Not a Good Day to Die: The Untold Story of Operation Anaconda. Penguin. p. 253. ISBN 978-0-425-20787-1.
- ↑ "Rear Admiral Edward G. Winters, III". United States Navy. 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 13 March 2021.
- ↑ "Rear Admiral Brian L. Losey". United States Navy. 18 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2015. สืบค้นเมื่อ 13 March 2021.
- ↑ FOIA request Scott P Moore, USN (ret) Navy military record Bureau of Naval Personnel (PDF), November 8, 2018
- ↑ "Testimony – Michigan House of Representatives" (PDF). house.mi.gov. 2 October 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-26. สืบค้นเมื่อ 29 July 2021.
"The deaths of SOCS Marcum and SOC Freiwald are tremendous losses for Naval Special Warfare and the United States," Capt. Scott Moore, commanding officer of Naval Special Warfare Development Group, said in a statement. ("2 SEALs killed in Afghanistan fighting". – Associated Press, 15 September 2008)
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "2 SEALs killed in Afghanistan fighting". Navy Times. Associated Press. 15 September 2008. สืบค้นเมื่อ 2015-10-11.
"The deaths of SOCS Marcum and SOC Freiwald are tremendous losses for Naval Special Warfare and the United States," Capt. Scott Moore, commanding officer of Naval Special Warfare Development Group, said in a statement.
[ลิงก์เสีย] - ↑ "Pete Van Hooser". xecompany.us.
- ↑ "Leader in Residence Perry F. Vanhooser". VMI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-10-11.
- ↑ "Rear Admiral Hugh W. Howard III Commander, Naval Special Warfare Command". navy.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2020.
- ↑ "Rear Admiral Frank M. Bradley Commander, Special Operations Command Central". navy.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "Rear-Admiral-Mitchell-Bradley-Takes-Reins-of-U-S-Special-Operations-Command-Central". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 2021-05-13.
- ↑ "US Navy Seal reflects on his NPS Physics degree". nps.edu. สืบค้นเมื่อ 29 July 2021.
- ↑ "Rear Admiral Jeromy B. Williams". navy.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-29.
- ↑ "Captain Jeromy Williams". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-18. สืบค้นเมื่อ 2019-06-13.
- ↑ "Flag Assignments". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-12-13.
- ↑ Shanker, Thom; Risen, James (12 August 2002). "Rumsfeld weighs new covert acts by military units". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 May 2011.
- ↑ "Frequently Asked Questions". LT Michael P. Murphy USN. United States Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 เมษายน 2008. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2008.
- ↑ U.S. Special Ops: America's Elite Forces in the 21st Century, Fred J. Pushies, MBI Publishing Company, 2003.
อ้างอิง
แก้- Gormly, Robert A. (1999). Combat Swimmer: Memoirs of a Navy SEAL. New York: Penguin Group. ISBN 978-0-451-19302-5.
- MacPherson, Malcolm (2006). Roberts Ridge: A Story of Courage and Sacrifice on Takur Ghar Mountain, Afghanistan. New York: Bantam Dell. ISBN 978-0-553-58680-0.
- Shipler, David K.; Halloran, Richard (26 November 1985). "Terror: Americans as targets". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 May 2011.