อรุณี นันทิวาส (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499) ชื่อเล่น ตุ๊ก เป็นนักพากย์หญิงชาวไทย เคยพากย์เสียงตัวละครอนิเมะแก่บริษัทหลายแห่ง เช่น โมเดิร์นไนน์ทีวี, ไทก้า, เด็กซ์ และอามีโก้ เป็นอาทิ เธอได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขาผู้บรรยายหญิงดีเด่นจากอนิเมะเรื่อง ฮาเงมารุ เจ้าหนูจอมแก่น[1] และผู้พากย์ดีเด่น จากอนิเมะเรื่อง เซเลอร์มูน คริสตัล[2] และมีชื่อเสียงจากการพากย์ตัวละครอนิเมะชั้นนำ เช่น โฮเนะกาว่า ซึเนะโอะ จาก โดราเอมอน, เอโดงาว่า โคนัน จาก ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน, โทนี่ โทนี่ ช็อปเปอร์ และนิโค โรบิน จาก วันพีซ เป็นต้น[3][4]

อรุณี นันทิวาส
เกิด21 มิถุนายน พ.ศ. 2499 (68 ปี)
อำเภอหนองจอก จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
อาชีพนักพากย์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2525–ปัจจุบัน
ผลงานเด่น
โทรทัศน์ทองคำผู้บรรยายหญิงดีเด่นฮาเงมารุ เจ้าหนูจอมแก่น (2538)
ผู้พากย์ดีเด่นเซเลอร์มูน คริสตัล (2559)

อรุณียุติบทบาทการพากย์ด้วยเหตุผลส่วนตัว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564[3][5] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 อรุณีได้กลับมาพากย์อีกครั้งในเรื่อง วันพีซ ฟิล์ม เรด และ โดราเอมอน ตอน สงครามอวกาศจิ๋วของโนบิตะ 2021

ประวัติ

แก้

อรุณีเกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2499[6] เป็นชาวเขตหนองจอก กรุงเทพมหานครมาโดยกำเนิด สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ

แรกเริ่มอรุณีเข้าทำงานที่แผนกฝ่ายผลิตรายการโทรทัศน์ของช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ใน พ.ศ. 2523 และเข้าเป็นผู้ประกาศของสถานี ทำหน้าที่อ่านสไลด์ ครั้น พ.ศ. 2525 จึงมีโอกาสเข้าไปทำงานในฝ่ายพากย์การ์ตูน เธอได้ร่วมงานกับสมจินต์ ธรรมทัต กำธร สุวรรณปิยะศิริ ศุภมิตร ศาตะจันทร์ และดาเรศ ศาตะจันทร์ ซึ่งล้วนเป็นนักพากย์ผู้มีชื่อเสียง[4] โดยในขณะนั้นทางช่องมีฝ่ายพากย์การ์ตูนอยู่แล้ว ได้แก่ นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์ (หรือน้าต๋อยเซมเบ้) ฉันทนา ธาราจันทร์ และศันสนีย์ วัฒนานุกูล โดยนิรันดร์เป็นผู้สอนและให้คำแนะนำในการพากย์ เพราะอรุณีมีเสียงใหญ่กว้างและไม่หวานแบบนางเอก แต่เหมาะกับบทเด็กผู้ชายแก่นแก้ว[4] และมีชื่อเสียงจากการรวมทีมพากย์เรื่อง โดราเอมอน โดยมีฉันทนา ธาราจันทร์ พากย์เป็นโดราเอมอน ศันสนีย์ วัฒนานุกูล พากย์เป็นโนบิตะ ศรีอาภา เรือนนาค พากย์เป็นชิซูกะ นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์ พากย์เป็นไจแอนท์ และอรุณี นันทิวาส พากย์เป็นซึเนะโอะ จนเป็นภาพจำ[4] ระหว่างนั้นก็ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2530 จึงย้ายไปอยู่ฝ่ายเซนเซอร์ของสถานี และทำงานพากย์ควบคู่ไปด้วย แม้หลังเกษียณไปแล้วเธอก็ยังพากย์ให้กับช่อง 9 หรือปัจจุบันคือช่องเอ็มคอตเอชดี[4]

อรุณีมีชื่อเสียงจากการพากย์อนิเมะเรื่องต่าง ๆ เช่น ฮาเงมารุ เจ้าหนูจอมแก่น จนได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ, กอร์น จากเรื่อง ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์, เคโรโระ จากเรื่อง เคโรโระ ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก (ปี 1–5), เอโดงาว่า โคนัน และซึซึกิ โซโนโกะ จากเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน, โทนี่ โทนี่ ช็อปเปอร์ และนิโค โรบิน จากเรื่อง วันพีซ[3][4] โดยเฉพาะโคนัน นับเป็นผลงานสร้างชื่อของเธอ เธอกล่าวเกี่ยวกับการพากย์โคนันไว้ว่า "เราได้รับโอกาสให้ได้พากย์ตัวละครตัวนี้ตั้งแต่ตัวที่ 1 เลย เราจะได้พากย์ตั้งแต่ตอนแรกเลย ก็เป็นปีที่ 14 แล้ว และยังไม่จบสักที พระเอกก็ยังตัวเล็กเหมือนเดิม [...] ซึ่งโคนันเป็นการ์ตูนที่พากย์ค่อนข้างยากหน่อย [...] น้าตุ๊กได้มีโอกาสได้คุยกับคนแปลเอง ยังบอกเลยว่า แปลยาก มันไม่เหมือนการ์ตูนรื่นเริงทั่วไป เล่นอะไรก็ได้สนุกสนาน ให้มันเป็นเหตุเป็นผล" และ "...แต่นี่บทพูดจะเยอะมาก แล้วคนพากย์ก็ต้องพากย์ให้เป็นเหตุเป็นผลตามบทด้วย แล้วคนแปลก็แปลยาก"[4] โดยทีมพากย์ เซเลอร์มูน คริสตัล ได้แก่ นิรันดร์ บุณยรัตพันธุ์ วิภาดา จตุยศพร ศรีอาภา เรือนนาค อรุณี นันทิวาส ฉันทนา ธาราจันทร์ และศันสนีย์ วัฒนานุกูล ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้พากย์ดีเด่น เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[2] นอกจากงานพากย์อนิเมะและโทกูซัตสึแล้ว ยังมีงานพากย์ภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (2550) และ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 (2553) รับบทโดโลเรส อัมบริดจ์[7]

อรุณีให้สัมภาษณ์กับ ผู้จัดการออนไลน์ เมื่อ พ.ศ. 2558 ว่าส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัด อาทิตย์หนึ่งมาพากย์ราว 2-3 วัน และจะรับงานพากย์ให้น้อยลง[4] ต่อมา พ.ศ. 2561 อรุณีลดงานพากย์อนิเมะลง เหลือการพากย์อนิเมะเพียงสามเรื่อง คือ โดราเอมอน, ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน และ วันพีซ[5] และวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2564 อรุณียุติบทบาทการพากย์ตัวละครอนิเมะทุกตัว เนื่องด้วยเหตุผลส่วนตัว[3]

พ.ศ. 2565 อรุณีกลับมาให้เสียงซึเนะโอะใน โดราเอมอน ตอน สงครามอวกาศจิ๋วของโนบิตะ 2021[8]

ผู้ที่พากย์เสียงแทน

แก้
นักพากย์ บทพากย์ เรื่อง หมายเหตุ
วิภาดา จตุยศพร ซง โกคู (วัยเด็ก) ดราก้อนบอล เวอร์ชันลิขสิทธิ์ใหม่ พากย์เฉพาะภาพยนตร์, ตอนพิเศษ, ฉากแฟลชแบ็ค, ดราก้อนบอล GT
แพตรี ปราณีตพลกรัง เคโรโระ เคโรโระ ขบวนการอ๊บอ๊บป่วนโลก พากย์ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 เป็นต้นไป
สังวาลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ลักกี้ทามะ เทพจิ๋วฝึกหัด แก๊งป่วนโคโคทามะ พากย์ช่วงครึ่งหลัง
ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ โทนี่ โทนี่ ช็อปเปอร์
นิโค โรบิน
บิ๊กมัม
วันพีซ เฉพาะในทีวีซีรีส์
พากย์แทนตั้งแต่บทเกาะโฮลเค้ก (บิ๊กมัม)
พากย์เสียงในช่วงบทวาโนะคุนิตั้งแต่ตอนที่ 980 เป็นต้นไป (ช็อปเปอร์ และ โรบิน)
นภัสวรรณ์ วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา โทนี่ โทนี่ ช็อปเปอร์
นิโค โรบิน
พากย์เสียงในช่วงบทวาโนะคุนิตั้งแต่ตอนที่ 892 - 979 (เวอร์ชัน IQIYi)
เอโดกาวะ โคนัน
ซึซึกิ โซโนโกะ
คิซากิ เอริ
มิอิเกะ นาเอโกะ
มิซึนาชิ เรย์นะ
โอวกะ โมมิจิ
ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน พากย์เฉพาะทีวีซีรีส์ปีที่ 20 ตั้งแต่ตอนที่ 1019 เป็นต้นไป[3] และภาพยนตร์ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: เจ้าสาวฮาโลวีน

ผลงาน

แก้

การ์ตูนญี่ปุ่น

แก้
  • ไยบะ ซามูไรรุ่นจิ๋ว (ช่อง 9) รับบทเป็น คุโรงาเนะ ไยบะ , คางุยะ (ตั้งแต่ตอนที่ 34-38 [อวสาน] แทน พิชยา บุญสม) อีพงษ์นี
  • กันดั้มวิง (ไทก้า) รับบทเป็น ดูโอ แม็กซ์เวลล์, โดโรธี, เลดี้ อัน
  • กันดั้มซี้ด (เด็กซ์) รับบทเป็น นาทาล บาจิรูล, เฟรย์ ออล์สตาร์, อิซาค จูล, เอริกา ซิมมอนส์
  • กันดั้มซี้ดเดสทินี (เด็กซ์) รับบทเป็น ลูน่ามาเรีย ฮอว์ค, ทาเรีย กราดีส, เอริกา ซิมมอนส์, ฮีลด้า ฮาร์เคน, มายุ อาสึกะ
  • กัชเบล (ช่อง 9) รับบทเป็น กัชเบล, โซฟิส
  • ดิจิมอนเซฟเวอร์ส (ช่อง 9) รับบทเป็น คุโรซะกิ มิกิ, ไดมง ชิกะ, คุณย่าของโทม่า, โกลึมอน, กาโอมอน, ยูคิดารุมอน, ดุ๊กมอน, อิกดราชิล
  • โปเกมอน (ช่อง 9) รับบทเป็น ฮารุกะ, คุณจุนซ่า, คุณแม่ของซาโตชิ, ไอริส, และเสียงโปเกม่อนบางตัว
  • แฟรี่เทล ศึกจอมเวทอภินิหาร (ช่อง 9) รับบทเป็น เอลซ่า สการ์เล็ต, เรวี่ แม็คการ์เด้น,โรมิโอ, อะควอเรียส, คาน่า อัลเบโรน่า, บิสก้า มูแลง, นัตสึ ดรากูเนลล์ (ตอนเด็ก), คาเรน ลินลิก้า, ชิมอน (ตอนเด็ก)
  • ร็อคแมนเอ็กเซ่ (ช่อง 9) รับบทเป็น โรล, อายาโนะโคจิ ไยโตะ, อากิจัง, เจ้าหญิงไพรด์
  • แขนกล คนแปรธาตุ (ไทก้า) รับบทเป็น ริซ่า ฮอว์คอาย, พีนาโกะ ร็อกเบล, โรเซ่ โทมัส, เชสก้า, อิสึมิ เคอร์ติส, เอนวี่
  • แขนกล คนแปรธาตุ บราเธอร์ฮู้ด (โรส) รับบทเป็น ริซ่า ฮอว์คอาย, พีนาโกะ ร็อกเบล, โรเซ่ โทมัส, เชสก้า, โอลิเวียร์ มิร่า อาร์มสตรอง, อิสึมิ เคอร์ติส, เอนวี่
  • ดิจิมอนเซฟเวอร์ส (ไทก้า) รับบทเป็น ชิโรคาวะ เมงุมิ, ปิโยมอน, ลาลามอน และร่างพัฒนาต่อเนื่อง, ไดมง ซายูริ, นานามิ / ไบโอโคลท์มอน / ไบโอโลตัสมอน, ดุ๊กมอน, อิกดราชิล
  • มิโกะ คนทรงหุ่นเทวะ (ไทก้า) รับบทเป็น ซิสเตอร์ มิยาโกะ (โอโรจิ เศียรที่ 2), ซาโอโตเมะ มาโกโตะ, โองามิ โซมะ (วัยเด็ก)
  • อีวานเกเลียน (ไทก้า) รับบทเป็น โซริว อาสึกะ แลงลีย์ , อากางิ ริตสึโกะ
  • ดราก้อนบอล (เด็กซ์) รับบทเป็น ซุน โกคูตอนเด็ก, ตัวประกอบหลักทุกตอน
  • Girl und Panzer (เด็กซ์) รับบทเป็น เรเซ มาโกะ, อามิ โจโนะ
  • วันพีซ (เด็กซ์) รับบทเป็น โทนี่ ช็อปเปอร์, นิโค โรบิน, ตัวประกอบหลัก
  • โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช (เด็กซ์) รับบทเป็น คาลเลน สแทดท์เฟลด์ ,โคเนเลีย ลี บริทานเนีย, ลูลูช(เด็ก),โจว เซียงหลิน, ชิโนซากิ ซาโยโกะ, มิเร แอชฟอร์ด, โรโล่ แลมเพรูจ, พระนาง มารีแอน
  • โกดันนาร์ (ไทก้า) รับบทเป็น ลู รูซ์, ตัวประกอบในเรื่อง
  • ชินมาชินก้า Z (เด็กซ์) รับบทเป็น บารอนอาชูร่า (ซีกหญิง), คาบุโตะ ชิโร่, คิคุโนสึเกะ
  • คินนิคุแมน ภาค 2 (เด็กซ์) รับบทเป็น อเล็กซานเดรีย มีต, เคย์โกะ (เพื่อนของ ริงโกะ)
  • เซนต์เซย่า (เด็กซ์) รับบทเป็น ไชน่า, กิกิ, คาเมเลี่ยน จูเน่
  • XXX โฮลิค (ไทก้า) รับบทเป็น คุโนงิ ฮิมาวาริ
  • กินทามะ (ไทก้า) รับบทเป็น ชิมูระ ทาเอะ, โอโทเซะ, ซารุโทบิ อายาเมะ
  • Gurren Lagann (เด็กซ์) รับบทเป็น เนีย
  • บ้านพักอลเวง (อามีโก้) รับบทเป็น อาโอยามะ โมโตโกะ, อุราชิมะ ฮารุกะ
  • นานะ (ไทก้า) รับบทเป็น โอซากิ นานะ
  • ชาแมนคิง (อามีโก้) รับบทเป็น โฮโรโฮโร่, เต๋า เร็น, เต๋า จุน, อาซาคุระ ฮาโอ
  • Tiger & Bunny (เด็กซ์) รับบทเป็น โปรดิวเซอร์อานีส
  • Eden of the East (เด็กซ์) รับบทเป็น มิตจอง, ชิระโทริ ไดอาน่า คุโรฮะ
  • ชินจังจอมแก่น (EVS,วีดีโอสแควร์) รับบทเป็น ชินโนะสุเกะ, เคย์โกะ, ครูมัตสึซากะ อุเมะ, โนะฮาร่า ซึรุ และซากุระดะ โมเอโกะ
  • High School of the Dead (DEX) รับบทเป็น บุสึจิม่า ซาเอโกะ, มินามิ ริกะ, ทาคากิ ยูริโกะ (คุณแม่ของซายะ)
  • โทริโกะ (ช่อง 9) รับบทเป็น ทีน่า, เซ็ตสึโนะ

การ์ตูนต่างประเทศ

แก้

ภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึ

แก้
  • เจ็ทแมน (ช่อง 9, TIGA , วิดีโอสแควร์ ) พากย์เป็น โอดะงิริ อายะ ,ฮายาซากะ อาโกะ/บลู สวอโลว์ (วีดีโอสแควร์) อาโออิ ริเอะ หรือ มาเรีย
  • ไฟว์แมน (วีดีโอสแควร์) พากย์เป็น โฮชิคาวะ เรมิ/ไฟว์เยลโล่
  • จูเรนเจอร์ (ช่อง 9 , วิดีโอสแควร์) พากย์เป็น บอย / ไทเกอร์เรนเจอร์, บันโดร่า
  • ไดเรนเจอร์ (TIGA ,วิดีโอสแควร์) พากย์เป็น กาล่า, คุจาคุ ,แม่ของโก, คาเมโอะ (ร่างเต่า,ไทก้า)
  • โอเรนเจอร์ vs คาคุเรนเจอร์ (TIGA) พากย์เป็น นิโจ จูริ/โอเยลโล่
  • โอเรนเจอร์ (วิดิโอสแควร์,TIGA) พากย์เป็น นิโจ จูริ/โอเยลโล่
  • คาร์เรนเจอร์ vs โอเรนเจอร์ (TIGA) พากย์เป็น นิโจ จูริ/โอเยลโล่, ดัมพ์ และ ซอนเน็ท
  • เมกะเรนเจอร์ vs คาร์เรนเจอร์ (TIGA) พากย์เป็น จิซาโตะ / เมกะเยลโล่, ดัมพ์ และ ชิโบเรน่า
  • กิงกะแมน vs เมกะเรนเจอร์ (TIGA) พากย์เป็น จิซาโตะ / เมกะเยลโล่ และ ฮิซมีน่า

ภาพยนตร์ต่างประเทศ

แก้

รายการโทรทัศน์

แก้

เกมส์

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Retro Anime on Thai Free TV - ฮาเงะมารุ
  2. 2.0 2.1 Sailor Moon Thailand Fanclub (19 กุมภาพันธ์ 2560). "ทีมพากย์เซเลอร์มูน คริสตัล - งานโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 31". ยูทูบ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (27 สิงหาคม 2564). "น้าตุ๊ก อรุณี จะหยุดให้เสียงพากย์ตัวละคร โคนัน ตั้งแต่ตอนที่ 1019 เป็นต้นไป เนื่องจากเหตุผลส่วนตัว". The Standard. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 สรวัจน์ ศิลปโรจนพาณิช (27 กรกฎาคม 2558). "ศิษย์ก้นกุฏิน้าต๋อย เซมเบ้ "น้าตุ๊ก-อรุณี" นักพากย์การ์ตูนเจ้าของเสียงซูเนโอะและโคนัน". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "TIGA ประกาศเปลี่ยนเสียงนักพากย์ 'โคนัน' หลัง 'น้าตุ๊ก' ยกเลิกงานพากย์ มีผลตอนที่ 1019 เป็นต้นไป". มติชนออนไลน์. 27 สิงหาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "โฉมหน้านักพากย์การ์ตูน (ของไทย)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-02. สืบค้นเมื่อ 2012-01-21.
  7. "แฟน 'โคนัน' ใจหาย! เปลี่ยนเสียงนักพากย์ หลัง 'น้าตุ๊ก' ยกเลิกงานด้วยเหตุผลส่วนตัว". เดลินิวส์. 27 สิงหาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "โดราเอมอน: สงครามอวกาศจิ๋วของโนบิตะ... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/articles/1543368/". เดลินิวส์. 4 ตุลาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)