หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์

นายพันตรี หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ หรือชื่อเล่นว่า ใหญ่[1] (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406 – 21 มกราคม พ.ศ. 2470) เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน เป็น พระมาตุลา (ลุง) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร และเป็นพระปัยกา (ทวด) ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

นายพันตรี หม่อมราชวงศ์

สุวพรรณ สนิทวงศ์
หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ในบั้นปลายอายุ
เกิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406
เสียชีวิต21 มกราคม พ.ศ. 2470 (63 ปี)
คู่สมรสจำเริญ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
เงียบ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
บุตร23 คน
บุพการี

ประวัติ แก้

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ เข้าถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่อายุได้ 7 ปี และทรงเลือกให้เดินทางไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อสืบทอดวิชาแพทย์ต่อจากพระบิดา หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์เดินทางไปศึกษาที่สกอตแลนด์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2415 เมื่ออายุ 9 ปี จบการศึกษาแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2427

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ เข้ารับราชการเป็นผู้ช่วยของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ พระบิดา ทั้งด้านกิจการแพทย์ และการทหาร ได้รับพระราชทานยศพันตรี ช่วยปรับปรุงกิจการทหาร ร่วมจัดตั้งกรมยุทธนาธิการทหาร และเป็นเลขานุการพระบิดา ที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ พร้อมกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2433 เพื่อประกอบกิจการส่วนตัวร่วมกับพระบิดา เป็นผู้ได้รับสัมปทานขุดคลองฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนเหนือของพระนคร จากตำบลบ้านใหม่ วัดเทียนถวาย ปทุมธานี ไปถึงนครนายก ในนามบริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม คลองนี้ได้รับพระราชทานนามว่า "คลองรังสิตประยุรศักดิ์" หรือ "คลองรังสิต" [2]

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ป่วยเป็นโรคไตพิการเรื้อรัง ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2469 (นับแบบปัจจุบัน พ.ศ. 2470) รวมอายุ 63 ปี 70 วัน พระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2470[3]

สุวพันธุ์ คือชื่อที่รับพระราชทาน[4] ชื่อ สุวพรรณ นั้นท่านเปลี่ยนเองในปลายอายุของท่าน[5] สนิทวงศ์ ในอักษรโรมัน สะกดว่า Sanidvongs[6] ส่วนชาวต่างชาติเรียกท่านว่า ดอกเตอร์ใหญ่ (Dr. Yai)[7]

บุตร-ธิดา แก้

เจริญ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา แก้

เจริญ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) ธิดาพระยาอรรคราชนาถภักดี (หวาด บุนนาค) ราชนิกูล มีบุตร-ธิดา 8 คน คือ [8]

  • หม่อมหลวงพงศ์ สนิทวงศ์ ต่อมาได้เป็น มหาอำมาตย์ตรี พระยาชลมารคพิจารณ์ สมรสกับหม่อมหลวงติ๋ว ชุมสาย
  • หม่อมหลวงต้อม สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงเป้ สนิทวงศ์ ต่อมาได้เป็น อำมาตย์โท พระสุวพันธุ์พิทยาการ
  • หม่อมหลวงคลอง สนิทวงศ์ (ไชยันต์) เป็นหม่อมใน พลเรือตรี หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์
  • หม่อมหลวงรวง สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงฟ่อน สนิทวงศ์ (ผดุงชีพ)
  • หม่อมหลวงธัญญะ สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงนวม สนิทวงศ์

[8]

ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา แก้

ธิดาศาสนาจารย์กิมเฮง มังกรพันธ์ และนางทองอยู่ ปักษานนท์ มีบุตรธิดาจำนวน 4 คน ได้แก่

เงียบ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา แก้

  • หม่อมหลวงพวงแก้ว ณ ระนอง (8 สิงหาคม 2461 — 27 กรกฎาคม 2550)[9] สมรสกับสง่า ณ ระนอง มีบุตรสี่คน[10]

ประยงค์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา แก้

มีบุตร รวม 3 คน[ต้องการอ้างอิง]

1 หม่อมหลวง บัว สนิทวงศ์ สมรสกับ นาง แถม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม เหลี่ยมจันทร์)

2 หม่อมหลวง นาวี สนิทวงศ์ สมรสกับ นาง อาบ ชูโต

3 หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ (29 เม.ย. 2462 - มี.ค. 2546) สมรสกับ ม.ร.ว. ทรงศรี ศรีธวัช

ไม่มีข้อมูล แก้

  • หม่อมหลวงลำพวน สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงฟาง สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงไชย สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงศรีพรรณ สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงวิโรจ สนิทวงศ์
  • หม่อมหลวงมัลลิกา สนิทวงศ์ (กมลคนธ์)
  • หม่อมหลวงสารภี สนิทวงศ์ (หงสนันทน์)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สุวพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2470). ข้าวของประเทศสยาม. เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.
  2. "สายสกุลสนิทวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-03. สืบค้นเมื่อ 2008-11-20.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงศพ, เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๖๓๑
  4. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ชมรมดำรงวิทยา, 2526. ISBN 9789749557006
  5. พบได้จาก "เข็มกลัดสุวพรรณ" ที่ท่านแจกญาติมิตรในช่วงปลายอายุ
  6. "ลายพระราชหัตถเลขาฯ พระราชทานนามสกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-02. สืบค้นเมื่อ 2011-03-28.
  7. หนังสือ The rice of siam พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ
  8. 8.0 8.1 อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ปราชญ์ผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552. 352 หน้า. ISBN 978-974-341-578-4
  9. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงพวงแก้ว สนิทวงศ์
  10. "ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง". ณ ระนอง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-07. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๗, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๔๐๑, ๑ กุมภาพันธ์ ๑๐๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๔ ตอนที่ ๒๔ หน้า ๑๙๑, ๒๓ กันยายน ๑๒๔๙
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยยศญี่ปุ่น, เล่ม ๕ ตอนที่ ๒๒ หน้า ๑๗๙, ๓๐ กันยายน ๑๒๕๐
  16. 16.0 16.1 16.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖ ตอนที่ ๔๕ หน้า ๓๙๑, ๙ กุมภาพันธ์ ๑๐๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗ ตอนที่ ๒ หน้า ๒๑, ๑๓ เมษายน ๑๐๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต เครื่องราชอิสริยาภรณ์รุสเซีย, เล่ม ๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๔๑๔, ๗ กุมภาพันธ์ ๑๑๐

แหล่งข้อมูลอื่น แก้