พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท (28 สิงหาคม พ.ศ. 2427 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2477) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 52 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง (พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ตรงกับวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2427 มีพระโสทรอนุชา 1 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ28 สิงหาคม พ.ศ. 2427
สิ้นพระชนม์13 มิถุนายน พ.ศ. 2477 (49 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5
ลายพระอภิไธย

เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่องถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงรับพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ พระโสทรอนุชามาอุปการะ

พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิทได้ทรงบำเพ็ญพระองค์สนองพระมหากรุณาธิคุณมาตลอดพระชนมชีพ ทรงสนพระทัยประกอบเครื่องเสวยถวาย ทั้งในยามทรงพระประชวร และยามปกติ โดยทรงเลือกเครื่องปรุงที่มีคุณค่าทางอาหารเป็นพระโอสถไปในตัว ด้วยทรงได้รับความรู้จากพระอัยกาฝ่ายพระมารดา คือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งประมุขกรมหมอหลวง และเป็นแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2477 สิริพระชันษา 49 ปี[1]

ตำหรับสายเยาวภา เกิดขึ้นจากการรวบรวม-เรียบเรียง จากบรรดาพระประยูรญาติ ข้าหลวง และคณะครูโรงเรียนสายปัญญา ได้พร้อมใจกันเขียนตำรับอาหารคาวหวานตำรับสายเยาวภาของสายปัญญาสมาคม เพื่อพิมพ์เป็นหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ได้ประทานลิขสิทธิ์แก่ หม่อมราชวงศ์เตื้อง สนิทวงศ์ (อาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนสายปัญญา)

พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท (28 สิงหาคม พ.ศ. 2427 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2477)

ภายหลังสิ้นพระชนม์

  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่าง ๆ ดังนี้[1]

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 51, ตอน 0 ง, 17 มิถุนายน พ.ศ. 2477, หน้า 844
  2. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 23 (ตอน 35): หน้า 893. 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 125. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลพระจุลจอมเกล้า แลถวายบังคมพระบรมรูป เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 19 หน้า 499 วันที่ 19 พฤศจิกายน ร.ศ.118
  4. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 39): หน้า 1154. 27 ธันวาคม ร.ศ. 127. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 (ตอน 0 ง): หน้า 2445. 22 มกราคม ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43 (ตอน 0 ง): หน้า 3116. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  • มูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. ศรีสวรินทิรานุสรณีย์ น้อมรำลึกถึงสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2549. 176 หน้า. ISBN 974-94727-9-9