สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทยจากจังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในไทยลีก 2
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี เอฟซี | |
---|---|---|
ฉายา | ช้างศึกยุทธหัตถี | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2540 | |
สนาม | สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรี | |
ความจุ | 15,279 | |
เจ้าของ | บริษัท สุพรรณบุรี ฟุตบอลคลับ จำกัด | |
ประธาน | วันธรรมนูญ จันทร์สุวรรณ | |
ผู้จัดการ | เกรียงไกร วุฒิพานิช | |
ผู้ฝึกสอน | อิสระ ศรีทะโร | |
ลีก | ไทยลีก 2 | |
2566–67 | อันดับที่ 10 | |
| ||
ประวัติสโมสร
แก้สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มต้นมาจากการต่อยอดให้นักเตะเยาวชนจากจังหวัดสุพรรณบุรี ที่สามารถคว้าแชมป์การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2539) ที่จังหวัดกำแพงเพชร ที่ประกอบด้วยผู้เล่นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด อาทิ คำภีร์ ปิ่นฑะกูล, กฤษณะ ภูผา และสถาพร วาจาขำ ทำให้บรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี มอบหมายให้เกรียง นักพาณิชย์ ก่อตั้งสโมสรขึ้นในปี 2540 เพื่อให้นักเตะชุดนี้ได้ลงทำการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. โดยใช้สิทธิ์ของสมาคมกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีลงทำการแข่งขัน และใช้ชื่อทีมว่า “สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี” มีสัญลักษณ์เป็นรูปประตูเมือง ตรงกลางเป็นรูปลูกบอลและมีแผนที่จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ด้านใน สีประจำทีมคือ สีส้มและสีกรมท่า และได้รับฉายานามว่า "ทีมขุนแผนสุพรรณฯ" ซึ่งในขณะนั้น ชนะ ยอดปรางค์ เป็นผู้ฝึกสอนของทีม
ต่อมาในปี 2542 สโมสรฟุตบอลจังหวัดสุพรรณบุรี ได้เข้าร่วมโปรวินเชียลลีกของสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย โดยผลงานในลีกฤดูกาลแรก สุพรรณบุรีจบฤดูกาลในฐานะรองแชมป์ ต่อมาในปี 2545 สุพรรณบุรีคว้าแชมป์โปรลีกได้สำเร็จ ต่อมาในโปรลีก 2546 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อทีมเป็น "สุพรรณบุรี วอร์ริเออร์" และจบฤดูกาลในฐานะรองแชมป์ และสามารถคว้าแชมป์ได้ในปี 2547 และรองแชมป์ในปี 2548 ทำให้ได้สิทธิ์ลงเล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2549 โดยสถิติการลงเล่นในโปรวินเชียลลีกนั้น ชนะเลิศถึง 2 ครั้ง และรองชนะเลิศ 4 ครั้ง
ในลีกสูงสุดฤดูกาลแรก สุพรรณบุรี วอร์ริเออร์ ได้เปลี่ยนชื่อทีมเป็น “สุพรรณบุรี เอฟซี” และมีฉายาว่า “ช้างศึกยุทธหัตถี” ต่อมาในฤดูกาล 2554 บรรหาร ศิลปอาชา ได้เข้ามาทำทีมในตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของสโมสร และมอบหมายให้วราวุธ ศิลปอาชา บุตรชายของเขา เป็นประธานสโมสรฟุตบอลสุพรรณบุรี โดยมีบุญชู จันทร์สุวรรณ เป็นประธานสโมสรกิตติมศักดิ์ และใช้สนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นสนามเหย้า แทนที่สนามเดิมคือโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี
ในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2558 สุพรรณบุรีจบฤดูกาลด้วยอันดับที่สาม ทำให้ได้สิทธิ์ไปแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก ในฤดูกาล 2559 อย่างไรก็ตาม สนามเหย้าของสโมสรไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานของเอเอฟซี ส่งผลให้ชลบุรีซึ่งจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 4 ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันแทน
ในไทยลีก ฤดูกาล 2562 ซึ่งมีสโมสรเข้าร่วมแข่งขัน 16 สโมสร สุพรรณบุรีจบอันดับที่ 14 ของตาราง โดยปกตินั้นจะต้องตกชั้นลงไปเล่นในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563 แต่เนื่องจากสโมสรฟุตบอลพีทีที ระยองได้ประกาศขอพักทีมในฤดูกาล 2563 และตามกฎระเบียบของการแข่งขันไทยลีก ระบุเอาไว้ว่าหากมีสโมสรใดสโมสรหนึ่งตัดสินใจไม่ส่งทีมเข้าแข่งขันก็จะทำให้จำนวนทีมตกชั้นลดลงไป ดังนั้นทำให้จากเดิมที่จะตกชั้น 3 ทีม ก็จะเหลือแค่ 2 ทีมเท่านั้น[1] สโมสรสุพรรณบุรีจึงไม่ต้องตกชั้นและยังคงได้ลงเล่นบนลีกสูงสุดต่อไป
ในไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 สุพรรณบุรีรอดพ้นจากการตกชั้นอย่างหวุดหวิดด้วยการเปิดบ้านเอาชนะสุโขทัยในนัดปิดฤดูกาล แต่ในไทยลีก ฤดูกาล 2564–65 สุพรรณบุรีจบอันดับที่ 14 ของตาราง ทำให้ต้องตกชั้นสู่ไทยลีก 2 ในรอบ 10 ปี
-
(2546-2547)
-
(2548-2553)
-
(2556-2557)
-
(2558-)
ผู้เล่น
แก้ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
แก้หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
เจ้าหน้าที่ทีมสตาฟ์ประจำสโมสร
แก้ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธานสโมสร | วันธรรมนูญ จันทร์สุวรรณ |
ผู้จัดการทีม | เกรียงไกร วุฒิพานิช |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | อิสระ ศรีทะโร |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | เถลิงศักดิ์ ศิริประภา |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | ทนงศักดิ์ พันภิพัฒน์ |
รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน
แก้รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอน (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)
ชื่อ | สัญชาติ | ตั้งแต่ | ถึง | เกียรติประวัติ |
---|---|---|---|---|
วรวุฒิ ศรีมะฆะ | ธันวาคม 2554 | 29 ตุลาคม 2555 | รองชนะเลิศ ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2555 (เลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2556) | |
พยงค์ ขุนเณร | มกราคม 2556 | ธันวาคม 2556 | ||
อาเลชังดรี ปอลกิง | 2 มกราคม 2557 | 12 พฤษภาคม 2557 | ||
อเดบาโย กาเดโบ (รักษาการ) | 13 พฤษภาคม 2557 | 7 มิถุนายน 2557 | ||
เวลิซาร์ โปปอฟ | 8 มิถุนายน 2557 | 24 พฤศจิกายน 2557 | ||
เซร์ชีอู ฟารีอัส | 18 ธันวาคม 2557 | 13 สิงหาคม 2558 | ||
วรวุฒิ ศรีมะฆะ (รักษาการ) | 13 สิงหาคม 2558 | 13 ธันวาคม 2558 | อันดับที่ 3 ไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2558 | |
Sérgio Aparecido | 6 มกราคม 2559 | 22 มีนาคม 2559 | ||
รีการ์โด โรดรีเกซ | 22 มีนาคม 2559 | 28 มิถุนายน 2559 | ||
เซร์ชีอู ฟารีอัส | 4 กรกฎาคม 2559 | 16 เมษายน 2560 | ||
วรวุฒิ ศรีมะฆะ (รักษาการ) | 16 เมษายน 2560 | 21 พฤษภาคม 2560 | ||
อเดบาโย กาเดโบ | 22 พฤษภาคม 2560 | 24 มิถุนายน 2561 | ||
ไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก | 29 มิถุนายน 2561 | 11 ตุลาคม 2561 | ||
ธชตวัน ศรีปาน | 12 พฤศจิกายน 2561 | 2 มิถุนายน 2562 | ||
อเดบาโย กาเดโบ | 4 มิถุนายน 2562 | 19 พฤษภาคม 2565 | ||
สถาพร วาจาขำ | 6 มิถุนายน 2565 | 4 ธันวาคม 2566 | ||
เถลิงศักดิ์ ศิริประภา (รักษาการ) | 4 ธันวาคม 2566 | 12 ธันวาคม 2566 | ||
สระราวุฒิ ตรีพันธ์ | 12 ธันวาคม 2566 |
เกียรติประวัติ
แก้- โปรวินเชียลลีก - ชนะเลิศ 2 สมัย - 2545, 2547
- ไทยพรีเมียร์ลีก - อันดับ 3 ฤดูกาล 2558
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 - อันดับ 2 ฤดูกาล 2555
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
แก้ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | |||
2542-43 | โปรวินเชียลลีก | 22 | 15 | 1 | 6 | 63 | 32 | 46 | อันดับ 2 | ||||
2543-44 | โปรวินเชียลลีก | 22 | 15 | 2 | 5 | 51 | 24 | 47 | อันดับ 2 | ||||
2545 | โปรวินเชียลลีก | 10 | 7 | 1 | 2 | 31 | 12 | 22 | ชนะเลิศ | ||||
2546 | โปรวินเชียลลีก | 22 | 14 | 3 | 5 | 67 | 29 | 45 | อันดับ 2 | ||||
2547 | โปรวินเชียลลีก | 18 | 10 | 6 | 2 | 40 | 23 | 36 | ชนะเลิศ | ||||
2548 | โปรวินเชียลลีก | 22 | 15 | 4 | 3 | 65 | 23 | 49 | อันดับ 2 | ||||
2549 | ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก | 22 | 4 | 4 | 14 | 18 | 34 | 16 | อันดับ 12 | ธงไชย รัฐไชย | 8 | ||
2550 | ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก | 30 | 9 | 8 | 13 | 37 | 45 | 35 | อันดับ 13 | มานิตย์ น้อยเวช | 10 | ||
2551 | ไทยลีก ดิวิชัน 1 | 30 | 11 | 8 | 11 | 48 | 47 | 41 | อันดับ 7 | มุสซา ซิลลา | 17 | ||
2552 | ไทยลีก ดิวิชัน 1 | 30 | 9 | 6 | 15 | 40 | 50 | 33 | อันดับ 12 | บัญชา อินโต | 7 | ||
2553 | ไทยลีก ดิวิชัน 1 | 30 | 5 | 8 | 17 | 31 | 53 | 23 | อันดับ 15[note 1] | ||||
2554 | ไทยลีก ดิวิชัน 1 | 34 | 10 | 14 | 10 | 40 | 37 | 44 | อันดับ 10 | พิเชษฐ์ อินทร์บาง | 9 | ||
2555 | ไทยลีก ดิวิชัน 1 | 34 | 23 | 6 | 5 | 58 | 17 | 75 | อันดับ 2 | พิพัฒน์ ต้นกันยา | 15 | ||
2556 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 32 | 14 | 9 | 9 | 40 | 31 | 51 | อันดับ 4 | ดราแกน บอสโควิช | 10 | ||
2557 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 38 | 17 | 8 | 13 | 55 | 49 | 59 | อันดับ 6 | บีเยิร์น ลินเดอมัน | 18 | ||
2558 | ไทยพรีเมียร์ลีก | 34 | 16 | 11 | 7 | 60 | 39 | 59 | อันดับ 3[note 2] | แซร์จินโญ ฟัน ไดก์ | 14 | ||
2559 | ไทยลีก | 31 | 10 | 8 | 13 | 33 | 35 | 38 | อันดับ 10 | เดลาโตรี | 10 | ||
2560 | ไทยลีก | 34 | 11 | 10 | 13 | 52 | 58 | 43 | อันดับ 11 | เดลาโตรี | 14 | ||
2561 | ไทยลีก | 34 | 11 | 13 | 10 | 43 | 35 | 46 | อันดับ 10 | รอบ 64 ทีม | โรมูลู | 10 | |
2562 | ไทยลีก | 30 | 7 | 11 | 12 | 29 | 24 | 32 | อันดับ 14[note 3] | รอบ 32 ทีม | เคลย์ตง ซิลวา | 11 | |
2563–64 | ไทยลีก | 30 | 9 | 3 | 18 | 33 | 47 | 30 | อันดับ 13 | รอบ 16 ทีม | ไคอง ลีอังดรู อัสซัมเซา |
7 | |
2564–65 | ไทยลีก | 30 | 8 | 6 | 16 | 35 | 49 | 30 | อันดับ 14 | รอบรองชนะเลิศ | รอบ 32 ทีม | ดานีลู อัลวิส | 11 |
2565–66 | ไทยลีก 2 | 34 | 16 | 4 | 14 | 36 | 35 | 52 | อันดับ 6 | รอบ 16 ทีม | รอบเพลย์ออฟ | โดกลัส ทาร์ดิน | 13 |
2566–67 | ไทยลีก 2 | 34 | 12 | 7 | 15 | 36 | 41 | 43 | อันดับ 10 | รอบ 32 ทีม | รอบเพลย์ออฟ | กุสตาวินญู | 13 |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
- หมายเหตุ
- ↑ เพลย์ออฟชนะสระบุรี 3-2(2-1,1-1) ได้อยู่ไทยลีก ดีวิชั่น 1 ต่อ
- ↑ แม้ว่าจะจบอันดับ 3 ซึ่งได้สิทธิ์ไปเพลย์ออฟ AFC Champions League ฤดูกาล 2016 แต่สละสิทธิ์ให้สโมสรชลบุรี เอฟซีที่จบอันดับ 5 ไปเล่นแทน เนื่องจาก ไม่ได้ส่งเอกสารคลับไลเซนซึ่งได้ทันตามกำหนด
- ↑ พีทีที ระยองได้ประกาศขอพักทีมในฤดูกาล 2563 และตามกฎระเบียบของการแข่งขันไทยลีก ระบุเอาไว้ว่าหากมีสโมสรใดสโมสรหนึ่งตัดสินใจไม่ส่งทีมเข้าแข่งขันก็จะทำให้จำนวนทีมตกชั้นลดลงไป สโมสรสุพรรณบุรีจึงไม่ต้องตกชั้นและยังคงได้ลงเล่นบนลีกสูงสุดต่อไป
สโมสรพันธมิตร
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "พลังเพลิงเอฟเฟค! สุพรรณ รอดตกชั้น, T2 เตะแค่ 17 ทีม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-29. สืบค้นเมื่อ 2019-11-12.