สุมาเล่าจี๋
สุมาเล่าจี๋[a] หรือ เล่าจี๋ (ค.ศ. 190 – 273) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลู่ จือ (จีน: 魯芝; พินอิน: Lǔ Zhī) ชื่อรอง ชื่ออิง (จีน: 世英; พินอิน: Shìyīng) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน
สุมาเล่าจี๋ (หลู่ จือ) | |
---|---|
魯芝 | |
ที่ปรึกษาผู้ใหญ่ราชสำนัก (光祿大夫 กวางลู่ต้าฟู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 273 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก (鎮東將軍 เจิ้นตงเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 266 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ขุนพลสยบภาคตะวันออก (平東將軍 ผิงตงเจียงจวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 266 | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
ขุนพลกระตุ้นยุทธ (振武將軍 เจิ้นอู่เจียงจวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 260 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
ข้าหลวงมณฑลเฉงจิ๋ว (青州刺史 ชิงโจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 260 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
ราชเลขาธิการใหญ่ (大尚書 ต้าช่างชู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 257 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ขุนพลเชิดชูยุทธ (揚武將軍 หยางอู่เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 255 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว (荆州刺史 จิงโจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 255 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจมอ |
เสนาบดีปฏิคม (大鴻臚 ต้าหงหลู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
ขุนพลราชองครักษ์ป้องกันชนเผ่าซฺยงหนู (匈奴中郎將 ฮู่-ซฺยงหนูจงหลางเจี้ยง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 249 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ขุนพลกระตุ้นพลานุภาพ (振威將軍 เจิ้นเวย์เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 249 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้าหลวงมณฑลเป๊งจิ๋ว (并州刺史 ปิงโจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 249 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
นายกองพัน / สุมา (司馬 ซือหม่า) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 249 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 190 อำเภอเหมย์ นครเป่าจี มณฑลฉ่านซี |
เสียชีวิต | ค.ศ. 273 (83 ปี) |
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | ชื่ออิง (世英) |
สมัญญานาม | เจิน (貞) |
บรรดาศักดิ์ | โหว (侯) |
ประวัติช่วงต้น
แก้สุมาเล่าจี๋เป็นชาวอำเภอเหมย์ (眉縣 เหมย์เซี่ยน) เมืองฝูเฟิง (扶風郡 ฝูเฟิงจฺวิ้น)[2] ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอเหมย์ นครเป่าจี มณฑลฉ่านซี บรรพบุรุษของสุมาเล่าจี๋เป็นผู้มีชื่อเสียงและคุณธรรม อยู่ในตระกูลที่มั่งคั่งในมณฑลทางตะวันตก[3] บิดาของสุมาเล่าจี๋ถูกกุยกีสังหาร สุมาเล่าจี๋ในวัยเยาว์จึงกลายเป็นคนไร้บ้านและยากจน[4] เมื่อสุมาเล่าจี๋อายุ 17 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ได้ย้ายไปอยู่ที่มณฑลยงจิ๋ว (雍州 ยงโจว) เพื่อศึกษาตำราโบราณ[5] ต่อมาสุมาเล่าจี๋ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่รายงาน (上計吏 ช่างจี้ลี่) ของที่ว่าการเมือง ภายหลังได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยข้าหลวงมณฑล (別駕 เปี๋ยเจี้ย)[6]
การป้องกันชายแดนด้านจ๊กก๊ก
แก้ในช่วงที่กุยห้วยเป็นข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลยงจิ๋ว กุยห้วยนับถือความสามารถของสุมาเล่าจี๋อย่างสูง[7] สุมาเล่าจี๋ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบัณฑิตเซี่ยวเหลียน (孝廉 "ผู้กตัญญูและซื่อตรง") ต่อมาสุมาเล่าจี๋ได้เป็นมหาดเล็กกลาง (郎中 หลางจง)[8] เมื่อจูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊กยกทัพบุกหล่งโย่ว (隴右) กุยห้วยได้ขอตัวสุมาเล่าจี๋ให้มาเป็นผู้ช่วยข้าหลวงมณฑลอีกครั้ง[9] หลังต้านการบุกของจ๊กก๊กได้สำเร็จ กุยห้วยเสนอความชอบของสุมาเล่าจี๋ไปยังราชสำนัก จึงมีการเรียกตัวสุมาเล่าจี๋มาเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจจิ๋นผู้เป็นเสนาบดีกลาโหม (大司馬 ต้าซือหม่า) ต่อมาย้ายไปเป็นบัณฑิตวรรณกรรม (文學 เหวินเสฺว) ในสำนักของโหวแห่งลิมฉี (臨淄侯 หลินจือโหว)[10]
เตงโป้ (鄭袤 เจิ้ง เม่า) แนะนำสุมาเล่าจี๋ให้กับอองลองผู้เป็นเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) อองลองจึงรับสุมาเล่าจี๋เข้าทำงานทันที[11] ต่อมาสุมาเล่าจี๋ได้ดำรงตำแหน่งนายกองร้อยทหารม้า (騎都尉 ฉีตูเว่ย์) เข้าร่วมราชการกองทัพ เดินทางไปดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองลำอั๋น (南安 หนานอาน) และย้ายกลับมาเป็นขุนนางสำนักราชเลขาธิการ (尚書郎 ช่างชูหลาง)[12] ในช่วงที่โจจิ๋นรับผิดชอบกำกับราชการทหารในมณฑลด้านตะวันตก (ยงจิ๋วและเลียงจิ๋ว) สุมาเล่าจี๋ได้เข้าร่วมช่วยราชการในทัพเสนาบดีกลาโหม[13]
หลังโจจิ๋นเสียชีวิตในปี ค.ศ. 231 สุมาอี้ได้ขึ้นตำรงตำแหน่งแทนโจจิ๋น สุมาอี้ตั้งให้สุมาเล่าจี๋ช่วยราชการในทัพม้าทะยาน (驃騎軍 เพี่ยวฉีจฺวิน) ต่อมาสุมาเล่าจี๋ได้ไปเป็นเจ้าเมืองของเมืองเทียนซุย (天水 เทียนฉุ่ย)[14] เมืองเทียนซุยอยู่ใกล้กับชายแดนที่ติดกับอาณาเขตของรัฐจ๊กก๊ก จึงถูกทัพจ๊กก๊กบุกปล้นชิงอยู่หลายครั้ง จำนวนประชากรในเมืองก็ลดลงและมีพวกโจรฉกฉวยอยู่ทุกหนทุกแห่ง สุมาเล่าจี๋จึงจัดการวางกำลังป้องกันเมือง ให้สร้างตลาดกระตุ้นการค้า และยึดที่ดินที่ถูกช่วงชิงไปคืนมาภายในเวลาไม่กี่ปี[15] ภายหลังสุมาเล่าจี๋ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองของเมืองก่วงผิง (廣平) ชาวเมืองเทียนซุยและชนเผ่ากลุ่มน้อยต่างเคารพนับถือสุมาเล่าจี๋ จึงพากันเขียนฎีกาส่งไปนครหลวงเพื่อขอให้สุมาเล่าจี๋กลับมาเป็นเจ้าเมืองเทียนซุยตามเดิม จักรพรรดิโจยอยทรงเห็นชอบและออกพระราชโองการยกย่องสุมาเล่าจี๋ว่าเป็นคุณธรรมเฉกเช่นหฺวาง ป้า (黃霸) สุมาเล่าจี๋ยังได้รับยศเป็นขุนพลปราบโจร (討寇將軍 เถ่าโค่วเจียงจฺวิน)[16]
การก่อรัฐประหารของสุมาอี้
แก้ในช่วงที่โจซองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชสมัยจักรพรรดิโจฮอง (ครองราชย์ ค.ศ. 239–254) โจซองเสนอให้แต่งตั้งสุมาเล่าจี๋ให้ดำรงตำแหน่งสุมา[b] (司馬 ซือหม่า) หรือนายกองพัน[17] สุมาเล่าจี๋เสนอความเห็นอย่างตรงไปตรงมาและให้คำแนะนำที่ดีหลายครั้ง แต่โจซองไม่ยอมรับความคิดเห็นของสุมาเล่าจี๋[18]
ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249[c] สุมาอี้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจโจซองในนครลกเอี๋ยง ในช่วงที่สุมาอี้ส่งกองกำลังไปจะจัดการกับโจซองซึ่งเวลานั้นตามเสด็จจักรพรรดิโจฮองไปสุสานโกเบงเหลง (高平陵 เกาผิงหลิง) สุมาเล่าจี๋ได้สังหารทหารเฝ้าประตูหนีจากนครลกเอี๋ยง พร้อมเรียกให้ซินเป (辛敞 ซิน ฉ่าง) ไปพบโจซองด้วยกันกับตน[20] ซินเปทำตามคำแนะนำของซินเหียนเอ๋ง (辛憲英 ซิน เซี่ยนอิง) พี่สาว ตามสุมาเล่าจี๋ออกทางประตูนครลกเอี๋ยง
สุมาเล่าจี๋ไปพบโจซองและแนะนำโจซองว่า "บัดนี้ฐานะของท่านสูงส่งเฉกเช่นอิอิ๋น (伊尹 อี อิ่น) และจิวกอง (周公 โจวกง) หากท่านถูกตัดสินโทษให้ถูกปลดจากตำแหน่ง แม้นคิดว่าอาจจะยังคงมีชีวิตที่สุขสบาย แต่มันจะยังเป็นเช่นนั้นจริงหรือ หากท่านกุมองค์โอรสสวรรค์ไว้ รักษาฮูโต๋ พึ่งพระบารมีองค์ประมุข และจึงใช้อำนาจระดมเรียกระดมกำลังทหาร จะมีใครกล้าไม่เชื่อฟังเล่า หากท่านทิ้งที่นี่ไป ก็เทียบเท่ากับการไปตลาดตะวันออกเพื่อรับความตายในลานประหาร มันจะไม่น่าโศกเศร้าหรอกหรือ"[21] โจซองไม่กล้าทำตามคำแนะนำสุมาเล่าจี๋ ในที่สุดก็ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งของสุมาอี้[22] ในวันที่ 9 ของเดือนเดียวกัน[d]
สุมาเล่าจี๋ที่มีส่วนเกี่ยวกับโจซองก็ถูกจับกุมและถูกตัดสินโทษประหารชีวิต สุมาเล่าจี๋ไม่แก้ต่างให้ตนเองและไม่ขอร้องให้ไว้ชีวิตตน สุมาอี้ชื่นชมสุมาเล่าจี๋มากจึงละเว้นโทษประหารชีวิตแก่สุมาเล่าจี๋[24] สุมาอี่้ตั้งให้สุมาเล่าจี๋เป็นผู้ถืออาญาสิทธิ์ ให้มียศเป็นขุนพลราชองครักษ์ป้องกันชนเผ่าซฺยงหนู (匈奴中郎將 ฮู่-ซฺยงหนูจงหลางเจี้ยง) ขุนพลกระตุ้นพลานุภาพ (振威將軍 เจิ้นเวย์เจียงจฺวิน) และมีตำแหน่งข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเป๊งจิ๋ว[25] และเนื่องด้วยสุมาเล่าจี๋ปกครองอย่างมีธรรมาภิบาล จึงได้เลื่อนขั้นเป็นเสนาบดีปฏิคม (大鴻臚 ต้าหงหลู)[26]
ได้เลื่อนขั้นอย่างรวดเร็ว
แก้ภายหลังจากจักรพรรดิโจมอขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 254 สุมาเล่าจี๋ได้รับบรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว) และได้ศักดินา 200 ครัวเรือน[27]
ภายหลังกบฏบู๊ขิวเขียมถูกปราบปรามในปี ค.ศ. 255 สุมาเล่าจี๋ได้ศักดินาเพิ่มเติมอีก 200 ครัวเรือนและได้รับการแต่งตั้งให้มียศขุนพลเชิดชูยุทธ (揚武將軍 หยางอู่เจียงจฺวิน) กับมีตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเกงจิ๋ว[28]
ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนก่อกบฏยึดอำเภอฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน) สุมาเจียวรับบัญชาจักรพรรดิโจมอนำทัพออกรบและเกณฑ์กำลังทหารจากทุกทิศ สุมาเล่าจี๋นำทหารและพลเรือนมณฑลเกงจิ๋วเป็นกองหน้า[29] ภายหลังจากจูกัดเอี๋ยนถูกปราบปราม สุมาเล่าจี๋ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นอู่จิ้นถิงโหว (武進亭侯) ได้รับศักดินาเพิ่มเติม 900 ครัวเรือน และเลื่อนตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการใหญ่ (大尚書 ต้าช่างชู) รับผิดชอบด้านกฎหมายอาญา[30]
ภายหลังจากจักรพรรดิโจฮวนขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 260 สุมาเล่าจี๋ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลีเฉิงเซียงโหว (斄城鄉侯) ได้รับศักดินาเพิ่มขึ้น 800 ครัวเรือน และได้ขึ้นเป็นผู้รับผิดชอบราชการทหารทั้งหมดของมณฑลเฉงจิ๋ว มียศเป็นขุนพลกระตุ้นยุทธ (振武將軍 เจิ้นอู่เจียงจวิน) และมีตำแหน่งข้าหลวงมณฑลของมณฑลเฉงจิ๋ว ต่อมาได้มียศเป็นขุนพลสยบภาคตะวันออก (平東將軍 ผิงตงเจียงจวิน)[31] ภายหลังเมื่อมีการก่อตั้งระบบศักดินา 5 ขั้นเพิ่มเติม สุมาเล่าจี๋ก็ได้รับบรรดาศักดิ์อินผิงปั๋ว (陰平伯)[32]
ในรัชสมัยสุมาเอี๋ยน
แก้หลังจากสุมาเอี๋ยนจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้นขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 266 สุมาเล่าจี๋ก็ได้รับยศเป็นขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก (鎮東將軍 เจิ้นตงเจียงจฺวิน) และขึ้นมามีบรรดาศักดิ์ชั้นโหว (侯)[33] จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงเห็นว่าสุมาเล่าจี๋เป็นคนซื่อสัตย์ตรงไปตรงมาและไม่เคยซื้อบ้านเป็นของตนเอง จึงทรงส่งทหารไปสร้างบ้านห้าสิบหลังให้กับสุมาเล่าจี๋[34] ต่อมาสุมาเล่าจี๋เข้าสู่วัยชราจึงขอเกษียณอายุราชการ สุมาเล่าจี๋ถวายฎีกานับสิบฉบับ ท้ายที่สุดสุมาเล่าจี๋ได้รับการตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ใหญ่ราชสำนัก (光祿大夫 กวางลู่ต้าฟู) ได้รับตำแหน่งพิเศษ ได้รับพระราชทานเจ้าหน้าที่และทหารผู้ติดตาม มีรถม้าจอดรอรับหน้าประตูบ้าน[35]
เมื่อเอียวเก๋าได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน) ในปี ค.ศ. 269 เอียวเก๋าต้องการจะสละตำแหน่งให้กับสุมาเล่าจี๋โดยกล่าวว่า "เล่าจี๋โดยตลอดมาเป็นคนซื่อสัตย์ จิตใจบริสุทธิ์ มีความต้องการน้อย ถ่อมตนแต่ไม่เคยคล้อยตามโดยไม่ไตร่ตรองก่อน อุทิศตนต่อหน้าที่จนผมขาว และภักดีต่อราชสำนักตั้งแต่ต้นจนปลาย แต่ท่านไม่ได้รับเกียรตินี้ ในขณะที่ตำแหน่งของข้าพระพุทธเจ้าได้แซงขึ้นเหนือท่านแล้ว จะขจัดความแค้นเคืองของผู้คนในแผ่นดินต่อข้าพระพุทธเจ้าได้อย่างไร" แต่สุมาเอี๋ยนไม่ทรงฟังคำทูลของเอียวเก๋า[36]
สุมาเล่าจี๋เสียชีวิตในปี ค.ศ. 273 ขณะอายุ 84 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[37] สุมาเอี๋ยนทรงพระราชทานสมัญญานามแก่สุมาเล่าจี๋ว่าเจิน (貞; มีความหมายว่า "บริสุทธิ์") และพระราชทานสุสานสำหรับฝังศพพื้นที่ 100 หมู่ (畝)[38]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ชื่อสุมาเล่าจี๋ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 79[1] คำว่า "สุมา" (司馬 ซือหม่า) แท้จริงแล้วเป็นชื่อตำแหน่งทางการทหารคือตำแหน่งนายกองพัน ไม่ใช่ชื่อสกุล โดยที่ "เล่า" (魯 หลู่) เป็นชื่อสกุล และ "จี๋" (芝 จือ) เป็นชื่อตัว สุมาเล่าจี๋ดำรงตำแหน่ง "สุมา" ในช่วงที่โจซองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชสมัยจักรพรรดิโจฮอง
- ↑ เป็นที่มาของคำว่า "สุมา" ในชื่อ "สุมาเล่าจี๋" ที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
- ↑ วันเจี๋ยอู่ (甲午) ของเดือน 1 ในศักราชเจียผิงปีที่ 1 ตามพระราชประวัติโจฮองในสามก๊กจี่ เล่มที่ 4[19]
- ↑ พระราชประวัติโจฮองในสามก๊กจี่บันทึกว่า โจซองกับผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ เตงปิด, เตงเหยียง, โฮอั๋น, ปิดห้วน, หลีซิน และฮวนห้อม ถูกประหารชีวิตพร้อมกับครอบครัวในวันอู้ซฺวี (戊戌) ของเดือน 1 ของศักราชเจียผิง ปีที่ 1 ในรัชสมัยของโจฮอง[23] ตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 249 ตามปฏิทินกริกอเรียน และยังเป็น 4 วันหลังจากเหตุรัฐประหาร
อ้างอิง
แก้- ↑ "สามก๊ก ตอนที่ ๗๙". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ March 9, 2024.
- ↑ (魯芝,字世英,扶風郿人也。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (世有名德,為西州豪族。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (父為郭氾所害,芝繈褓流離) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (年十七,乃移居雍,耽思墳籍。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (郡舉上計吏,州辟別駕。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (魏車騎將軍郭淮為雍州刺史,深敬重之。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (舉孝廉,除郎中。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (會蜀相諸葛亮侵隴右,淮復請芝為別駕。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (事平,薦於公府,辟大司馬曹真掾,轉臨淄侯文學。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (鄭袤薦于司空王朗,朗即加禮命。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (後拜騎都尉、參軍事、行安南太守,遷尚書郎。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (曹真出督關右,又參大司馬軍事。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (真薨,宣帝代焉,乃引芝參驃騎軍事,轉天水太守。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (郡鄰於蜀,數被侵掠,戶口減削,寇盜充斥,芝傾心鎮衛,更造城市,數年間舊境悉復。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (遷廣平太守。天水夷夏慕德,老幼赴闕獻書,乞留芝。魏明帝許焉,仍策書嘉歎,勉以黃霸之美,加討寇將軍。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (曹爽輔政,引為司馬。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (芝屢有讜言嘉謀,爽弗能納。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (嘉平元年春正月甲午,車駕謁高平陵。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 4.
- ↑ (司馬宣王將誅爽,因爽出,閉城門。大將軍司馬魯芝將爽府兵,犯門斬關,出城門赴爽,來呼敞俱去) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 25.
- ↑ (及宣帝起兵誅爽,芝率餘眾犯門斬關,馳出赴爽,勸爽曰:「公居伊周之位,一旦以罪見黜,雖欲牽黃犬,復可得乎!若挾天子保許昌,杖大威以羽檄征四方兵,孰敢不從!舍此而去,欲就東市,豈不痛哉!」) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (爽懦惑不能用,遂委身受戮。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ ([嘉平元年春正月]戊戌,有司奏収黃門張當付廷尉,考實其辭,爽與謀不軌。又尚書丁謐、鄧颺、何晏、司隷校尉畢軌、荊州刺史李勝、大司農桓範皆與爽通姦謀,夷三族。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 4.
- ↑ (芝坐爽下獄,當死,而口不訟直,志不苟免。宣帝嘉之,赦而不誅。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (俄而起為使持節、領護匈奴中郎將、振威將軍、并州刺史。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (以綏緝有方,遷大鴻臚。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (高貴鄉公即位,賜爵關內侯,邑二百戶。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (毌丘儉平,隨例增邑二百戶,拜揚武將軍、荆州刺史。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (諸葛誕以壽春叛,文帝奉魏帝出征,徵兵四方,芝率荊州文武以為先驅。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (誕平,進爵武進亭侯,又增邑九百戶。遷大尚書,掌刑理。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (常道鄉公即位,進爵斄城鄉侯,又增邑八百戶,遷監青州諸軍事、振武將軍、青州刺史,轉平東將軍。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (五等建,封陰平伯。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (武帝踐阼,轉鎮東將軍,進爵為侯。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (帝以芝清忠履正,素無居宅,使軍兵為作屋五十間。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (芝以年及懸車,告老遜位,章表十餘上,於是徵為光祿大夫,位特進,給吏卒,門施行馬。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (羊祜為車騎將軍,乃以位讓芝,曰:「光祿大夫魯芝潔身寡欲,和而不同,服事華髮,以禮終始,未蒙此選,臣更越之,何以塞天下之望!」上不從。其為人所重如是。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (泰始九年卒,年八十四。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
- ↑ (帝為舉哀,賵贈有加,諡曰貞,賜塋田百畝。) จิ้นชู เล่มที่ 90.
บรรณานุกรม
แก้- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.