สถานีเซนต์หลุยส์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เนื้อหาในบทความนี้ไม่ถูกต้องแม่นยำ โปรดช่วยกันตรวจสอบ และปรับปรุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพิ่มแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ด้วย |
สถานีเซนต์หลุยส์[1] (อังกฤษ: Saint Louis Station, รหัส S4) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสีลม ซึ่งยกระดับคร่อมเหนือคลองสาทร ถนนสาทรเหนือ-สาทรใต้ ในพื้นที่เขตบางรักและเขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นอีกหนึ่งสถานีที่อยู่บริเวณใจกลางย่านธุรกิจถนนสาทร มีกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[2]
เซนต์หลุยส์ Saint Louis รถไฟฟ้าบีทีเอส | |
---|---|
ข้อมูลสถานี | |
เส้นทาง | สายสีลม |
เชื่อมต่อ | รถโดยสารประจำทาง |
รูปแบบสถานี | ยกระดับ |
รูปแบบชานชาลา | ด้านข้าง |
จำนวนชานชาลา | 2 |
ถนน | สาทร |
เขต/อำเภอ | เขตบางรัก, เขตสาทร |
ข้อมูลอื่น | |
เปิดใช้งาน | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 |
เวลาให้บริการ | 06.00 - 24.00 น. |
รหัส | S4 |
ผู้รับผิดชอบ | บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอไอเอ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร |
ผู้ให้บริการ | บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
ทางออก | 5 |
บันไดเลื่อน | 3 |
ลิฟต์ | 4 |
ที่ตั้ง | |
![]() |
ที่ตั้งแก้ไข
อยู่เหนือคลองสาทร และถนนสาทรเหนือและสาทรใต้ บริเวณปากซอยสาทร 11 (ซอยเซนต์หลุยส์ 3) ด้านหน้าอาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาธร ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร และโรงแรมแอสคอทท์ กรุงเทพ สาทร ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
ประวัติสถานีแก้ไข
ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีสถานีศึกษาวิทยาเป็นเพียงหนึ่งในสองโครงการศึกษาการเพิ่มสถานีในอนาคต เพื่อรองรับกับประชาชนที่จะมาใช้บริการที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ และโรงพยาบาลบางรัก (ปัจจุบันคือ ศูนย์ความเป็นเลิศโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางรัก กรมควบคุมโรค) แต่เนื่องจากในช่วงก่อสร้างบีทีเอสซีไม่ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการเติบโตของย่าน จึงได้จัดเตรียมตอม่อแบบพิเศษที่รองรับการก่อสร้างสถานีในอนาคตแทนการก่อสร้างตัวสถานี และเก็บรหัสสถานีไว้สำหรับการเก็บค่าโดยสาร ต่อมาได้มีการประเมินโอกาสในการเติบโตเป็นระยะ ซึ่งผลจากการประเมินปรากฏว่าไม่คุ้มทุน บีทีเอสซีจึงยกเลิกโครงการก่อสร้างสถานีและเก็บรหัสสถานีไว้เพื่อคิดค่าโดยสารตามระยะทางตามเดิม อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2558 บีทีเอสซี ได้ยื่นเรื่องต่อ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด ในฐานะผู้ดูแลกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท เพื่อขอเสนอฟื้นฟูโครงการขึ้นมาอีกครั้ง โดยขั้นต้นมีงบในการก่อสร้าง 450 ล้านบาท ซึ่งบีทีเอสซีจะจัดสรรงบลงทุนครึ่งหนึ่ง และให้กองทุนจัดหาเงินลงทุนอีกครึ่งหนึ่งโดยไม่มีการกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนภายนอก การก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 18 เดือนนับจากวันที่โครงการได้รับการอนุมัติจากกรุงเทพมหานคร[3]
ต่อมา กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท ได้อนุมัติให้บีทีเอสซีดำเนินการก่อสร้างสถานีดังกล่าว ภายใต้งบประมาณในการก่อสร้างรวมงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคทั้งหมด 900 ล้านบาท แหล่งเงินทุนในการพัฒนาสถานีแบ่งเป็นเงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท จำนวนครึ่งหนึ่ง และเงินจากกลุ่มบริษัทเอไอเออีกครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้กลุ่มเอไอเอ จะได้สิทธิ์ในการเชื่อมต่ออาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาธร เข้ากับตัวสถานีด้วย การก่อสร้างสถานีเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยมี บริษัท จอมธกล จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง งานโยธาทั้งหมดแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 รวมระยะเวลาก่อสร้าง 1 ปี 9 เดือน
ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้าง บีทีเอสซีได้ประกาศใช้ชื่อสถานีแห่งนี้อย่างเป็นทางการว่า สถานีเซนต์หลุยส์ ตามชื่อของซอยฝั่งถนนสาทรใต้ และชื่อย่านที่รู้จักโดยทั่วไปว่า ย่านเซนต์หลุยส์[1] แทนชื่อเดิมคือ สถานีศึกษาวิทยา อันเป็นชื่อของโรงเรียนศึกษาวิทยาเก่าที่ได้เลิกกิจการแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้ศึกษาวิทยา ยังเป็นชื่อของซอยฝั่งถนนสาทรเหนืออีกด้วย
แผนผังสถานีแก้ไข
U3 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 3 | สายสีลม มุ่งหน้า สถานีบางหว้า | |
ชานชาลา 4 | สายสีลม มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ | |
U2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-5, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า อาคารเอไอเอ ทาวเวอร์ สาทร |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ซอยสาทร 11, ซอยสาทร 12, ธนาคารยูโอบี สำนักงานใหญ่, อาคารศาลา แอท สาทร |
รูปแบบสถานีแก้ไข
โครงสร้างสถานีเซนต์หลุยส์ จะมีรูปแบบสถานีคล้ายสถานีส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท มีลิฟต์รับรองผู้พิการทั้งหมด 4 ตัว บันไดเลื่อน ฝั่งละ 2 ตัว ชานชาลาเป็นแบบ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ตัวสถานีประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา มีประตูกั้นชานชาลาแบบ Half-Height Platform Screen Doors ในส่วนหลังคาชานชาลามีการออกแบบให้ป้องกันฝนสาดและแดดส่อง โดยเชื่อมปิดหลังคาทั้งหมด
ทางเข้า-ออกแก้ไข
- 1 ซอยสาทร 12 (ศึกษาวิทยา 2), เฮลท์แลนด์ สปา แอนด์ มาซซาจ
- 2 อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ (ทางเชื่อม), ซอยสาทร 11 (เซนต์หลุยส์ 3)
- 3 ซอยสาทร 10 (ศึกษาวิทยา 1), โรงเรียนอนุบาลชวนชื่น
- 4 ซอยสาทร 9 (พิกุล), ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร, ศูนย์ความเป็นเลิศโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางรัก กรมควบคุมโรค, โรงแรมแอสคอทท์ สาทร กรุงเทพ
- 5 อาคารแอทสาทร (อาคารพรูเดนเชียล), โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์, วิทยาลัยเซนต์หลุยส์, สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ทางเดินเชื่อมสะพานลอย)
สัญลักษณ์ของสถานีแก้ไข
ใช้สีม่วงตกแต่งเสาและรั้วบนชั้นชานชาลา ชั้นจำหน่ายตั๋ว ป้ายทางเข้าและบริเวณทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่า เป็นสถานีด้านใต้
สิ่งอำนวยความสะดวกแก้ไข
ลิฟต์ สำหรับผู้พิการ ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและจากชั้นขายบัตรโดยสารไปชั้นชานชาลาทั้ง 2 ฝั่ง
รถโดยสารประจำทางแก้ไข
ถนนสาทรเหนือ-สาทรใต้ รถขสมก. สาย 77 รถเอกชน สาย 17 149
สถานที่สำคัญใกล้เคียงแก้ไข
- โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
- โบสถ์เซนต์หลุยส์
- โรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษา
- วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
- โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม
- โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ
- ศูนย์ความเป็นเลิศโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางรัก กรมควบคุมโรค
- สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
- สถานเอกอัครสมณทูตนครรัฐวาติกัน
- อาคารเอไอเอ สาทร
- ธนาคารยูโอบี สำนักสาทร (ตึกหุ่นยนต์)
- อาคารแอทสาทร
- อาคารไบเออร์
- อาคารตั้งฮั่วปัก สาทร
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 "บีทีเอส เปลี่ยนชื่อสถานีศึกษาวิทยาเป็น เซนต์หลุยส์ พร้อมให้บริการ ก.พ." สปริงนิวส์. สืบค้นเมื่อ 23 January 2021.
- ↑ "รถไฟฟ้าบีทีเอสเตรียมเปิดใช้ "สถานีเซนต์หลุยส์" 8 ก.พ.นี้". ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
- ↑ "สร้างจริงหรอ…? สถานีศึกษาวิทยา". REALIST. สืบค้นเมื่อ 27 October 2015.
สถานีใกล้เคียงแก้ไข
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีช่องนนทรี มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ |
สายสีลม | สถานีสุรศักดิ์ มุ่งหน้า สถานีบางหว้า |