วีรวร สิทธิธรรม
นายวีรวร สิทธิธรรม (เกิด 9 กันยายน พ.ศ. 2481) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม 5 สมัย และ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครพนม เป็นอดีตนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน[1] อดีตเลขาธิการสมาคมไทย – ลาวเพื่อมิตรภาพ[2]
วีรวร สิทธิธรรม | |
---|---|
ไฟล์:วีรวร สิทธิธรรม.jpg | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 กันยายน พ.ศ. 2481 |
คู่สมรส | ปาวรินทร์ สิทธิธรรม |
ประวัติ
แก้วีรวร สิทธิธรรม เกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2481 เป็นบุตรชายของนายฟอง สิทธิธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี กับนางโสภรวรรณ สิทธิธรรม มีพี่น้อง 2 คน สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จาก Fachhochschule Giessen Friedberg ประเทศเยอรมัน[3] และปริญญาเอกจากเยอรมัน[4]
งานการเมือง
แก้อดีตเป็นข้าราชการบำนาญการเมือง ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2516
วีรวร ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 5 สมัย[5]
วีรวร ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 (ครม. 46) ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[6]
ต่อมา ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครพนม ใน พ.ศ. 2543 และได้รับเลือกตั้งในครั้งนี้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้วีรวร สิทธิธรรม ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดนครพนม ไม่สังกัดพรรคการเมือง
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคชาติไทย
งานวิชาการ
แก้วีรวร สิทธิธรรม ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ในปี 2552 - 2555
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/119/24.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
- ↑ นายวีรวร สิทธิธรรม
- ↑ สโมสรนักสู้ 17/08/52 จาก ไทยรัฐ
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไชต์ thaiscouts