รายชื่อสิ่งมีชีวิตพันธุ์ผสมในคติชน

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

นี่คือรายชื่อของสิ่งมีชีวิตพันธุ์ผสมจากบันทึกที่เรียงตามสายพันธุ์ตามคติชน สำหรับการผสมพันธุ์ในสัตววิทยา ดู ลูกผสม

มีส่วนของมนุษย์ แก้

ส่วนบนเป็นมนุษย์ แก้

ครึ่งมนุษย์-ม้า (เซนทอร์) แก้

 
เซนทอร์สู้กับคน
  • อังกิตัย – สิ่งมีชีวิตเพศเมียที่ส่วนบนเป็นมนุษย์และส่วนล่างเป็นม้า
  • เซนทอร์ – สิ่งมีชีวิตที่ส่วนบนเป็นมนุษย์และส่วนล่างเป็นม้า
  • โอโนเซนทอร์ – สิ่งมีชีวิตที่ส่วนบนเป็นมนุษย์และส่วนล่างเป็นลา
  • ไอโพเทน – มนุษย์ที่มีส่วนขาหลังเป็นม้า
  • เซเทอร์ – สิ่งมีชีวิตในตำนานกรีกโบราณที่มีร่างกายเป็นมนุษย์ แต่มีส่วนหางและหูเป็นม้า[1][2] ชอบยุ่งกับความมึนเมาและพูดหยาบคาย เป็นที่รู้จักจากความรักในไวน์, เสียงดนตรี และผู้หญิง[1][2][3] ในช่วงสมัยเฮลเลนิสต์ เซเทอร์ถูกวาดเป็นชายที่มีเขาและเขาเป็นแพะ ซึ่งเหมือนกันกับแพน[1][2]
  • ไซลีนัส - ผู้ฝึกสอนไดอะไนซัสที่เป็นเซเทอร์[3][2]

ครึ่งมนุษย์-แพะ แก้

 
ชายหญิง และลูก ๆ ของเซเทอร์

สิ่งมีชีวิตชนิดนี้ มีอยู่หลายประเภท เช่น สไปรต์, เทวดา, ปิศาจ และมนุษย์ครึ่งเทพ[4]

  • ฟอน – สิ่งมีชีวิตในปกรณัมโรมันโบราณที่มีร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ขาและเขาเป็นแพะ[1][2] แยกมาจากเซเทอร์ของกรีก เพราะมันไม่ค่อยสนเรื่องความมึนเมาหรือพูดหยาบคาย และมันถูกมองเป็น "สิ่งมีชีวิตในป่าที่ขี้อาย"[5]
  • แกลชทิก – แฟรีหรือผีของชาวสกอตที่มีร่างครึ่งแพะ-มนุษย์[6][7]
  • แพน – เทพในป่าและผู้ปกป้องคนเลี้ยงแกะ มีร่างเป็นมนุษย์ แต่มีขาและเขาเป็นแพะ มักเล่นฟลุต
  • เซเทอร์
  • แครมปัส — สิ่งมีชีวิตในเยอรมันที่ไม่ทราบที่มาอย่างชัดเจน มักถูกวาดให้มีร่างกายเป็นมนุษย์ ขากับเขาของแพะ และลักษณะของสัตว์หลายชนิด

ครึ่งมนุษย์-นก แก้

 
ภาพฮาร์พีในยุคกลาง
  • อัลโกนอสต์ – สิ่งมีชีวิตจากคติชนรัสเซียที่มีหัวเป็นผู้หญิงและร่างกายเป็นนก กล่าวว่ากันว่าเสียงอันไพเราะของเธอทำให้ใครก็ตามที่ได้ยินจะลืมทุกอย่างและไม่ต้องการอย่างอื่นอีกเลย
  • กามายุน – สิ่งมีชีวิตในรัสเซียที่ถูกวาดให้มีหัวของผู้หญิงและร่างกายของนก
  • อินมย็องโจ – สิ่งมีชีวิตในปกรณัมเกาหลีโบราณที่มีใบหน้าของมนุษย์และร่างกายของนก
  • ฮาร์พี – สิ่งมีชีวิตครึ่งนก ครึ่งสตรี บางครั้งถูกวาดเป็นผู้หญิงที่มีปีกและขาเป็นนก
  • กินรี – สิ่งมีชีวิตในปกรณัมอินเดียที่เป็นครึ่งมนุษย์ ครึ่งนก
  • ลาเมีย – สตรีที่มีเท้าของเป็ด
  • ลิลิธ – หญิงที่มีขาของนก (บางครั้งคือปีก) พบในเทพปกรณัมเมโสโปเตเมีย
  • ไซเรน – สิ่งมีชีวิตครึ่งนก ครึ่งผู้หญิงในเทพปกรณัมกรีก ที่หลอกล่อนักเดินเรือให้ตายโดยใช้เสียงร้องของเธอ
  • ซีริน – สิ่งมีชีวิตครึ่งนก ครึ่งมนุษย์ ที่มีหัวและอกของผู้หญิงจากคติชนรัสเซีย ส่วนนกของมันคือร่างของนกฮูก
  • อุเจก ลังเมดง - สิ่งมีชีวิตครึ่งสตรีและครึ่งนกเงือกในคติชนมณีปุรี เป็นเด็กหญิงที่กลายร่างเป็นนกเพื่อหนีจากการทำร้ายของแม่เลี้ยง หลังพ่อเสียชีวิต

ครึ่งมนุษย์-ปลา แก้

  • อะทาร์กะติส – หน้ามนุษย์ ร่างกายของปลา
  • อิกทิโอเซนทอร์ – สิ่งมีชีวิตที่มีลำตัวของชายหรือหญิง ขาหน้าของม้า และหางของปลา
  • เจนกู – พรายน้ำ
  • มัตสยะอวตารของพระวิษณุที่มีรูปร่างเป็นครึ่งมนุษย์ ครึ่งปลา
  • เงือก – สิ่งมีชีวิตประเภทครึ่งมนุษย์ ครึ่งปลา
  • ไซเรนา – นางเงือกในคติชนฟิลิปปินส์
  • ไซโยกอย – นายเงือกที่มีร่างกายเป็นเกล็ดในคติชนฟิลิปปินส์ โดยเป็นเพศชายของไซเรนา
  • ไทรทัน - เทพกรีกผู้เป็นบุตรของโพไซดอน ซึ่งมีรูปร่างเดียวกันกับนายเงือก บางภาพแสดงตัวพระองค์มีหางปลาสองอัน

ครึ่งมนุษย์-งู แก้

 
นูเระ-อนนะ ใน ฮยักไก-ซูกัน ของซาวากิ ซูอูชิ
  • ดราโคโนป (เท้างู) – "เท้างู (Snake-feet) คืองูขนาดใหญ่และมีพลัง ที่มีหน้าของหญิงสาว และคอถึงตัวเป็นของงู" ถูกกล่าวไว้โดย วินเซนต์แห่งโบเวส์[8]
  • อีคิดนา – ปีศาจเพศเมียที่เป็นครึ่งมนุษย์ครึ่งงู อาศัยอยู่ในถ้ำ
  • ฝูซี – พระเจ้าที่ถูกสร้างโดยนฺหวี่วา
  • พระเกตุอสูรที่มีส่วนล่างเป็นงู และกล่าวกันว่ามีสี่แขน
  • เลเมีย – เมือนนางเงือกแต่มีส่วนล่างเป็นงู และส่วนใหญ่เป็นเพศเมีย
  • นาค – สิ่งมีชีวิตที่ผสมระหว่างมนุษย์/งูทุกชนิด
  • นฺหวี่วา – สตรีที่มีส่วนล่างเป็นงูในคติชนจีน
  • นูเระ-อนนะ – สิ่งมีชีวิตที่มีหัวของผู้หญิง และร่างกายของงู
  • ทลันจานะ – เทพแห่งน้ำที่มีส่วนของผู้หญิงและงู
  • จื๋อหลง – สิ่งมีชีวิตที่มีใบหน้าเป็นมนุษย์และร่างกายของงู

พันธุ์ผสมอื่น ๆ แก้

หัวมนุษย์ ร่างเป็นสัตว์ แก้

 
ลามัสซูของชาวอัสซีเรีย
  • อะวาเทีย – เทพของชาวแมนไกอาที่ส่วนขวาเป็นมนุษย์ และส่วนซ้ายเป็นปลา
  • ไป๋เจ๋อ – อสูรที่มีรูปร่างหลายแบบ
  • บุรอก – สิ่งมีชีวิตจากประติมานวิทยาอาหรับที่มีหัวของมนุษย์และร่างกายเป็นม้ามีปีก
  • ฮาตุยบวารี – สิ่งมีชีวิตคล้ายมังกรที่มีหัวของมนุษย์ที่มีสี่ตา ร่างกายของงู และปีกของค้างคาว
  • กามเธนุ – วัวที่มีหัวเป็นมนุษย์ ร่างกายของวัว ปีกของนก และหางของนกยูง
  • กูซาริกกู – ปีศาจที่มีหัว, แขน และลำตัวของมนุษย์ และหู, เขา และส่วนขาหลังของวัว
  • มันติคอร์ – สิ่งมีชีวิคในตำนานเปอร์เซียที่ดูเหมือนกับสฟิงซ์ของอียิปต์ โดยมีร่างกายของสิงโตแดง, ใบหน้าของมนุษย์ที่มีฟันสามแถว บางครั้งมีปีกคล้ายค้างคาว และเสียงร้องคล้ายทรัมเป็ต อีกมุมหนึ่งของสิ่งมีชีวิตนี้ อาจมีเขา ปีก หรือทั้งสองอย่าง โดยหางอาจเป็นของมังกรหรือแมงป่อง และยิงหนามที่ทำให้เหยื่อหมดสติหรือตายได้
  • เมดูซา – สิ่งมีชีวิตในทะเลจากคติชนรัสเซียที่มีหัวของหญิงพรหมจารีย์และร่างกายของสัตว์ร้าย โดยมีหางของมังกรที่มีปากของงูและขาของช้างที่มีปากงูเดียวกัน
  • สฟิงซ์ – สิ่งมีชีวิตที่มีหัวของมนุษย์ ร่างกายของสิงโต และอาจมีปีกของนก
  • ลามัสซู – เทพที่ถูกปั้นให้มีหัวมนุษย์ ร่างกายของวัวหรือสิงโต และปีกของนก

มนุษย์ที่มีหัวเป็นสัตว์ แก้

 
พระพิฆเนศ ผู้มีเศียรเป็นช้าง
 
ฮอรัส ผู้มีเศียรเป็นเหยี่ยว

มนุษย์ที่มีส่วนของสัตว์ แก้

 
เขาของแพะและแกะ ขนและหูของแพะ จมูกและเขี้ยวของหมู เป็นรายละเอียดของมารในศิลปะคริสเตียน โดยแพะ แกะ และหมูถูกนำไปเชื่อมโยงกับมาร[9] ภาพในศตวรรษที่ 16 โดยJacob de Backer ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของวอร์ซอ
  • ปีก
    • เทวทูต – สิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ที่ถูกวาดให้มีปีกคล้ายนก ในเทพปกรณัมอับราฮัมกับโซโรอัสเตอร์ ทูตสวรรค์มักนำศาสน์จากพระเจ้าลงมายังมนุษย์
    • นางฟ้า – สิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ที่มีปีกของแมลง
    • มอธแมนผีเสื้อกลางคืนที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์
    • เสราฟิม – เทวทูตชั้นสูงที่มีปีกเป็นจำนวนมาก
    • จีนีมีปีก – สิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ที่มีปีกของนก
  • ขา
    • อะนานซี - เทพของชาวแอฟริกาตะวันตก มีอยู่หลายรูปแบบ: บางครั้งดูเหมือนแมงมุม บางครั้งเป็นแมงมุมใส่เสื้อ หรือมีใบหน้าของมนุษย์ และบางครั้งดูเหมือนมนุษย์ที่มีส่วนของแมงมุม เช่น มีแปดขา
    • ดราไคนา – สิ่งมีชีวิตเพศเมียจากเทพปกรณัมกรีก มักวาดเป็นผู้หญิงที่มีส่วนของมังกร
  • เขา
  • ผมงู
    • กอร์กอน – แต่ละตัวจะมีผมเป็นงู บางครั้งมีส่วนล่างเป็นงู

ครึ่งสัตว์ ครึ่งมนุษย์ (เปลี่ยนกันระหว่างทั้งสอง) แก้

 
ครุฑที่กำลังอุ้มพระวิษณุ
  • เซลคีแมวน้ำที่กลายเป็นมนุษย์โดยการลอกผิวหนังบนพื้นดิน
  • เสือสมิง – สิ่งมีชีวิตที่มีส่วนของแมว, ส่วของมนุษย์ หรือสลับเปลี่ยนกันระหว่างทั้งสอง
  • มนุษย์หมาป่า – สิ่งมีชีวิตที่กลายเป็นอสูรที่ดูเหมือนกับหมาป่า/มนุษย์ในคืนที่ดวงจันทร์เต็มดวง แต่จะกลายเป็นมนุษย์ในช่วงอื่น

ไม่ใช่มนุษย์ แก้

สัตว์สี่ขาที่มีปีกของนก แก้

 
เพกาซัส บนหลังคาของPoznań Opera House (Max Littmann, ค.ศ. 1910)

ส่วนของสัตว์ 2 ชนิด แก้

 
รายละเอียดในงานปักเสื้อของชาวอัปกัลลู แสดงถึงภาพคู่ของสัตว์สี่ขามีปีก จากนิมรุด, อิรัก 883-859 ปีก่อนค.ศ. พิพิธภัณฑ์ตะวันออกโบราณ, อิสตันบูล
 
รูปปั้นของ 'คชสิงหะ'

ส่วนของสัตว์ 3 ชนิด แก้

  • อัมมิต – สิ่งมีชีวิตในอียิปต์ที่มีหัวเป็นจระเข้ ขาหน้าเป็นสิงโต และขาหลังเป็นฮิปโปโปเตมัส
  • ชัลกีดรี – สิ่งมีชีวิตที่มีปีกเทวทูต 12 ปีก ร่างกายของสิงโต และหัวของจระเข้ ที่ถูกกล่าวใน 2 เอโนค[10]
  • คิเมียรา – สิ่งมีชีวิตในเทพปกรณัมกรีกที่มีหัวและส่วนหน้าของสิงโต หัวและขาหลังของแพะ และหัวของงูที่หาง กล่าวกันว่าหัวสิงโตพ่นไฟได้
  • แจคกะโลปกระต่ายแจ็กที่มีเขาของพรองฮอร์น และบางครั้งมีหางและ/หรือขาขางไก่ฟ้า
  • ศารภะ – สิ่งมีชีวิตในเทพปกรณัมฮินดูที่มีหัวของสิงโต ขาของกวาง และปีกของนก
  • ซิเมิร์ฆ – สิ่งมีชีวิตคล้ายกริฟฟอนในปกรณัมเปอร์เซียที่มีหัวของสุนัขและกรงเล็บของสิงโต
  • ไวเวิร์น – สิ่งมีชีวิตที่มีหัวและปีกของมังกร ร่างกายของสัตว์เลี้อยคลาน สองขา และปลายหางเป็นรูปข้าวหลามตัดหรือลูกศร

ส่วนของสัตว์ 4 ชนิด แก้

ส่วนของสัตว์ 5 ชนิดหรือมากกว่านั้น แก้

 
นวกุณชร มีขาของสัตว์ 8 ชนิด ซึ่งรวมไปถึงมือของมนุษย์

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Riggs, Don (2014). "Faun and Satyr". ใน Weinstock, Jeffrey Andrew (บ.ก.). The Ashgate Encyclopedia of Literary and Cinematic Monsters. New York City, New York and London, England: Ashgate Publishing. pp. 233–236. ISBN 978-1-4094-2563-2.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Hansen, William F. (2004). Classical Mythology: A Guide to the Mythical World of the Greeks and Romans. Oxford, England: Oxford University Press. pp. 279–280. ISBN 978-0-19-530035-2.
  3. 3.0 3.1 West, Martin Litchfield (2007). Indo-European Poetry and Myth. Oxford, England: Oxford University Press. p. 293. ISBN 978-0-19-928075-9.
  4. Nathan Robert Brown (30 September 2014). The Mythology of Grimm: The Fairy Tale and Folklore Roots of the Popular TV Show. Penguin Publishing Group. pp. 195–. ISBN 978-0-698-13788-2.
  5. Miles, Geoffrey (2009) [1999]. Classical Mythology in English Literature: A Critical Anthology. New York City, New York and London, England: Routledge. p. 30. ISBN 978-0-203-19483-6.
  6. Rev. J. G. Campbell, "Superstitions of the islands and Highlands of Scotland", Scottish Celtic Review 4 (1885), pp155, 157, noted in J. G. McKay, "The Deer-Cult and the Deer-Goddess Cult of the Ancient Caledonians" Folklore 43.2 (June 1932), pp. 144–174). p. 152.
  7. Sue Weaver (16 April 2011). The Backyard Goat: An Introductory Guide to Keeping and Enjoying Pet Goats, from Feeding and Housing to Making Your Own Cheese. Storey Publishing, LLC. pp. 142–. ISBN 978-1-60342-699-2.
  8. Franklin-Brown, Mary (2012). Reading the world : encyclopedic writing in the scholastic age. Chicago London: The University of Chicago Press. p. 258. ISBN 9780226260709.
  9. Fritscher, Jack (2004). Popular Witchcraft: Straight from the Witch's Mouth. Popular Press. p. 23. ISBN 0-299-20304-2. The pig, goat, ram — all of these creatures are consistently associated with the Devil.
  10. Platt, Rutherford (1926). The Lost Books of the Bible and the Forgotten Books of Eden. Entry: The Book of the Secrets of Enoch chapter XII
  11. Stratton, Carol (2004). Buddhist Sculpture of Northern Thailand (ภาษาอังกฤษ). Serindia Publications, Inc. ISBN 9781932476095.