มัตสยะ
มัตสยะ (สันสกฤต: मत्स्य มตฺสฺย แปลว่า ปลา) เป็นหนึ่งในอวตารสิบปางของพระวิษณุ ถือเป็นอวตารแรก โดยมีรูปลักษณ์เป็นปลาขนาดใหญ่ผู้คอยช่วยเหลือพระไววัสวัตมนู เหล่าสัปตฤๅษีและสัตว์โลกจากอุทกภัยใหญ่ แต่ในคติพราหมณ์ไทยเรียกว่า มัจฉา ถือเป็นอวตารที่สามของพระวิษณุ[1]
มัตสยะ | |
---|---|
อวตารของพระวิษณุ | |
ในสภาวะครึ่งคนครึ่งปลา | |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | मत्स्य |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Matsya |
ส่วนเกี่ยวข้อง | อวตารของพระวิษณุ |
อาวุธ | เคาโมทกี, สุทรรศนจักร |
เอกสารแรกสุดเกี่ยวกับมัตสยะในฐานะปลาผู้ช่วยเหลือสัตว์โลกนั้นยกให้มัตสยะมีสถานะเท่าเทียมกับพระประชาบดีเทพสมัยพระเวท แต่ในยุคหลังพระเวท เรื่องราวของปลามัตสยะเกลื่อนกลืนไปกับพระพรหม และภายหลังก็กลายเป็นอวตารหนึ่งของพระวิษณุ[2][3][4] ตำนานมัตสยะได้รับการขยายความต่อ ๆ มาในเอกสารฮินดู จนปรากฏเป็นเนื้อหาเชิงสัญลักษณ์ที่เล่าขานว่า พระมนูปกป้องปลาเล็กตัวหนึ่งไว้จนเติบใหญ่ไปช่วยกอบกู้โลก[5][6]
ลักษณะของมัตสยะนั้น บางครั้งปรากฏเป็นปลายักษ์ กายสีทองนพเก้า ใหญ่ยาวล้านโยชน์ มีหงอนใหญ่สูงเท่าต้นยาง บางครั้งแสดงภาพเป็นพระวิษณุมีกายท่อนล่างเป็นปลา[7][5]
นิรุกติศาสตร์
แก้มตฺสฺย เป็นคำในภาษาสันสกฤต แปลว่า "ปลา" ปรากฏในคัมภีร์ ฤคเวท[8] ตรงกับคำในภาษาปรากฤตว่า มจฺฉ ที่แปลว่า "ปลา" เช่นกัน[8]
ตำนาน
แก้เมื่อเวลาใกล้สิ้นยุค ขณะพระพรหมบรรทมอยู่ มีอสูรตนหนึ่งนามว่าหัยครีพ (हयग्रीव) หรืออสูรหัวม้า ลอบขโมยพระเวทไปจากพระพรหม และลงไปแอบซ่อนในหอยสังข์ ทำให้เขามีอีกชื่อว่าศังขาสูร (शंखासुर) อยู่ใต้มหาสมุทร เมื่อพระวิษณุทราบจึงอวตารมาเป็นปลานามว่า ศะผะริ ต่อมาขณะพระสัตยพรตหรือพระไววัสวัตมนูกำลังสรงน้ำ ก็พบว่าในน้ำที่จะรดสรงนั้นมีปลาน้อยอยู่ในนั้น ปลาน้อยขอให้พระมนูเลี้ยงตนเองไว้เพราะเกรงจะถูกปลาใหญ่กิน[5] และให้สัญญาว่าจะช่วยพระมนูให้รอดพ้นจากภัยน้ำท่วมโลกที่กำลังจะมาถึง พระมนูตอบตกลง หลังจากนั้นทรงเลี้ยงปลานี้ไว้ในหม้อ ต่อมาให้คนขุดคูน้ำให้ปลานี้อาศัย เมื่อปลานี้ตัวโตพอที่จะพ้นจากอันตราย พระมนูจึงปล่อยปลาลงไปในมหาสมุทร[5][9] ปลากล่าวขอบคุณพระมนู แล้วบอกวันที่น้ำจะท่วมโลกแก่พระมนู โดยให้สร้างเรือไว้ ให้สามารถผูกเชือกไว้กับเขาของปลาได้ด้วย (ใน ศตบทพราหมณะ ระบุว่าบนเรือมีสัปตฤๅษีและบรรทุกเมล็ดพืชไว้ในนั้นด้วย)[2][5] เมื่อน้ำท่วมมาถึงพระมนูผูกเรือเข้ากับเขาของปลา ฝ่าพายุและภยันตรายต่าง ๆ จากห้วงมหรรณพ แล้วปลาก็พาเรือไปยังพื้นที่สูงบนภูเขาตอนเหนือ (คือเทือกเขาหิมาลัย) พระมนูรอดชีวิตเพียงคนเดียวจึงปฏิบัติตนใหม่อย่างเคร่งครัดพร้อมกับทำพิธียัชญะ เทพีอีทาปรากฏตัวขึ้นจากการทำพิธียัชญะ และทั้งสองเริ่มต้นเผ่าพันธุ์มนุษย์ขึ้นใหม่อีกครั้ง[5][10][11][12]
ครั้นน้ำลดลง มัตสยะจึงลงไปปราบหัยครีพและแย่งพระเวทกลับคืนมาได้[13]
คติพราหมณ์ไทย
แก้ในคติพราหมณ์ไทย เรียกว่า มัจฉาวตาร เป็นอวตารลำดับที่สามของพระนารายณ์[14] ในหนังสือ นารายณ์สิบปาง ฉบับโรงพิมพ์หลวง ต่อจากเหตุการณ์ที่พระนารายณ์อวตารเป็นกัจฉปาวตารไปปราบผีเสื้อน้ำที่ลักไตรเพทไปให้อสุรมัจฉาร้อยโกฏิ อสุรมัจฉานำไตรเพทไปฝากสังขอสูร (หรือสะกดว่า สังขะอสูร) พระนารายณ์จึงอวตารเป็นปลากรายทองนามว่ามัจฉาวตารลงไปปราบสังขอสูร ปรากฏว่าสังขอสูรกลืนไตรเพทลงท้อง มัจฉาจึงสังหารสังขอสูรแล้วง้างปากล้วงเอาไตรเพทคืน หลังจากนั้นพระนารายณ์ทรงสาปปลากรายไว้ว่ามนุษย์จะเอาไปกินเป็นอาหารก็ยากนัก และสาปหอยสังข์ว่าถ้ามนุษย์จะทำการมงคลในภายหน้า ก็ให้สังข์อยู่พิธีนั้น ใครนำน้ำรดสังข์ก็จะป้องกันเสนียดจัญไร เพราะสังข์เคยกลืนไตรเพทไว้ในอุทร
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวว่า มัจฉาวตารของไทยมีเนื้อหาค่อนข้างดี[15] และทรงสังเกตว่าลำดับการอวตารถูกเรียงผิดไปจากคติอินเดีย เพราะไทยเรียงไว้เป็นอวตารลำดับที่สามทั้ง ๆ ที่เป็นเหตุการณ์สิ้นกัลป์ก่อนและเริ่มกัลป์ใหม่ รวมทั้งกรณีที่มัจฉาวตารนี้ไม่กล่าวถึงเหตุการณ์น้ำท่วมโลกไว้เลย หากแต่กล่าวถึงการปราบอสูรเพื่อชิงพระเวทคืนเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องยิบย่อยในมัตสยาวตารของอินเดีย[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ. "พระเป็นเจ้าของพราหมณ์ อวตาร". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 Krishna 2009, p. 33.
- ↑ Rao pp. 124-125
- ↑ "Matsya". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica Inc. 2012. สืบค้นเมื่อ May 20, 2012.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Bonnefoy 1993, pp. 79–80.
- ↑ George M. Williams 2008, pp. 212–213.
- ↑ Rao p. 127
- ↑ 8.0 8.1 Monier Monier-Williams, Sanskrit-English Dictionary and Etymology, Oxford University Press, pages 776-777
- ↑ Alain Daniélou (1964). The Myths and Gods of India: The Classic Work on Hindu Polytheism from the Princeton Bollingen Series. Inner Traditions. pp. 166–167 with footnote 1. ISBN 978-0-89281-354-4.
- ↑ Aiyangar 1901, pp. 120–1.
- ↑ "Satapatha Brahmana Part 1 (SBE12): First Kânda: I, 8, 1. Eighth Adhyâya. First Brâhmana". www.sacred-texts.com. สืบค้นเมื่อ 2019-12-28.
- ↑ Dikshitar 1935, pp. 1–2.
- ↑ Narada Purana 1952, pp. 1978–9.
- ↑ "นารายณ์สิบปาง". นามานุกรมวรรณคดีไทย. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ. "ลิลิตนารายณ์สิบปาง พระราชนิพนธ์ คำนำ". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
อ่านเพิ่มเติม
แก้- Aiyangar, Narayan (1901). Essays On Indo Aryan Mythology. Madras: Addison and Company.
- Bonnefoy, Yves (1993). Asian Mythologies. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-06456-7.
- Dikshitar, V. R. Ramachandra (1935). Matsya Purana a study.
- Roy, J. (2002). Theory of Avatāra and Divinity of Chaitanya. Atlantic. ISBN 978-81-269-0169-2.
- Krishna, Nanditha (2009). The Book of Vishnu. Penguin Books India. ISBN 978-0-14-306762-7.
- Rao, T.A. Gopinatha (1914). Elements of Hindu iconography. Vol. 1: Part I. Madras: Law Printing House.
- George M. Williams (2008). Handbook of Hindu Mythology. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-533261-2.
- Mani, Vettam (1975). Puranic Encyclopaedia: a Comprehensive Dictionary with Special Reference to the Epic and Puranic Literature. Motilal Banarsidass Publishers. ISBN 978-0-8426-0822-0.
- Shah, Priyabala (1990). Shri Vishnudharmottara. The New Order Book Co.
- H H Wilson (1911). Puranas. p. 84.
- Shastri, J. L.; Tagare, G. V. (1999) [1950]. The Bhāgavata Purāṇa. Motilal Banarsidas.
- Shastri, J. L.; Bhatt, G. P.; Gangadharan, N. (1998) [1954]. Agni Purana. Motilal Banarsidass Publishers Pvt. Ltd.
- Wilson, H. H. (Horace Hayman) (1862). The Vishnu Purána : a system of Hindu mythology and tradition. Works by the late Horace Hayman Wilson. Vol. VI. Princeton Theological Seminary Library. London : Trübner.
- Wilson, H. H. (Horace Hayman) (1862a). The Vishnu Purána : a system of Hindu mythology and tradition. Works by the late Horace Hayman Wilson. Vol. VII. Princeton Theological Seminary Library. London : Trübner.
- Brahma Purana. UNESCO collection of Representative Works - Indian Series. Motilal Banarsidass. 1955.
- Nagar, Shanti Lal (2005). Brahmavaivarta Purana. Parimal Publications.
- The Garuda Purana. Vol. 1. Motilal Banarsidas. 2002 [1957].
- The Garuda Purana. Vol. 3. Motilal Banarsidas. 2002 [1957].
- Shastri, J.L. (1990) [1951]. Linga Purana. Vol. 2. Motilal Banarsidass Publishers Pvt. Ltd.
- The Narada Purana. Vol. 4. Motilal Banarsidas. 1997 [1952].
- The Narada Purana. Vol. 5. Motilal Banarsidas. 1952.
- The Varaha Purana. UNESCO collection of Representative Works - Indian Series. Vol. 1. Motilal Banarsidas. 1960.
- Shastri, J. L. (2000) [1950]. The Śiva Purāṇa. Vol. 2. Motilal Banarsidas.
- Padma Purana. Vol. 8. Motilal Banarsidas. 1956.
- Padma Purana. Vol. 9. Motilal Banarsidas. 1956.
- The Skanda Purana. Vol. 5. Motilal Banarsidas. 1998 [1951].
- The Skanda Purana. Vol. 6. Motilal Banarsidas. 1998 [1951].
- The Skanda Purana. Vol. 15. Motilal Banarsidas. 2003 [1957].
- The Skanda Purana. Vol. 12. Motilal Banarsidas. 2003 [1955].