เสือดาวแอฟริกา
บนต้นไม้ที่อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ประเทศแอฟริกาใต้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  pardus
สปีชีส์ย่อย: P.  p. pardus
Trinomial name
Panthera pardus pardus[1]
Linnaeus, 1758

เสือดาวแอฟริกา (อังกฤษ: African leopard; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera pardus pardus) เป็นชนิดย่อยชนิดหนึ่งในบรรดา 8 ชนิดของเสือดาว จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae)

ลักษณะและพฤติกรรม

แก้

จัดเป็นเสือใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในทวีปแอฟริกานอกเหนือจากสิงโต จัดเป็น 1 ใน 5 ของสัตว์ป่าผู้ยิ่งใหญ่แห่งแอฟริกา หรือ "บิ๊ก 5" ที่นักท่องเที่ยวต่างต้องการที่จะพบเห็นตัวในการเที่ยวแบบซาฟารี ซึ่งประกอบไปด้วยสิงโต, เสือดาว, ช้างป่า, ควายป่า และแรดขาว แต่เสือดาวนับเป็นสัตว์ป่าที่หาตัวได้ยากที่สุด เพราะมีทักษะในการหลบซ่อนตัวเก่งและมีพฤติกรรมที่อยู่ลำพังเพียงตัวเดียว นอกจากฤดูผสมพันธุ์ ที่จะอยู่เป็นคู่

เสือดาวแอฟริกาตัวผู้ มีน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ 50–80 กิโลกรัม ในขณะที่ตัวเมียประมาณ 32–55 กิโลกรัม ความสูงจากตีนจนถึงหัวไหล่ 60–70 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 1.2–1.8 เมตร ความยาวหาง 70 เซนติเมตร–1 เมตร ถือเป็นเสือดาวชนิดย่อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด[2] อายุโดยเฉลี่ย 12–15 ปี นอกจากนี้แล้ว เสือดาวแอฟริกายังเชื่อว่าเป็นต้นสายพันธุ์ของบรรดาเสือดาวทั้งหมดในปัจจุบัน โดยกำเนิดขึ้นเมื่อ 500,000 ปีที่แล้วที่ทวีปแอฟริกา ก่อนที่จะแพร่ขยายพันธุ์และถิ่นที่อยู่ออกไปในทวีปเอเชีย[2]

เสือดาวแอฟริกาล่าสัตว์กินพืชอย่างทอมสันส์กาเซลล์, อิมพาลา, หมูป่า, กระต่ายป่า รวมถึงงูเหลือมกินเป็นอาหาร โดยมักเลือกเหยื่อขนาดกลางที่น้ำหนักไม่เกิน 200 กิโลกรัม แต่ก็อาจจะล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างอีแลนด์ ที่มีน้ำหนักกว่า 900 กิโลกรัมได้[2] โดยใช้วิธีแอบซุ่มจู่โจมไม่ให้เหยื่อทันรู้ตัว โดยแอบย่องเข้าไปใกล้เหยื่อในระยะ 5–9 เมตร โดยใช้ลายตามลำตัวพรางตัว แล้วจึงพุ่งเข้าใส่ เสือดาวสามารถวิ่งได้เร็วประมาณ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีอาณาบริเวณหากินประมาณ 35–40 กิโลเมตร แต่จะไม่วิ่งไล่เหยื่อนานเท่าเสือชีตาห์ และเมื่อได้เหยื่อแล้วเมื่อกินไม่หมด และมีการเอาเหยื่อขึ้นไปซ่อนหรือแขวนไว้บนต้นไม้ เพื่อที่จะกลับมากินต่อในมื้อถัดไป แต่ถ้าล่าเหยื่อได้บนต้นไม้ จะลากลงมากินบนพื้น[3] ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ไม่พบในเสือดาวในทวีปเอเชีย[4] นอกจากนี้แล้วเสือดาวยังสามารถว่ายน้ำ หาอาหารที่เป็นสัตวน้ำ เช่น ปู, ปลา หรือแม้แต่กระทั่งจระเข้ขนาดย่อม ๆ กินเป็นอาหารได้ด้วย รวมถึงแม้แต่ หมาจิ้งจอก หรือไฮยีน่าที่มารังควานได้ด้วย [3]

เสือดาวแอฟริกา กระจายพันธุ์ทั่วทวีปแอฟริกา ตั้งแต่ใต้สะฮาราเป็นต้นไป อาศัยอยู่ได้ในทุกภูมิประเทศทั้งทะเลทรายแห้งแล้ง จนถึงป่าโปร่ง หรือป่าทึบ และพบได้ในที่สูง โดยมีบันทึกว่าพบที่ความสูงถึง 5,700 เมตร (18,700 ฟุต) บนเนินภูเขาไฟที่ทิวเขารูเวนโซรีและเทือกเขาวีรุงกาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และกินน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง 37 องศาเซลเซียส (99 ฟาเรนไฮต์) ได้ในอุทยานแห่งชาติวิรุงกา[5]

 
เสือดาวแอฟริกาล่าเหยื่อเป็นแอนทิโลป
 
ขณะพุ่งใส่เหยื่อ

แม้จะเป็นสัตว์นักล่าขั้นสูงสุด แต่บางครั้งเสือดาวแอฟริกาก็ถูกสิงโตล่าเป็นอาหารได้ ลูกเสือที่ยังเล็กก็ตกเป็นอาหารของสิงโตและไฮยีน่าได้เช่นกัน รวมถึงถูกล่าโดยมนุษย์เพื่อความต้องการหนังที่มีลวดลายสวยงาม โดยหนังของเสือดาวแอฟริกาใช้เป็นเครื่องแต่งกายในพิธีกรรมทางศาสนาของชนพื้นเมืองแถบแอฟริกา คือ ชนเผ่าซูลู[2] เสือดาวแอฟริกาตัวเมียที่มีลูกอ่อน จะย้ายที่อยู่ตลอดเวลารวมถึงคาบลูกไปหลบซ่อนตามที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ[6] โดยจำนวนของเสือดาวแอฟริกาในธรรมชาติ ปัจจุบันไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[2]

การจำแนก

แก้

เสือดาวที่พบในทวีปแอฟริกา บางครั้งยังถูกจำแนกออกเป็นชนิดย่อย ๆ ต่าง ๆ ได้มากกว่านี้ คือ[7]

แต่จากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมพบว่า เสือดาวแอฟริกาทั้งหมดมีสายพันธุ์กรรมใกล้ชิดกันมากที่สุด[8] โดยเสือดาวที่พบในแถบแอฟริกาใต้ เป็นเสือดาวที่มีอุปนิสัยขี้อายและมักอาศัยอยู่ตามแถบภูเขาสูง และมีขนาดลำตัวเล็กกว่าเสือดาวแอฟริกาที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า [2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Henschel, P., Hunter, L., Breitenmoser, U., Purchase, N., Packer, C., Khorozyan, I., Bauer, H., Marker, L., Sogbohossou, E., Breitenmoser-Würsten, C. (2008). "Panthera pardus". International Union for Conservation of Nature and Natural Resources.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 หน้า 100-119, ก้าวย่างจากเงื้อมเงา โดย ริชาร์ด คอนนิฟฟ์. เนชั่นแนลจีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทย ฉบับที่ 173: ธันวาคม 2558
  3. 3.0 3.1 สามเหลี่ยมโอคาแวนโก ตอนที่ 4, สุดหล้าฟ้าเขียว. สารคดีโดย ปองพล อดิเรกสาร ทางช่อง 3: เสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556
  4. เสือดาวจากเว็บไซต์สวนสัตว์อุบลราชธานี. สืบค้น 17 ตุลาคม 2556.
  5. Nowell, K., Jackson, P. (1996) Leopard Panthera pardus In Wild Cats: status survey and conservation action plan. IUCN/SSC Cat Specialist Group, Gland, Switzerland.
  6. ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. หน้า 132-133. ISBN 978-616-90508-0-3
  7. Sunquist, M. E., Sunquist, F. C. (2009) Family Felidae (Cats) Pages 137 in: Don E. Wilson, Russell A. Mittermeier (Eds.) Handbook of the Mammals of the World, Volume 1: Carnivores; Lynx Edicions. ISBN 978-84-96553-49-1
  8. Uphyrkina, O., Johnson, W. E., Quigley, H. B., Miquelle, D. G., Marker, L., Bush, M. E., O'Brien, S. J. (2001) Phylogenetics, genome diversity and origin of modern leopard, Panthera pardus เก็บถาวร 2020-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Molecular Ecology (2001) 10: 2617−2366.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panthera pardus pardus ที่วิกิสปีชีส์