ลามา, ลัมมา หรือ ลามัสซู (คูนิฟอร์ม: 𒀭𒆗, an.kal; ซูเมอร์: dlammař; ต่อมาในอัคคาเดีย: lamassu; หรือบางครั้งเรียก ลามัสซูส[1][2]) เป็นเทพารักษ์ในคติชาวอัสซีเรีย[3] แรกเริ่มเป็นเทวีในคติซูเมเรียในชื่อ "ลัมมา" (Lamma) หรือ "ลามา" (Lama) และต่อมาในคติอัสซีเรียกลายเป็นสัตว์ครึ่งคนครึ่งนกครึ่งกระทิงหรือสิงโต โดยมีหัวเป็นมนุษย์ คัวเป็นสิงโตหรือกระทิง และปีกนก รู้จักในชื่อ "ลามัสซู" (Lamassu)[3][4] ในบางบทความถูกระบุเป็นตัวแทนของเทพี[5] อีกชื่อหนึ่งแต่ไม่ปรากฏมากนักคือ เชดู (คูนิฟอร์ม: 𒀭𒆘, an.kal×bad; ซูเมอร์: dalad; อัคคาเดีย, šēdu) ซึ่งเป็นคำเรียกคู่ตัวผู้ของลามัสซู[6] ลามัสซูเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของจักรราศี, ดวงดาว หรือกลุ่มดาว[7][8]

ภาพวาดแสดงลามัสซู จากพจนานุกรมความรู้ศาสนา (1875)

เทพี ลามา แก้

เทพี ลามา (Lama) หรือ ลัมมา (Lamma) ปรากฏแรกเริ่มเป็นเทพีสื่อกลาง โดยนำคำภาวนาของมนุษย์ส่งต่อให้เทพเจ้าองค์อื่น ๆ[3] ส่วนเทพเจ้าที่เป็นผู้พิทักษ์ (เทพารักษ์) นั้นปรากฏเรียกชัดเจนในชื่อ "ลัมมา" หรือ "ลามา" (Lam(m)a) ในจารึกคัสไซต์ที่ขุดพบในอูรุก ในวิหารของเทพีอีชตาร์[9] เทพีลัมมามีลักษณะเป็นเทพีสวมชุดที่มีรอยพับจีบ และเครื่องประดับศีรษะเป็นมงกุฏหนาม สองมือยกขึ้นในลักษณะขอพร เอ. สปิชเกต (A. Spycket) เสนอว่าภาพสตรีที่พบในยุคอัคคาเดียในลักษณะเดียวกันนี้ควรจะถือว่าเป็นลัมมาทั้งหมด[10] ความเห็นที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง จนต่อมานิยมเรียกลักษณะสตรีแบบดังกล่าวในงานศิลปะยุคนี้ว่าลัมมา[3] และนับตั้งแต่สมัยอัสซีเรียมา ลามัสซูกลายเป็นครึ่งคน ครึ่งนก และครึ่งสิงโตหรือกระทิง[3]

อ้างอิง แก้

  1. Kriwaczek, Paul. Babylon: Mesopotamia and the Birth of Civilization, p. 37.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Leick, Dr Gwendolyn (2002). A Dictionary of Ancient Near Eastern Mythology (ภาษาอังกฤษ). Routledge. pp. 109–110. ISBN 978-1-134-64102-4.
  4. "Livius.org". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-21.
  5. Beaulieu, Paul-Alain (2003). The Pantheon of Uruk During the Neo-Babylonian Period. Brill. ISBN 90-04-13024-1.
  6. Black, Jeremy; Green, Anthony (2003). An Illustrated dictionary, Gods, Demons and Symbols of Ancient Mesopotamia. The British Museum Press. ISBN 0-7141-1705-6.
  7. Hewitt, J.F. History and Chronology of the Myth-Making Age. p. 85.
  8. W. King, Leonard. Enuma Elish Vol 1 & 2: The Seven Tablets of Creation; The Babylonian and Assyrian Legends Concerning the Creation of the World and of Mankind. p. 78.
  9. "The deity which we have here called the Babylonian Goddess has been identified as the goddess Lama thanks to an inscription found at Uruk. Agnes Spycket has discussed the textual references to this interceding deity, and the way she is represented in art." Collon, Dominique (1975). The seal impressions from Tell Atchana/Alalakh (ภาษาอังกฤษ). Butzon & Bercker. p. 181. ISBN 978-3-7887-0469-8.
  10. Spycket, Agnès (1960). "La Déesse Lama". Revue d'Assyriologie et d'archéologie orientale. 54 (2): 73–84. ISSN 0373-6032. JSTOR 23294909.

บรรณานุกรม แก้

  • Frankfort, Henri, The Art and Architecture of the Ancient Orient, Pelican History of Art, 4th ed 1970, Penguin (now Yale History of Art), ISBN 0140561072

แหล่งข้อมูลอื่น แก้