รัฐเกอดะฮ์

(เปลี่ยนทางจาก รัฐเคดาห์)

เกอดะฮ์,[3] เกดะห์[3] (มลายู: Kedah, قدح) หรือ ไทรบุรี[4][5] มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอามัน ("ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบใช้สำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี

รัฐเกอดะฮ์

Negeri Kedah
เนอเกอรีเกอดะฮ์ดารุลอามัน
Negeri Kedah Darul Aman
การถอดเสียงต่าง ๆ
 • มลายูKedah (รูมี)
قدح(ยาวี)
ธงของรัฐเกอดะฮ์
ธง
ตราราชการของรัฐเกอดะฮ์
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
เกอดะฮ์ อามัน มักมูร์ ฮาราปัน เบอร์ซามา มักมูร์กัน เกอดะฮ์
เพลง: อัลละฮ์เซอลามัตกันซุลตันมะฮ์โกตา
   รัฐเกอดะฮ์ ใน    ประเทศมาเลเซีย
พิกัด: 6°07′42″N 100°21′46″E / 6.12833°N 100.36278°E / 6.12833; 100.36278
เมืองหลวงอาโลร์เซอตาร์
เมืองเจ้าผู้ครองอานักบูกิต
การปกครอง
 • ประเภทราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา
 • สุลต่านสุลต่านซัลเลฮุดดิน
 • มุขมนตรีมุคริซ มาฮาดีร์ (PH-PPBM)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด9,500 ตร.กม. (3,700 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2015)[2]
 • ทั้งหมด2,071,900 คน
 • ความหนาแน่น199 คน/ตร.กม. (520 คน/ตร.ไมล์)
ดัชนีรัฐ
 • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2010)0.800 (สูงมาก) (อันดับที่ 11)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
รหัสไปรษณีย์05xxx to 09xxx
รหัสโทรศัพท์04
08 (กูลิมและลังกาวี)
รหัส ISO 3166MY-02
ทะเบียนพาหนะK (เกอดะฮ์แผ่นดินใหญ่)
KV (เกาะลังกาวี)
สหราชอาณาจักรปกครองค.ศ. 1909
ญี่ปุ่นยึดครองค.ศ. 1942
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายาค.ศ. 1948
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
เว็บไซต์www.kedah.gov.my

พรมแดนของรัฐเกอดะฮ์ทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐปะลิส และติดต่อกับจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลาของประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐเประ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐปีนัง เมืองหลวงของรัฐคือ อาโลร์เซอตาร์ และเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อานักบูกิต เมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ ซูไงเปอตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกัวะฮ์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี

ประวัติศาสตร์

แก้
 
ซากโบราณสถานฮินดูในหุบเขาบูจัง

เกอดะฮ์เป็นนครรัฐที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน จากหลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่บริเวณหุบเขาบูจัง ซึ่งเป็นร่องรอยการตั้งอยู่ของอาณาจักรฮินดู-พุทธ ในสมัยศตวรรษที่ 4 อาณาจักรแห่งนี้ถือว่าเป็นอารยธรรมที่เก่ามากบนพื้นแผ่นดินมาเลเชีย และมีการสืบเชื้อสายปกครองดินแดนในแถบนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยของ กษัตริย์ชื่อ มะโรง มหาวงศ์ ซึ่งพระองค์นับถือศาสนาฮินดู โดยราชวงศ์ของพระองค์ ปกครองเกอดะฮ์เรื่อยมาจนถึงกษัตริย์องค์ที่ 9 พระองค์มหาวงศ์ เกอดะฮ์มีการติดต่อค้าขายกับอาหรับจนรับเอาอารยธรรมและศาสนาของชาวอาหรับเข้ามายึดถือ พระองค์มหาวงศ์ หันมานับถือศาสนาอิสลาม และเปลี่ยนชื่อเป็น สุลต่าน มุสซาฟา ชาห์ ในปี พ.ศ. 1679 (ค.ศ. 1136)

ตามประวัติศาสตร์แต่โบราณมา เมืองเกอดะฮ์ถูกเรียกว่าเมืองไทรบุรีมาโดยตลอด โดยในศตวรรษที่ 7-8 เมืองไทรบุรีขึ้นอยู่กับอาณาจักรศรีวิชัย หลังอาณาจักรศรีวิชัยล่มสลาย และเกิดอาณาจักรมะละกา ทางตอนใต้ เมืองไทรบุรีจึงไปขึ้นอยู่กับมะละกา จนกระทั่งศตวรรษที่ 17 พวกอาเจะฮ์ก็เข้าเข้าโจมตีเมืองไทรบุรี เจ้าเมืองไทรบุรีจึงได้ขอความช่วยเหลือยังอาณาจักรอยุธยาและถ้าปลดปล่อยสำเร็จจะขอเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอโยธยา โดยทางอาณาจักรอโยธยาได้ส่งกำลังทหารเข้ามาปลดปล่อยเมืองไทรบุรีจากพวกอาเจะฮ์เป็นผลสำเร็จ ซึ่งตั้งแต่นั้นเมืองไทรบุรี ศตวรรษที่ 18 ก็อยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรอโยธยาต่อมาถึงอาณาจักรสยามมาโดยตลอด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชอาณาจักรสยามได้มีการปรับปรุงการดูแลหัวเมืองทางใต้ใหม่ โดยตั้งรูปแบบมณฑลขึ้นและเปลี่ยนการเรียกเมืองเป็นจังหวัด จึงทำให้เมืองไทรบุรีเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดไทรบุรีสังกัดมณฑลมาลัย

ภายหลังจากเสด็จประพาสแหลมมลายูครั้งแรกจึงมีพระราชดำรัสเมื่อปี พ.ศ. 2440 ให้ตั้งมณฑลไทรบุรี (เมืองไทรบุรี เมืองปะลิส เมืองสตูล) ได้แต่งตั้งอับดุล ฮามิต เจ้าเมืองไทรบุรีเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล ตำแหน่งพระยาฤทธิสงครามภักดี ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางกรุงเทพฯ โดยมีพระประสงค์ให้เจ้าเมืองเหล่านี้ภักดีต่อสยามมากกว่าจะแทรกแซงการเมืองภายใน รัชกาลที่ 5 ใช้จิตวิทยาในการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเมือง แสดงความใส่พระทัยและตักเตือน สั่งสอน เน้นให้ดูแลพัฒนาความเป็นอยู่ราษฎรให้เทียบเท่าในเขตที่ปกครองโดยอังกฤษ อำนาจของรัฐบาลสยามถูกใช้ผ่านกลุ่มผู้นำท้องถิ่นในฐานะหัวเมืองประเทศราชซึ่งได้รับยศ ตำแหน่ง เป็นข้าราชการของราชสำนักสยาม[6]

ต่อมาอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนมลายูทางใต้ของเมืองไทรบุรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อังกฤษเข้ามามีอำนาจในดินแดนมลายู โดยเจ้าเมืองไทรบุรีมีแผนการหวังที่จะให้อังกฤษโดยมีข้อแม้ว่าต้องช่วยเมืองไทรบุรีให้ปลดปล่อยออกอำนาจของสยาม โดยเจ้าเมืองไทรบุรีมีข้อแลกเปลี่ยนคือยกเกาะหมากหรือเกาะปีนังในปัจจุบัน ให้กับอังกฤษ แต่อังกฤษสนใจเฉพาะการค้าเท่านั้นไม่มีต้องการมีเรื่องกับสยามเพราะการค้าของอังกฤษในสยามกำลังเป็นไปได้ด้วยดี จึงปฏิเสธเจ้าเมืองไทรบุรีไปโดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับเรื่องภายในของประเทศอื่น ปีนังจึงอยู่ในการปกครองของต่อไป

ต่อมาอังกฤษยึดอินเดียและพม่าเป็นรัฐอารักขาได้แล้ว และมีแผนขยายอำนาจอังกฤษจึงยอมรับข้อตกลงรับเกาะหมากหรือเกาะปีนังจากเมืองไทรบุรี โดยเรื่องนี้เมืองไทรบุรีไม่ได้แจ้งให้สยามซึ่งมีอำนาจเหนือเมืองไทรบุรีในขณะนั้นทราบ ทางสยามเมื่อทราบจึงส่งกองทัพยกกำลังเพื่อมาจับเจ้าเมืองไทรบุรีเพื่อพิจารณาโทษที่กรุงเทพฯ แต่ปรากฏว่าเจ้าเมืองไทรบุรีหนีเข้าไปอยู่ในเขตของอังกฤษ โดยสยามในขณะนั้นมีนโยบายไม่อยากเป็นศัตรูและรู้ว่าไม่สามารถทัดทานอำนาจของอังกฤษได้ ซึ่งผลทำให้เกาะปีนังตกเป็นของอังกฤษตั้งแต่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2329 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยต้องการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ได้เคยทำไว้กับอังกฤษโดยต้องการให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะพิจาณาคดีและบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษซึ่งขณะนั้นได้สร้างปัญหามากมายกับสยาม โดยอังกฤษมีข้อแลกเปลี่ยนคือสยามจะต้องยกสี่รัฐมาลัยให้เป็นของอังกฤษ ประกอบด้วยกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปลิศ ซึ่งสยามได้พิจารณาและตัดสินใจยอมยกสี่รัฐมาลัยให้แก่อังกฤษเมื่อ 10 มีนาคม 2451 (นับศักราชใหม่ต้องเป็นปี 2452 เพราะเดิมทีไทยนับศักราชใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน ไปสิ้นสุดที่เดือนมีนาคม ในศักราชถัดไปของปฏิทินสากล) เพื่อแลกเปลี่ยนตามเงื่อนไข ด้วยเหตุนี้เมืองไทรบุรีก็ตกอยู่ภายใต้รัฐมลายูของอังกฤษ เมื่อเมืองไทรบุรีได้เข้าไปรวมอยู่รัฐมลายูของอังกฤษซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงได้เปลี่ยนชื่อไทรบุรีเป็นเกอดะฮ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

รายนามเจ้าเมืองไทรบุรี

แก้
  1. พระองค์มหาวังศา
  2. พระองค์มหาโพธิสัตว์
  3. พระศรีมหาวังศา
  4. พระศรีมหาอินทรวังศา
  5. พระองค์มหายาดดาหรา
  6. พระองค์มหาโพธิสัตว์ (ตั้งแต่องค์ที่1-6 นับถือพุทธศาสนา ตั้งแต่องค์ที่7เป็นต้นไป เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม)
  7. พระองค์มหาวังศา (สุลต่านมูนซาฟะ)
  8. สุลต่านมูอัดลำซะ (ตนกูมูอัดลำซะ)
  9. สุลต่านมหะมัดซะ (ตนกูมหะมัดซะ)
  10. สุลต่านมันโลซะ (ตนกูมันโลซะ)
  11. สุลต่านมหะมุดซะ (ตนกูมหะมุดซะ)
  12. สุลต่านสุไลยมันซะ (ตนกูสุไลยมันซะ)
  13. สุลต่านรายาอุดินมหะมัดซะ (ตนกูมหะมัดซะ)
  14. สุลต่านมหัยยิตดินมันโซร์ซะ (ตนกูมหัยยิตดินมันโซร์ซะ)
  15. สุลต่านลิยาอุดินมัดรำซะ (ตนกูลิยาอุดินมัดรำซะ)
  16. สุลต่านอะตาอินลามหะมัดซะ (ตนกูอะตาอินลามหะมัดซะ)
  17. สุลต่านอมัดตายุดินมัดรำซะ (ตนกูอมัดตายุดินมัดรำซะ)
  18. สุลต่านมหะมัดยิหวากัยนันอาดิลินมูอัดลำซะ (ตนกูมหะมัดยิหวา)
  19. พระยาไทรบุรี (สุลต่านอัปดลลามัดรำซะ) (ตนกูอัปดลลา)
  20. พระยาไทรบุรี (สุลต่านลิยาอุดินมูอัดรำซะ) (ตนกูลิยาอุดินรายามุดา)
  21. เจ้าพระยาไทรบุรี (สุลต่านอะหมัดตายุดินฮาเลมซะ) (ตนกูปะแงรัน) ครั้งที่1
  22. พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)
  23. ตนกูอาหนุ่ม (รักษาการแทน ภายหลังเป็นพระยากะปังปาสู เจ้าเมืองกะปังปาสู Kubang Pasu)
  24. เจ้าพระยาไทรบุรี (สุลต่านอะหมัดตายุดินฮาเลมซะ) (ตนกูปะแงรัน) ครั้งที่2
  25. พระยาไทรบุรี (ตนกูดาอิ)
  26. เจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี ศรีสุลต่านมหะมัดรัตนราชมุนินทร์ฯ เจ้าพระยาไทรบุรี (ตนกูอามัด)
  27. พระยาฤทธิสงครามรามภักดี ศรีสุลต่านมหะมัดรัตนราชมุนินทร์ฯ พระยาไทรบุรี (ตนกูไซนาระชิด)
  28. เจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี ศรีสุลต่านมหะมัดรัตนราชมุนินทร์ฯ เจ้าพระยาไทรบุรี (ตนกูฮามิด)[7]
  29. สุลต่านบาดิร ชาฮ์
  30. สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์
  31. สุลต่านตวนกู มาห์มุด ซาเลฮุดดิน

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

รัฐเกอดะฮ์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 เขต ได้แก่

  1. เขตบาลิง (Baling)
  2. เขตบันดาร์บาฮารู (Bandar Baharu)
  3. เขตโกตาเซอตาร์ (Kota Setar)
  4. เขตกัวลามูดา (Kuala Muda)
  5. เขตกูบังปาซูหรือกุบังปาสู (Kubang Pasu)
  6. เขตกูลิม (Kulim)
  7. เขตลังกาวี (Langkawi)
  8. เขตปาดังเตอรัป (Padang Terap)
  9. เขตเปินดัง (Pendang)
  10. เขตซิก์ (Sik)
  11. เขตยัน (Yan)

ประชากร

แก้

ประชากรในรัฐเกอดะฮ์ตามกลุ่มชาติพันธุ์ในปี พ.ศ. 2546 ได้แก่ ชาวมลายู (1,336,352 คน) ชาวจีน (252,987 คน) ชาวอินเดีย (122,911 คน) ไร้สัญชาติ (35,293 คน) และอื่น ๆ (27,532 คน) ในจำนวนนี้มีกลุ่มชาวไทยไทรบุรี ซึ่งเป็นชาวไทยพลัดถิ่นที่ตกค้างในประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่การทำสนธิสัญญากับประเทศอังกฤษ

ศาสนา

แก้
สถิติจำนวนผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ ของรัฐเกอดะฮ์ใน ค.ศ. 2010[8]
ศาสนา อัตราส่วน
อิสลาม
  
77.2%
พุทธ
  
14.2%
ฮินดู
  
6.7%
คริสต์
  
0.8%
อื่น ๆ
  
0.7%
พื้นบ้านจีน
  
0.3%
ไม่มีศาสนา
  
0.1%

ณ ปี ค.ศ. 2010 ประชากรรัฐเกอดะฮ์ร้อยละ 77.2 นับถือศาสนาอิสลาม, ร้อยละ 14.2 นับถือศาสนาพุทธ, ร้อยละ 6.7 นับถือศาสนาฮินดู, ร้อยละ 0.8 นับถือศาสนาคริสต์, ร้อยละ 0.3 นับถือลัทธิเต๋าหรือศาสนาพื้นบ้านของจีน, ร้อยละ 0.7 นับถือศาสนาหรือลัทธิอื่น ๆ และร้อยละ 0.1 เป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา

การคมนาคมขนส่ง

แก้

รัฐเกอดะฮ์มีเครือข่ายทางหลวงเชื่อมต่ออย่างดี ดังนั้นจึงสะดวกและง่ายที่นักท่องเที่ยวจะเข้าไปถึง ทางด่วนเส้นเหนือ-ใต้ก็ตัดผ่านรัฐเกอดะฮ์ จึงทำให้ย่นระยะเวลาการเดินทางจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังอาโลร์เซอตาร์ให้เหลือเพียง 5 ชั่วโมง ในทางเดียวกันรถไฟเกเรอตัปปีตานะฮ์เมอลายู (Keretappi Tanah Melayu) ก็เปิดให้บริการทุกวันจากเมืองหลักๆ ของมาเลเซียไปยังเมืองอาโลร์เซอตาร์ และเมืองอื่นๆ

สายการบินแห่งชาติ (มาเลเซียแอร์ไลน์) ก็มีเที่ยวบิน 3 เที่ยวต่อวันไปยังอาโลร์เซอตาร์จากสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ สายการบินแอร์เอเชียเป็นสายการบินที่มีเที่ยวบินสองเที่ยวต่อวันไปอาโลร์เซอตาร์ และยังออกจากสนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ยังมีบริการเรือข้ามฟากที่ออกทุก ๆ ครึ่งชั่วโมงจากเกาะลังกาวีไปยังกัวลาเกอดะฮ์ ตั้งแต่ 07.00 ถึง 19.00 น. ทุกวันอีกด้วย

การคมนาคมขนส่งอื่นๆ ก็มีรถโค้ชปรับอากาศและรถลีมูซีนทางไกลหรือแม้กระทั่งรถแท็กซี่ ก็ทำให้ได้บรรยากาศที่สดชื่นไปอีกแบบ

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
บาไลเบอซาร์ (Balai Besar)
สร้างขึ้นในปี 1735 โดยสุลต่านโมฮาหมัด ยิวา (Mohamad Jiwa) สุลต่านองค์ที่ 19 ของรัฐเกอดะฮ์ ด้วยแรงบันดาลใจที่เคยไปเยี่ยมเยือนปาเลมบังในสุมาตรา มันได้ถูกบรรจงสร้างอย่างประณีตด้วยเสา หลังคาและการปูพื้นที่ทำด้วยไม้ แต่โชคไม่ดีนักที่โบราณสถานแห่งนี้ได้ถูกทำลายลงระหว่างการโจมตีของสยาม (ในยุคของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) ในปี 1787 และยังได้ถูกไฟเผาอย่างรุนแรงโดย Bugisin ในปี 1770 หลังจากนั้นมันก็ได้ถูกบูรณะขึ้นมาใหม่และใช้สำหรับการเข้าเฝ้า ราชาภิเษก งานแต่งงาน และราชพิธีต่าง ๆ
พิพิธภัณฑ์ของรัฐ
พิพิธภัณฑ์ใหม่ของรัฐเกอดะฮ์นั้นได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 27 มีนาคม 2003 แต่ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่ปี 1997 มันได้สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์แห่งวิถีชีวิตบ้านเรือนแบบฉบับวัฒนธรรมมาเลเซียได้อย่างดีเยี่ยมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “bumbung panjang” หรือหลังคาแบบยาว ที่ได้กลายมาเป็นรูปแบบหลักของการสร้างบ้านแบบมลายู ตึกหลังนี้มีโถงจัดแสดงหลายห้อง (dewan) เช่น โถงวัฒนธรรม โถงประวัติศาสตร์ โถงด้านการขนส่ง โถงด้านการจารึก โถงอาวุธ โถงเกียรติยศ และโถงธรรมชาติ
มัสยิดซาฮีร์
มัสยิดแห่งนี้เปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1912 และสร้างในแบบสถาปัตยกรรมมัวร์ อย่างโดดเด่น
วัดจันดี บูกิต บาตู ปาฮัต (วัดเขาหินสลัก)
ภายในวัดนี้มีจารึกภาษาสันสกฤต เครื่องกระเบื้องจีน ลูกปัดอินเดีย และเครื่องแก้วจากตะวันออกกลาง
Padi Museum (พิพิธภัณฑ์ข้าว)
แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมล่าสุดของนักท่องเที่ยวที่มีการจัดแสดงลักษณะที่แตกต่างกันออกไปของการเก็บเกี่ยวโดยใช้ปาดี (padi) ตั้งแต่อดีตมา รวมไปถึงการจัดแสดงพันธุ์ข้าวจากทั่วโลก พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ที่กูนุงเกอเรียง (Gunung Keriang) ประมาณ 8 กิโลเมตรจาก อาโลร์เซอตาร์ นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับกรรมวิธีดั้งเดิมของการใช้อุปกรณ์การปลูกข้าวและพัฒนาการของเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวต่างๆ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
อาโลร์เซอตาร์ทาวเวอร์
เป็นสถานที่ที่นิยมสำหรับชมทิวทัศน์รอบเมืองอาโลร์เซอตาร์ ที่ความสูง 170 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ตึกโทรคมนาคมสื่อสารที่สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 19 ของโลกแห่งนี้ยังต้อนรับลูกค้าขาจรหรือลูกค้าบริษัทสำหรับการประชุมและสัมนาที่จะเข้ามารับประทานอาหารในภัตาคารหมุนเซอรีเมอลายู (Seri Melayu) แห่งนี้อีกด้วย
โกตากัวลาเกอดะฮ์
ซากปรักหักพังของป้อมปราการที่ยังคงอบอวลด้วยกลิ่นอายแห่งประวัติศาสตร์แห่งนี้นั้นตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำเกอดะฮ์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยช่างก่ออิฐชาวอินเดียในตอนต้นศตวรรษที่ 17 ด้วยความช่วยเหลือจากโปรตุเกสเพื่อเป็นป้องกันศัตรูของรัฐเกอดะฮ์ ทุกวันนี้ สถานที่แห่งนี้ยังเป็นที่รู้จักกันดีในท่ามกลางหมู่นักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่นว่ามีอาหารทะเลที่รสชาติเยี่ยมอีกด้วย
บ้านเกิดอดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ มูฮัมหมัด
สถานที่เกิดของนายกรัฐมนตรีผู้เรืองอำนาจและมีชื่อเสียงระดับโลก – Tun Dr. Mahathir Mohamad สร้างขึ้นในปี 1900 มีการจัดแสดงจากช่วงเวลาที่ท่านยังเป็นเด็กจนเข้าโรงเรียนและจนถึงเวลาที่ท่านเป็นแพทย์
ตลาดวันพุธ
Pekan Rabu หรือตลาดวันพุธสร้างขึ้นในปี 1967 มีความเชื่อกันว่าตลาด แห่งนี้นั้นเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกที่รวมสินค้าที่จำเป็นประจำวันเอาไว้ เช่น อาหารพื้นเมืองมลายู, ยาพื้นบ้าน, หัตถกรรมและเสื้อผ้าภายในสถานที่แห่งนี้
ซินตาซายังกอล์ฟคลับแอนด์คันทรีรีสอร์ต

ตั้งอยู่ห่างออกไปครึ่งชั่วโมงจากปีนัง ในเมืองที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งซูไงเปอตานี คอร์สนี้มี 18 หลุม 72 พาร์ ซึ่งถูกออกแบบเพื่อนักกอล์ฟทุกระดับฝีมือ มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อยู่ด้วย เช่น ที่พัก สถานพักตากอากาศ สโมสรกอล์ฟ อาหารและเครื่องดื่ม สโมสรสุขภาพ และสนามม้า

Darul Aman Golf & Country Club (ดารุลอะมานกอล์ฟแอนด์คันทรีคลับ)
สนามกอล์ฟ 18 หลุมที่มีเนื้อที่กว่า 190 เอเคอร์ท่ามกลางพื้นที่แบบเนิน, มีต้นไม้ขึ้นเป็นแถว, เนินเขาเล็ก ๆ และหนองน้ำสลับไปกับสีเขียวชะอุ่ม ของทุ่งหญ้าสุดสายตาจะมองเห็น ที่นี่เป็นสนามกอล์ฟแบบ พาร์ 72 ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อท้าทายความสามารถของทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ ที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ Darul Aman Golf & Country Club แห่งนี้เป็นสนามกอล์ฟแห่งที่สองในมาเลเซียที่ได้รับรางวัล ISO 9001:2000 ที่ตั้งนั้นอยู่ห่างออกไป 5 นาทีจากสี่แยกบันดาร์ ดารุ้ลอามาน บนทางหลวงสาย North-South; 10 นาทีจากสนามบิน Sultan Abdul Halim; 15 นาทีจากเมือง อาโลร์เซอตาร์; และประมาณครึ่งชั่วโมงจากบูกิตกายูฮีตัม สนามกอล์ฟแห่งนี้ยังได้เสนอบรรยากาศที่ปลดปล่อยและผ่อนคลาย และยังสามารถที่จะพักผ่อนไปท่ามกลางธรรมชาติอีกด้วย
Black Forest Golf & Country Club
สนามกอล์ฟแห่งแรกของโลกที่ตั้งอยู่ภายในเขตการค้าเสรี สนามแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นสนามแบบ 18 หลุม พาร์ 72 แชมเปียนชิปที่บูกิตกายูฮีตัมบรรจงสร้างจากธรรมชาติอันเขียวขจีด้วยพื้นที่สวยงาม สถานพักตากอากาศกอล์ฟนานาชาติที่ให้ประสบการณ์ทั้งท้าทายและความพอใจมิรู้ลืม
Calling All Thrill Seekers
กลิ่นอายแห่งการผจญภัยในแบบเสียว ๆ และล้มคว่ำล้มหงายในเกอดะฮ์ ท่องป่าไปตามเนินเขาป่าเขตร้อนหรือตามเส้นทางที่ชอบไปดูสัตว์ป่าที่หายากและดุร้าย หรือบุกเส้นทางที่ไม่เคยมีใครผ่านไปด้วยรถขับเคลื่อนสี่ล้อ หรืออาจล่องเรือคายัคไปตามแก่งน้ำเชี่ยว และอาจขับรถมอเตอร์ครอสไปตามเส้นทางวิบากได้อีกด้วย
Ulu Muda Eco Park (อุทยานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอูลูมูดา)
มรดกทางธรรมชาติพื้นที่ 105,000 ที่ยังคงบริสุทธิ์ นั้นสามารถเข้าถึงได้ทางถนนประมาณ 95 กิโลเมตรจาก อาโลร์เซอตาร์ และประมาณ 140 กิโลเมตร จาก Penang อุทยานแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 109 ชนิด, นก 174 สายพันธุ์, สัตว์เลื้อยคลาน 54 ชนิด, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 42 พันธุ์, ปลา 33 พันธุ์ บางชนิดก็เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นป่าฝนเท่านั้น ด้วยบริการการนำทางที่มากด้วยประสบการณ์สูง การเดินทางจึงมีการสอดแทรกการศึกษาและสิ่งที่น่าตื่นเต้นไว้ด้วย
Lasor Eco Park (อุทยานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศลาโซร์)
แหล่งพบปะของรถ 4WD บนเส้นทางนี้ของผู้ที่กำลังค้นหาความท้าทายและการสำรวจอันน่าตื่นเต้นท่ามกลางที่พำนักในป่าที่ห่างไกลและอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ตั้งอยู่ภายในอุทยานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอูลูมูดา อุทยานลาโซร์แห่งนี้นั้นมีอุปสรรคมากมายที่ต้องใช้ความพยายาม, พลังงานและความเฉลียวฉลาดอย่างมากเพื่อที่จะได้มาซึ่งชัยชนะ การเดินทางจากอาโลร์เซอตาร์ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. 45 นาที หรือเพียงแค่ 30 นาทีจากบาลิง มา Kampung Lubuk Pelanduk ที่ซึ่งจะมีบริการยานพาหนะแบบ 4WD ห่างออกไปเพียง 11 กิโลเมตรเท่านั้นเอง
Sungai Sedim White Water Activities (กิจกรรมท่องเที่ยวน้ำจืด ซูไงเซอดิม)
เมื่อเทียบจากปลายทางการท่องเที่ยว 5 อันดับยอดนิยมของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก โดยผู้เชี่ยวชาญนานาชาติแล้วที่เซดิมแห่งนี้ก็จัดอยู่เป็นหนึ่งในรายการแหล่งท่องเที่ยวนี้ด้วย นอกเหนือจากนั้นยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่จะมาที่นี้ มีผู้จัดการที่จัดการกิจกรรม white water ต่างๆตลอดเส้นทาง 15 กิโลเมตรของแม่น้ำเซดิม ในจุดนัดพบต่างๆ แก่งนี้ตั้งอยู่ประมาณ 2 ชั่วโมงจาก อาโลร์เซอตาร์ หรือประมาณ 30 นาทีจาก Kulim Hi-Tech Park, นักท่องเที่ยวจะได้รับประสบการณ์อันน่าตื่นเต้นและความสนุกสนานในกิจกรรมอันยิ่งใหญ่ที่นี่และรวมถึงการล่องแก่ง, ลอดอุโมงค์, คายัค, แคมปิ้งและการปีนเขาหรือจักรยานภูเขาและข้ามไปยังกูนุงบินตุงที่อยู่ใกล้ๆ ด้วย
Tree Top Wa
เดินศึกษาธรรมชาติบนทางเดินเท้าที่ยาวที่สุดในโลกซึ่งมีความสูงที่ระดับ 950 เมตร เหนือระดับยอดไม้ป่าฝนและเต็มไปด้วยสัตว์ป่าและพรรณไม้นานาชนิดตามแม่น้ำเซดิม ที่มีทัศนียภาพอันงดงามและอุดมสมบูรณ์ ทางเดินนั้นเป็นโครงสร้างเหล็กเสริมซึ่งปลอดภัยและแข็งแรงที่มาพร้อมกับรางสำหรับการสำรวจสิ่งแวดล้อมที่ง่ายขึ้น มีศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวบริการข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างและความก้าวหน้าในโครงสร้างทั้งหมดนี้อยู่ด้วย ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของ Sedim ซึ่งประมาณ 2 ชั่วโมงจาก อาโลร์เซอตาร์ และ 30 นาทีจาก Kulim Hi-Tech Park
Rich Multi-Faceted Legacy
ด้วยคุณค่าแห่งการวิจัยและการค้นพบทางประวัติศาสตร์ ทำให้รัฐเกอดะฮ์เป็นรัฐที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่บนเส้นทางการคมนาคมหลักสายหนึ่งที่ทอดผ่านคาบสมุทรในเส้นทางการค้าที่ยิ่งใหญ่สายตะวันออก-ตะวันตก รัฐเกอดะฮ์ได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรืองสำหรับการตั้งถิ่นฐานและการค้าในอดีต
Bujang Valley (หุบเขาบูจัง)
หุบเขาบูจังเป็นอาณาจักรเก่าที่มีเวลาย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 4 ตั้งอยู่เชิงเขากูนุงเจอไร ประมาณ 35 นาทีจากอาโลร์เซอตาร์ ที่นี่จัดว่าเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมก่อนอิสลามของเกอดะฮ์ มรดกที่ยังหลงเหลือของยุคสมัยที่เรืองวัฒนธรรมของพุทธ-ฮินดู ทุกวันนี้ถูกแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณ์โบราณสถานเลิมบะบูจังที่ บูกิตบารูปาฮัต เจดีย์มากกว่า 50 เจดีย์ถูกขุดขึ้นมาและอีกมากมายถูกสร้างขึ้นหลังยุคเรืองอำนาจของอารยธรรมบูจัง
Join In Nature’s Panorama
งดงามและมีเสน่ห์, ความงามแห่งธรรมชาติของหุบเขา, น้ำตกและหุบเขากว้างแห่งเกอดะฮ์ แสดงรูปภาพของมิติที่นูนออกมาอย่างสมบูรณ์แบบ ห้อมล้อมด้วยความเย็นเยือกอย่างสงบของความเขียวขจีที่ส่งกลิ่นอายความสดชื่นและปล่อยสารธรรมชาติซึ่งเป็นเสมือนยารักษาความเครียดได้ พรรณไม้และสัตว์ – สัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดสามารถแทนที่ความมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติได้เท่ากับธรรมชาติเอง
Gunung Jerai (กูนุงเจอไร)
ที่ความสูง 1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยอดเขาเกอดะฮ์เนินหินปูนอันงามสง่า, ซึ่งถูกปกคลุมด้วยสีเขียวขจีที่ให้ทิวทัศน์อันตระการตาของหุบเขาเบื้องล่างที่เป็นทุ่งหญ้าสีเขียวสด ที่อุทยานนี้ คุณสามารถพบพิพิธภัณฑ์ป่าไม้ที่ซึ่งไม้นานาชนิดจากป่ากูนุง เจอรัย มีแสดงอยู่ที่นี่ และยังเป็นสถานที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเดินป่า, ดูนก และตั้งค่ายพักแรม
Pedu Lake (ทะเลสาบเปอดู)
สามารถเขาถึงได้โดยรถ ประมาณ 45 กิโลเมตร จากกัวลาเนอรัง และประมาณ 95 กิโลเมตรจากอาโลร์เซอตาร์ แหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สันโดษแวดล้อมด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าหลากชนิด แม้ว่ากระท่อมทั้งหลายที่นี่จะถูกออกแบบมาอย่างระมัดระวังเพื่อให้เข้ากันได้ดีกับความเงียบสงบและสภาพแวดล้อมที่เย็นสบาย แต่ในช่วงหนึ่งของปี – เดือนกุมภาพันธ์ จะมีโอกาสได้เห็นนักล่าผึ้งเพื่อเก็บน้ำผึ้งป่าเข้ามาบ้าง กิจกรรมอื่นๆที่สามารถหาได้ที่นี่ก็คือการตกปลา, การเดินป่า, การดูนกและกิจกรรมการผจญภัยทั้งหลาย
Ulu Legong Hotsprings (น้ำพุร้อนอูลูเลอกง)
ทางเลือกแบบธรรมชาติ, เรียบง่ายและสบายๆ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้คนนับไม่ถ้วนที่มีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง หรือชายและหญิงที่ต้องการบำรุงผิวพรรณให้อ่อนเยาว์ต่างต่อแถวเพื่อเข้ามาอาบน้ำแร่ธรรมชาติแห่งนี้กัน ที่พักค้างแรมก็มีบริการไว้ที่นี่ด้วย อูลู เลอกงอยู่ห่างออกไปจากอาโลร์เซอตาร์ ประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที จากตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบาลิง
Pulau Payar Marine Park (อุทยานแห่งชาติทางทะเลปูเลาปายาร์)
อุทยานแห่งชาติทางทะเลปูเลา ปายาร์อันเก่าแก่และเลื่องชื่อระดับโลกสำหรับการดำน้ำตื้น, น้ำลึก, ว่ายน้ำหรือปิกนิก ท้องเรือเป็นกระจกไว้มองเห็นพื้นน้ำ มองเห็นปะการังและสวนปะการังอันตื่นตา, เม่นทะเล, และปลาอันตรายใต้ท้องทะเลมากมาย
Kampung Relau Homestay
ได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวเรือนแรมปี 2003 เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ออกห่างไปในตำบล Bandar Baharu ทางตอนใต้ของเกอดะฮ์ ชายแดนทางตอนเหนือของเประ และทางใต้ของ Seberang Perai ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาทีเพื่อมาถึงที่นี่จากปีนัง และ 15 นาทีจาก Parit Buntar ในเประ

อ้างอิง

แก้
  1. "Laporan Kiraan Permulaan 2010" (PDF). Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  2. "Population by States and Ethnic Group". Department of Information, Ministry of Communications and Multimedia, Malaysia. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  4. "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง (พ.ศ. 2544)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (ตอนพิเศษ 117ง): 2. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-11-28. สืบค้นเมื่อ 2013-03-01. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. Cyril Skinner,The Civil War in Kelantan in 1839, Kuala Lumpur: Monographs of the Malaysian Branch, Royal Asiatic Society, 1965.
  6. ชัยวัฒน์ ปะสุนะ. 2564. “รัฐบาลสยามกับการจัดการปกครอง 4 หัวเมืองมลายู (ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน และตรังกานู) ระหว่าง ค.ศ. 1873-1910”. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 12(2), 223-224. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/polscicmujournal/article/view/240247.
  7. พงศาวดารเมืองไทรบุรี ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน
  8. "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012. p. 13

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้