ปัญจะภูต หรือ ปัญจะ มหาภูต (อังกฤษ: Pancha Bhuta,สันสกฤต: पञ्चभूत, อังกฤษ: Pancha Maha-Bhuta,{पञ्चमहाभूत), ห้าธาตุอันเป็นองค์ประกอบที่ยิ่งใหญ่, ห้าธาตุอันเป็นองค์ประกอบทางกายภาพ, เป็นกลุ่มของธาตุองค์ประกอบพื้นฐานห้าในคติ ศาสนาฮินดูซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างจักรวาลทั้งหมด.[1] ซึ่งห้าธาตุที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้คือ: พระแม่ปฤถวี/พระภูเทวี (อังกฤษ: Prithvi,ฮินดี: पृथ्वी::, โลก-ดิน), (อังกฤษ: Apas,ฮินดี: जल::, อาปา/วรุณ)/ , อัคนี (อังกฤษ: Agni,ฮินดี: अग्नि::, ไฟ), วาโย (อังกฤษ: vayu,ฮินดี: वायु:, ลม), อากาศ/ทโยส ((อังกฤษ: Akasha,Dyaus,ฮินดี: आकाश,) ในอายุรเวทและในความเชื่อของศาสนาฮินดู ร่างกายมนุษย์ถูกสร้างขึ้นจากองค์ประกอบธาตุทั้งห้าอย่างนี้.[2] อย่างไรก็ตามในธรรมเนียมจารวาก ไม่ยอมรับ อากาศเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและไม่ปรากฏรูปร่าง โดยถือว่ามีเพียงองค์ประกอบพื้นฐานเพียงสี่ธาตุเท่านั้น.[3] .ในคติของพระพุทธศาสนายังยอมรับองค์ประกอบพื้นฐานของธาตุทั้งสี่ประการและอากาศถูกตัดละทิ้งไป โดยห้าองค์ประกอบของระบบจักรวาลวิทยาของอินเดียโบราณมีความคล้ายคลึงกัน แต่ไม่เหมือนกับทฤษฎีองค์ประกอบห้าอย่างในบางท้องถิ่นที่ใช้ในเอเชียตะวันออก.[4]

ประติมากรรมคณะเทพปัญจภูตในคติต่างๆ
ประติมากรรมคณะเทพปัญจภูตในคติต่างๆ.

เทวดาของธาตุทั้งห้า แก้

ปัญจภูตเทวตาเทพเจ้าที่รักษาธาตุทั้งห้าในคติของศาสนาฮินดู.[3]

ธาตุและเทวดาประจำรักษา ศักติ/พลังของเทพเจ้าประจำธาตุ ฐานะของเทพเจ้า
พระทโยส (อากาศ) พระแม่ปฤถวี/พระภูเทวี เทพบุตร
พระพายุ (ลม) พระนางลหรี (อังกฤษ: Lehari ) เทพบุตร
พระเพลิง (ไฟ) พระนางสวาหา (อังกฤษ: Swaha ) เทพบุตร
พระวรุณ (น้ำ) พระนางวารุณี เทพบุตร
พระแม่ปฤถวี/พระภูเทวี (ดิน) พระทโยส และ พระวิษณุ เทพธิดา

[5]

คติความเชื่อในไทย แก้

ในคติการบูชาเทพเจ้าฮินดูประจำธาตุของศาสนาฮินดูเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการปรับเปลี่ยนเทพเจ้าฮินดูจากคติดั้งเดิมใหม่และรวมรวมกับความเชื่อท้องถิ่นซึ่งมีลักษณะเฉพาะได้แก่

ธาตุและเทวดาประจำรักษา ในศักติหรือบางท้องที่เฉพาะ
พระแม่ธัญญลักษมี (ข้าว-ธาตุทอง) พระแม่โพสพ (ข้าว-ธาตุทอง)จากความเชื่อท้องถิ่นของไทย
พระพายุ (ลม) (ลม) พระนางลหรี
พระเพลิง (ไฟ) พระนางสวาหา (ไฟ)
พระวรุณ (น้ำ) พระแม่คงคา (น้ำ)
พระแม่ปฤถวี/พระภูเทวี (ดิน) พระแม่ธรณี จากพระพุทธศาสนาเถรวาท (ดิน)

[6] [7] [8]

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 79.
  2. Venkatesan, Satish (2013-03-01). Ayurvedic remedies: An introduction. ISBN 978-9881224149. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  3. 3.0 3.1 Prasad Sinha, Harendra (2006). Bharatiya Darshan Ki Rooprekha. Motilal Banarsidass Publisher. p. 86. ISBN 9788120821446. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  4. Carroll, Cain (2012). Mudras of India. p. 18. ISBN 978-1848191099. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
  5. Sharma, Shiv (2003). Brilliance of Hinduism. p. 93. ISBN 978-8128800825. สืบค้นเมื่อ 3 April 2015.
  6. http://www.tangnipparn.com/page23_b00k4.html
  7. http://oknation.nationtv.tv/blog/ChaiSangthip/2013/05/11/entry-1
  8. https://www.bansuanporpeang.com/node/17168