เทเลวิชัน บรอดคาสต์ ลิมิเต็ด (อังกฤษ: Television Broadcasts Limited) หรือที่รู้จักในชื่อ ทีวีบี (จีน: 電視廣播有限公司 ชือเดิม 無綫電視) สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินแห่งที่สองในฮ่องกง เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โดยบริษัทได้จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 มีเซอร์ รัน รัน ชอว์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานจาก 2523 ถึง 2554 เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งทั้งนี้สถานีโทรทัศน์ทีวีบีมีพนักงานลูกจ้างทั้งสิ้น 4,200 คนและสำนักงานใหญ่ของทีวีบี (ฮ่องกง ทีวีบี ซิตี) เป็นศูนย์กลางของสถานีโทรทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย[1][2][3][4][5][6][7][8]

เทเลวิชัน บรอดคาสต์ ลิมิเต็ด
電視廣播有限公司
ประเภทสาธารณะ
การซื้อขาย
HKEX:511
ISINHK0000139300 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมแพร่สัญญาณโทรทัศน์; สื่อและการบันเทิง
ก่อตั้ง19 พฤศจิกายน 1967; 56 ปีก่อน (1967-11-19) ที่Broadcast Drive, Kowloon Tong, เกาะฮ่องกง
สำนักงานใหญ่77 Chun Choi Street,
Tseung Kwan O Industrial Estate, New Territories, เกาะฮ่องกง
พื้นที่ให้บริการ
Cantonese Language Markets (ทั่วโลก)
บุคลากรหลัก
Xu Tao, ประธานและกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร Li Ruigang, กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร
ผลิตภัณฑ์TVB Jade, TVB Pearl, TVB Anywhere, MyTV Super, TVBS, TVBNews, TVB.com, TVB Publishing, TVBUSA เป็นตัน
รายได้4.21 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (2016)
พนักงาน
5,100 (2021)
บริษัทแม่พี่น้องชอว์
เว็บไซต์www.tvb.com
ทีวีบี
อักษรจีนตัวเต็ม電視廣播有限公司
อักษรจีนตัวย่อ电视广播有限公司

ในอดีตยุคที่เศรษฐกิจในฮ่องกง มีการพัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็วกว่าหลายประเทศเพื่อนบ้าน จนได้เป็นหนึ่งใน "สี่เสือแห่งเอเชีย" (Four Asian Tigers) หรือ "สี่มังกรเอเชียเป็นชื่อกลุ่มประเทศหรือหมู่เกาะที่ใช้อ้างถึงเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ได้แก่ เกาะฮ่องกง, สิงคโปร์, เกาหลีใต้และไต้หวัน ที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง (มากกว่า 7% ต่อปี)และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2503 – 2533 (ค.ศ. 1960-1990) ในศตวรรษที่ 21 ทั้งหมดได้พัฒนาไปสู่เศรษฐกิจที่ก้าวหน้าและมีรายได้สูง [9][10]ประชากรในกลุ่ม "สี่เสือแห่งเอเชีย" นับเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ดังนั้น ในช่วงยุค 70s-90s ต่างสามารถเข้าถึงความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์,วิทยุ,วีดีโอ และอื่นๆ ได้เกือบทุกครัวเรือน

ทีวีบี เป็นผู้ผลิตละครโทรทัศน์และนำออกอากาศ ได้รับการจดทะเบียนในกระดานหลักของ "ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง" โดยใช้รหัสหุ้น คือ "00511" สถานีวิทยุเชิงพาณิชย์ โดยมีสำนักงานใหญ่ในเกาะฮ่องกง ให้บริการช่องความบันเทิงและข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมงแก่ผู้ชมในเกาะฮ่องกงมากกว่า 7 ล้านคนในปัจจุบันและยังดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศและจัดจำหน่ายรายการของทีวีบี เป็นรายการภาษากวางตุ้ง โดยส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาจีนและภาษาอื่น ๆ ไปทั่วโลก รวมถึงทั่วเอเชียและประเทศอื่น เช่น จีนแผ่นดินใหญ่,ไต้หวัน,มาเลเซีย,สิงคโปร์ และ ออสเตรเลีย, อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ รวมถึงยุโรป ครอบคลุมมากกว่า 300 ล้านครัวเรือน(ประมาณ 1,200 ล้านคน) ในขณะนั้น TVB มีพนักงานและผู้ให้ความบันเทิงประมาณ 4,600 คน โดยแยกเป็นพนักงาน(ลูกจ้าง) 4,200 คน และผู้ให้ความบันเทิง(รวมนักแสดงในสังกัด) 400 คน [11]

ประวัติ แก้

ทีวีบี[12] จดทะเบียนไว้เมื่อ พ.ศ. 2508 โดยมีเซอร์ รัน รัน ชอว์ ซื่งดำรงตำแหน่งประธานในสถานี ในปี 2510 เรี่มออกอากาศครั้งแรกทางภาพขาวดำ ในปี พ.ศ. 2513 พร้อมเครี่องส่งโทรทัศน์ 400 กิโลวัตต์ จึงออกอากาศด้วยภาพสี และมีเพลงประจำสถานีแรกว่า London Calling Hongkong ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 จึงออกอากาศทางภาพสี และในปี พ.ศ. 2551 จึงออกอากาศทางระบบอนาล็อก ในปี พ.ศ. 2554 จึงออกอากาศทางระบบดิจิทัลทีวีในปัจจุบันนี้ และออกอากาศทางเอชดีในปัจจุบัน

ทีวีบี แบ่งเป็นกลุ่มสถานีโทรทัศน์ ได้แก่ ทีวีบีเจด ในภาษาจีน[13] และ ทีวีบีเพิร์ล ในภาษาอังกฤษ

ช่องของทีวีบี แก้

มีหลายช่องแยกย่อย(แบ่งเป็นกลุ่มสถานีโทรทัศน์) ดังนี้:-

  • TVB Jade
  • TVB Pearl
  • TVB Anywhere
  • MyTV Super

สื่ออื่น ๆ:-

  • TVBS
  • TVB.com
  • TVB Publishing ฯลฯ

ทีวีบีเจด แก้

ทีวีบีเจด เป็นสถานีโทรทัศน์ซี่งออกอากาศทางภาษาจีน ซี่งมีละครโทรทัศน์จีนชุดใหญ่ และภาพยนตร์จีน[14]ซื่งทวนรายการจากค่าย Mei Ah และ Fortune Star ในฮ่องกง ส่วนคลี่นความที่ที่ใช้ร่วมกับทีวีบีเจด ได้นำไปให้ HKTVE ทำช่องรายการใหม่ในชี่อ ViuTV ในปิ 2560[15][16]

อิทธิพลของละครทีวีบี แก้

สถานีโทรทัศน์ทีวีบี เปิดสถานีครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 นับตั้งแต่นั้น ในทุก ๆ ปี ทางทีวีบีจะนับวันนี้เป็นวันฉลองครบรอบประจำปีมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละปีนั้นก็จะมีงานกืจกรรมให้ดาราในค่ายมาร่วมโชว์การแสดงต่าง ๆ ให้ผู้ชมทางบ้านได้ดู

ละครเรื่อง "สวรรค์จำพราก" (Dream of Love 1967) 21 ตอนจบ เป็นละครโทรทัศน์เรื่องแรกที่ผลิตขึ้นโดยช่องทีวีบี ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (ระยะเวลาออนแอร์ในปี พ.ศ. 2510-2511) โดยผู้อำนวยการสร้าง คือ "จงจิงฮุ่ย" ได้ออกอากาศโดยสร้างแบบอย่างให้กับละครโทรทัศน์กวางตุ้ง จนกลายมาเป็นความนิยมของกระแสหลักในรายการทีวีฮ่องกง

ละครชุดเรื่องแรกนี้ทำการออกอากาศครั้งแรกเพียงสัปดาห์ละครั้ง คือ ทุกวันพฤหัสบดี เป็นเวลาครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2512 ทางทีวีบีได้เพิ่มการออกอากาศเป็น 4 วันคือ วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี โดยออนแอร์เพียงวันละ 15 นาทีแทน และมีการเล่นซ้ำอีกทีในวันอาทิตย์ เพื่อให้คนที่พลาดรับชมในวันธรรมดาได้ดูอีกด้วย

จนต่อมาทางทีวีบี ได้มีการผลิตละครชุดเรื่องอื่น ๆ ซึ่งบางเรื่องถ้าเป็นละครฟอร์มใหญ่จะมีจำนวนตอนมากกว่า 20 ตอนบางเรื่องมีความยาวถึง 60 ตอน หรือมากกว่านั้น โดยยืดวันฉายตามสากลออกเป็น จันทร์-ศุกร์ และเวลาออนแอร์ให้ครบ 1 ชั่วโมงมาจนถึงทุกวันนี้

ละครโทรทัศน์ของค่ายทีวีบี ที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและขยายความนิยมอย่างสูงออกสู่ตลาดเอเชีย มีหลายเรือง เช่น เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้, เทพบุตรชาวดิน, มังกรหยก 1983, คู่แค้นสายโลหิต, ชอลิ่วเฮียง 1979 เป็นต้น[17][18]

ถึงแม้ทีวีบี จะมีละครดังได้รับความนิยมในตลาดเอเชียเริ่มมาตั้งแต่ยุค 70s จนถึงยุค 90s ก่อนซีรีส์เกาหลีจะมาได้รับความนิยมในตลาดเอเชียแทน แต่ยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของละครชุดทีวีบีคือ ยุค 80s นับได้ว่าเป็นยุคทองของทางช่อง และยังส่งผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมในฮ่องกงออกสู่เอเชียอีกด้วย

ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ทีวีบีได้เริ่มก่อตั้งกลุ่ม 4 ดรุณีหยกยุค 70s (รุ่นแรก-รุ่นสอง) ขึ้นมา โดยคัดจากดาราสาวในช่องทั้งหมด เหลือเพียง 4 คนที่ได้รับความนิยมสูงประจำค่าย คือ รุ่นแรก มีสี่คนดังนี้:- .วังหมิงฉวน, หวงซูอวี้, หลีซือฉี และ เจ้าหย่าจือ

รุ่นสองในยุคเดียวกัน มีสี่คนคือ:- วังหมิงฉวน, เจ้าหย่าจือ, เจิ้งอวี้หลิง และ หวง ซิ่งซิ่ว

เหมือนกับช่วงต้นยุค 80s ที่รุ่งเรืองของทางทีวีบีก็ได้ก่อตั้งกลุ่ม 4 ดรุณีหยกยุค 80s ขึ้นมาเช่นกัน คือ องเหม่ยหลิง, เฉิน อวี้เหลียน, เจิงหัวเชี่ยน และ หลิวเจียหลิง หลังจากทางช่องสูญเสียนางเอกชื่อดังประจำค่าย อย่าง องเหม่ยหลิง ไปทางทีวีบีก็ได้ก่อตั้งกลุ่ม 5 เทพธิดามังกร ขึ้นมาแทน คือ เฉิน อวี้เหลียน, เจิงหัวเชี่ยน, ชี เหม่ยเจิน, หลันเจี๋ยอิง และ หลี เหม่ยเสียน

ส่วนทางด้านกลุ่มนักแสดงชาย ทีวีบีก็ได้ก่อตั้งหลายกลุ่มเช่นกัน เช่น ในยุคปลาย 70s มีกลุ่ม "3 พยัคฆ์เสือ" คือ โจวเหวินฟะ, หลิวสงเหยิน และ เจิ้งเส้าชิว ขึ้นมาซึ่งทั้งสามคนเป็นดาราชายแถวหน้าที่มียอดเรตติ้งสูงประจำค่าย จนต่อมาเข้าสู่ยุค 80s ยุคทองของทีวีบี ก็มีกลุ่มดาวรุ่งชายมาทดแทน 3 เสือประจำค่ายเดิม คือ กลุ่ม "5 พยัคฆ์ทีวีบี" ได้แก่ หวงเย่อหัว, เหมียวเฉียวเหว่ย, หลิวเต๋อหัว, ทัง เจิ้นเยี่ย และ เหลียงเฉาเหว่ย พวกเขาทั้ง 5 ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่ทีวีบี และได้รับความนิยมสูงทั่วเอเชีย

ต่อมาราวกลางยุค 80s เมื่อ 4 พยัคฆ์ทีวีบี(ยกเว้น เหลียงเฉาเหว่ย) มีปัญหาเรื่องการต่อสัญญาระยะยาวกับทางช่อง ทีวีบีจึงก่อตั้งกลุ่มใหม่ขึ้นมาคือกลุ่ม "7ภราดร" ประกอบด้วยนักแสดงรุ่นใหม่ไฟแรงเจ็ดคน ได้แก่ อู๋ฉีหัว, หลิวชิงหวิน, พานหงปิง, เฉินถิงเว่ย, กวนหลี่เจี๋ย, หลี่ฟาง และ เถาต้าหวี่ แต่กลุ่มนี้กลับไม่ได้รับความสนใจเท่ากลุ่ม 5 พยัคฆ์

ส่วนในยุค 90s ทีวีบียังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากยุค 80s และทางทีวีบีก็ได้มีการก่อตั้งกลุ่มเหมือนกับยุค 70s และ 80s แต่กลับไม่ค่อยเป็นที่จดจำมากนัก

อดีตดาราดังประจำค่ายที่ได้กลายเป็น ซุปเปอร์สตาร์ในวงการภาพยนตร์มีหลายคน เช่น โจวเหวินฟะ, หลิวเต๋อหัว, เหลียงเฉาเหว่ย, โจวซิงฉือ และ จางม่านอวี้ เป็นต้น

จนกระทั่งปีพ.ศ. 2540 (1997) ความมีอิทธิพลต่อวงการละครชุดในเอเชีย เริ่มค่อย ๆ ถูกแทนที่โดยซีรีส์จากประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น และยังมีคู่แข่งอย่าง ไต้หวัน ที่มีละครดังไปทั่วเอเชีย อย่าง องค์หญิงกำมะลอ โดยก่อนหน้านั้นทางไต้หวันมีละครดังเรื่อง เปาบุ้นจิ้น 1993 ที่สามารถตีตลาดทั่วเอเชียได้มาก่อน อีกทั้งทาง จีนแผ่นดินใหญ่ ก็เริ่มตีตลาดด้วยการผลิตละครชุดมาแข่งเองและเริ่มได้รับความนิยมมากกว่าในอดีต (ก่อนนั้นละครจากจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับความนิยม) จนท้ายที่สุดเมื่อมาถึงช่วงกลางยุค 2000s ซีรีส์เกาหลี ได้ตีตลาดทั่วเอเชียสำเร็จเป็นครั้งแรก โดยเรื่องสะดุดรักที่พักใจ (Full House 2004) และ แดจังกึม ทำให้เกิดค่านิยมและวัฒนธรรมเกาหลี ขึ้นมา กระแสซีรีส์เกาหลีฟรีเวอร์ เหนือซีรีส์ของคู่แข่งทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, จีน หรือ ไต้หวัน ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากกระแสค่านิยมวัฒนธรรมเกาหลีมาจนถึงปัจจุบัน

ทุกวันนี้ความยิ่งใหญ่ในเอเชียของละครชุดทีวีบี ได้กลายเป็นอดีตแห่งตำนาน [19][20][21]

ละครฮ่องกงครองตลาดไต้หวัน แก้

ย้อนกลับไปในช่วงต้น-กลางทศวรรษ 1980 ทางช่องทีวีบี (Hong Kong Television International Enterprises (TVBI) ซึ่งเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ Hong Kong TVB ได้ย้ายไปไต้หวัน โดยร่วมมือกับ "ชิวฟู่เซิง" (邱復生) ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ชาวไต้หวันเพื่อให้บริการออกอากาศละครฮ่องกงของทีวีบี (TVB) ส่งผลให้ละครฮ่องกงเริ่มครองตลาดไต้หวัน ในยุคแรก ๆ ละครทีวีฮ่องกงหลายเรื่องรวมถึงละครที่ดัดแปลงจากนิยายของ กิมย้งและโกวเล้ง เช่น ชอลิ้วเฮียง 1979 (楚留香), มังกรหยก 1983 (射鵰英雄傳 (1983年電視劇), 8 เทพอสูรมังกรฟ้า 1982 (天龍八部 1982年電視劇) และ เล็กเซียวหงส์ 1976-1978 (陆小凤) เป็นต้น ได้ทยอยนำไปออกอากาศในไต้หวัน ซึ่งละครเหล่านี้ต่างได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ชาวไต้หวัน [22]

เจิ้งเส้าชิว (郑少秋) หนึ่งในตัวละครเอกของละคร ชอลิ้วเฮียง ได้กลายเป็นไอดอลในดวงใจของแฟน ๆ ชาวไต้หวันหลายล้านคน และ หลิวสงเหยิน (劉松仁) ก็เป็นอีกหนึ่งพระเอกในดวงใจของชาวไต้หวัน นอกจากนั้นยังมี หวงเย่อหัว (黄日华) และ องเหม่ยหลิง (翁美玲) ก็ได้รับความนิยมในไต้หวันจากละครเรื่อง มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง (1983) ที่ออกอากาศทางช่องสี่ ในไต้หวันด้วยเช่นกัน

จากความสำเร็จอย่างมากของละครฮ่องกงในไต้หวัน สร้างความสั่นสะเทือนวงการจอแก้วไต้หวัน เพื่อรักษาตลาดทีวีท้องถิ่น ไต้หวันเริ่มจำกัดการนำเสนอละครศิลปะการต่อสู้เวอร์ชันฮ่องกง และในขณะเดียวกันก็เริ่มผลิตละครศิลปะการต่อสู้ในท้องถิ่นของตนเอง

แต่ไม่นานละครฮ่องกง ก็กลับมาออกอากาศหน้าจอทีวีไต้หวันได้อีกครั้ง หลังจากนั้นละครเรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (上海灘), กระบี่ไร้เทียมทาน (天蠶變) และต่อมา ขวัญใจโปลิส ภาค1 (新紮師兄) และเรื่องอื่น ๆ ก็หลั่งไหลเข้ามาในไต้หวัน ทำให้ผู้ชมชาวไต้หวันสดชื่น ประทับใจ และหลงใหลในละครฮ่องกง

ในทางกลับกัน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านทีวีที่กลับมาจากสิงคโปร์ก็เดินทางไปไต้หวันเพื่อพัฒนาและถ่ายทำละครความยาวระดับไพร์มไทม์และละครตอนยาวของสถานีโทรทัศน์ไต้หวันหลาย ๆ เรื่อง มาตรฐานการผลิตและเรทติ้งอยู่ในระดับสูง พวกเขากลายเป็นเสาหลักสำคัญของละครทีวีไต้หวัน ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1980 ถึงกลางทศวรรษที่ 1990 ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรทัศน์ของฮ่องกงจำนวนมากรวมถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังมักจะไปถ่ายทำละครที่ไต้หวันเป็นเรื่องปกติที่พวกเขาจะสนับสนุนและสื่อสารกัน

ทีวีฮ่องกงได้รับความนิยมมากกว่าในพื้นที่ชายฝั่งกวางตุ้งของจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การปฏิรูปและการเปิดประเทศ การรับชมทีวีฮ่องกงได้กลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของชาวกวางตุ้ง และกลายเป็นแหล่งความบันเทิงและข้อมูล ยกตัวอย่าง พื้นที่ชนบทของตงกว่าน เกือบทุกครัวเรือนเปิดทีวีดูละครทีวีฮ่องกง มันคือทีวีฮ่องกงซึ่งสามารถรับชมได้ ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดภาพยนตร์ฮ่องกงตกต่ำ ผู้สร้างภาพยนตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านโทรทัศน์จำนวนมากได้เดินทางกลับไปยังประเทศจีนเพื่อสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในประเทศ การผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศมีความเข้มแข็งและมั่งคั่งมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โมเมนตัมค่อนข้างคล้ายกับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของฮ่องกงในทศวรรษที่ 1970 แนวโน้มดูน่าสนับสนุน

ปัจจุบันละครฮ่องกง อาจจะไม่มีอิทธิพลต่อผู้ชมในไต้หวัน เท่าในอดีตตอนช่วงยุคทองละครฮ่องกง

การวัดเรตติ้งสองยุค(สี่ช่วง) แก้

ยุคแรกตั้งแต่กลางยุค 70-80 แก้

เรตติ้ง คือ จำนวนผู้ชมหน้าจอ(ครั้งแรก)ของทีวีช่องหลัก เป็นการวัดความสำเร็จจากการออกอากาศครั้งแรกว่ามีผู้สนใจดูละครหรือรายการนั้นๆมากน้อยเพียงใด โดยจะไม่ใช่ยอดผู้ชมดังต่อไปนี้

1.ยอดการออกอากาศทางทีวีซ้ำ ละครที่มีการออกอากาศหน้าจอซ้ำตั้งแต่ครั้งที่ 2 ขึ้นไปจะไม่นับเป็นเรตติ้งความสำเร็จเหมือนครั้งแรกที่ออกอากาศ

2.ยอดรีรันอื่นๆ ย้อนหลังที่จะดูตอนไหนก็ได้ จะไม่นับเป็นยอดเรตติ้งเหมือนครั้งแรกเช่นกัน

ทีวีบีใช้ร่วมกับเอทีวี (รวมถึงค่ายเจียซื่อในยุค 70) เพื่อวัดเรตติ้งของละครแต่ละค่ายที่ฉายชนแย่งเรตติ้งกันทางช่องหลัก ซึ่งระบบการจัดเรตโทรทัศน์อยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการการสื่อสารแห่งฮ่องกง ด้วยวิธีมาตราฐานโดยการใช้กำลังวัดตามจุดที่เปิดโทรทัศน์ทั่วทั้งเกาะฮ่องกง โดยคิดออกมาเป็นกำลังคนดูทั้งเกาะเป็น 100% และยังมีคะแนนต่อจุดต่อตอน ซึ่งใช้การคำนวณหาจากจำนวนผู้อยู่อาศัยที่แตกต่างกันในทะเบียนบ้านของแต่ละหลัง เช่น โดยเฉลี่ย 4 คนต่อ 1 ครัวเรือนตามทะเบียนบ้าน เท่ากับ 1 ครัวเรือนเมื่อเปิดทีวีดูละครช่องไหน จะมี 4 คนดูช่องนั้นตามไปด้วย นอกจากบ้างครัวเรือนที่มีฐานะดีหน่อยก็จะมี ทีวี 2 เครื่องต่อครัวเรือน และยังมีการสำรวจครัวเรือนที่ไม่มีโทรทัศน์ดู โดยทั่วไปในเกาะฮ่องกงผู้คนจะมีโทรทัศน์ดูกันเกือบทุกครัวเรือน ยกตัวอย่างเช่น ประชากรในปีพ.ศ. 2526 (1983) ประชากรทั้งเกาะมี 5,345.000 คน ได้มีการสำรวจผู้คนที่ไม่สามารถดูทีวีได้ประมาณ 345,000 คน ดังนั้นจะเหลือ 5 ล้านคนคือจำนวนที่สามารถดูทีวีได้ นำมาใช้ในการคำนวณหาจำนวนผู้ชมละครของแต่ละค่ายในปีนั้น ๆ โดยดูค่าเฉลี่ยทั้งเกาะของผู้คนที่อาศัยต่อ 1 ครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ดู และเป็นวิธีที่มีการรองรับเชื่อถือได้และมีความแม่นยำสูงถึง 80%

สรุปการคำนวณเรตติ้งยุคแรก ถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงดังนี้

ช่วงแรก (ยุค 70-1982) แก้

ช่วงแรกของยุคแรก ใช้ระบบแมนนวล (manual) บริษัทวิจัยตลาดของฮ่องกงรวบรวมข้อมูลการคำนวณเรตติ้งในรูปแบบของ "ไดอารี่ทีวี" โดยวัดเรตติ้งจากกลุ่มผู้อยู่อาศัยถาวรในครอบครัวที่มีทีวีดูอยู่ในระบบและมีการบันทึกข้อมูลเรตติ้งจากการเปิดทีวีดู ทุก ๆ 15 นาทีในครัวเรือนของแต่ละหลัง ทำให้รู้ว่าสถานีโทรทัศน์ที่พวกเขาในครัวเรือนนั้นดูคือช่องอะไร, จำนวนผู้ชมเท่าไร เป็นต้น การวัดเรตติ้งด้วยระบบ "ไดอารี่" นี้จุดประสงค์ใช้เพื่อจัดทำสถิติรวมถึงการวิเคราะห์ และการคำนวณผลการดูของพื้นที่ทั้งหมดตามอัตราส่วน 

แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการคำนวณแบบนี้ต้องอาศัยผู้ตอบแบบสอบถามของผู้อยู่อาศัยในครัวเรือนด้วยการกรอกข้อมูลด้วยตนเอง จึงเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ในกรณีที่ผู้อยู่อาศัยในครัวเรือนนั้น ๆ เกิดมีการย้ายที่อยู่และจำนวนตัวเลขของผู้อยู่อาศัยจริงไม่ได้อัปเดต จนทำให้เกิดระบบใหม่ที่แม่นยำขึ้นมา ในช่วงที่ 2 ของยุคแรกนี้ในปีพ.ศ 2526 (1983)

ช่วงสอง (ปีค.ศ 1983-1990) แก้

เพื่อให้ระบบการคำนวณที่แม่นยำขึ้นจากเดิม บริษัทวิจัยตลาดจึงนำระบบใหม่มาใช้ร่วมกับระบบเดิม โดยใช้การบันทึกด้วย "เครื่องบันทึกการดูทีวี" ในปีพ.ศ. 2526 (1983) เพื่อรวบรวมข้อมูลการรับชมทั้งหมด ซึ่งใช้ร่วมกับระบบ "ไดอารี่ทีวี" และเครื่องบันทึกการดูทีวีจะทำการบันทึกการดูช่องทีวีในครัวเรือนของแต่ละค่าย รวมถึงการเปลี่ยนทีวี ดูช่องอื่น ๆ และการสลับช่องดูไปมาของแต่ละครัวเรือน ได้โดยอัตโนมัติ ข้อดีของระบบนี้คือ สามารถรวบรวมข้อมูลไว้ได้ทั้งสองประเภท และมีความแม่นยำสูง โดยละครเรื่องแรกของช่องทีวีบี ที่ถูกคำนวณเรตติ้งคะแนนด้วยระบบผสมนี้ คือ เรื่อง "สมิงสาวใจเพชร 《十三妹 1982》" ที่ออนแอร์ต้นปีพ.ศ. 2526 (1983)

ยุคสอง ตั้งแต่ยุค 90- ปัจจุบัน แก้

ช่วงแรก (ค.ศ. 1991-2012) แก้

เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนวิธีให้ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น ด้วยการสุ่มยอดคนดูจากจุดชมวิวทั่วเกาะฮ่องกง 100 จุดต่อจำนวนประชากรที่อาศัยต่อจุด เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการวัดเรตติ้งในยุคก่อนแล้ว การคำนวณหายอดเรตติ้งจะง่ายและรวดเร็วยิ่งกว่าเดิมโดยเริ่มมีการใข้ "คอมพิวเตอร์" เข้ามามีบทบาทอย่างเต็มรูปแบบและมีความน่าเชื่อถือสูงมากเช่นกัน[23]

ตั้งแต่ในปีพ.ศ. 2534 (1991) ฮ่องกงได้เปลี่ยนการคำนวณหาเรตติ้งแบบผสมของระบบเดิม คือ "ไดอารี่ทีวี"และ"เครื่องบันทึกครัวเรือน" มาเป็น "เครื่องบันทึกการดูข้อมูลส่วนบุคคล" แทน ซึ่งระบบนี้สามารถบันทึกการรับชมต่อวินาทีทันทีและจะถูกส่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็ว เพื่อทำการวิเคราะห์ทางสายสัญญาณทุกวันและรับรายงานการรับชมทางทีวีและส่งไปยังสถานีโทรทัศน์และบริษัทโฆษณาในฮ่องกงด้วย (CSM Sofrey Media Research) ระบบนี้จะรับผิดชอบในการสำรวจและการให้คะแนนของละครนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ใน 800 ครัวเรือนที่เข้าร่วมระบบนี้จะรวมถึงกลุ่มเป้าหมายในครัวเรือนที่มีอายุมากกว่า 4 ปีขึ้นไป มาคำนวณหา คะแนนเรตติ้งของละครหรือรายการนั้น ๆ แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดได้ โดยในหนึ่งคะแนนของเรตติ้งจะเท่ากับผู้ชม 65,000 คนที่กำลังดูละครหรือรายการของช่องนั้น ๆ อยู่ (จำนวนตัวเลขเปลี่ยนแปลงตามจำนวนประชากรที่ไม่เท่ากันในแต่ละปี)

ตั้งแต่กลางปีพ.ศ. 2552 (2009) ระบบการใช้ "เครื่องบันทึกการรับชมส่วนบุคคล" ยังสามารถบันทึกข้อมูลการสำรวจยอดคนดูทีวีดิจิตอล ได้อีกด้วย ซึ่งความถูกต้องของข้อมูลนั้นสูงมาก จึงทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการรับชมของผู้ชมทางทีวีได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อให้สถานีโทรทัศน์และผู้โฆษณาสามารถมุ่งทรัพยากรไปที่ผู้ชมกลุ่มป้าหมายได้รวดเร็วแม่นยำกว่าระบบเก่า

แต่อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของผู้ชมในยุค 90 เริ่มเปลี่ยนจากยุค 80 มีการสำรวจพบว่าในช่วงเวลา 18.00-22.00 น. ผู้คนที่นิยมทำกิจกรรมนอกบ้านมีเพิ่มสูงขึ้นจากคนในยุคก่อน มากยิ่งขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนจากยุค 80 ซึ่งเป็น "ยุคทองละครทีวีฮ่องกง" เข้าสู่ยุค 90 ซึ่งเป็น "ยุคทองภาพยนตร์ฮ่องกง" ในช่วงยุคที่ภาพยนตร์ฮ่องกงบูมสุดขีด จำนวนผู้คนที่นิยมออกนอกบ้านไปดูหนังในโรงหนังหลังเลิกงานและช่วงหัวค่ำพบว่ามีจำนวนสูงขึ้นกว่าในยุค80 รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีผลกระทบโดยตรงต่อยอดผู้ชมที่เฝ้าดูรายการทางทีวี จึงทำให้เรตติ้งค่าเฉลี่ย และเรตติ้งสูงสุด ลดน้อยลงจากยุคก่อน อย่างเห็นได้ชัด โดยยุคหลัง(ตั้งแต่ยุค90-ปัจจุบัน)ละครแต่ละเรื่องทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนได้ไม่เกิน 45 จุดเปิด ส่วนเรตติ้งสูงสุดได้ไม่เกิน 50 จุดเปิดเท่านั้น ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับเรตติ้งของละครยอดนิยมในช่วงยุค 80s

ส่วนเรตติ้งละครในยุค 70s-80s ที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนเกิน 45 จุดเปิด เช่น มังกรหยกภาค 1 เวอร์ชัน 1983 มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 65 จุดเปิด, มังกรหยก ภาค 2 เวอร์ชัน 1983 มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 62 จุดเปิด , เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 60 จุดเปิด เป็นต้น ซึ่งสูงกว่าเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนของละครในยุค 90s จนถึงปัจจุบันทั้งหมด

ช่วงสอง (ค.ศ. 2013-ปัจจุบัน) แก้

เข้าสู่ยุคแพลตฟอร์ม (Platform) ในโลกอินเทอร์เน็ต จึงมีการวัดเรตติ้งแบบใหม่ให้ทันยุคสมัย โดยยังคงวัดจากจุดชมวิวแบบยุค 90s เป็นหลัก แต่มีการหาเรตติ้งที่ครอบคลุมพื้นที่การดูสดผ่านทางทีวีและออนไลน์ เช่น พวกแพตฟอร์มที่ขึ้นตรงกับทางทีวีบี นำมาคำนวณหาเรตติ้งแท้จริงร่วมกับเรตติ้งที่ดูหน้าจอทีวี ซึ่งจะทำให้ได้ยอดคนดูสดทางออนไลน์กับยอดคนดูสดทางหน้าจอทีวีที่แท้จริงในปัจจุบัน

ต่อมาในปีพ.ศ. 2561 (2018) รายการรับชมละครฮ่องกงทีวีบี ทางช่อง ทีวีบีเจด (Jade Channel) ตัวเลขทั้งหมดปัดเศษเป็นตัวเลขหลักเดียวที่ใกล้ที่สุด

มีการวัดเรตติ้งจำนวนผู้ชมข้ามแพลตฟอร์มโดยเฉลี่ยทั้งหมด ทั้งทางช่อง ทีวีบี เจด (TVB Jade Channel และ มายทีวี ซุปเปอร์ (myTV SUPER 7-day cross) โดยวัดสถิติผู้ชมรวมแพลตฟอร์มใน 7 วัน คือ 1 มกราคม - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (2018)

ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (2018) จะมีการบันทึกเรตติ้งข้ามแพลตฟอร์ม 7 วันและยอดสถิติการรับชมสื่อต่างประเทศทั้งหมด[24]

สิบอันดับละครทีวีบีที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในฮ่องกง แก้

เรตติ้ง หรือ "อัตราการดู" เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญมากในการวัดความสำเร็จของรายการทีวี ระดับเรตติ้งสามารถกำหนดและบ่งบอกถึงรายได้ของทางสถานีโทรทัศน์และยังเป็นตัวบ่งชี้ทิศทางการผลิตรายการในอนาคต

ทุกสถานีโทรทัศน์ มักใช้การให้คะแนนเรตติ้งเพื่อโปรโมตรายการ อันที่จริง จำนวนผู้ชมทีวีที่ดูทีวีสามารถบ่งบอกความนิยมของรายการนั่น ๆ แบ่งออกได้เป็นสองแบบ

1.การจัดอันดับทีวี:-

  • การให้คะแนนเรตติ้งสามารถช่วยสถานีโทรทัศน์ของแต่ละช่อง จัดตารางรายการทีวีและประเมินเวลาโฆษณาได้ในเวลาที่แตกต่างกันตามข้อมูล

2.ดัชนีชี้วัดความชื่นชมของรายการทีวี:-

  • ดัชนีความชื่นชม สามารถทราบการประเมินความชื่นชอบของผู้ชมในละครหรือรายการนั่น ๆ ว่าสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้มากน้อยเพียงใด

ทีวีบี เริ่มผลิตละครเป็นของตัวเองลงสู่จอโทรทัศน์ครั้งแรก เมื่อปลายปีพ.ศ. 2510 (1967) แต่มีการวัดเรตติ้งละครแบบสากลครั้งแรกในปีพ.ศ. 2517 (1974) เพื่อวัดความนิยมในตัวของดาราและละครเรื่องนั้น ๆ อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญในการมอบรางวัลแก่ดาราที่ได้รับความนิยมในแต่ละปีอีกด้วย

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 (1991) ทางส่วนภูมิภาคฮ่องกงได้เปลี่ยนรูปแบบการคำนวณหาเรตติ้งให้ง่ายขึ้นและรวดเร็วกว่าแบบเดิม โดยใช้การจัดทำบันทึกการรับชมส่วนบุคคลขึ้นมา และใช้ระบบคำนวณรายการทีวีหาเรตติ้งเฉลี่ย แบบใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณหายอดคนดูต่อคนมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยจุดดูเป็นวิธีการคำนวณอัตราการดูรายการทีวีของฮ่องกง โดยใช้ประชากรในภูมิภาคที่สามารถดูทีวีได้เป็นเกณฑ์ตามมาตรฐาน 100 จุดเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น ในจุดชมวิวของเกาะฮ่องกงจะมีผู้ชม 64,820 คนต่อ 1 จุดดังนั้นใน 100 จุดจะเท่ากับ 6,4820,000 คน ของจำนวนประชากรในปีนั้น ๆ และจะมีการปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นประจำปี

เมื่อถึงยุค 90 ทีวีบีเรื่มวัดเรตติ้งโดยได้ใช้เครื่องมือสำรวจเรตติ้งแบบส่วนบุคคลเพื่อบันทึกเรตติ้งของละครครั้งแรกในปีพ.ศ. 2534 (1991) และตั้งแต่ยุค90จนถึงปัจจุบัน (ไม่นับรวมยุค 70-80) มีละครที่มีเรตติ้งสูงสุดในตอนอวสาน คือ เรื่อง "วุ่นรัก ซือเจ๊อลวน"(War of the Genders 2000)ที่นำแสดงโดย เจิ้งอวี้หลิง ละครเรื่องนี้สร้างสถิติการรับชมสูงสุดในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ไพรม์ไทม์ โดยมีเรตติ้งค่าเฉลี่ย 35 จุดเปิดและสถิติเรตติ้งการรับชมสูงสุด 50 จุดเปิดในตอนอวสาน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2000 และเรื่อง ศึกบุปผาวังมังกร ก็มีเรตติ้งสูงสุดถึง 50 จุดเปิด เช่นกัน

ในช่วงที่เปลี่ยนการวัดเรตติ้งแบบใหม่ตั้งแต่ยุค 90 มาจนถึงปัจจุบัน เกิดปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อผู้ชมโทรทัศน์ ทำให้เรตติ้งละครของยุคหลัง 80 เป็นต้นมามีเรตติ้งค่าเฉลี่ยไม่ถึง 45 จุดเปิด และเรตติ้งสูงสุดได้ไม่เกิน 50 จุดเปิด[25][26][27][28][29][30][31]

สิบอันดับละครเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงสุดในฮ่องกง แก้

เป็นเรตติ้งเฉพาะในเกาะฮ่องกง นับรวมละครของทีวีบีตั้งแต่ยุค 70 จนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนกว่าพันเรื่อง ซึ่งตั้งแต่ยุค 70-ปัจจุบัน มีละครเพียง 7 เรื่องที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนถึง 60 จุดเปิด [32] โจวเหวินฟะ กับ องเหม่ยหลิง คือ พระเอก-นางเอก ที่มีละครสามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยถึง 60 จุดเปิด ได้คนละ 2 เรื่อง

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด กำลังผู้ชมสูงสุด(เปอร์เซ็นต์) ผู้ชมเฉลี่ยต่อตอน คู่พระ-นางนำแสดง หมายเหตุ
1 มังกรหยก ภาค 1/1983 (The Legend of conder heroes) 65 71
99
3,500,000 หวงเย่อหัวองเหม่ยหลิง เป็นละครเพียงเรื่องเดียวที่ติดอยู่ใน 10 อันดับเรตติ้งสูงสุดทั้งในฮ่องกง และทั่วโลก โดยสามารถนับยอดรวมเรตติ้งจากทั่วโลก อยู่ในอันดับสามของละครฮ่องกงที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในโลก อีกด้วย
2 มังกรหยก ภาค 2 ตอน จอมยุทธอินทรี (The Return of the Condor Heroes 1983) 62 70
90
3,2007,000 หลิวเต๋อหัวเฉิน อฺวี้เหลียน
3 เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ (The Fearless Duo 1984) 61 66
92
3,150,000 เหมียวเฉียวเหว่ยองเหม่ยหลิง
4 เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (The Bund 1980) 60 80
89
3,000,000 โจวเหวินฟะเจ้าหย่าจือ
5 เทพบุตรชาวดิน (The good the bad and the ugly 1979) 60 65
87
3,000,000 โจวเหวินฟะเจิ้งอวี้หลิง
6 ซิยิ่นกุ้ย พิชิตตะวันออก (Legend Of The General Who Never Was 1985) 60 64
92
3,000,000 ว่านจือเหลียงเติ้ง ชุ่ยเหวิน
7 ดาบมังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2521) (The Heaven Sword And Dragon Sabre 1978) 60 64
88
2,900,000 เจิ้งเส้าชิววังหมิงฉวน
8 ชะตาทรนง (Vanity Fair 1978) 58 โจวเหวินฟะเจ้าหย่าจือ
9 บ้านแตก (A House Is Not A Home 1977) 57
95
จูเจียงวังหมิงฉวน
10 เทพบุตรนักสู้ (Giant 1978) 57
85
โจวเหวินฟะหลี่ซือฉี

เรตติ้งค่ายอื่น แก้

ในยุคทศวรรษ 70 คู่แข่งขันในวงการจอแก้วที่สำคัญของ ทีวีบี คือ ค่ายอาร์ทีวี (RTV) หรืออีกชื่อที่รู้จักกันดีในยุค 80 คือ เอทีวี (ATV) และ เจียซื่อ (CTV) ทั้งสองค่ายต่างใช้การวัดเรตติ้งร่วมกันกับทีวีบี เมื่อมีการเปิดทีวีดูละครทางช่องไหน เรตติ้งจะพุ่งขึ้นไปทางช่องนั้นทันที

แต่เรตติ้งคนดูของทั้งช่องอาร์ทีวี และ เจียซื่อ เมื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยออกมาต่อตอนแล้วกลับไม่สูง อาจจะมีละครบางเรื่อง อาทิเช่น กระบี่ไร้เทียมทาน และ มังกรหยก 1976 (ฉบับไป่เปียว-หมีเซียะ) เป็นต้น ที่ตอนออนแอร์ บางช่วงบางตอน สามารถทำเรตติ้งสูงกว่าละครของ ทีวีบี ที่ฉายชนได้เป็นบางครั้งบางตอน แต่พอมาคำนวณทุก ๆ ตอนแล้ว เรตติ้งค่าเฉลี่ยต่อตอนกลับไม่สูง เท่าละครยอดนิยมของทางช่อง ทีวีบี ทั้งในยุคเดียวกันและยุคอื่น

สิบอันดับแรกของละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในโลก แก้

ต่อไปนี้คือละครโทรทัศน์ฮ่องกง 10 เรื่องที่มียอดผู้ชมดูสด(ครั้งแรก)มากที่สุดในโลก(該劇是TVB全球收視率最高的十部劇集之一) ตามสถิติรายงานในงานการเฉลิมฉลองไต้หวันของทีวีบี (TVB) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 (1995) และยังเป็นละครโทรทัศน์ของฮ่องกงที่มียอดผู้ชมดูสดผ่านโทรทัศน์สูงสุดทั่วเอเชียอาคเนย์ เป็นการรวมเรตติ้งเฉลี่ยและยอดผู้ชมทั้งในเอเชีย เช่น มาเลเซีย,ไทย,เวียดนาม สิงคโปร์, ไต้หวัน, มาเก๊า, อินโดนีเซีย เป็นต้น (ไม่รวมเรตติ้งในจีน) รวมถึงเรตติ้งทั่วทุกมุมโลกที่ละครทีวีบีได้นำไปฉายทางทีวีในย่านชุมชนคนจีนในต่างประเทศ เช่น ไชน่าทาวน์ในอเมริกา,อังกฤษและยุโรป

โดยเป็นการมอบรางวัลในงานเฉลิมฉลองครบรอบ 28 ปีของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ภายใต้ชื่อรางวัลว่า "10 อันดับละครทีวีบีที่มียอดคนดู(สด)มากที่สุดในประวัติศาสตร์" โดยคัดทุกเรื่องที่มีเรตติ้งคะแนนเฉลี่ยต่อตอนสูงทั่วเอเชีย ซึ่งเป็นการนับยอดคนดูสดครั้งแรกที่ออกฉายในแต่ละประเทศรวมในการฉายทั่วนอกเขตฮ่องกงทั้งหมด โดยมียอดรวมผู้ชมดูสดทั้ง 10 เรื่องมากกว่า 2,200 ล้านคน [33]

อันดับ ชื่อละคร/ปี จำนวนผู้ชม (รวมทั่วเอเชียอาคเนย์) ดารานำแสดง
1 คู่แค้นสายโลหิต (Looking Back in Anger 1989) 431,355,000คน หวงเย่อหัวหลิวเจียหลิงเวินเจ้าหลุนโจว ไห่เม่ย์เส้าเหม่ยฉี
2 คู่ทรนง (The Feud of Two Brothers 1986) 388,323,000 คน ว่านจือเหลียงเจิ้งอวี้หลิงโจว ไห่เม่ย์หลิวเจียหลิง
3 มังกรหยก ภาค 1/1983 (The Legend of conder heroes) 356,163,000 คน หวงเย่อหัวองเหม่ยหลิงเหมียวเฉียวเหว่ยหยาง พ่านพ่าน
4 เลือดเจ้าพ่อ/เลือดต่างสี (Blood of Good and Evil 1990) 283,266,000 คน เวินเจ้าหลุนเส้าเหม่ยฉี
5 ฟ้ามิอาจกั้น (Love and Passion 1982) 233,670,040 คน วังหมิงฉวน, เซียะ เสียน, หลี่เหลียงเหว่ย
6 เพื่อนรักเพื่อนแค้น (The Breaking Point 1991) 117,925,000 คน หลีหมิง,เวินเจ้าหลุน,โจว ไห่เม่ย์,เส้าเหม่ยฉี
7 มรสุมสายเลือด (The Challenge of Life 1990) 106,987,000 คน หลีหมิง, หลิวชิงหวิน,หลอฮุ่ยเจียน, หลี เหม่ยเสียน
8 เดชเซียวฮื้อยี้ (Two Most Honorable Knights 1988) 98,513,000 คน เหลียงเฉาเหว่ยหลี เหม่ยเสียน เซี่ยหนิงอู๋ไต้หย่ง
9 เลือดล้างตระกูล (Big Family 1991) 97,916,000 คน ว่านจื่อเหลียง, เถียนหนิว, หลีเหม่ยฟง
10 ขวัญใจโปลิส ภาค1 (Police Cadet 84) 88,131,000 คน เหลียงเฉาเหว่ยจางม่านอวี้หลิวเจียหลิงหลิวชิงเหวิน
รวม 2,200 ล้านคน

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย แก้

  • ในงานมอบรางวัล ทั้ง 10 อันดับในรายการได้บอกยอดรวมผู้ชมมาแบบละเอียดครบถ้วน
  • เรตติ้งไม่รวมของจีน ถ้านับรวมเรตติ้งทางจีนด้วย จะทำให้อันดับหนึ่ง เป็นเรื่อง มังกรหยก ภาค 1(1983) แทน คู่แค้นสายโลหิต และเรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ก็เข้าในสิบอันดับแรกในรางวัลด้วยเช่นกัน เพราะทั้งเรื่อง มังกรหยก ภาค 1 (1983) และ เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ สามารถทำเรตติ้งยอดผู้ชมสูงสุดในสิบอันดับแรกของประเทศจีน ได้
  • ไม่รวมยอดการฉายรีรัน(เพราะไม่ใช่ยอดดูสดครั้งแรกเป็นการดูย้อนหลัง) แต่ละเรื่องจะมีการฉายรีรัน แตกต่างกันเพราะฉายซ้ำไม่เท่ากัน เช่น มังกรหยก ภาค 1 (1983) มีการฉายรีรันในจีน มากมายจำนวนนับไม่ถ้วน

ละครฮ่องกงที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีน แก้

มังกรหยก ภาค 1 (1983) ฉบับ หวงเย่อหัว กับ องเหม่ยหลิง คือ ละครฮ่องกงที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีนตลอดกาล

ต่อไปนี้คือตาราง 10 อันดับละครที่มีเรตติ้งสูงสุดในประวัติศาสตร์ของจีน โดยรวมทั้งละครของฮ่องกง ,ไต้หวันและจีน[34]

อันดับ ชื่อละคร/ปี ละครจากค่าย เฉลี่ย เรตติ้งสูงสุด จำนวนผู้ชม ดารานำแสดง
1 สงครามแผ่นดินเลือด

(敌营十八年 1981)

99% จางเจียเถียนจางเหลียนเหวิน
2 แรงปรารถนา (渴望 1990) 98% ฟู้ เปียว,หลู่เสี่ยวเว่ย,จ้าวเป่ากัง,จางข่ายลี่,หลี่ เสฺวียน,หวงเหม่ยอิ๋ง,ซุนซง,หลันเทียนเหฺยี่ย
3 ไซอิ๋ว เวอร์ชัน 1986

(Journey to the West)

89.4 96% จางจินไหล,หวังเย่,ซวี๋เส้าหัว,ฉือฉงรุ่ย
4 ตำนานนางพญางูขาว (新白娘子传奇 1992) 91% เยี่ยถงเจ้าหย่าจือ
5 มังกรหยก ภาค 1/1983 (The Legend of conder heroes) ทีวีบี 90% หวงเย่อหัวองเหม่ยหลิงเหมียวเฉียวเหว่ยหยาง พ่านพ่าน
6 ความรักในหอแดง (紅樓夢 1987) 90% เฉินเสี่ยวซีว์
7 เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (上海灘 1980) ทีวีบี 87% โจวเหวินฟะ,เจ้าหย่าจือ,หลี่ เหลี่ยงเหว่ย
8 นักชกผู้พิชิต (大俠霍元甲 1981) อาร์ทีวี หรือ เอทีวี 86.5% หวงเหยียนเซินหมีเซียะ เหลียง เสี่ยวหลง
9 ครอบครัวอลเวง (我爱我家 1994) 85% เหวินชิงยู,ซ่งตันตัน,เหลียงเทียน,หยาง ลี่ซิน
10 ซ้องกั๋ง (水浒传 1998) 78% หลี่ เสฺวียน, แจจิงเชิง,โจวเย่หม่าง,ติงไห่เฟิง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย แก้

  • ในตารางสิบอันดับละครที่มีเรตติ้งสูงสุดในประวัติศาสตร์ของจีน มีละครของทางฝั่งเกาะฮ่องกง ของทั้งทางค่ายทีวีบีและเอทีวี เพียง 3 เรื่อง (จากหลายร้อยเรื่องที่นำไปฉายในจีน) ที่สามารถทำเรตติ้งสูงสุดใน 10 อันดับแรกได้ คือ

1.มังกรหยก ภาค 1/1983 (The Legend of conder heroes) ละครทางค่ายทีวีบี โดยอยู่อันดับ 5 ในตาราง กลายเป็นละครทางฝั่งฮ่องกงที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีนตลอดกาล

2.เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (上海灘 1980) ละครทางค่ายทีวีบี โดยอยู่อันดับ 7 ในตาราง

3.นักชกผู้พิชิต (大俠霍元甲 1981) ละครทางค่ายเอทีวี หรือ อาร์ทีวี โดยอยู่อันดับ 8 ในตาราง

ละครฮ่องกงที่มีการรีรัน (ฉายซ้ำ) มากที่สุดในจีน แก้

มังกรหยก ภาค 1 (1983) เวอร์ชัน หวงเย่อหัว, องเหม่ยหลิง นำแสดง เป็นละครชุดของฮ่องกงที่มีการรีรันในจีนบ่อยที่สุดในประวัติศาสตร์

ทุกวันนี้ยังคงติด 10 อันดับละครที่ออกอากาศรีรันซ้ำบ่อยมากที่สุดในจีน [35]ถือได้ว่าเป็นละครชุดจากฮ่องกง สุดคลาสสิกที่ประสบความสำเร็จในจีนอย่างมากมาย

ปี ชื่อละคร/ปี ละครจากค่าย เรตติ้งสูงสุดในจีน จำนวนรีรัน ดารานำแสดง
1983 มังกรหยก ภาค 1/1983 ทีวีบี 90% ติดสิบอันดับแรกละครรีรันบ่อยที่สุดในจีน(โดยมีละคร ไซอิ๋ว เวอร์ชัน 1986 รีรันกว่า 3,000 รอบ) หวงเย่อหัวองเหม่ยหลิงเหมียวเฉียวเหว่ยหยาง พ่านพ่าน

สิบอันดับละครยอดนิยมสุดคลาสสิกแห่งศตวรรษที่ 20 ในสิงคโปร์และมาเลเซีย แก้

ต่อไปนี้คือสิบละครคลาสสิกที่วัดจาก เรตติ้ง+ยอดจำหน่ายเทปวีดีโอและซีดี+ความนิยมของผู้ชม ในสิงค์โปร์และมาเลเซีย

ก่อนเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 วงการจอแก้วทั้งในสิงคโปร์และมาเลเซีย ได้มีการคัดเลือก 100 ละครยอดนิยมตั้งแต่ยุค 70s - ปีค.ศ. 1999 ของทั้ง ฮ่องกง, ไต้หวัน และจีน ที่เคยนำมาออกอากาศในสิงค์โปร์และมาเลเซีย โดยละครแต่ละเรื่องพิจารณาจาก:-[36][37]

1.วัดตามเรตติ้งสูงสุดที่ทำได้(ในสิงค์โปร์และมาเลเซีย)

2.จำนวนเทปวิดีโอและวีซีดีทั้งหมดที่จำหน่ายหรือให้เช่าในสิงคโปร์และมาเลเซีย

3.รางวัล

4.ปีของการบันทึกคะแนนและการรับรู้ของผู้ชม

โดย 10 อันดับแรกจากละคร 100 เรื่อง ของละครยอดนิยมสุดคลาสสิกแห่งศตวรรษที่ 20 ทั้งในสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนใหญ่จะเป็นละครยอดนิยมจากทางฝั่งเกาะฮ่องกง ของค่ายทีวีบี ส่วนค่ายเอทีวี(อาร์ทีวี) มีสองเรื่องที่ติดสิบอันดับแรกในสิงคโปร์ และละครจากจีนแผ่นดินใหญ่ เรื่อง สามก๊ก 1994 สามารถติดสิบอันดับแรกทั้งในสิงคโปร์ และ มาเลเซีย

ส่วนละครยอดนิยมของทีวีบี ที่มีเรตติ้งและยอดจำนวนเทปวีดีโอและซีดี สูงสุดในสิบอันดับแรกของทั้งสองประเทศ (สิงค์โปร์และมาเลเซีย) ได้แก่ มังกรหยก ภาค 1 (1983) (The Legend of conder heroes 1983), เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (The Bund 1980), เจ้าพ่อตลาดหุ้น (The Greed of Man 1992), เทพบุตรชาวดิน (The Good, the Bad and the Ugly 1979), คู่ทรนง (The Feud of Two Brothers 1986) และ คมเฉือนคม ภาค 1 (The Shell Game 1980)

ต่อไปนี้คือตารางสิบอันดับแรกทั้งใน สิงคโปร์ และ มาเลเซีย

สิงคโปร์ แก้

อันดับ ชื่อละครภาษาไทย/อังกฤษ ค่าย/ผลิตที่ นำแสดงโดย หมายเหตุ
1 เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (The Bund 1980) ทีวีบี/ฮ่องกง โจวเหวินฟะ,เจ้าหย่าจือ
2 เจ้าพ่อตลาดหุ้น (The Greed of Man 1992) ทีวีบี/ฮ่องกง เจิ้งเส้าชิว,หลิวสงเหยิน,หลันเจี๋ยอิง,หลิวชิงหวิน และ โจวฮุ่ยหมิ่น
3 เทพบุตรชาวดิน (The Good, the Bad and the Ugly 1979) ทีวีบี/ฮ่องกง โจวเหวินฟะ,เจิ้งอวี้หลิง
4 คู่แค้นสายโลหิต ( Looking Back in Anger 1989) ทีวีบี/ฮ่องกง หวงเย่อหัว,หลิวเจียหลิง ไม่ติดสิบอันดับแรกในมาเลเซีย
5 คู่ทรนง (The Feud of Two Brothers 1986) ทีวีบี/ฮ่องกง ว่านจือเหลียง,เจิ้งอวี้หลิง
6 มังกรหยก ภาค 1 (1983) (The Legend of conder heroes) 1983 ทีวีบี/ฮ่องกง หวงเย่อหัว,องเหม่ยหลิง
7 คมเฉือนคม ภาค 1 (The Shell Game 1980) ทีวีบี/ฮ่องกง เซี่ยเสียน,วังหมิงฉวน
8 แผ่นดินรัก แผ่นดินเลือด (Fatherland 1980) เอทีวี (อาร์ทีวี)/ฮ่องกง หลิวจื่อหยง , หวีอันอัน, พานจื่อเหวิน, ไฉ่ชุนเฟย , หลี่ไซ่ฟ่ง และ จางอิง ไม่ติดสิบอันดับแรกในมาเลเซีย
9 สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms 1994) ซีซีทีวี/จีนแผ่นดินใหญ่ ซุนยั่นจุน,ถังกั๋วเฉียง,เป้ากั๋วอัน, อู๋เสี่ยวตง
10 มังกรเปลี่ยนสี (Chameleon 1978) เอทีวี (อาร์ทีวี)/ฮ่องกง พานจื้อเหวิน, หลิวจื้อหยง, หลิวเว่ยหมิน, เว่ยชิวหัว​, หม่าเหมียนเอ๋อ​ และ หวีอันอัน ไม่ติดสิบอันดับแรกในมาเลเซีย

มาเลเซีย แก้

อันดับ ชื่อละครภาษาไทย/อังกฤษ ค่าย/ผลิตที่ นำแสดงโดย หมายเหตุ
1 เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (The Bund 1980) ทีวีบี/ฮ่องกง โจวเหวินฟะ,เจ้าหย่าจือ
2 เทพบุตรชาวดิน (The Good, the Bad and the Ugly 1979) ทีวีบี/ฮ่องกง โจวเหวินฟะ,เจิ้งอวี้หลิง
3 เลือดต่างสี (The Brothers 1980) ทีวีบี/ฮ่องกง โจวเหวินฟะ,เจิ้งอวี้หลิง ไม่ติดสิบอันดับแรกในสิงคโปร์
4 เจ้าพ่อตลาดหุ้น (The Greed of Man 1992) ทีวีบี/ฮ่องกง เจิ้งเส้าชิว,หลิวสงเหยิน,หลันเจี๋ยอิง,หลิวชิงหวิน และ โจวฮุ่ยหมิ่น
5 มังกรหยก ภาค 1 (1983) (The Legend of conder heroes) 1983 ทีวีบี/ฮ่องกง หวงเย่อหัว,องเหม่ยหลิง
6 คมเฉือนคม ภาค 1 (The Shell Game 1980) ทีวีบี/ฮ่องกง เซี่ยเสียน, วังหมิงฉวน
7 มรสุมชีวิต (Hotel 1976) ทีวีบี/ฮ่องกง โจวเหวินฟะ,เหมียวเชี่ยนเหยิน ไม่ติดสิบอันดับแรกในสิงคโปร์
8 มังกรหยก ภาค 2 (The Return of the Condor Heroes 1983) ทีวีบี/ฮ่องกง หลิวเต๋อหัว , เฉินอวี้เหลียน ไม่ติดสิบอันดับแรกในสิงคโปร์
9 คู่ทรนง (The Feud of Two Brothers 1986) ทีวีบี/ฮ่องกง ว่านจือเหลียง,เจิ้งอวี้หลิง
10 สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms 1994) ซีซีทีวี/จีนแผ่นดินใหญ่ ซุนยั่นจุน,ถังกั๋วเฉียง, เป้า กั๋วอัน, อู๋เสี่ยวตง

สิบอันดับละคร(ต่างประเทศ)ที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในฮ่องกง แก้

10 อันดับละครชุดต่างประเทศที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเกาะฮ่องกง เป็นเรตติ้งแยกจากละครชุดของฮ่องกงเอง (บางเรื่องเป็นการสร้างร่วมกันของทางทีวีบีกับไต้หวัน)

ละครของต่างประเทศที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนมากที่สุดในฮ่องกง คือ สงครามชีวิตโอชิน (Oshin 1983) ละครยอดนิยมของญี่ปุ่น ที่สร้างสถิติเป็นละครเรื่องเดียวที่มีการออกอากาศสองครั้งในปีเดียวกันผ่านทางช่องเดียวกันในฮ่องกง

โดยในปีพ.ศ. 2527 (1984) ทางช่องทีวีบี ได้นำละครเรื่องนี้มาออกอากาศครั้งแรกครึ่งชั่วโมงของทุกวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเวลาบ่ายโดยเน้นฐานผู้ชมที่เป็นแม่บ้านเป็นหลัก (ส่วนคนทำงานประจำไม่มีโอกาสดูในช่วงเวลานั้น) แต่เมื่อละครถูกพูดถึงจากเหล่าบรรดาแม่บ้านเป็นอย่างมาก ต่อมาทาง ทีวีบี ได้ตัดสินใจนำมาออกอากาศใหม่อีกครั้งในปีเดียวกันทันที ในช่วงหลังเลิกงานซึ่งเป็นเวลาที่มีผู้ชมหลากหลายได้มีโอกาสดูมัน ทำให้ละครเรื่องนี้ฮิต จนเกิดกระแส "โอชินฟีเวอร์" ขึ้นมาในฮ่องกง และสามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยได้ 42 จุดเปิดต่อตอน จากความนิยมทำให้ในปีอื่น ๆ มีการออกอากาศรีรันซ้ำละครเรื่องนี้ในฮ่องกงถึง 5 ครั้งเลยทีเดียว

ส่วนละครของต่างประเทศที่มีเรตติ้งสูงสุดในเกาะฮ่องกง คือ แดจังกึม ซีรีส์ยอดนิยมของเกาหลี ที่สามารถตีตลาดคนดูละครในฮ่องกงได้ ถึงแม้จะมียอดคนดูเฉลี่ยทุกตอนในฮ่องกง เพียง 2.35 ล้านคน และมีเรตติ้งตอนจบอยู่ที่ 47 จุดเปิด แต่สามารถทำเรตติ้งสูงสุด 50 จุดเปิด เท่ากับ 3.35 ล้านคน นับเป็นละคร(ยุคหลัง)ที่สามารถทำเรตติ้งสูงสุดในเกาะฮ่องกงในรอบ 25 ปี(ละครในช่วงปีค.ศ. 1991-2016) นับรวมเฉพาะละครของฮ่องกงตั้งแต่ยุค 90s มาจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่สูงเท่าเรตติ้งสูงสุดของละครยอดนิยมในยุค 80 อย่าง มังกรหยก ภาค 1 (1983) [38]

อันดับ ชื่อละคร การผลิตของประเทศ เฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด(จุดเปิด) สัปดาห์แรก ปลายสัปดาห์ ผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 สงครามชีวิตโอชิน (Oshin 1983) ญี่ปุ่นออกอากาศในฮ่องกงปี1984 42 46
2 แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง (Dae Jang Geum 2003) เกาหลีใต้ออกอากาศในฮ่องกงปี2005 36 50 25 41 2.35ล้านคน
3 อุ้ยเสี่ยวป้อ เทพบุตรไร้เทียมทาน (The Duke of the Mount Deer 2000) ไต้หวันร่วมกับเกาะฮ่องกง 36 46 31 40 2.33ล้านคน
4 เปาบุ้นจิ้น (Justice Pao 1993-94) ไต้หวัน 36 43
5 คลื่นรักคลื่นชีวิต (Mio Tsukushi 1985) ญี่ปุ่นออกอากาศในฮ่องกงปี1987 35 41
6 เห้งเจียจอมอิทธิฤทธิ์ (The Monkey King: Quest for the Sutra 2001) ไต้หวันร่วมกับเกาะฮ่องกง 34 40 36 30 2.20ล้านคน
7 คังซีจักรพรรดิพิทักษ์แผ่นดิน (EMPEROR KANG SI's PRIVATE VISIT 2006) จีน 32 41 31 43
8 มนต์รักในสายฝน (Romance in the Rain 2002) ไต้หวันร่วมกับจีน 30 37 29 30 2.13ล้านคน
9 จี้เสี่ยวหลาน นักปราชญ์จอมทะเล้น (The Bronze Teeth / The Eloquent Ji Xiaolan 1999) จีนออกอากาศในฮ่องกงปี 2002 30 36 29 31
10 จี้เสี่ยวหลาน นักปราชญ์จอมทะเล้นภาค2 (The Bronze Teeth / The Eloquent Ji Xiaolan 2001) จีนออกอากาศในฮ่องกงปี2004 29 36 27 32 1.87ล้านคน

เรตติ้งละครทีวีบียุค 70-80 แก้

นอกเหนือจาก 10 ละครที่มีเรตติ้งในฮ่องกงสูงสุดตลอดกาล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นละครในช่วงปลายยุค 70s-80s (ค.ศ. 1977-1989) เช่น มังกรหยก (1983) ภาคก๊วยเจ๋งและเอี้ยก้วย, เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้, เทพบุตรชาวดิน, เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์, ดาบมังกรหยก (1978), ซิยิ่นกุ้ย พิชิตตะวันออก ซึ่งล้วนทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 60 จุดเปิดขึ้นไปได้สำเร็จ ถือเป็นช่วงยุคทองของละครในฮ่องกง แต่ก็มีละครในยุคนั้นอีกจำนวนมากที่ถึงแม้จะประสบความสำเร็จเช่นกัน แต่ก็ไม่สามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยได้ถึง 60 จุดเปิด

ต่อไปนี้คือเรตติ้งของละครเรื่องอื่น ๆ (เพียงบางส่วน) จากประมาณ 200 เรื่องของละครทั้งหมดในยุค 70s-80s

ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด กำลังผู้ชมสูงสุด(เปอร์เซ็นต์) คู่พระ-นางนำแสดง หมายเหตุ
ดาบมังกรหยก 1986 (The New Heaven Sword and the Dragon Sabre 1986) 54
91
เหลียงเฉาเหว่ย,หลี เหม่ยเสียน เป็นละครเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนมากที่สุดเฉพาะของปีพ.ศ. 2529 (1986)
เหยี่ยวถลาลม (The Lonely Hunter 1981) 54 หวงเย่อหัว,เจิ้งอวี้หลิง, เป็นละครเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนมากที่สุดเฉพาะของปีพ.ศ. 2524 (1981)
คนเหนือคน (The Superlative Affections 1986) 52
97
หลี่ฟาง,โจวไห่เม่ย (เป็นละครที่ โจวไห่เม่ย รับบทนางเอกเต็มตัวเป็นเรื่องแรก) เป็นละครที่มีเรตติ้ง%สูงสุดของปีพ.ศ. 2529
วิระบุรุษโค่นอิทธิพลมืด (Turn Around and Die 1986) 52
94
ว่านจือเหลียง,หลันเจี๋ยอิง
คู่ทรนง (The Feud of Two Brothers 1986) 51
88
ว่านจือเหลียง,เจิ้งอวี้หลิง เมื่อนับยอดรวมเรตติ้งจากทั่วโลก ทำให้กลายเป็นละครฮ่องกงอันดับ2 ที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในโลก
ขวัญใจโปลิส ภาค1 (Police Cadet '84) 50 62 เหลียงเฉาเหว่ย,จางม่านอวี้ เมื่อนับยอดรวมเรตติ้งจากทั่วโลก ทำให้กลายเป็นละครฮ่องกงอันดับ10 ที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในโลก
ฟ้ามิอาจกั้น (Love and Passion 1982) 50
90
เซียะเสียน,วังหมิงฉวน เมื่อนับยอดรวมเรตติ้งจากทั่วโลก ทำให้กลายเป็นละครฮ่องกงอันดับ5 ที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในโลก
เทพบุตรทรนง (The Rough Ride 1985) 50
89
เหลียงเฉาเหว่ย,องเหม่ยหลิง
เล็กเซี่ยวหงส์ (The Return of Luk Siu-fung 1986) 49
92
ว่านจือเหลียง,เฉินซิ่วจู
ผีสาวจอมเพี้ยน (Happy Spirit 1986) 49
91
หลี่เหลียงเหว่ย,เจิ้งอวี้หลิง
ชอลิ้วเฮียง ตอน ถล่มวังค้างคาว (The New Adventure of Chor Lau Heung 1984) 49
90
เหมียวเฉียวเหว่ย,องเหม่ยหลิง
เฉือนรักเฉือนคม (Sandwiches 1983) 49
87
เจิ้งเส้าชิวและองเหม่ยหลิง
เจ้าแม่ฮ่องกง (The Upheaval 1986) 49
87
หลี่เหลียงเหว่ย,เฉินอวี้เหลียน
ซีไอดี หน่วยล่าล้างจรชน (Siblings of Vice and Virtue 1986) 49
84
จางเจ้าฮุย,เฉินหมิ่นเอ๋อ
เจ้าชายแฝด (The Twin Heirs 1986) 48
95
เยิ่นต๊ะหัว,ค่วงเหม่ยหวิน
ซิติงซานพิชิตตะวันตก (General Father General Son 1986) 48
93
หวงเย่อหัว,เฉินหมิ่นเอ๋อ
เฉือนคมเจ้าพ่อ (United We Stand 1986) 48
90
เหมียวเฉียวเหว่ย,องเหม่ยหลิง
เหยี่ยวสาวจ้าวพยัคฆ์ (The Legend of Wonder Lady 1981) 48 70
80
เจ้าหย่าจือ,หยางพ่านพ่าน
คู่แค้นสายโลหิต (Looking Back in Anger 1989) 47 68
89
หวงเย่อหัว,หลิวเจียหลิง เป็นละครเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนมากที่สุดเฉพาะของปีพ.ศ. 2532 (1989) แต่ทว่าเมื่อนับยอดรวมเรตติ้งจากทั่วโลก จึงทำให้กลายเป็นละครฮ่องกงอันดับหนึ่งที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในโลก
ยุทธจักรชิงจ้าวบัลลังค์ (The Foundation 1984) 47
88
หวงเย่อหัว,องเหม่ยหลิง
สองเมถุนวุ่นอลเวง (Two of a Kind 1989) 44
86
หลี่เค่อฉิน,หวงกวนจง
สามชะตาในฝูงชน (Three in Acrowd 1989) 43
85
เฉินหมิ่นเอ๋อ,เหลียงเพ่ยหลิง
เลือดรัก เลือดแค้น (Forever Once in a Lifetime 1989) 42
86
เฉินหมิ่นเอ๋อ,เจิ้งหัวเชียน
สงครามหัวใจ (Battle Of The Heart) 1989) 41
88
หวงเย่อหัว,หลันเจี๋ยอิง
ตำรวจเมืองใหญ่ (THE JOY OF BEING SIMPLE 1989) 41
86
กลับเมิองจีนดีกว่า (Yanky Boy 1989) 41
84
หลี่หมิง,หลีเหม่ยเสียน
ตี้ชิง (The Legend Of Dik Ching 1986) 35 เหมียวเฉียวเหว่ย, เซี่ยะหนิง, หลีเหม่ยเสียน เป็นละครทีวีบีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนต่ำที่สุดของปีพ.ศ. 2529 (1986)
มังกรสะท้านบู๊ลิ้ม (The Deadly Secret 1989) 35 กัวจิ้นอัน,หลีเหม่ยเสียน เป็นละครทีวีบีที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนต่ำที่สุดของปีพ.ศ. 2532 (1989)
ดับเครื่องชน (The Final Verdict 1988)
86
เจิ้งเส้าชิว, เฉินซิ่วจู เป็นละครเรตติ้ง%สูงสุดเฉพาะของปีพ.ศ. 2531 (1988)
ประกาศิตเหยี่ยวพญายม (The Hawk 1981)
84
เจิ้งเส้าชิว,เจ้าหย่าจือ
ชอลิ่วเฮียง (Chor Lau Heung 1979)
77
เจิ้งเส้าชิว,เจ้าหย่าจือ.วังหมิงฉวน
โคมวิเศษเจ้าแม่หัวซาน (The Lamp Lore 1986)
70
วังหมิงฉวน,เยิ่นต๊ะหัว

เรตติ้งละครทีวีบียุค 90-ปัจจุบัน แก้

ยุค 90s ช่วงต้น-กลาง (1990-1996) เป็นยุคทองของภาพยนตร์ฮ่องกง(จอเงิน) และเริ่มเข้าสู่ยุคที่เรตติ้งของละคร(จอแก้ว)ในฮ่องกง เริ่มลดลงและต่ำลงไปเรื่อย ๆ จนมาถึงปัจจุบัน

โดยมีแบ่งการวัดเรตติ้ง ออกเป็น 2 ช่วงดังนี้:-

1. "ช่วงแรก ปีค.ศ. 1991-2012"

  • วัดเรตติ้งจากจุดชมวิว 100 จุดทั่วเกาะฮ่องกง

2."ช่วงหลัง ปีค.ศ. 2013-ปัจจุบัน"

  • เข้าสู่ยุค"แพลตฟอร์ม" (Platform) ในโลกอินเทอร์เน็ต จึงมีการวัดเรตติ้งแบบใหม่ให้ทันยุคสมัย โดยยังคงวัดจากจุดชมวิวแบบยุค 90s เป็นหลัก แต่มีการหาเรตติ้งที่ครอบคลุมพื้นที่การดูสดผ่านทางทีวีและออนไลน์ เช่น พวกแพตฟอร์มที่ขึ้นตรงกับทางทีวีบี นำมาคำนวณหาเรตติ้งแท้จริงร่วมกับเรตติ้งที่ดูหน้าจอทีวี ซึ่งจะทำให้ได้ยอดคนดูสดทางออนไลน์รวมกับยอดคนดูสดทางหน้าจอทีวีในยุคปัจจุบัน(ไม่ใช่การดูย้อนหลัง)

ต่อไปนี้คือตารางรวมเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงสุดในแต่ละปีของละครยุค 90s - ปัจจุบัน หลังจากหมดยุค 80s ผู้ชมในเกาะฮ่องกงยุค 90s พฤติกรรมการดูละครเริ่มเปลี่ยน คนดูเริ่มมีทางเลือกหลากหลายมากขึ้น จึงทำให้เรตติ้งค่าเฉลี่ย และเรตติ้งสูงสุดน้อยลงจากยุคก่อน โดยยุคหลังละครแต่ละเรื่องเรตติ้งเฉลี่ยได้ไม่เกิน 45 จุดเปิด ส่วนเรตติ้งสูงสุดได้ไม่เกิน 50 จุดเปิดเท่านั้น ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับเรตติ้งของละครยอดนิยมในช่วงยุค 80s

ส่วนเรตติ้งละครในยุค 70s-80s ที่มีเรตติ้งค่าเฉลี่ยต่อตอนเกิน 45 จุดเปิดมีหลายเรื่อง เช่น

1.มังกรหยกภาค 1 เวอร์ชัน 1983 มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 65 จุดเปิด

2. มังกรหยก ภาค 2 เวอร์ชัน 1983 เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 62 จุดเปิด

3. เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ มีเรตติเฉลี่ยต่อตอน 60 จุดเปิด เป็นต้น

ซึ่งละครยุคเก่าทั้งสามเรื่องต่างมีคะแนนเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงกว่าเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนของละครในยุค 90s จนถึงปัจจุบันทั้งหมด

ต่อไปนี้คือตารางเรตติ้งเฉลี่ยและเรตติ้งสูงสุดของละครทีวีบีในยุค 90s - ปัจจุบันคร่าวๆ โดยจะแยกตารางเรตติ้งออกเป็นของแต่ละปีที่ทำเรตติ้งได้สูงสุดของปีนั้น ๆ โดยหลัก ๆ ให้ดูค่าตัวเลขที่ค่าเรตติ้งเฉลี่ย ก่อนเพราะเป็นหัวใจหลักในการจัดอันดับ ถึงค่อยมาดูค่าเรตติ้งสูงสุด และอื่น ๆ ตามลำดับซึ่งมีความสำคัญรองลงมา[39][40][41][42]

ปีค.ศ. 1990 แก้

สามอันดับแรกละครที่มีคะแนนเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปีพ.ศ. 2533 (1990)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 มรสุมสายเลือด (The Challenge of Life 1990) 42
2 คู่กัด (it runs in the Family 1990) 41
3 เลือดเจ้าพ่อ (เลือดคนละสี)(Blood of Good and Evil 1990) 40

ปีค.ศ. 1991 แก้

สามอันดับแรกละครที่มีจุดเปิดเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปีพ.ศ. 2534 (1991)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 เพื่อนรักเพื่อนแค้น (The Breaking Point) 36 42
2 เลือดล้างตระกูล(Big Family) 36 40
3 ฤทธิ์กระบี่ฟ้าคำรณ (The Sword of Conquest 1991) 35 40 33

ปีค.ศ. 1992 แก้

สี่อันดับแรกละครที่มีคะแนนเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปีพ.ศ. 2535 (1992)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 ศึกสองตระกูลใหญ่ (The Key Man) 36 43
2 เจ้าพ่อตลาดหุ้น(The Greed of Man) 33 47 30 41
3 อาญาทมิฬ (The File of Justice) 30 36 28 31
4 กระบี่ลมกรด (The Revelation of the Last Hero) 29 36 33

ปีค.ศ. 1993 แก้

หกอันดับแรกละครที่มีจุดเปิดเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปีพ.ศ. 2536 (1993)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 จอมหงวนร้อยเหลี่ยม (Man of Wisdom) 33 43 31 33
2 เทพบุตรผู้พิชิต(The Legendary Ranger) 33 40 32 32
3 เด็ดยอดเซียนตุ๋น (Being Honest) 31 35 30 31
4 อาญาทมิฬ ภาค2 (The File of Justice II) 29 35 28 32
5 เจ้าพ่อสนามม้า (Racing Peak) 29 32
6 ตี๋ใหญ่เลือดมังกร (The Edge of Righteousness) 28 35

ปีค.ศ. 1994 แก้

สิบสองอันดับแรกละครที่มีจุดเปิดเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปีพ.ศ. 2537 (1994)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 จอมราชันย์ยุคสุดท้าย (Fate of the Last Empire) 35 37 31 33
2 รอยรักลางสังหรณ์(FATE OF THE CLAIRVOYANT) 32 40 28 32
3 มังกรหยก ภาค1 (The Legend of conder heroes 1994) 32
4 จุดเดือด (Crime and Passion) 30 30 32
5 เหลียงควนวีรบุรุษใจเพชร (Master of Martial Arts ) 30 30 29
6 จอมบงการ (Instinct) 30 26 33
7 สวัสดีคุณครู (Class of Distinction 1994) 26 27 26
8 ฮ่องเต้บัลลังก์เลือด (The Ching Emperor 1994) 26 25 26
9 เลือดนอกอก (Love Cycle 1994) 25 24 27
10 ไฟรักไฟริษยา (Heartstrings 1994) 24 30 24 24
11 เสน่ห์แม่ยั่วเมือง (Gentle Reflections) 24 24 26
12 กลับชาติมาทวงแค้น (The Intangible Truth 1994) 21 23 24

ปีค.ศ. 1995 แก้

สิบเอ็ดอันดับแรกละครที่มีจุดเปิดรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปีพ.ศ. 2538 (1995)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 คดีดังกองปราบ ภาค1 (Detective Investigation Files 1995) 32 38 30 34
2 คดีดังกองปราบ ภาค2 (Detective Investigation Files II)) 31 39 25 34 1.76 ล้านคน
3 แผนล้างมาเฟีย ภาค 1 (The Criminal Investigator 1 ) 30 29 28
4 ยอดหญิงทรนง (Sharp Shooters ) 30 31 28
5 จอมหงวนร้อยเหลี่ยม ภาค 2 (Man of Wisdom II) 30 30 31
6 ม่านรักม่านประเพณี (Plain Love) 30 27 31
7 กามเทพจอมจุ้น (A Good Match From Heaven (1995) 29 27 29
8 มังกรหยก ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2538) (The Condor Heroes 95) 29 27 25
9 ชะตาพลิกผัน (A Change of Fate) 29 26 30
10 หนี้รักหนี้ชีวิต (Debts of a Life Time 1995) 29 25 26
11 อลเวงร่วมรุ่น (From Act to Act) 28 27 29

ปีค.ศ. 1996 แก้

สิบเอ็ดอันดับแรกละครที่มีจุดเปิดเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปีพ.ศ. 2539 (1996)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 ไซอิ๋ว ศึกเทพอสูรสะท้านฟ้า (Journey To the West 1996) 36 44 34 34 2.04ล้านคน
2 ลูกผู้ชายต้องสู้ (Cold Blood Warm Heart)) 30 38 28 33 1.7 ล้านคน
3 สูตรรักสูตรพิสดาร (Food of Love ) 30 29 30 1 69 ล้านคน
4 เดชคัมภีร์​เทวดา (State of Divinity ) 30 26 32 1.69 ล้านคน
5 จอมมารขมังเวทย์ (Night Journey]) 29 30 30 1.68 ล้านคน
6 ชีวิตใหม่ (The Price to Pay) 29 28 31 1.67 ล้านคน
7 โปเยโปโลเย ภาค1 (Dark Tales) 29 27 29 1.62 ล้านคน
8 แผนล้างมาเฟีย ภาค2 (The Criminal Investigator) 29 28 30 1.62 ล้านคน
9 สงครามสินบน (Wars of Bribery) 28 28 28
10 นางฟ้าปีศาจ (Hell Angel) 28
11 หน่วยพยัคฆ์ร้าย 900 (Outburst) 28 28 27

ปีค.ศ. 1997 แก้

สิบเจ็ดอันดับแรกละครที่มีจุดเปิดเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปีพ.ศ. 2540 (1997)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 อาถรรพณ์รักวิญญาณสาว (Time Before Time) 36 45 34 39 มากกว่า 2 ล้านคน
2 คดีดังกองปราบ ภาค3 (Detective Investigation Files III)) 36 44 33 37
3 พยัคฆ์ร้ายหลี่ฉี/หลุมรักพลางใจ (Old Time Buddy) 34 32 39 1.989 ล้านคน
4 ขาโจ๋หมัดพิศดาร (Drunken Angels) 34 38 34 34
5 ตุ๊ต๊ะบุญหล่นทับ (In The Name Of Love]) 34 36 31 34
6 8 เทพอสูรมังกรฟ้า (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2540) (Demi-Gods And Semi-Devils 1997)  33 38 31 36
7 วีรบุรุษพิทักษ์ธรรม ภาค 1 (Justice Sung) 33 38 31 32
8 ศึกรักศึกชิงกุ๊กเทวดา (A Recipe For The Heart) 32 40 31 33
9 กังฟูสาว เผ็ด สวย ดุ (Lady Flower Fist) 32 40 29 33
10 องค์หญิงเจ้าปัญญา กับ ราชบุตรเขยจอมยุ่ง (Taming of the Princess) 31 39 29 34
11 อาญาทมิฬ ภาค5 (The File of Justice V ) 31 38 30 32
12 ยอดมนุษย์ล่องหน (The Disappearance (1997) 30 33 31 31
13 สายเลือดสายสัมพันธ์ ภาค3 (A Kindred Spirit 1997) 30 37
14 โค่นอิทธิพลมืด (I Can't Accept Corruption1997) 29 31 29
15 หน่วยพิทักษ์ท้านรก (Deadly Protection1997) 29 30 34 32
16 อาถรรพ์สองภพ (Mystery Files1997) 29 28 31
17 พิษรักแรงริษยา (working women1997) 28 27 29

ปีค.ศ. 1998 แก้

สิบเก้าอันดับแรกละครที่มีจุดเปิดเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปีพ.ศ. 2541 (1998)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 เลือดรัก เลือดทรนง (Secret Of at The Heart ) 35 45 31 41 มากกว่า 2 ล้านคน
2 ปฏิบัติการล่าทรชน ภาค 1 (Armed Reaction)) 35 43 33 38
3 มือปราบเลือดนักสู้ (Rural Hero) 34 43 32 37
4 นาทีชีวิตนาทีวิกฤต ภาค1 (Healing Hands) 34 46 33 39
5 ปมแค้นคดีเดือด ภาค1 (Untraceable Evidence) 33 46 26 37
6 คู่วุ่นสะดุดรัก (A Measure of Love ) 33 43 32 35
7 โปเยโปโลเย ภาค2) (Dark Tales II)  33 42 34 33
8 ล้างมาเฟียโหด (Crime of passion) 33 42 32 38
9 ไซอิ๋ว ภาค 2 ศึกเทพอสูรสะท้านฟ้า ((Journey to the West II) 33 42 32 34
10 เพลิงนรกไฟชีวิต (Burning Flame) 32 45 30 37
11 พยัคฆ์ร้ายหลี่ฉี ภาค2 (Old Time Buddy - To Catch A Thief) 30 36 29 32
12 ต้าเอ้า แผ่นดินที่ข้ารัก (A Place of One's Own) 30 35 31 31
13 ฮัวมู่หลาน ยอดขุนพลหญิง (A Tough Side of a Lady) 30 35 30 33
14 สายใยรัก (Till When Do Us Part) 30 35 28
15 อุ้ยเสี่ยวป้อ อะเมซิ่ง (The Duke of the Mount Deer 1998) 29 30
16 มีดพิศดารศิษย์หวงเฟยหง (Simply Ordinary) 29 30
17 รักอลวน คนอลเวง (As Sure As Fate) 29 28
18 อภินิหารเทพ 7 ดาว (Triumph over Evil) 27 27 31
19 สื่อรักอินเทอร์เน็ต (Web of Love) 27 28

ปีค.ศ. 1999 แก้

ยี่สิบเอ็ดอันดับแรกละครที่มีจุดเปิดเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดของปีพ.ศ. 2542 (1999)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 วีรบุรุษพิทักษ์ธรรม ภาค 2 (Justice Sung 2 ) 32 42 29 34 2ล้านคน
2 ตำรับลับ ตำนานสะท้านฟ้า (Happy Ever After) 31 40 28 38 1.96 ล้านคน
3 เข้าโรงผีเจอะผีเพี้ยน (A Loving Spirit)) 31 39 28 34 1.92ล้านคน
6 ปมแค้นคดีเดือด ภาค1 (Untraceable Evidence) 30 46 33 39 1.89ล้านคน
4 อภินิหารอรหันต์ย่ามเหลือง (Road To Eternity) 30 45 29 36 1.91 ล้านคน
5 สายเลือดสายสัมพันธ์ ภาค5 (A Kindred Spirit 1999) 30 43 1.9ล้านคน
7 คดีดังกองปราบ ภาค4) (Detective Investigation Files IV)  30 42 29 32 1.89ล้านคน
8 สื่อรักแสนรู้ (Man's Best Friend) 30 39 30 34 1.87ล้านคน
9 คุณปู่ยอดเฟี้ยว (Moments of Endearment) 30 38 28 34 1.86ล้านคน
10 ธุรกิจรัก ธุรกิจรบ (A Matter of Business) 30 36 28 32 1.85ล้านคน
11 จิ้งจอกภูเขาหิมะ (The Flying Fox of Snowy Mountain 1999) 29 41 27 33 1.84ล้านคน
12 ม่านรักม่านประเพณี ภาค2 (Plain Love II) 29 40 26 31 1.82ล้านคน
13 เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด (At the Threshold of An Era) 29 36 31 32 1.8ล้านคน
14 ผีกุ๊กกิ๊ก (A Smiling Ghost Story) 29 30 28
15 ชะตาเหนือชะตา (Life for Life) 28 27 30
16 มิสเตอร์ไดอาน่า ผู้หญิงสวยล่ำบึ๊ก (Mr.Diana) 28 27 29
17 ดับอิทธิพลเถื่อน ((Anti-Crime Squad)) 27 28 22
18 สองคมสองด้าน (Face to Face) 25 32 23 30
19 2 พยัคฆ์หักเหลี่ยมเซียน (Game of Deceit) 25 24 26 1.55ล้านคน
20 ตำนานรักมังกรฟ้า (Dragon Love) 21 22 21 1.32ล้านคน
21 บอดี้การ์ดเลือดเดือด (Ultra Protection) 21 22 21 1.32ล้านคน

ยุค2000 แก้

รวม 10 อันดับแรกช่วงยุค 2000 ของละครทีวีบีที่มีเรตติ้งเฉลี่ยผู้ชมสูงสุด ในช่วงสิบปี (พ.ศ. 2543-2552)

  • เป็นสิบอันดับแรกช่วง 10 ปีของละครที่สามารถทำเรตติ้งยอดนิยมเฉลี่ยสูงสุดของยุค 2000 (ค.ศ. 2000-2009 หรือ พ.ศ. 2543-2552)
อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ ละครของปีค.ศ. เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 อาว่างสุดเอ๋อ กับ ขนมปังเมียจ๋า (Square Pegs) 2003 37 46 34 41 2.42ล้านคน
2 มรสุมชีวิตลิขิตพระจันทร์ (Moonlight Resonance) 2008 36 50 33 40 2.26 ล้านคน
3 ศึกบุปผาวังมังกร (Beyond the Realm of Conscience) 2009 35 50 33 39 2.31ล้านคน
4 หัวใจปรารถนา (Return of the Cuckoo) 2000 36 46 34 40 2.3ล้านคน
5 ปฏิบัติการล่าทรชน ภาค2 (Armed Reaction II) 2000 36 47 32 39 2.29 ล้านคน
6 ซือเจ๊อลวนรัก (War of the Genders) 2000 35 50 31 45 2.25ล้านคน
7 ปมปริศนาพยานมรณะ ภาค 2) (Witness To A Prosecution II) 2002 35 46 33 34 2.25ล้านคน
8 เส้นทางนักสู้ (Street Fighters) 2000 35 42 34 37 2.18ล้านคน
9 แม่ผัวจอมเฮี้ยบกับสะใภ้ซุ่มซ่าม (Wars of In-Laws) 2005 34 38 34 35 2.23ล้านคน
10 ตำรวจเหล็กล่าทรชน (Vigilante Force) 2003 34 41 31 36 2.22ล้านคน

ยุค2010 (รวมเรตติ้งแพลตฟอร์ม) แก้

เป็นยุคแรกที่มีการหาเรตติ้งข้าม"แพลตฟอร์ม" ในโลกอินเทอร์เน็ต จึงมีการวัดเรตติ้งแบบใหม่ให้ทันยุคสมัย มีการวัดเรตติ้งจำนวนผู้ชมข้ามแพลตฟอร์มโดยเฉลี่ยทั้งหมด ทั้งทางช่อง ทีวีบี เจด (TVB Jade Channel และ มายทีวี ซุปเปอร์ (myTV SUPER 7-day cross) โดยวัดสถิติผู้ชมรวมแพลตฟอร์มใน 7 วัน

ต่อไปนี้คือ 10 อันดับแรกช่วงยุค 2010 ของละครทีวีบีที่มีเรตติ้งเฉลี่ยผู้ชมสูงสุด ในช่วงสิบปี (พ.ศ. 2553-2562)

  • เป็นสิบอันดับแรกช่วง 10 ปีของละครที่สามารถทำเรตติ้งยอดนิยมเฉลี่ยสูงสุดของยุค 2010 (ค.ศ. 2010-2019 หรือ พ.ศ. 2553-2562)

รายการต่อไปนี้แสดงรายการละครชุดทีวีฮ่องกงของทีวีบี 10 อันดับแรกที่มีคะแนนเฉลี่ยทางทีวี/แบบครอบคลุม/24 ชั่วโมงข้ามแพลตฟอร์มสูงสุด 7 วันในยุค 2010 ยุคนี้สื่ออินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อผู้ชม จึงได้เริ่มมีการแยกวัดเรตติ้งการดูละครถ่ายทอดสดผ่านทางออนไลน์ขึ้นมาอีกด้วย

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ ละครของปีค.ศ. เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก สัปดาห์สุดท้าย/ตอนจบ ตอนอวสาน ดูสดออนไลน์ ยอดผู้ชมเฉลี่ย
1 เหินฟ้าหารัก ภาค 2 (Triumph in the Skies II) 2013 36 41 31 31 38 4.8 คะแนน
2 บริษัททัวร์-วาย-ป่วง (Inbound Troubles) 2013 35 37 30 30 37 4.6 คะแนน
3 ป่วนรักวังบุปผา/ลุ้นรักองค์หญิงจอมอลวน (Can't Buy Me Love) 2010 34.37 45 33 35 42 2.14ล้านคน
4 ยอดหญิงจอมทรนง ภาค 2 (No Regrets) 2010 33 47 31 35 44 2.107ล้านคน
5 หน่วยเฉพาะกิจพลิกคดีเด็ด ภาค3 (Forensic Heroes III) 2011 33 43 31 33 39.9 2.098 ล้านคน
6 ยอดพยัคฆ์นักสืบ/มือปราบพ่ายรัก (The Mysteries of Love) 2010 32 42 31 35 2.035ล้านคน
7 ก๊วนกะล่อนอ้อนรัก (Bounty Lady) 2013 32 31 28 28 28
8 เล่ห์รักวังต้องห้าม (Story of Yanxi Palace) 2018 31 39 25 37 39 2.03ล้านคน
9 ภารกิจปกป้องรักพิทักษ์เธอ (Witness Insecurity) 2012 31 37 31 33 37 2.013ล้านคน
10 ซือกงหนุ่ม ตอนอภินิหารหมอนเทพ ภาค 2 (A Pillow Case of Mystery II) 2010 31.2 39 30 31 37 1.99ล้านคน

ยุค 2020 แก้

ยุคปัจจุบัน นับตั้งแต่พ.ศ. 2563-2572 (2020-2029)

ปีค.ศ. 2020 แก้

10 อันดับละครที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงสุดของปีพ.ศ. 2563 (2020)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก ตอนจบ ยอดผู้ชมโดยเฉลี่ย
1 หน่วยเฉพาะกิจพลิกคดีเด็ด ภาค4 ( Forensic Hero IV) 36.3 40 35.7 38.8
2 หน่วยพยัคฆ์ พิทักษ์แอร์พอร์ต (Airport Strikers) 33.2 36.3 32.8 34.4
3 ซีโร่ นักฆ่าเต็งหนึ่ง (Death by Zero) 30.1 35.2 29.2 32.5
4 ยอดแท็กซี่ มือปราบผี ภาค 2 (The Exorcist's 2nd Meter) 29 32.1 29.9 29.3
5 ซุปตาร์เจ้าพ่อมาเฟีย (Al Cappuccino) 28.6 31.8 30.1 28.7
6 กลโกงโลกออนไลน์ (ON-LIE GAME) 27.9 29.4 26.3 29.1
7 ตำนานรัก สายโลหิต ( The Dripping Sauce) 27.7 36.5 22.4 33.2
8 อุบัติรักลิขิตชีวิต (Life After Death) 27.4 31.9 25.9 28.9
9 หน่วยล่าพยัคฆ์เดือด ภาค 2 (Flying Tiger II) 27.4 31.7 28.7 26.9
10  18 ปี เพื่อนแท้ปมมรณะ (BRUTALLY YOUNG ) 26.5 29.7 25.4 27.2

ปีค.ศ. 2021 แก้

ต่อไปนี้คือตาราง 10 อันดับละครที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงสุดของปีพ.ศ. 2564 (2021)

อันดับ ชื่อละครไทย/อังกฤษ เรตติ้งเฉลี่ย(จุดเปิด) สูงสุด สัปดาห์แรก ตอนจบ ยอดผู้ชม
1 พลิกเกมล่าอาชญากร (Sinister Beings) 27 30.2 26.4 28.3
2 วีรบุรุษวิสามัญใจเพชร 3 (The Impossible 3) 24.1 26.6 24.3 23.3
3 ปฏิบัติการล่าล้างมาเฟีย (Shadow Of Justice) 23.9 26.3 24.7 25
4 โฉมงามกับเจ้านายอสูร (Beauty And The Boss) 23.8 26 23.6 24.5
5 ภารกิจลับ 7 สาวตระกูลกู้ (Battle Of The Seven Sisters) 23.5
6 วันที่ถูกลืม (The Forgotten Day) 23.1 25.5 22.9 24.1
7 ปฏิบัติการล่าทรชน (Armed Reaction 2021) 22.8 25.8 23.4 25.6
8 ครอบครัวที่รัก (BB大晒) 22.2
9 จอมนางพิชิตบัลลังก์ (The Legend of Xiao Chuo) 22.1 23.7 21.2 22.9
10 คนออฟไลน์ 2021 (The Offliners) 20.9 23.3 21.2 22.8

อ้างอิง แก้

  1. C.R. No:0011781(Television Broadcasts Limited)—The Cyber Search Centre of the Integrated Companies Registry Information System เก็บถาวร 2017-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "When Hong Kong was a colour TV pioneer, 26 November 2016, Post Magazine". 26 November 2016. สืบค้นเมื่อ 23 January 2018.
  3. Chow, Vivienne (29 March 2015). "Wong Ching, the leading man in ATV's sorry drama". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 3 April 2015.
  4. "Farewell ATV as its survival fight ends". The Standard. สืบค้นเมื่อ 11 April 2016.
  5. "ATV, World's Oldest Chinese TV Channel, Closes Down". Variety. 2 April 2016. สืบค้นเมื่อ 11 April 2016.
  6. "Public Evaluation on Media Credibility Survey Results" (PDF).
  7. "TVB 直插谷底,大公文滙敬陪末席 — 傳媒公信力啟示 | 區家麟 | 立場新聞". 立場新聞 Stand News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-15.
  8. "蘇鑰機:香港傳媒公信力:低處未必最低 - 20191128 - 觀點". 明報新聞網 - 每日明報 daily news (ภาษาจีนตัวเต็ม). สืบค้นเมื่อ 2019-12-15.
  9. "Can Africa really learn from Korea?". Afrol News. 24 November 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
  10. "Korea role model for Latin America: Envoy". Korean Culture and Information Service. 1 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-22. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
  11. "ทีวีบี ในปัจจุบัน". baidu (ภาษาจีนตัวเต็ม). สืบค้นเมื่อ 2022-03-15.
  12. "TVB Thailand - YouTube". YouTube. 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-06-10.
  13. "อวสาน ATV! ทางการไม่ต่อใบอนุญาตฟรีทีวีปิดฉากทีวีสถานีแรกของฮ่องกง". ผู้จัดการออนไลน์. 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2016-04-08.
  14. "Mei Ah Entertainment Group Ltd. - Main Page". Mei Ah Entertainment. 2015-05-11. สืบค้นเมื่อ 2015-05-12.
  15. "Possibility of new T.V. station in Hongkong". South China Morning Post. 7 June 1962. p. 1.
  16. "Wireless TV franchise". South China Morning Post. 26 January 1966. p. 1.
  17. 來源:逾千七人蜂擁考警察公務員加薪《學警出更》效應, 9/7/07,成報
  18. "《珠光宝气》山寨版幸福指环网上叫卖17元來源:". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-09.
  19. 陳銘匡 (2019-09-07). "從《獅子山下》到「許冠傑金曲」到《有你始終》-「香港人的歌」與「香港人」有什麼關係?". 嶺南大學文化研究系. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-14. สืบค้นเมื่อ 2010-04-08.
  20. 謝曦2008-05-31無綫電視換血--世界日報 เก็บถาวร 2020-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนdate=April 2014
  21. 不詳 (2012-10-16). "TVB劇集演員大撞衫" (ภาษาจีนตัวย่อ). YouTube. สืบค้นเมื่อ 2013-07-23.
  22. "ละครฮ่องกงฮิตในไต้หวัน作".
  23. แหล่งข้อมูลจากการวัดเรตติ้งละครทีวีบีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเกาะฮ่องกง
  24. "電視廣播有限公司 二零一八年周年報告" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-10. สืบค้นเมื่อ 2022-09-12.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  25. 由於早期劇集收視統計資料不完整,僅為粗略排名
  26. 由於早期劇集收視統計資料不完整,僅為粗略排名
  27. 由於早期劇集收視統計資料不完整,僅為粗略排名
  28. 由於早期劇集收視統計資料不完整,僅為粗略排名
  29. 由於早期劇集收視統計資料不完整,僅為粗略排名
  30. 包括外購劇集
  31. 由於早期劇集收視統計資料不完整,僅為粗略排名
  32. 《เรตติ้ง》จัดทำโดยทีวีบีฮ่องกง:
  33. 电影聚焦. "สิบอันดับละครของทีวีบี ที่มียอดคนดูสูงสุดทั่วเอเชีย". โดย ทีวีบีโทรทัศน์ไต้หวัน. สืบค้นเมื่อ January 3, 2022.
  34. "ละครฮ่องกงที่ติด 10 อันดับเรตติ้งสูงสุดในจีน". โดย backchina. สืบค้นเมื่อ January 7, 2022.
  35. 澎湃新闻 (2022-02-18). "ติด 10 อันดับเล่นซ้ำบ่อยที่สุดในจีน". news.ifuun.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
  36. "สิบละครฮ่องกงสุดคลาสสิก 100 เรื่องในศตวรรษที่ 20 ในนมาเลย์เซีย". สืบค้นเมื่อ February 8, 2021.
  37. "二สิบละครฮ่องกงสุดคลาสสิก 100 เรื่องในศตวรรษที่ 20 ในสิงคโปร์" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
  38. เรตติ้งละครนอกประเทศที่ได้รับความนิยมในเกาะฮ่องกง
  39. เรตติ้งยุค 90-ปัจจุบันของทีวีบี:
  40. รวมเรตติ้งยุค 2000 ของทีวีบี:
  41. รวมเรตติ้งยุค 2010 ของทีวีบี:
  42. รวมเรตติ้งยุค 2020 ของทีวีบี:

แหล่งข้อมูลอื่น แก้