เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์
เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ (จีน: 天師執位) เป็นซีรีส์ฮ่องกงซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในฮ่องกงและสิงคโปร์ เคยมีการนำมาออกอากาศในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2531 ใช้ชื่อเรื่องว่า ศึกชิงบัลลังก์เทพอาจารย์
เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ | |
---|---|
![]() Hong Kong DVD edition | |
จีนตัวเต็ม | 天師執位 |
จีนตัวย่อ | 天師執位 |
ประเภท | แฟนตาซี |
เขียนโดย | Wu Ping |
แสดงนำ | เหมียว เฉียวเหว่ย อง เหม่ยหลิง หลิวตัน |
ธีมเปิด | 誰可改變 (Who can chang) ขับร้องโดย by อลัน ทัม |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ฮ่องกง |
ภาษาต้นฉบับ | กวางตุ้ง |
จำนวนตอน | 20 ตอน |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | Wu Runquan |
ความยาวตอน | 45 นาที/ตอน |
บริษัทผู้ผลิต | ทีวีบี |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ทีวีบี |
ออกอากาศ | 5 มีนาคม 2527 – 30 มีนาคม 2527 |
ละครเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ 2 ของ องเหม่ยหลิงที่เธอรับบทนางเอก และมีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนเกิน 60 จุดเปิด คือได้ 61 จุดเปิด หรือมากกว่า 3.15 ล้านคนดูต่อตอนในเกาะฮ่องกง และกลายเป็นแชมป์เรตติ้งสูงสุดในปีพ.ศ. 2527 (1984) ทำให้ติดสิบอันดับแรกของละครที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงสุดตลอดกาลในเกาะฮ่องกง ต่อจากเรื่อง มังกรหยก ภาค 1 (1983) ที่เธอแสดงบท อึ้งย้ง ส่งให้เธอกลายเป็นนักแสดงหญิงเพียงคนเดียวในหน้าประวัติศาสตร์ที่รับบทนางเอกในละคร 2 เรื่องที่สามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนเกิน 60 จุดเปิด ของสิบอันดับแรกในละครที่เรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในฮ่องกง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความโด่งดังของ องหมายหลิงในขณะนั้น(ก่อนที่เธอจะเสียชีวิต)ได้เป็นอย่างดี
ล่าสุดเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองงานครบรอบ 55 ปีของทีวึบี (TVB) ที่ได้จัดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 (2022) ก่อนหน้านั้นทางทีวีบี ได้ทำการเปิดตัวกิจกรรมให้ผู้ชมโหวตละครดังในอดีตในหัวข้อ "ละครที่ฉันเลือก,ละครที่ฉันอยากดู" ("I Pick, I Want to Watch") และ "ละครที่น่าจดจำมากที่สุด" (Unforgettable...)
ผลชนะในหัวข้อละครที่อยู่ในความทรงจำมากที่สุดของผู้ชมชาวฮ่องกงคือ ละครเรื่องนี้ "เทพอาจาร์ยจอมอิทธิฤทธิ์ (The Fearless Duo 1984)" ได้ชนะผลโหวตเป็นอันดับหนึ่ง 29.8% จากคะแนนโหวตทั้งหมดของผู้ชม ทำให้ละครเรื่องนี้จะมีการรีรันซ้ำครั้งที่ 10 [1]และกลายเป็นละครที่มีการรีรันซ้ำบ่อยที่สุดในฮ่องกง แสดงให้เห็นว่า องเหม่ยหลิง ยังคงเป็นดารายอดนิยมในใจผู้ชมฮ่องกง ตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ก่อนหน้านี้ ละครเรื่องนี้มีการออกอากาศและรีรันซ้ำในฮ่องกงรวม 10 ครั้ง (ครั้งแรก+รีรัน9ครั้ง ยังไม่รวมรีรันครั้งล่าสุด) ถึงแม้ตอนรีรันเวลาจะดึกไปบ้างหรือเช้าไปบ้าง แต่ก็ทำให้มีผู้คนหลายรุ่นในฮ่องกงได้มีโอกาสดูและการแสดงเรื่องนี้ของ องเหม๋ยหลิง ได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชมหลายรุ่นหลายช่วงอายุ, ชาวเน็ตในฮ่องกงต่างชี้ว่าฉากที่ องเหม่ยหลิงแต่งตัวเป็นตุ๊กตากระดาษและใช้แหขนาดใหญ่ไล่จับ(ผีเสื้อ)วิญญาณของพระเอก (เหมียวเฉียวเหว่ย) ที่สิงอยู่กับผีเสื้อ เรียกกลับคืนร่าง เป็นฉากละครที่คลาสสิกที่สุด และชาวเน็ตส่วนหนึ่งยกย่องว่า: "แม้ว่าละครเรื่องนี้จะมีการรีรันซ้ำกลับมาดูหลายรอบแล้ว แต่ก็ยังอยากดู เพราะมันคือละครขั้นเทพท่ามกลางละครขั้นเทพทั้งหลาย! [2]
โดยทั่วไปละครเรื่องอื่น ๆ ที่มีการรีรันซ้ำบ่อย คนดูจะเบื่อ แต่กับละครเรื่องนี้ผู้ชมชาวฮ่องกงส่วนใหญ่ยังคงอยากดูในทุกรอบที่มีการนำกลับมาออกอากาศอยู่เสมอ
เรื่องย่อแก้ไข
จากคู่ทีไม่ถูกกัน ทะเลาะกัน แต่ต้องมาแต่งงานกัน เพราะถูกจับคลุมถุงชน จนฝ่ายชายลงเอยด้วยการหนี แต่สุดท้ายกลับมารักกัน ช่วยชีวิตซึ่งกันและกัน เรื่องนี้มี อิทธิฤทธิ์เวทมนตร์ เข้ามาเกี่ยวข้องผสมผสานบทตลกและรักโรแมนติก ได้อย่างกลมกล่อมและลงตัว
นักแสดง (บางส่วน)แก้ไข
นักแสดงนำแก้ไข
- เหมียว เฉียวเหว่ย รับบท "ซื่อถู หวังหวู่"
- อง เหม่ยหลิง รับบท "หลินฉู่เอี้ยน"
- หลิว ตัน รับบท "จาง เทียนชี"
ตัวประกอบแก้ไข
อิทธิพลความสำเร็จแก้ไข
ละครเรื่อง เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ (The Fearless Duo) สร้างปรากฏการณ์ในฮ่องกง กลายเป็นละครที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงกว่าละครในยุคเดียวกันเกือบทุกเรื่องที่สร้างจากบทประพันธ์ของ กิมย้ง (金庸) และ โกวเล้ง (古龙) ในช่วงยุคทองของละครฮ่องกง (1977-1989)
โดยทั่วไป ละครที่จะทำเรตติ้งได้สูงนั้น ส่วนใหญ่ต้องพึ่งบทประพันธ์ของกิมย้ง หรือ โกวเล้ง นำมาสรังเป็นละครเพื่อเรียกยอดเรตติ้งให้กับทางช่อง
แต่ปรากฏการณ์ความสำเร็จที่แตกต่างของละครเรื่องนี้ คือ เป็นละครฟอร์มเล็ก 20 ตอนที่เขียนบทละครทั้งหมดจากทีมเขียนบทของทีวีบี โดยไม่ได้เป็นงานสร้างตามงานเขียนในบทประพันธ์ของใคร แต่กลับสามารถดึงยอดคนดูในฮ่องกงได้มากถึง 61 จุดเปิด หรือ 3.15 ล้านคนดูต่อตอนในฮ่องกง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความโด่งดังของ องเหม่ยหลิง ในขณะนั้น
อีกทั้งความสำเร็จของละครเรื่องนี้อีกอย่างหนึ่ง คือ สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่าละครเกือบทุกเรื่องในยุคเดียวกัน (ยุคทองละครฮ่องกง) ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ กิมย้ง และ โกวเล้ง เช่น 8 เทพอสูรมังกรฟ้า 1982 (天龍八部) , จอมยุทธ์อุ้ยเสี่ยวป้อ 1984 (鹿鼎記), กระบี่เย้ยยุทธจักร 1984 (笑傲江湖) , ชอลิ้วเฮียง 1984 (楚留香之蝙蝠傳奇), จิ้งจอกภูเขาหิมะ 1985 (雪山飛狐), เพ็กฮ่วยเกียม ดาบเลือดสะท้านแผ่นดิน 1985 (碧血劍), ดาบมังกรหยก 1986 (倚天屠龍記), ตำนานอักษรกระบี่ 1987 (書劍恩仇錄) และ มังกรทลายฟ้า 1989 (俠客行) เป็นต้น ซึ่งละครเหล่านี้อยู่ในยุคเดียวกันกับละครเรื่อง "เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ 1984 (天師執位)" แต่ไม่สามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยได้สูงเท่า
ละครเรื่องนี้ ยังกลายเป็นละครยอดนิยมที่ไม่ได้สร้างจากบทประพันธ์ของใคร ที่ประสบความสำเร็จทางด้านเรตติ้งเฉลี่ยมากที่สุดในเกาะฮ่องกง มาจนถึงทุกวันนี้
ละครชุดนี้ไม่เพียงกลายเป็น "ละครระดับเทพ" ในดวงใจของผู้ชมชาวฮ่องกงเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดสูงสุดในอาชีพของนางเอก องเหม่ยหลิง ผู้ล่วงลับอีกด้วย ในช่วงเวลานั้น องเหม่ยหลิง กำลังเติบโตในอาชีพการงานของเธอ
ในปีพ.ศ. 2526 (1983) เธอได้รับความนิยมอย่างมากจากบทบาทของ "อึ้งย้ง" ในละครทีวีเรื่อง มังกรหยก ภาค 1 (1983) (The Legend of the Condor Heroes) ที่ออกอากาศทำเรตติ้งเฉลี่ยเกินกว่า 60 จุดเปิดและเรตติ้ง%สูงสุด 99% นอกจากนี้การแสดงบท อึ้งย้งของเธอเป็นที่นิยมอย่างมากและส่งให้เธอกลายเป็นไอดอลในดวงใจของผู้คนมากมายอย่างรวดเร็ว
ปีต่อมาละครเรื่อง เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ (The Fearless Duo) ทำเรตติ้งเฉลี่ยเกิน 60จุดเปิดได้อีกครั้ง เป็นแชมป์เรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดแห่งปี(สูงกว่าละครเรื่องอื่น ๆ) และส่งให้ องเหม๋ยหลิง ถึงจุดสูงสุดในตำแหน่งนางเอกจอแก้วเบอร์หนึ่งทันที ก่อนที่เธอจะเสียชีวิตใน 1ปีต่อมาหลังจากละครเรื่องนี้ออกอากาศ[3]เป็นการปิดฉากชีวิตการแสดงอันแสนสั้นของเธอ และไม่ได้เข้าไปสู่วงการภาพยนตร์เต็มตัวอย่างที่เธอเคยตั้งใจเอาไว้
การฉายซ้ำ(รีรัน) ซ้ำในฮ่องกงแก้ไข
นอกจากละครเรื่องนี้จะทำเรตติ้งเฉลี่ยได้สูงมากแล้ว (61จุดเปิด) ยังสร้างสถิติกลายเป็นละครชุดฮ่องกงที่ถูกรีรัน บ่อยที่สุดในฮ่องกง ถึง 10 ครั้ง อีกด้วย ได้แก่:-
- 1. 5 มีนาคม - 1 เมษายน พ.ศ. 2528 (1985)
- 2. 7 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2530 (1987)
- 3. 1 ธันวาคม ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2532 (1989)
- 4. 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534 (1991)- 3 มกราคม พ.ศ. 2535 (1992)
- 5. 5 กรกฎาคม -1 สิงหาคม พ.ศ. 2539 (1996)
- 6. 1 มิถุนายน -28 มิถุนายน พ.ศ. 2543 (2000)
- 7. 5 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม พ.ศ. 2550 (2007)
- 8. 15 กุมภาพันธ์ - 14 มีนาคม 2560 (2017)
- 9. 11 กุมภาพันธ์ - 8มีนาคม พ.ศ. 2562 (2019) ออกอากาศช่วงเช้าตรู่เวลา 06.05-7.00 น.
- 10. วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง 14 มกราคม พ.ศ. 2566 (เข้าโปรแกรมฉายซ้ำช่วงดึกเวลา 00.05-01.00 น.)
การออกอากาศในไทยแก้ไข
ช่วงปีพ.ศ. 2529 (1986) ละครเรื่องนี้ได้ลงเป็นม้วนวีดีโอ (VDO) ให้เช่าในไทย ภายใต้ชื่อละครว่า เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ ทำให้มีผู้ชมจำนวนหนึ่งรู้จักละครเรื่องนี้ ผ่านการเช่าวีดีโอมาดู
ต่อมาในปีพ.ศ. 2531 (1988) ทางช่อง 5 ได้ลิขสิทธิ์การออกอากาศ ทำให้ละครเรื่องนี้หลุดจากช่อง 3 ไปฉายทางช่อง 5 รอบดึกแทน มีส่วนไม่มากก็น้อยทำให้ผู้คน(ส่วนใหญ่)ในไทย ไม่เคยดูละครเรื่องนี้มาก่อน เพราะในอดีตผู้ชมชาวไทยมักนิยมดูละครชุดฮ่องกงผ่านทางช่อง 3 และช่อง 7 เป็นหลัก
ตอนออกอากาศทางช่อง 5 ทุกวันพุธ-พฤหัส เวลา 21.55-22.55 น. ได้ใช้ชื่อละครว่า ศึกชิงบัลลังก์เทพอาจารย์
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 香港商報副刊部. "งานครบรอบทีวีบี 55 ปี ละครเรื่องนี้ชนะผลโหวตของละครที่มีผู้คนอยากดูซ้ำมากที่สุดในฮ่องกง". โดย Hk. สืบค้นเมื่อ October 28, 2022.
- ↑ "ผู้ชมชาวฮ่องกงยกย่องละครเรื่องนี้อย่างสูง". โดย Hkyahoo. สืบค้นเมื่อ December 19, 2022.
- ↑ "ละครเรื่องนี้ส่งให้ องเหม่ยหลิง ถึงจุดสูงสุดของอาชีพนักแสดงในฮ่องกง". สืบค้นเมื่อ December 19, 2022.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
เรตติ้งละครขององเหม่ยหลิง โดย Sina
10ละครยอดนิยมสูงสุดในยุค80s ของฮ่องกง