อง เหม่ย์หลิง
อง เหม่ย์หลิง (จีน: 翁美玲; พินอิน: Wēng Měilíng เวิง เหม่ย์หลิง; กวางตุ้ง: ย้ง เหมย์เหล่ง; 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า บาร์บาร่า ย้ง (Barbara Yung) เป็นอดีตนักแสดงหญิงจอแก้วยอดนิยมชาวฮ่องกง สัญชาติอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วเอเชียในยุคทศวรรษที่ 80 ณ.จุดสูงสุดของอาชีพนักแสดง เธอได้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย สันนิษฐานมาจากภาวะทางอารมณ์ ผลงานที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดและเป็นตัวแทนของเธอ ได้แก่ มังกรหยก 1983 (เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 65 จุดเปิดและเรตติ้งตอนจบ 99% อีกทั้งยังเป็นละครอันดับที่สามที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในโลกประกาศโดยทีวีบีเมื่อยุค 90 ในปีค.ศ. 1995) และ เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ 1984 (เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 61 จุดเปิด) ในปีค.ศ. 2007 เธอได้รับการจัดอันดับเป็น อิ้งย้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในสิบตัวละครทีวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (The 10 Greatest TV Characters)
อง เหม่ย์หลิง | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สวมบทบาท อึ้งย้งคลาสสิค | |||||||||||
สารนิเทศภูมิหลัง | |||||||||||
เกิด | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 อง เหม่ย์หลิง ฮ่องกงของบริเตน | ||||||||||
เสียชีวิต | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 (26 ปี) Kowloon Tong, ฮ่องกงของบริเตน | ||||||||||
ส่วนสูง | 159 ซม. | ||||||||||
การศึกษา | Rosaryhill School Anglia Ruskin University Central School of Art and Design | ||||||||||
คู่ครอง | ทัง เจิ้นเยี่ย (2525–2528) | ||||||||||
อาชีพ | นักแสดง | ||||||||||
ปีที่แสดง | 2525–2528 | ||||||||||
ผลงานเด่น | -"อึ้งย้ง" ใน มังกรหยก ภาค1 (1983) -"ฉินซิซิ" ใน "ยุทธจักรชิงเจ้าบัลลังค์" -"หลินฉู่เอี้ยน" ใน เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ - "องค์หญิง ซางเสี่ยวจิ้ง" ใน ชอลิ้วเฮียง ตอน ถล่มวังค้างคาว - "เซี่ยปี้ฮว๋า" ใน เทพบุตรทรนง | ||||||||||
สังกัด | สถานีโทรทัศน์ทีวีบี | ||||||||||
ฐานข้อมูล | |||||||||||
IMDb | |||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||
ภาษาจีน | 翁美玲 | ||||||||||
|
เธอเป็นนางเอกจอแก้วเบอร์หนึ่งของฮ่องกงต่อจาก วังหมิงฉวน ผลงานที่สร้างชื่อให้เธอโด่งดังเป็นพลุแตกในวัย 23 ปีคือการรับบทเป็น อึ้งย้ง ในละครชุดกำลังภายในสุดคลาสสิกของกิมย้งเรื่อง "มังกรหยก ภาค1 (1983)" ด้วยความสำเร็จอย่างสูงทั่วทั่งเอเชียของละครมังกรหยกเวอร์ชันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฮ่องกงที่มีเรตติ้งยอดผู้ชมสูงถึง 99% ส่วนในจีน ก็สามารถทำเรตติ้งสูงถึง 90% กลายเป็นหนึ่งในละครชุดทางฮ่องกงที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีน นอกจากนี้ องเหม่ยหลิง ยังได้รับความนิยมอย่างมากในไต้หวันจากละครเรื่อง มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง (1983) ที่ได้ออกอากาศทางช่องสี่ ทางไต้หวันด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังคว้ารางวัลสิบอันดับแรกของละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงที่สุดทั่วโลกอีกด้วย โดยมียอดดูสดผ่านทางทีวีครั้งแรกทั่วโลกมากถึง 356 ล้านคน [1]จากความสำเร็จทั่วเอเชียถือได้ว่าเป็นละครชุดคลาสสิกที่ทรงอิทธิพลและประสบความสำเร็จที่ไม่มีใครเทียบได้ในประวัติศาสตร์ฮ่องกง ส่งให้เธอเป็น "อึ้งย้งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด" ในหน้าประวัติศาสตร์ของวงการละครชุดหนังจีน และถูกยกย่องให้เป็น "อึ้งย้งคลาสสิก" อีกทั้งการแสดงในบทนี้ของเธอยังได้รับการยกย่องยอมรับจากผู้คนส่วนใหญ่รวมถึงจากบรรดาสื่อยักษ์ใหญ่หลายสถาบันของทั้งในฮ่องกง,ไต้หวัน, สิงคโปร์ และจีน ว่าเป็น "อึ้งย้งที่แสดงได้ยอดเยี่ยมที่สุด" [2][3][4][5][6][7][8][9] ในปีพ.ศ. 2550 (2007) หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลที่ขายดีที่สุดในฮ่องกง "แอปเปิลเดลี่" (Apple Daily) ที่มีสาขาในจีน และไต้หวัน ต่างคัดเลือกเธอให้เป็นหนึ่งในนักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ยอดเยี่ยมที่สุดชนะหมีเซียะ โดยบทอึ้งย้ง ที่ องเหม่ยหลิง แสดงอยู่ในอันดับที่สิบ จากผลโหวตของผู้ชมของการจัดอันดับใน 100 นักแสดงที่สวมบทบาทในละครชุดได้ยอดเยี่ยมที่สุด. [10][11]
จนมาถึงปัจจุบันนี้ หลังการเสียชีวิตของเธอไปนานหลายสิบปีก็ยังคงไม่มีใครลบสถิติความสำเร็จที่เธอทำไว้ได้ ในบทเดียวกัน จนเป็นที่มาของการขนานนามเธอว่า "อึ้งย้งตลอดกาล"(Ronger Forever) และยังเป็นนางเอกหญิงในวงการจอแก้วฮ่องกงที่ละครสามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนเกินกว่า 60 จุดเปิด ได้ถึง 2 เรื่อง ติด 10 อันดับแรกของละครที่มีเรตติ้งสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเกาะฮ่องกง คือ "มังกรหยก 1983 (The Legend of the Condor Heroes)" และเรื่อง เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ (1984 天師執位) [12]
ในปีพ.ศ. 2548 (2005) บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน "ซินล่าง คอร์ป (Sina Corp)" ที่มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 100 ล้านคน ได้เปิดให้สมาชิกโหวตว่า "บทบาทการแสดงในละครชุดของใครที่ประทับใจคนจีนมากที่สุด" และองเหม่ยหลิง จากบทบาทอึ้งย้ง เอาชนะ เจิ้ง เส้าชิว ในบท ชอลิ้วเฮียง และโจวเหวินฟะ ในบท สวี่ เหวินเฉียง จากเรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ได้[13] .ในปีพ.ศ. 2549 (2006) '"สำนักข่าวซินหัว""(新华通讯社) เว็บไซต์สำนักข่าวชื่อดังที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ได้ยกย่อง องเหม่ยหลิง ให้เป็นนักแสดงสาวที่สวมบทบาทตัวละครอึ้งย้งที่ดีที่สุด[14] .ในปีพ.ศ. 2550 (2007) หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลที่ขายดีที่สุดในฮ่องกง "แอปเปิลเดลี่" Apple Daily ที่มีสาขาในจีน และไต้หวัน ต่างคัดเลือกเธอให้เป็น "นักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ดีที่สุด" จากการจัดอันดับใน 100 นักแสดงที่สวมบทบาทในละครชุดได้ยอดเยี่ยมที่สุด. [15]ในปีพ.ศ. 2553 (2010) เว็บไซด์ "ไป่ตู้" (Baidu) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดอันดับ 4 ของโลก [16] ได้ยกย่อง อง เหม่ยหลิง เป็น 1 ใน 500 ดารานักแสดงที่มีอิทธิพลต่อผู้คนจากวงการบันเทิงทั่วโลก. [17]
ประวัติ
แก้องเหม่ยหลิง เกิดที่ฮ่องกงต่อมาไปได้ศึกษาต่อที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยอาศัยอยู่กับมารดาที่ได้รับสัญชาติอังกฤษ และในระหว่างช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ที่นั้นได้มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขันการประกวดนางงามไชน่าทาวน์ของประเทศอังกฤษและสามารถคว้ารองชนะเลิศอันดับหนึ่งมาครองได้สำเร็จ หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ สาขาศิลปะการออกแบบสิ่งทอ จาก "สถาบันการออกแบบ เซ็นทรัลสคูล ออฟ อาร์ท แอนด์ดีไซน์" (Central School of Art and Design) ของ มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งลอนดอน ( University of the Arts London) ที่ประเทศอังกฤษ แล้ว เธอได้เดินทางกลับมายังฮ่องกง และเข้าสู่วงการบันเทิงจากการเข้าร่วมประกวดนางงามฮ่องกงในปี พ.ศ. 2525 และผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเสิศ ไดยได้อันดับ 8 จากนั้นได้มีโอกาสเป็นนักแสดงในสังกัดของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี และแจ้งเกิดกับผลงานละครกำลังภายในเรื่องแรก สมิงสาวใจเพชร ในบทนางรองคู่กับ เยิ่น ต๊ะหัว และยังเป็นผลงานที่ทำให้เธอได้พบรักกลางกองถ่ายกับ ทัง เจิ้นเยี่ย พระเอกของเรื่องนี้อีกด้วย ต่อมาผลงานละครเรื่อง "มังกรหยก ภาค1 (1983)" ที่เธอได้รับบทเป็นอึ้งย้ง คู่กับหวง เย่อหัว ในบทก๊วยเจ๋ง และยังมี เหมียว เฉียวเหว่ย และหยาง พ่านพ่าน ร่วมแสดงนำ โดยเฉพาะละครเรื่องหลังนี้ทำให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นพลุแตกและได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วเอเชียทั้งในฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ประเทศจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ไต้หวัน และไทย อีกทั้งเธอยังได้รับความนิยมในย่านไชน่าทาวน์ ทั้งใน อเมริกา, แคนาดา และทวีปยุโรป ในปีเดียวกันเธอกลายเป็น นางเอกยอดนิยม ในต่างประเทศเมื่อละครชุด มังกรหยก 1983 คว้ารางวัลละครที่มีผู้ชมสูงสุดแห่งปีในเทศกาลงาน "นิวยอร์กฟิล์มเฟสติวัล" จาก ย่านไชน่าทาวน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังเป็น 1 ใน 4 ดาราสาวจอแก้วยอดนิยม คือ 4 ดรุณีหยกแห่งยุค 80s[18]และกลุ่ม 7 นางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 80s (TVB 七仙女之一 1980-1986) อีกด้วย หลังจากละครเรื่องมังกรหยกส่งให้เธอได้ก้าวขึ้นเป็นนักแสดงหญิงเบอร์หนึ่งของสถานีโทรทัศน์ทีวีบีทันทีและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลาเกือบ 3 ปี เธอมีผลงานแสดงหนังและละคร 10 เรื่อง ทั้งละครเรื่อง "ชอลิ้วเฮียง ตอน ถล่มวังค้างคาว" และ "เทพบุตรทรนง" ต่างก็เป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมเช่นกัน
ในปีพ.ศ. 2527 (1984) เธอกับเมียวเฉียวเหว่ย กลายเป็นคู่ขวัญแห่งปี เมื่อละครเรื่อง "เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์" 1984 ทำเรตติ้งเฉลี่บได้ 61 จุดเปิด กลายเป็นละครที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงสุดแห่งปี (และยังเป็นละครอันดับสามที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในฮ่องกงตลอดกาล) แสดงให้เห็นถึงความนิยมอย่างสูงในตัวของ องเหม้ยหลิง ขนะนั้นได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่ชื่อเสียงรุ่งโรจน์สุดขีด และเป็นนางเอกจอแก้วเบอร์หนึ่งอยู่นั้น องเหม่ยหลิง ได้เสียชีวิตกระทันหันเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ด้วยวัยเพียง 26 ปี เนื่องจากการฆ่าตัวตาย เพราะปัญหาทางอารมณ์ โดยการรมแก๊สในห้องพักหลังจากมีปากเสียงกับทังเจิ้นเยี่ย แฟนหนุ่มของเธอในขณะที่ทั้งคู่เพิ่งจะเปิดกล้องละครที่แสดงเป็นพระ-นางร่วมกันในเรื่อง เซียนโค่นเซียน (The King of the Bridge King 1985) ไปได้ไม่นานทำให้บทบาทของเธอในเรื่องนี้และอีกเรื่องที่แต่เดิมมีการวางตัวเธอแสดงเอาไว้ คือ เล็กเซี่ยวหงส์ เวอร์ชันว่านจือเหลียง (The Return of Luk Siu Fung 1986) ต้องทำการเปลี่ยนตัวนักแสดงสาวคนอื่นมาเล่นแทน ข่าวการเสียชีวิตของเธอโด่งดังมากและกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครคาดฝันนำพาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจให้กับแฟนละครของเธอทั่วทั้งเอเชีย พิธีศพของเธอถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตามแบบคริสต์ศาสนา มีแฟน ๆ ละครมาร่วมไว้อาลัยมากมายเป็นประวัติศาตร์ มีฝูงชนนับหมื่นคนที่มายืนบริเวณหน้างานศพรวมไปถึงผู้คนที่ออกมาร่วมส่งขบวนศพของเธอตามท้องถนนข้างทางอีกประมาณ 100,000 คน โดยที่ร่างของเธอถูกนำไปฌาปนกิจและกลับไปฝังไว้ที่สุสานในเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ทุกวันนี้ยังคงมีแฟน ๆ จำนวนมากมายที่คิดถึงเธอจะเดินทางไปเยี่ยมหลุมศพของเธอที่อังกฤษเป็นประจำทุกปี[19] [20][21]
การโชว์ตัวต่างประเทศ
แก้ในช่วงชีวืตการแสดงอันแสนสั้น องเหม่ยหลิง อยู่ในวงการบันเทิงเพียง 2 ปี 10 เดือนเท่านั้น (เซ็นสัญญากับทีวีบีครั้งแรกในภายหลังจากประกวดนางงามฮ่องกงตอนเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1982-เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1985 ปีที่เธอเสียชีวิต)
ในช่วงเวลาเพียง 2 ปี 10 เดือน เธอประสบความสำเร็จอย่างมากหลังจากละครเรื่อง มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง 1983 ออกอากาศและทำให้เธอโด่งดังเป็นพลุแตกตามประเทศต่าง ๆ ที่นำไปออกอากาศ เธอมีการบินไปโชว์ตัวที่ตามต่างประเทศ ดังนี้
- สิงค์โปร์ 4 ครั้ง
- มาเลเซีย 2 ครั้ง
- ไทย 2 ครั้ง
- ยุโรป 1 ครั้ง ในฮอลแลนด์,เนเธอร์แลนด์, อังกฤษ และ ฝรั่งเศส
- มีคิวบินไปโชว์ตัวที่ สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1985 แต่เธอเสียชีวิตเสียก่อน
ผลงาน
แก้ผลงานละคร
แก้พ.ศ. | ชื่อละครภาษาจีน | ชื่อละครภาษาไทย |
---|---|---|
2525 | 十三妹 | สมิงสาวใจเพชร |
2526 | 射鵰英雄傳 | มังกรหยก ภาค1
Part 1: ตอน กำเนิด ก๊วยเจ๋ง-เอี้ยคัง (鐵血丹心) |
夹心人 | เฉือนรักเฉือนคม | |
2527 | 決戰玄武門 | ยุทธจักรชิงจ้าวบัลลังค์ |
天師執位 | เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ | |
生銹橋王 | เฉือนคมเจ้าพ่อ | |
楚留香之蝙蝠傳奇 | ชอลิ้วเฮียง ตอน ถล่มวังค้างคาว | |
2528 | 挑戰 | เทพบุตรทรนง |
楚河漢界 | สามก๊ก ตอน แบ่งแยกแผ่นดิน
(ศึกสองแผ่นดิน) | |
橋王之王 | เซียนโค่นเซียน |
ผลงานภาพยนตร์
แก้ปี พ.ศ. | ชื่อภาพยนตร์ | บทที่ได้รับ |
2526 | ลูกบ้าดีเดือด 《瘋狂83》 Mad mad 83 [22][23][24] | FBI (探員) สายลับ FBI |
รายการปกิณกะ (ทีวีบี)
แก้ปี พ.ศ. | ชื่อรายการ | หน้าที่ |
2525 | 《婦女新姿》 รายการผู้หญิงวันนี้ [25][26] | ผู้ดำเนินรายการ (พิธีกร) |
2526-2528 | 《歡樂今宵》 รายการค่ำคืนวาไรตี้ [27][28][29] | ผู้ร่วมรายการ (แขกรับเชิญ) |
คอนเสิร์ต
แก้- 《1985 翁美玲星馬個人演唱會》[30]
อัลบั้ม
แก้ชื่ออัลบั้ม | บริษัท จำหน่าย | ภาษา | ออกจำหน่าย | ชื่อเพลง |
---|---|---|---|---|
翁美玲個人演唱會專輯
(อัลบั้มบันทึกการแสดงคอนเสิร์ตของ อง เหม่ยหลิง) |
Kolin | กวางตุ้ง | กลางปี พ.ศ. 2528 |
第一面 หน้าแรก
第二面 หน้าสอง
|
รางวัลและการจัดอันดับ
แก้อง เหม่ยหลิง ได้รับ การจัดอันดับจากบรรดาเว็บไซต์และนิตยสารเอเชียต่าง ๆ มากมายทั่วเอเชีย โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ของประเทศจีน ต่างจัดทำรายการรำลึกถึงเธอขึ้นอย่างยิ่งใหญ่[31]
- รองอันดับ 1 นางงามไชน่าทาวน์ ปี พ.ศ. 2523 ประเทศ อังกฤษ[32][33]
- นางงามฮ่องกง ปี พ.ศ. 2525 อันดับที่ 8 [34]
- องเหม่ยหลิง ได้รับการโหวต ให้เป็นนักแสดงหญิงยอดนิยมสองปีในฮ่องกง คือ พ.ศ. 2526 (1983) และ พ.ศ. 2527 (1984)
- องเหม่ยหลิง ได้รับการโหวต ให้เป็นนักแสดงหญิงยอดนิยมสองปีในไต้หวัน คือ พ.ศ. 2526 (1983) และ พ.ศ. 2528 (1985)
- อันดับ 1 จาก 10 นักแสดงหญิงที่แสดงดีที่สุดในจอแก้วของฮ่องกง โดย เว๊ปไซด์ Chinese whispers[35]
- อันดับ 1 จาก 10 สุดยอดบทบาทละครนวนิยายกำลังภายใน โดย เว๊ปไซด์ Chinese whispers[36]
- อันดับ 1 จากบทอึ้งย้ง (ชนะ) ในการออกเสียงลงคะแนนทางออนไลน์ ผ่านทาง เว๊ปไซด์ Sina.com ในปี พ.ศ. 2548 [37]
- อันดับ 1 จาก 10 สุดยอดละครชุด ยุค 80s โดย เว๊ปไซด์ spcnet.tv [38]
- อันดับ 2 จาก 10 อันดับหนังจีนที่อยู่ในใจแฟน ช่อง 3 [39]
- อันดับ 5 จาก 100 อันดับละครซีรีส์ยอดนิยมสูงสุดในประเทศ มาเลเซีย จากการสวมบทบาท อึ้งย้ง ในละครชุด มังกรหยก
- อันดับ 6 จาก 100 อันดับละครซีรีส์ยอดนิยมสูงสุดในประเทศ สิงค์โปร์ จากการสวมบทบาท อึ้งย้ง ในละครชุด มังกรหยก
- อันดับ 8 จาก สุดยอด 100 ดาราจอแก้วของฮ่องกงตลอดกาล (วัดจากเรตติ้งความนิยม) โดย TVB Guide Magazine[40] 10 อันดับ แรก ดาราจอแก้วยอดนิยมสูงสุดตลอดกาล ประกอบด้วย
1. โจว เหวินฟะ
2. หวัง หมิงฉวน
4. หวง เย่อหัว
6. หลิว สงเหยิน
8. อง เหม่ยหลิง
9. หมี เซียะ
- อันดับ 4 จาก 11 คนดังผู้จากไปอย่างน่าเสียดาย โดยหนังสือพิมพ์ South China Morning Post[41]
- อันดับ 8 จาก 10 คนดังเอเชียที่จากไปก่อนวัยอันสมควร โดย China Internet Information Center[42]
- อันดับ 10 จาก Top 100 "บทบาทการแสดง" ในซีรีส์ฮ่องกง จากการจัดอันดับโดยนิตยสาร Apple Daily (Hong Kong) [43]
- อันดับ 474 จาก 13,629 ดารานักแสดงที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในวงการบันเทิงจากทั่วโลก จัดอันดับโดย Baidu
- นางเอกยอดนิยม จากละครชุด มังกรหยก ปี พ.ศ. 2526 ในเทศกาลงาน นิวยอร์กฟิล์มเฟสติวัล จาก ย่านไชน่าทาวน์ ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา [44]
- หนึ่งในสี่ยอดนางเอก TVB แห่งยุค 80 ( TVB第二代花旦 ) ซึ่งประกอบไปด้วย อง เหม่ยหลิง ( 翁美玲 )、เจิ้ง หัวเชี่ยน ( 曾华倩 )、เฉิน อวี้เหลียน ( 陈玉莲)、และ หลิว เจียหลิง ( 刘嘉玲 )[45][46]
- 7 สาวงามในชุดโบราณ (7 นางฟ้าทีวีบี ยุค80s) TVB Seven Fairies ร่วมกับ องเหม่ยหลิง, ชีเหม่ยเจิน, เจิงหัวเชี่ยน, หลัน เจี๋ยอิง, หลิวเจียหลิง, จิ่ง ไต้อิง และ ซัง เทียนเอ๋อ[47]
- บทอึ้งย้งที่ดีที่สุด กับ 10 บทบาทการแสดงในวงการบันเทิงเอเชีย ที่หาผู้อื่นเทียบชั้นได้ยาก[48][49]
อ้างอิง
แก้- ↑ 澎湃新闻 (2022-02-18). "ติด 10 อันดับเล่นซ้ำบ่อยที่สุดในจีน". news.ifuun.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
- ↑ 發表于娛樂 (2016-09-06). "สิงคโปร์ ยกย่อง องเหม่ยหลิง". news.kk.com. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
- ↑ 电影聚焦 (November 13, 2017). "อึ้งย้งที่ดังที่สุด". โดย sohu. สืบค้นเมื่อ July 5, 2018.
- ↑ "今日早报"Today Morning (May 27, 2011). "องเหม่ยหลิง คือ อึ้งย้งเล่นดีที่สุด". chinanews. สืบค้นเมื่อ July 5, 2018.
- ↑ 收起义. ""เปรียบเทียบอึ้งย้งองเหม่ยหลิง กับโจวซวิ่น"". โดย Baike. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.
- ↑ "华商报" (June 18, 2016). ""เปรียบเทียบอึ้งย้งองเหม่ยหลิง กับหลี่อี้ถง"". people.com.cn. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.
- ↑ "王志平" (March 4, 2017). ""อึ้งย้งในดวงใจ องเหม่ยหลิง"". โดย ซินล่าง คอร์ป. สืบค้นเมื่อ June 18, 2017.
- ↑ "一點資訊". ""เรื่องราวของเธอ"". สืบค้นเมื่อ August 5, 2018.
- ↑ "entertainment celebrities". ""100 อันดับดารานักแสดงที่โด่งดังที่สุดในจอ แก้วฮ่องกง"". 23yy. สืบค้นเมื่อ August 5, 2018.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 娛樂名人 (November 17, 2007). ""100 นักแสดงที่สวมบทบาทเป็นตัวละครได้ดีที่สุดในวงการบันเทิง". โดย "หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ หนังสือพิมพ์ "แอ็ปเปิ้ลเดลี่" "(Apple Daily) ในวงการบันเทิงฮ่องกง ไต้หวันและจีน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-14. สืบค้นเมื่อ December 16, 2018.
- ↑ 电影聚焦. "100 นักแสดงที่สวมบทบาทเป็นตัวละครได้ดีที่สุดในวงการบันเทิง". โดย ทีวีบีโทรทัศน์ไต้หวัน. สืบค้นเมื่อ January 3, 2022.
- ↑ 《เรตติ้ง》จัดทำโดยทีวีบีฮ่องกง:
- ↑ ""บทบาทที่ประทับใจคนจีนมากที่สุด"". โดย Sina. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เว๊ปผู้จัดการหมวด:ข่าวบันเทิง" (August 9, 2006). ""10 ยอดฝีมือบนเวทีการแสดงของโลกบันเทิงมังกร ที่หาผู้อื่นเทียบชั้นได้ยาก". โดย "สำนักข่าวซินหัวของ ทางการจีน". สืบค้นเมื่อ July 18, 2018.
- ↑ 娛樂名人 (November 17, 2007). ""100 นักแสดงที่สวมบทบาทเป็นตัวละครได้ดีที่สุดในวงการบันเทิง". โดย "หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ หนังสือพิมพ์ "แอ็ปเปิ้ลเดลี่" "(Apple Daily) ในวงการบันเทิงฮ่องกง ไต้หวันและจีน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-14. สืบค้นเมื่อ December 16, 2018.
- ↑ ""Baidu เว็บไซด์ที่มีคนใช้มากที่สุดอันดับ 4 ของโลก"". โดย "Alexa". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-28. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""Baidu จัดอันดับ องเหม่ยหลิง อยู่ใน 500 อันดับแรก"". โดย "Baidu". สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "4 ยอดนางเอกรุ่นสอง". January 11, 2006. สืบค้นเมื่อ December 16, 2018.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 温情八卦. "100,000 คนมาร่วมส่งขบวนศพของเธอ". kknews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-24. สืบค้นเมื่อ June 19, 2018.
- ↑ 回到以前 (November 1, 2006). "อัตชีวประวัติของ "องเหม่ยหลิง"". โดย 360doc. สืบค้นเมื่อ December 16, 2018.
- ↑ "ละคร เล็กเซี่ยวหงส์ เปลี่ยนนางเอกจาก องเหม่ยหลิง เป็น เฉินซิวจู่". sina. October 29, 2016. สืบค้นเมื่อ December 18, 2019.
- ↑ Madmax1983
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
- ↑ "Mad, Mad 83". Hong Kong Film Database. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
- ↑ https://k.sina.cn/article_2701048492_a0febaac00100rzux.html{
- ↑ htmhttp://16888wwx.blog.163.com/blog/static/21140269200742384438342
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
- ↑ http://www.tudou.com/listplay/E6IUc6WMP8c/ctP0_LgyKJQ.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-16. สืบค้นเมื่อ 2016-01-24.
- ↑ 1985 翁美玲星馬個人演唱會
- ↑ "entertainment celebrities". ""รางวัลบางส่วนของ องเหม่ยหลิง"". happyjuzi. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน พ.ศ. 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-23. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-23. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
- ↑ http://www.oknation.net/blog/korat/2007/08/27/entry-1
- ↑ http://www.chinawhisper.com/the-10-best-hong-kong-tv-actresses/
- ↑ http://www.chinawhisper.com/top-10-classic-wuxia-series-roles/
- ↑ 知识产权风险管理 [BOOK]. "ประวัติของ "องเหม่ยหลิง"". โดย Baike. สืบค้นเมื่อ June 19, 2018.
- ↑ spcnet. "10 สุดยอดละครชุด ยุค 80s". โดย spcnet.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-27. สืบค้นเมื่อ June 19, 2018.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
- ↑ http://www.network54.com/Forum/231870/message/1044171851/ESther+ranked+highest+in+the+100+top+ever+TVB+STARS+!~+RECENT+NEWS!
- ↑ http://m.scmp.com/lifestyle/article/2084608/remembrance-eleven-chinese-stars-who-were-taken-us-too-young
- ↑ http://www.china.org.cn/top10/2011-07/21/content_23038059_3.htm
- ↑ http://news.chanyuklinonline.com/2007/1117ad.htm
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-05. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
- ↑ http://www.360doc.cn/article/2253722_284294990.html?lan=cn&shareapp=1&from=wap&t=1651869005619&artid=284294990&code=wap30-11-22}
- ↑ "องเหม่ยหลิง เป็น 4 ดรุณีหยก ยุค 80". โดย hk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ June 21, 2019.
- ↑ "การกลับคืนวงการของหนึ่งในอดีต 7 บุปพางามทีวีบี". โดย hk. สืบค้นเมื่อ June 21, 2019.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-20. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-15. สืบค้นเมื่อ 2016-01-19.