ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมทางหลวงชนบท"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: '''กรมทางหลวงชนบท''' (Department of Rural Roads) เป็นหน่วยงานสังกัด[[กระทรวงคมนาคม...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:35, 29 กรกฎาคม 2550

กรมทางหลวงชนบท (Department of Rural Roads) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยบุคลากรมาจากกรมโยธาธิการและผังเมืองและกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท

เครื่องหมายราชการ

  • สัญลักษณ์
  1. องค์พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นเทพแห่งวิศวกรรมการพัฒนา การก่อสร้าง และบำรุงรักษาทางหลวง ประทับเป็นสง่าบนพระอาสน์ มือขวาถือจอบ มือซ้ายถือลูกดิ่ง
  2. เบื้องหลังพระวิษณุแสงสว่างแผ่เป็นรัศมีโดยรอบทั้ง 8 ทิศ แสดงถึงภารกิจของกรมทางหลวงชนบท ครอบคลุมทั้งประเทศ
  3. ลายกนก 3 ชั้น ตัดด้วยเส้นสีแดงบนพื้นสีเหลืองทอง หมายถึงประเทศไทย
  • เบญจธาตุ
  1. สีน้ำเงิน หมายถึง ธาตุน้ำ
  2. สีเขียว หมายถึง ชนบท และธาตุไม้
  3. สีเหลือง หมายถึง ทางหลวง และธาตุดิน
  4. สีเหลืองทอง หมายถึง ธาตุทอง
  5. สีแดง หมายถึง ธาตุไฟ

วิสัยทัศน์

พัฒนา เพิ่มคุณค่า เติมต่อ โครงข่ายทางให้สมบูรณ์อย่างเพียงพอและยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของประชาชน

พัธกิจ

พัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว (การพัฒนาชายแดน) การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางเชื่อม (Missing Link) ทางเลี่ยง (By-pass) และทางลัด (Shortcut) รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) การพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาองค์กร ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย

อธิบดีกรมทางหลวงชนบท

  • นายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ (9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถึง 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549)
  • นายระพินทร์ จารุดุล (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ถึง ปัจจุบัน)

โครงสร้างส่วนราชการ


ป้ายรหัสสายทาง ทางหลวงชนบท

ในการเรียกชื่อทางหลวงชนบท จะนิยมใช้หมายเลขทางหลวงแผ่นดิน หรือชื่อหมู่บ้าน หรือชื่อสถานที่สำคัญ ที่เป็นจุดเริ่มต้นโครงการและจุดสิ้นสุดโครงการในสายทางนั้นมาตั้งชื่อถนน เช่น สายแยกทางหลวงหมายเลข 314 - บ้านลาดกระบัง หรือ สายบ้านคลอง 20 - บ้านตลาดคลอง 16 เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงชนบทมากขึ้น การใช้ชื่อเพียงอย่างเดียวอาจจะก่อให้เกิดการสับสน และไม่สามารถทราบว่าสายทางนั้นอยู่ในจังหวัดใด ดังนั้นจึงมีการนำรหัสสายทางเข้ามาเป็นตัวบอกถึงที่ตั้ง และลำดับของสายทาง ซึ่งรหัสสายทางของทางหลวงชนบทประกอบด้วยตัวอักษรย่อของจังหวัด 2 ตัว และตัวเลข 4 ตัว มาใช้กำกับทางหลวงชนบท โดยมีความหมายดังนี้

  • ตัวอักษรย่อ 2 ตัว

บอกถึงจังหวัดที่ตั้งของสายทางนั้น ๆ เช่น ฉช. หมายถึง ทางหลวงชนบทที่อยู่ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ ชบ. หมายถึงทางหลวงชนบทที่อยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี เป็นต้น

  • ตัวเลข 4 หลัก

ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

รหัสเลขตัวที่หนึ่ง บอกถึงลักษณะของการเชื่องโยงของสายทางว่าจุดเริ่มต้นสายทางเป็นอย่างไร มีทั้งหมด 6 หมายเลข แต่ละหมยเลขมีความหมายดั้งนี้

เลข 1 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงที่มีหลายเลขตัวเดียว
เลข 2 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงที่มีหลายเลขสองตัว
เลข 3 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงที่มีหลายเลขสามตัว
เลข 4 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงที่มีหลายเลขสี่ตัว
เลข 5 หมายถึง เริ่มต้นจากทางหลวงชนบทหรือทางหลวงท้องถิ่น
เลข 6 หมายถึง เริ่มต้นจากสถานที่ เช่น โรงเรียน วัด บ้าน ตำบล อำเภอ

รหัสเลข 3 ตัว บอกถึงลำดับของสายทางในแต่ละจังหวัด

การยุบกรมทางหลวงชนบท ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็น พรบ. เพื่อปรับปรุงระบบระบบราชการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นไปของสังคม ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่เกิดขึ้นคือการจัดตั้งกรมทางหลวงชนบท แต่ขณะเดียวกันในส่วนของบทเฉพาะกาล ได้บัญญัติไว้ด้วยว่า

มาตรา ๕๔ ภายในห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนกิจการอำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกรมทางหลวงชนบท และบรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมทางหลวงชนบท ไปเป็นของกรมทางหลวง หรือผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกำหนดให้การกำหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้
เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งขึ้นบังคับใช้แล้ว ให้ถือว่ากรมทางหลวงชนบทเป็นอันยุบเลิก

ปัจจุบัน กรมทางหลวงชนบทได้ปฎิบัติงานได้เป็นผล จึงมีการพิจารณายกเลิก มาตรา 54

สถานที่ติดต่อ

กรมทางหลวงชนบท พหลโยธิน บางบัว บางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทร.0-2521-1416 218/1 ถนนพระราม 6 พญาไท กรุงเทพฯ 10400

โทร.02-299-4591-2 (0-2299-4337)

Hot line 1146

กรมทางหลวงชนบท