กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท

กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2509 มีหน้าที่รับผิดชอบงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (ถนน โครงสร้าง แหล่งน้ำ) ตามแผนงานพัฒนาชนบท ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเป็นกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท พ.ศ. 2543[1] และในปี พ.ศ. 2545 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงโครงสร้าง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ยุบรวมกิจการของกรมโยธาธิการบางส่วน และกรมเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็น "กรมทางหลวงชนบท" สังกัดกระทรวงคมนาคม

กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท
Department of Rural Development
ตราสัญลักษณ์ของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง5 เมษายน พ.ศ. 2509
หน่วยงานก่อนหน้า
ยุบเลิก3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
หน่วยงานสืบทอด
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
ป้ายชื่อโครงการก่อสร้างทาง สะพาน ถนนในหมู่บ้าน ระหว่างบ้านหัวดง - บ้านเขารูปช้าง จังหวัดพิจิตร และมีตราสัญลักษณ์ รพช. อยู่มุมซ้ายของป้าย
หลักกิโลเมตรของทางหลวงชนบทในความดูแลของกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีอักษรย่อ รพช.

ทำเนียบเลขาธิการคณะกรรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท แก้

  1. ประสงค์ สุขุม (2509-2511)
  2. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (2511–2514)
  3. วิฑุร จักกะพาก (2514–2515)
  4. ชูสง่า ฤทธิประศาสน์ (2515–2517)
  5. ชลอ วนะภูติ (2517–2520)
  6. เอนก สิทธิประศาสน์ (2520–2526)
  7. อนันต์ อนันตกูล (2526–2529)
  8. เจริญจิตต์ ณ สงขลา (2529–2530)
  9. สนั่น วงศ์พัวพันธุ์ (2530-2531)
  10. โชดก วีระธรรม พูลสวัสดิ์ (2531–2534)
  11. เฉลิม พรหมเลิศ (2534–2535)
  12. เชาวน์วัศ สุดลาภา (2535–2536)
  13. ประมวล รุจนเสรี (2536–2538)
  14. ศักดิ์ เตชาชาญ (2538-2540)
  15. ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ (2540–2543)

ทำเนียบอธิบดีกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท แก้

  1. สุดจิต นิมิตกุล (2544–2545)

หน่วยงาน แก้

  • ส่วนกลาง
    • สำนักงานเลขานุการกรม
    • กองการเงินและบัญชี
    • กองการเจ้าหน้าที่
    • กองก่อสร้างทางและโครงสร้าง
    • กองพัฒนาแหล่งน้ำ
    • กองควบคุมเครื่องจักรกล
    • กองโรงงานเครื่องจักรกล
    • กองบูรณะและซ่อมบำรุง
    • กองเยาวชนชนบท
    • กองส่งเสริมอาชีพและรายได้
    • กองการพัสดุและจัดซื้อ
    • กองแผนงานและโครงการ
    • กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
    • กองฝึกอบรม
    • กองวิจัยและประเมินผล
    • กองสำรวจและออกแบบ
    • ศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบท (10 ศูนย์)
  • ส่วนภูมิภาค
    • สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด (75 จังหวัด)

อ้างอิง แก้

  1. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท เป็นกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท พ.ศ. ๒๕๔๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2010-08-05.

ดูเพิ่ม แก้