กรมทรัพยากรน้ำ เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

กรมทรัพยากรน้ำ
Department of Water Resources
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
สำนักงานใหญ่180/3 ซอยพระรามที่ 6 ซอย 34 (พิบูลย์วัฒนา) ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี8,123.9602 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ภาดล ถาวรกฤชรัตน์, อธิบดี[2]
  • ธีระชุณ บุญสิทธิ์, รองอธิบดี
  • บุญสม ชลพิทักษ์วงศ์, รองอธิบดี
เว็บไซต์http://www.dwr.go.th

ประวัติ แก้

เพื่อให้การบริหารทรัพยากรน้ำมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในปี 2543 คณะรัฐมนตรีได้กำหนดกรอบ “วิสัยทัศน์น้ำแห่งชาติ” โดยให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และจากวิสัยทัศน์น้ำแห่งชาติ ได้นำไปสู่การกำหนด “นโยบายน้ำแห่งชาติ” ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความความเห็นชอบเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 ภายใต้แนวคิดที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 แนะแนวทางการบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสานที่มุ่งเน้นการประสาน การพัฒนา และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกับทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้อง ด้วยการคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่ผลตอบแทนสูงสุดด้านเศรษฐกิจและสังคม

ผลจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อปลายปี 2545 ที่ผ่านมา ได้นำไปสู่การจัดตั้ง กรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจหลักด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างครบวงจร โดยทำหน้าที่เสนอแนะนโยบาย จัดทำแผนแม่บท การศึกษาวิจัย พัฒนาอนุรักษ์ และฟื้นฟูแหล่งน้ำ ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในรูปของคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมบทบาทของประชาชน ในการมีส่วนร่วมกับการทำงานของภาครัฐ เริ่มจากการคิด การนำเสนอความเห็น การลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามและประเมินผล เพื่อสร้างการยอมรับในแผนงานของโครงการและกิจกรรมของภาครัฐ ที่เข้าไปดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างเปี่ยมประสิทธิภาพ และยั่งยืน

อำนาจและหน้าที่ แก้

  1. เสนอแนะการจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ
  2. บริหารจัดการ พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู รวมทั้งควบคุม ดูแลกำกับ ประสาน ติดตาม ประเมินผล และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
  3. พัฒนาวิชาการ กำหนดมาตรฐาน และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านทรัพยากรน้ำ ทั้งระดับภาพรวมและระดับลุ่มน้ำ

ผลงานสำคัญ แก้

  1. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 25 ลุ่มน้ำ
  2. การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
  3. การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ
  4. การศึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศและแจ้งเตือนภัยด้านน้ำ
  5. การศึกษาระบบเครือข่ายน้ำในประเทศ
  6. การจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านทรัพยากรน้ำ สำหรับบริหารและบริการประชาชน (ศูนย์เมขลา)
  7. สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย

หน่วยงานในสังกัด แก้

อ้างอิง แก้